หากอ่านบทความไม่พอดีกับจอมือถือ ดูเนื้อหาและคลิปวีดีโอที่เกี่ยวข้อง> w ww.ubmthai.com เวอร์ชั่นสมาร์ทโฟน >>คลิ๊ก!!
www.pohchae.com.
.
สดร. เชิญชม 2 ปรากฏการณ์ดาราศาสตร์ในคืนเดียว ดาวอังคารดวงใหญ่และใกล้โลกที่สุดในรอบ 15 ปี จันทรุปราคา ที่ดวงจันทร์ออกห่างโลกไกลที่สุดในรอบปี..
19 กรกฎาคม 2561 สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) หรือ สดร. กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี รายงานว่า ในคืนวันที่ 27 กรกฎาคม ถึงรุ่งเช้าวันที่ 28 กรกฎาคม จะเกิดปรากฏการณ์ที่ ดาวอังคารอยู่ตรงข้ามดวงอาทิตย์ ก่อนโคจรเข้าใกล้โลกที่สุดในรอบ 15 ปี ทำให้สว่างมากและมีขนาดปรากฏใหญ่กว่าปกติ..
นอกจากนี้ ในคืนเดียวกันจะมีการเกิดปรากฏการณ์จันทรุปราคาเต็มดวงครั้งที่ 2 ในรอบปี และคราสเต็มดวงตั้งแต่เวลา 02.30-04.13 น. กินเวลา 1.43 ชั่วโมง และยังเป็นช่วงที่ดวงจันทร์อยู่ไกลโลกมากที่สุดในรอบปี และเป็นจันทรุปราคาที่เต็มดวงยาวนานที่สุดในศตวรรษที่ 21 สำหรับประเทศไทยสามารถสังเกตการณ์ได้ทุกพื้นที่ทั่วประเทศ สังเกตได้ด้วยตาเปล่า ตั้งแต่เวลา 00.14-06.10 น. (ตามเวลาในประเทศไทย)
พร้อมกันนี้ทาง สดร. ได้เชิญชวนให้ประชาชนคนไทยชมปรากฏการณ์ดังกล่าวร่วมกัน ณ จุดสังเกตการณ์หลัก 4 แห่ง ในคืนวันที่ 27 กรกฎาคม ถึง วันที่ 28 กรกฎาคม 2561 เชิญชวนผู้สนใจเข้าร่วมกิจกรรมโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย ตั้งแต่เวลา 18.00-04.30 น. ณ จุดสังเกตการณ์หลัก ได้แก่...
- เชียงใหม่ : อุทยานดาราศาสตร์สิรินธร ต.ดอนแก้ว อ.แม่ริม จ.เชียงใหม่ โทร. 081-8854353
- นครราชสีมา : หอดูดาวเฉลิมพระเกียรติ 7 รอบ พระชนมพรรษา นครราชสีมา โทร. 086-4291489
- ฉะเชิงเทรา : หอดูดาวเฉลิมพระเกียรติ 7 รอบ พระชนมพรรษา ฉะเชิงเทรา โทร. 084-0882264
- สงขลา : ลานชมวิวนางเงือก หาดสมิหลา จ.สงขลา โทร. 095-1450411
และเครือข่ายดาราศาสตร์ 360 แห่งทั่วประเทศ ตรวจสอบรายละเอียดได้ทาง www.NARIT.or.th ..นอกจากนี้ คืนดังกล่าวยังมีวัตถุท้องฟ้ามากมายให้สังเกตการณ์ อาทิ ดาวศุกร์ ในช่วงเวลาหัวค่ำปรากฏทางทิศตะวันตก ตามด้วยดาวพฤหัสบดี ปรากฏทางทิศใต้ในมุมสูงบริเวณกลุ่มดาวคันชั่ง และดาวเสาร์ ปรากฏทางทิศตะวันออกเฉียงใต้บริเวณกลุ่มดาวคนยิงธนู ตลอดจนการจัดกิจกรรมทางดาราศาสตร์อื่น ๆ ที่น่าสนใจ เช่น แนะนำการดูดาวเบื้องต้น เรียนรู้ท้องฟ้าและกลุ่มดาวต่าง ๆ รวมทั้งถ่ายทอดสดปรากฏการณ์จันทรุปราคาเต็มดวง ตั้งแต่เวลา 00.00-04.30 น. อีกด้วย.
ขอขอบคุณ กลุ่มงานประชาสัมพันธ์ สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน)