ปฎิกริยานิวเคลียร์ เป็นเทวาหรือซาตาน มนุษย์เท่านั้นที่เป็นผู้กำหนด
ธันวาคม 23, 2024, 04:24:37 am *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
   หน้าแรก   ช่วยเหลือ เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก  
หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: ปฎิกริยานิวเคลียร์ เป็นเทวาหรือซาตาน มนุษย์เท่านั้นที่เป็นผู้กำหนด  (อ่าน 6957 ครั้ง)
b.chaiyasith
แก้ปัญหาไม่ตกคุยกันเวลางานline:chiabmillion
.กลุ่มผู้มีน้ำใจงาม.
member
*

คะแนน650
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 3008


ไม้ดีไม่ลอยน้ำมาไกล


อีเมล์
« เมื่อ: พฤศจิกายน 22, 2009, 02:34:04 pm »

ปฎิกริยานิวเคลียร์ฟิชชั่นอาจจะส่งผลกระทบในแง่สารกัมมันตภาพรังสี ซึ่งตรงข้ามกับฟิวชั่นเช่นการเอาไฮโดรเจนประเทศไทยเราก็มีอยู่เยอะ หากสำเร็จเราก็จะมีแหล่งผลิตพลังงานแบบใหม่ที่มีความปลอดภัยค่อนข้างสูงไม่มีปัญหาเรื่องการระเบิด เรื่องการปล่อยกัมมันตภาพรังสี

โดย วิรุฬหกกลับ

ภาพกลุ่มควันและเถ้าถ่านรูปดอกเห็ดที่พวยพุ่งลอยอยู่เหนือใจกลางเกาะฮิโรชิมา นางาซากิเมื่อคราวสงครามโลกครั้งที่สองยังคงติดตาคนรุ่นหลัง มันยังคงตอกย้ำถึงพิษภัยที่พร้อมจะทำลายล้างทุกสรรพสิ่งในผืนโลกของระเบิดนิวเคลียร์ เมื่อพูดถึงนิวเคลียร์ทุกคนย่อมคิดถึงความสูญเสียและไม่อยากเข้าใกล้ แต่ในมุมกลับกันพลังงานจากปฎิกริยานิวเคลียร์สามารถสร้างสรรค์ประโยชน์ได้ในหลายด้าน ทั้งทางด้านการแพทย์เช่น ใช้ในการ scan  สมองของมนุษย์ ประโยชน์ทางด้านการเกษตรที่นำไปใช้ในการทำหมั้นแมลงวันทองเพื่อลดการแพร่พันธ์  หรือในแง่พลังงานที่โลกเรากำลังโหยหาบริโภคน้ำมันจนถึงขั้นข้าวยากหมากแพงไปทั่วทุกหัวระแหงของโลก พลังงานจากปฎิกริยานิวเคลียร์ก็สามารถนำมาใช้แก้ไขวิกฤตนี้ได้เช่นกัน



ระเบิดนิวเคลียร์
                                                             ภาพจากwww.tlcthai.com
 เมื่อเร็วนี้ๆ สมาคมนิวเคลียร์แห่งประเทศไทย หรือ สนท. ได้ทำการลงนามความร่วมมือกับทบวงการพลังงานปรมาณูระหว่างประเทศ (IAEA) ซึ่งเป็นหน่วยงานในสังกัดของสหประชาติที่ดูแลเกี่ยวกับนิวเคลียร์ และจะมีการจัดการประชุมขึ้นในประเทศไทยระหว่างวันที่ 18-19 สิงหาคม 2551 ที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (ศูนย์รังสิต) โดยมี ผศ. ดร. ธวัชชัย อ่อนจันทร์ อาจารย์ประจำสถาบันเทคโนโลยีนานาชาติ สิรินธร (SIIT) ม.ธรรมศาสตร์ เป็นหัวหน้าโครงการดังกล่าว


                    “ตอนนี้เราได้ทำการร่วมมือกับหน่วยงานรัฐบาลที่เรียกว่านิวเคลียร์แห่งชาติหรือที่เรียกว่า  สทน. เป็นหน่วยงานรัฐบาลที่แยกออกมาจาก สำนักงานปรมาณูเพื่อสันติโดย สนท. จะดูแลทางด้าน งานวิจัยทั้งหมดที่เกี่ยวกับทาวด้านนิวเคลียร์ซึ่งก่อนหน้านี้เขาไม่มีบุคคลากร ที่ทำในด้านนี้  เมื่อได้พูดคุยกันก็มีการพัฒนาการเรียนรู้และความเข้าใจทางด้านนี้ ก็มีการเขียนขอทุนร่วมกัน ทำงานวิจัยร่วมกัน แลกเปลี่ยนความรู้และแลกเปลี่ยนบุคคลากร
ล่าสุดเรามุ่งเป้าที่จะพัฒนางานไปในความร่วมมือกับทางต่างประเทศ โดยกลุ่มแรกที่เราขอความร่วมมือไปอย่างเป็นทางการคือประเทศฝรั่งเศส ซึ่งเป็นการสร้างความร่วมมือระหว่างสทน. กับ CEA  ซึ่งเป็นหน่วยงานที่ดูแลทางด้านงานวิจัยของประเทศฝรั่งเศส  ก็มาเซ็นสัญญาร่วมมือกัน”



