4.ใช้เสาชักอย่างถูกต้องทางเทคนิคในข้อ 3 ที่พูดถึงเสาชักไปนั้น เป็นการใช้อย่างถูกต้องกาลเทศะ แต่ในแง่เทคนิคแล้วชวนให้นึกถึงสุภาษิตฝรั่งเศสบทหนึ่งที่ว่า "อะไรที่เสียได้ก็กัดได้" นั่นก็คือในขณะที่เสาชักจะมีคุณสมบัติทางอัตราการขยายสูง แต่ในบางกรณีมันก็มีจุดวิกฤตของมันเหมือนกันถ้าหากใช้งานผิดๆ
ถ้าคุณเคยทำสายอากาศเล่น หรือเคยอ่านผ่านตามาบ้างคุณคงพอนึกออกว่าการที่เราจะต้องตัดอลูมิเนียมทีละเซ็นต์ ทีละครึ่งเซนต์เพื่อให้ได้ค่า SWR ที่งดงาม ดังนั้นความยาวของ Element ที่แปรไปเพียง 1 ซม. ก็มีผลต่อ SWR ซึ่งก็หมายถึงพลังงานขาออกที่ด้อยลง เพราะส่งไปไม่หมดแถมส่วนที่ไม่ยอมออกอากาศไปยังจะย้อนกลับมาทำลายเครื่องมากขึ้นอีกด้วย
ดังนั้นการใช้เสาชัก ในภาวะรับนั้น คุณจะหดยืดแค่ไหนก็ตามใจคุณ ถ้าหดลงมาความสามารถในการรับก็ลดลงไม่มีอะไรมาก แต่ในภาวะส่งคุณต้องยืดให้สุดเสมอ เพราะเวลาที่เขา Match เสาต้นนั้นเขา Match ตอนยืดออกมาสุด ถ้าคุณเปลี่ยนแปลงความยาว ค่า SWR จะขึ้นสูง ซึ่งไม่เป็นผลดีต่อเครื่องของคุณเลย
ที่ไม่ควรทำอีกอย่างหนึ่งคือใช้สายอากาศผิดย่านความถี่ เช่นคุณเป็นตำรวจ ใช้ความถี่ย่าน 150 MHz มาขอยืมเสาชักของนักวิทยุสมัครเล่นย่านความถี่ 140 MHz ไปใช้ การทำเช่นนี้ค่า SWR สูงแน่นอนเพราะสายอากาศแต่ละต้น จะดีที่ย่านความถี่ของตัวเองเท่านั้น
สุดท้ายนี้ ทุกอย่างในโลกนี้ย่อมถึงกาลแตกดับ เมื่อใดก็ตามที่เสาชักหลวมคลอน ไม่ว่าจะเป็นที่ขั้วหรือ ตัวเสาชักแต่ละท่อน ควรส่งซ่อมโดยเร็ว ถ้าเป็นไปได้ก็ควรเปลี่ยน เสียเลย ถ้าผืนใช้เสาชักที่หลวมคลอนจะมีอาการขาด ๆ หาย ๆ ซึ่งมีผลเสียต่อวิทยุมือถือของคุณ อีกทั้งเสาชักในปัจจุบันราคาไม่สูงมากนัก ถ้าเฉลี่ยว่าเสาชักใช้ได้ 1 ปี ค่าใช้จ่ายต่อวันก็คงไม่เกินวันละ 1 บาท ซึ่งก็ไม่ใช่เหตุผลที่ต้องประหยัดอะไร
5.ใช้ซัพพลายอย่างถูกต้องในกรณีที่คุณจะประหยัดแบตเตอรี่โดยการใช้ Power Supply คุณจะต้อง
ก. เลือก Power Supply ที่ออกแบบมาสำหรับเครื่องรับส่งวิทยุ จะใช้อแดปเตอร์ธรรมดาไม่ได้ เพราะแรงดันอาจไม่เหมาะสม กระแสอาจไม่พอ การกรองกระแสอาจไม่เรียบดีพอ รวมทั้งไม่มีวงจรป้องกันการรบกวนจากคลื่นวิทยุ (RFI - Radio Frequency Interference)
