การเลี้ยงไก่พ่อแม่พันธุ์อายุ 21-72 สัปดาห์
1. ไก่สาวจะเริ่มไข่ฟองแรกเมื่ออายุ ประมาณ 150 วัน หรือ 5-5.5 เดือน
เมื่อไก่เริ่มไข่ให้เปลี่ยนสูตรอาหารใหม่ ใีห้มีโภชนะอาหารเพิ่มขึ้น เพื่อไก่นำไปสร้างไข่
รวมทั้งเพิ่มแร่ธาตุแคลเซี่ยม จากเดิม 0.60% เป็น 3.36% ฟอสฟอรัส 0.3%
เป็น 0.35% เพื่อนำไปสร้างเปลือกไข่ (ตารางที่ 9) ส่วนไก่พ่อพันธุ์นั้นให้อาหารเช่นเดียวกับแม่ไก่
แต่มีธาตุแคลเซี่ยมต่ำกว่า คือ 0.60% และฟอสฟอรัส 0.3% เท่าๆ กับในอาหารไก่รุ่นหนุ่มสาว
ทั้งนี้เพราะไก่พ่อพันธุ์ไม่ไข่ จึงไม่จำเป็นต้องให้ธาตุแคลเซี่ยมสูงเช่นเดียวกับแม่ไก่พันธุ์หรือให้อาหารสูตรเดียวกับ
ไก่แม่พันธุ์นั้น มีการค้นคว้าและวิจัยพบว่า ทำให้การผสมพันธุ์ของพ่อไก่ไม่ดี มีน้ำเชื้อน้อย และผสมไม่ค่อยจะติด
ดังนั้นการจัดการที่ดีจึงควรแยกสูตรอาหารให้ไก่พ่อแม่พันธุ์กิน จำนวนอาหารที่ให้แม่ไก่ กินขึ้นอยู่กับอัตรการไข่ของแม่ไก่
แม่ไก่ไข่มากก็ให้กินมาก ไข่น้อยก็ให้กินอาหารลดลงตามส่วน ดังตารางที่ 8
2. สิ่งที่ต้องการปรบอันดับที่สองนอกเหนือจากเรื่องอาหาร
คือ เรื่องของแสงสว่างเพราะแสงสว่างจะมีผลกระทบโดยตรงกับอัตราการไข่
การให้แสงสว่างต่อวันไม่เพียงพอแม่ไก่จะไข่ลดลง แม้ว่าเราจะให้อาหารครบทุกหมู่
และการจัดการเรื่องอื่นๆ อย่างดี แสงเกี่ยวข้องกับการสร้างฮอร์โมนที่ใช้ในขบวนการผลิตไข่ของแม่ไก่
แสงสว่าที่พอเพียงควรมีความเข้ม 1 ฟุตแคลเดิ้ลในระดับตัวไก่ และต้องให้แสงสว่างวันละ 14-15 ชั่วโมงติดต่อกัน
การให้แสงสว่างมากไม่ดี เพราะทำให้ไก่ไข่ไม่เป็นเวลา บางครั้งไข่กลางคืนเป็นต้น
ไก่จะจิกกันมาก ตื่นตกใจง่าย และมดลูกทะลักออกมาข้างนอก
การจัดแสงสว่างให้เป็นระบบต่อเนื่องกันวันละ 14-15 ชั่วโมง แม่ไก่จะไข่ก่อนเวลา 14 .00 น.ทุกๆ วัน
จากการเลี้ยงไก่หนุ่มสาวอายุ 15-20 สัปดาห์ เราจำกัดเวลาการให้แสงสว่างวันละไม่เกิน 11-12 ชั่วโมง
แต่พอแม่ไก่เริ่มไข่เราจะต้องเพิ่มเวลาให้แสงสว่างเพิ่มขึ้นสัปดาห์ละ 1ชั่วโมงจนถึงสุดท้ายวันละ 14-15 ชั่วโมง
แล้วหยุดเพิ่มและรักษาระดับนี้ตลอดไปจนกว่าแม่ไก่จะหยุดไข่และปลดระวาง การให้แสง
ด้วยหลอดนีออนให้ผลดีกว่าหลอดไฟที่มีไส้ทังสะเตนที่ใช้กันในบ้านเรือนทั่วไป
เพราะใช้งานได้ทนกว่าและประหยัดไฟกว่าไม่สิ้นเปลืองค่าไฟฟ้ามากเท่ากับหลอดที่มีไส้ดังกล่าว
สำหรับสีของแสงควรให้เป็นสีขาวเพราะหาได้ง่ายราคาถูกและ ผลดีกว่าสีอื่นๆ
การคำนวณความเข้มของแสงเท่ากับ 1-2 ฟุตแคนเดิ้ล (Foot Candle) ในระดับกรงไก่หรือตัวไก่ คำนวณได้จากสูตรดังนี้
ความเข้มของแสง = แรงเทียนของหลอดไฟ X ระยะทางเป็นฟุตจากหลอดไฟถึงระดับหัวไก่ (เป็นฟุตแคนเดิ้ล)
โดยสรุปใช้หลอดไฟนีออน 40 วัตต์ ต่อพื้นที่ 200 ตารางฟุต ติดหลอดไฟสูงจากพื้นระดับเพดานคอก และวางหลอดไฟห่างกันเป็นระยะๆ ละ 10-14 ฟตุ และเปิดไฟเสริมจนถึงเวลา 21.00 น. ของทุกคืน เพื่อให้ได้แสงสว่างติดต่อกัน 14-15 ชั่วโมง
3. บันทึกจำนวนไข่และน้ำหนักไข่ในสมุดประจำตัวแม่ไก่โดยบันทึกไข่ทุกๆ วัน ส่วนน้ำหนักไข่ให้ชั่งน้ำหนักทุกๆ สัปดาห์ๆ ละ 3 วัน แล้วหาค่าเฉลี่ยน้ำหนักไข่ต่อ
สัปดาห์และต่อเดือนต่อไป ข้อมูลที่ได้จากการบันทึกอัตราการไข่แต่ละเดือน ให้จัดทำเป็นกราฟแสดงไว้บนกระดานดำ แสดงสถิติและข้อมูลอื่นของไก่ที่อยู่ในคอกไก่นั้นๆ การคำนวณอัตราการไข่ให้คิดเป็นเปอร์เซนต์ของไก่ที่ให้ไข่ต่อระยะเวลาที่กำหนด (Hen-day Egg production)
นำข้อมูลมาทำกราฟให้แกนนอนเป็นเดือนที่ไข่ แกนตั้งเป็นเปอร์เซนต์ไข่ แล้วเปรียบเทียบกับกราฟมาตรฐานดังภาพที่ 1 และ ตารางที่ 8
รูปที่ 1 กราฟมาตรฐานการไข่ของไก่แม่พันธุ์สามสายพันธุ์
ตารางที่ 8 แสดงมาตรฐานปริมาณอาหารที่กินต่อวัน และอัตราการไข่ของแม่ไก่ที่อายุต่างๆ กัน เริ่มจากแม่ไก่ไข่ฟองแรกของไก่พันธุ์สามสาย
ตารางที่ 9 สูตรอาหารแม่ไก่ช่วงผสมพันธุ์
หมายเหตุ : อาหารไก่พ่อพันธุ์ให้ลดเปลือกหอยลงเหลือ 1.0 กก. และเพิ่มข้าวโพดขึ้นทดแทน นอกนั้นคงเดิม
blogspot.com