ข. หาก Power Supply ของคุณสามารถปรับแรงดันได้ ขอแนะนำแรงดันที่เหมาะสมคือ 12 โวลต์ นอกจากวิทยุของคุณจะระบุเป็นอย่างอื่นเพราะ การเพิ่มโวลต์ขึ้นแทบจะไม่มีประโยชน์อะไรเลย เพราะในเครื่องรุ่นใหม่นั้นมักจะมีวงจรควบคุมแรงดัน (Regulator) อยู่ภายใน ดังนั้นไม่ว่าคุณจะเร่งแรงดันเข้าไปเท่าไร เครื่องก็จะไม่มีกำลังเพิ่มขึ้น มิหนำซ้ำภาค Regulator ของเครื่องยังต้องทำงานหนักโดยไม่จำเป็นอีกด้วย
ส่วนเครื่องรุ่นเก่าที่มีกำลังส่งแปรไปตามแรงดันไฟที่ป้อนให้มันนั้น แม้ว่าการเพิ่มแรงดันไฟจะทำให้กำลังส่งออกแรงขึ้น แต่จากกราฟแสดงการทำงานจะพบว่ากำลังส่งจะแปลไปในลักษณะเส้นโค้ง เมื่อใช้ในอัตราส่วนคงที่ ซึ่งช่วง 7-11 โวลต์ การเปลี่ยนแปลงกำลังส่งจะเปลี่ยนแปลงอย่างเห็นได้ชัด ถัดไปจากนั้นกำลังส่งก็ไม่ได้เพิ่มขึ้นมากมายเท่าไร ในขณะเดียวกันยังมีโอกาสให้เครื่องพังได้ง่ายกว่า
ค.ในการป้อนไฟเข้าเครื่อง ระวังเรื่องขั้วให้ดีด้วย โดยสังเกตจากเครื่องหมายกำกับที่รูเสียบสายไฟว่าเป็นขั้ว + หรือ - ถ้าอาการเบาะ ๆ คือเครื่องไม่ทำงาน ในกรณีเครื่องมีไดโอดป้องกันการกลับขั้ว และการพังจากไฟกลับขั้วรุนแรงมาก
กราฟแสดงกำลังส่งต่อค่าแรงดันต่าง ๆ
6.ใช้แบตเตอรี่อย่างถูกต้องถ่านแต่และแพ็คนั้นราคาแพงเกินกว่า 1,000 บาท ทั้งสิ้น (ราคาตอนปี 2536) การใช้งานอย่างไม่ถูกต้องจะทำให้อายุการใช้งานของมันสั้นลงกว่าที่ควรจะเป็นอย่างมาก จึงขอแนะนำดังนี้
ก. เปลี่ยนแบตเตอรี่ หรือเลิกใช้ทันทีที่เครื่องบอกอาการว่าถ่านหมด ในการใช้งานไประยะหนึ่งเครื่องจะเตือนคุณว่า ถ่านหมดโดยขึ้นเครื่องหมาย B หรือ Battery Low ที่หน้าปัด และจะคีย์ไม่ออกขอให้หยุดใช้ ปิดเครื่องและถอดถ่านไฟชาร์จ การฝืนใช้ต่อไปจะทำให้ถ่านคุณเสียเร็ว
ข. ชาร์จด้วยกระแสต่ำเสมอ (ชาร์จช้า) นอกจากเร่งด่วนจริงๆ จึงจะปรับเป็นภาวะชาร์จเร็ว
ค.เลือกใช้ชาร์จเจอร์ ที่มีคุณภาพสูง เพราะของถูก ๆ ดี ๆอาจจะมีในโลกแต่หายาก การเลือกชื้อโดยคำนึงถึงแต่ราคาถูก ๆ เพียงอย่างเดียวอาจจะทำให้ไปเจอ "ของถูกราคาแพง" ทำให้แบบเตอรี่แพ็คของคุณเสียหายได้ ซึ่งการที่จะทราบว่า เป็น ชาร์จเจอร์ที่ดีหรือไม่ก็ต่อเมื่อเห็นรวงจรและอุปกรณ์ภายใน จึงยังไม่ขอกล่าวถึงในรายละเอียด ในที่นี้
ถ้าพูดถึงในแง่ของนักวิทยุสมัครเล่น ชาร์จเจอร์ ไม่ใช่อุปกรณ์ที่สร้างยากนัก ถ้าคุณสร้างมันขึ้นมาใช้งานเองสักเครื่องหนึ่งก็น่าจะให้ความเชื่อถือได้สูง และประหยัดกว่าอีกด้วย
ง.อย่าเก็บถ่านเอาไว้ในที่ร้อน เช่น ในรถซึ่งอยู่กลางแดด ในรถอาจจะมีอุณหภูมิสูงขึ้นเป็น 60 -70 องศาได้ง่าย ๆ ถ้าถ่านเสื่อมเร็ว หรือถ้าชาร์จไฟไว้แล้วไฟก็ตกด้วยตัวมันเอง (Self Discharge) ในอัตราที่สูงกว่าปกติ เรื่องนี้รวมทั้งตัวเครื่องวิทยุด้วย ถ้าร้อนจัด ๆ หน้าจอซึ่งเป็นแบบ LCD (Liquid Crystal Display) อาจจะดำมืดไปเลย
จ.เมื่อพบว่าถ่านเริ่มรวม เช่นเคยใช้ได้ 2 วันต่อมาใช้ได้แค่วันกว่า ๆ ก็หมดไปดื้อ ๆ แสดงว่า เริ่มมีถ่านบางก้อนภายในแพ็คถ่าน เริ่มเสียแล้ว ให้ส่งซ่อมหรือเปลี่ยนก้อนที่เสียโดยด่วน ถ้าขืนใช้ต่อไปจะเสียหายมากขึ้น และอาจจะพาให้ก้อนอื่นเสียตามไปด้วย
7.ส่งเครื่องไปเช็คบ้างเป็นครั้งคราวถ้ามีเวลาเรื่องนี้มีความจำเป็นมาก แต่ขอให้เลือกศูนย์ซ่อมที่มีคุณภาพดี ๆ ช่างดี ๆ เพื่อปรับจูนภาครับให้ไว ภาคส่งให้ความถี่ถูกต้อง เพราะว่าความถี่อาจจะเพี้ยนไปได้ หากใช้ไปนาน ๆ เนื่องจากความชรา และความชื้น ปรับกำลังส่งให้อยู่ในภาวะเหมาะสมคือประมาณ 75-80 % ของความสามารถในการส่งสูงสุด นอกจากนั้นการส่งตรวจเป็นครั้งคราว (ประมาณ 6 เดือน / ครั้ง) นี้จะทำให้ช่างประจำของคุณทำความสะอาดขั้วต่อต่าง ๆ และเห็นอาการไม่ชอบมาพากลบางประการที่อาจจะเกิดขึ้น เพื่อที่จะได้ดูแลเสียก่อน ที่มันจะพังหนักไปกว่านั้น
8. ใช้วิทยุอย่างมีกฎเกณฑ์ มีมารยาทและคำนึงเสมอว่าทุกคำพูดที่เราพูดออกไป ใครก็ตามที่เปิดเครื่องรับฟังอยู่ก็จะรับทราบพร้อม ๆ กัน ลักษณะพิเศษของนักวิทยุนั้น แม้ไม่เห็นหน้าค่าตากัน แต่สามารถเรียนรู้อัธยาศัย อุปนิสัยและคุณภาพชีวิตของกันและกัน ได้จากน้ำเสียง ถ้อยคำที่ใช้ และวิธีการใช้ความถี่ การสร้างความสดชื่นหรือความระคายเคืองบนความถี่ จะมีผลไม่เฉพาะแต่คู่สถานีของคุณเท่านั้น แต่จะกระทบไปถึงความก้าวหน้า หรือถดถอยของพวกเราทั้งมวลด้วย