                    ผศ. ดร. ธวัชชัย อ่อนจันทร์ เผยว่าทบวงการพลังงานปรมาณูระหว่างประเทศ (IAEA)  เปรียบเสมือนตัวกลางที่ค่อยเชื่อมให้ประเทศต่างๆที่สนใจเกี่ยวกับพลังงานจากนิวเคลียร์ได้ติดต่อร่วมมือกันเพื่อพัฒนาและเรียนรู้เกี่ยวกับนิวเคลียร์นอกจากจะเซ็นสัญญาความร่วมมือกับประเทศฝรั่งเศสแล้วยังได้ดำเนินการเพื่อเซ็นสัญญากับประเทศจีนซึ่งถือว่าเป็นยักษ์ใหญ่ของวงการนิวเคลียร์ในภูมิภาคเอเชียและกำลังติดต่อเพื่อขอความร่วมมือกับอีกหลายๆประเทศในยุโรป


                     “อีกส่วนหนึ่งเป็นความร่วมมือของประเทศไทยกับหน่วยงาน IAEA เป็นหน่วยงาน หนึ่งของสหประชาชาติที่ดูแลเกี่ยวกับเรื่องของนิวเคลียร์ทั้งหมด  ส่วนหนึ่งคือการดูแลนิวเคลียร์ฟิวชั่นเหมือนกัน

              IAEA   จะจัดกลุ่มวิจัยขึ้น ซึ่งก็เริ่มมานานแล้วสักประมาณ 10 ปีได้แล้วก็มีที่จีน รัสเซีย  ประเทศเล็กๆในยุโรปตะวันออก บราซิล  ส่วนใหญ่เป็นประเทศเล็กๆที่ ร่วมกลุ่มกัน เรียกว่า ITER เราเองสนใจที่จะร่วมกับเขา ก็เลยขอทำเป็นสัญญาความร่วมมือ ก็จะมีการจัดประชุม ร่วมกลุ่ม แชร์ความรู้กัน อันนี้คือ  โครงการแรกที่เราร่วมมือกับ AIEA”
 
                     สำหรับโครงการดังกล่าว ผศ. ดร. ธวัชชัย อ่อนจันทร์ เผยว่าต้องการมุ่งศึกษาเกี่ยวกับปฎิกริยานิวเคลียร์ฟิวชั่นซึ่ง ทาง AIEA ก็มีการสนับสนุนโดยให้คำปรึกษาและส่งผู้เชียวชาญที่มีประสบการณ์มาค่อยให้คำแนะนำ ผศ. ดร. ธวัชชัย อ่อนจันทร์ คาดการณ์ว่าจะทำให้มีการพัฒนาเทคโนโลยีนิวเคลียร์ฟิวชั่นของประเทศไทย เป็นไปได้อย่างต่อเนื่อง

“ตอนนี้โจทย์สำคัญที่เราพยายามคิด คือจะพัฒนาโปรแกรมนิวเคลียร์ฟิวชั่นของประเทศไทยได้อย่างไร  การประชุม วันที่ 18-19 สิงหาคม นี้ทาง AIEA เขาก็เลยส่งผู้เชี่ยวชาญมา 3 ท่าน เพื่อที่จะมาบรรยายและให้คำปรึกษาว่าเราควรจะทำอย่างไร โดยผู้ที่มาจะมาเล่าเกี่ยวกับประสบการณ์ อย่างท่านหนึ่งที่มาจากประเทศบราซิล  ซึ่งเขาเคยพัฒนาโปรแกรมฟิวชั่นของประเทศเขามาก่อน เขาจะมาเล่าให้เราฟังว่ามีปัญหาอะไรบ้างเขาแก้ปัญหาอย่างไง ซึ่งจะเป็นประสบการณ์ที่ดีสำหรับเรา เราควรจะพัฒนาโปรแกรมของเราไปอย่างไรทำให้เรารู้ว่าควรจะมีบุคลากรเท่าไหร่ใช้งบประมาณเท่าไหร่”


                     ในปัจจุบันโรงงานนิวเคลียร์ทั่วโลกเป็นโรงงานนิวเคลียร์ที่เกิดจากปฏิกิริยาฟิชชั่น โดยอาศัยการยิงนิวเคลียสที่มีขนาดใหญ่อย่างเช่นธาตุยูเรเนียมเพื่อให้เกิดการแตกตัวเป็นอนุภาคขนาดเล็กและปลดปล่อยพลังงานออกมา ในขณะที่ปฎิกริยาฟิวชั่นที่ ผศ. ดร. ธวัชชัย อ่อนจันทร์ กำลังมุ่งศึกษาเป็นการรวมกันของอนุภาคขนาดเล็กเพื่อให้ปลดปล่อยพลังงานออกมา


                     “หลังจากการประชุมครั้งนี้ก็คาดหวังว่าจะทำเป็นแผนพัฒนาเกี่ยวกับเทคโนโลยีนิวเคลียร์ฟิวชั่นของประเทศไทยคือถ้าเราจะพัฒนาทางด้านนี้เราก็ควรจะมี  ซึ่งมันเป็นแผนที่จะพัฒนาเกี่ยวกับพลังงานซึ่งมันก็คล้ายกับเรื่องโรงงานนิวเคลียร์ที่เราพูดถึงกันในขณะนี้  แต่อันนั้นใช้ปฎิกริยาฟิชชั่นซึ่งเป็นการธาตุยูเรเนียม พูโตเนียมทั้งหลายที่อาจจะส่งผลกระทบในแง่สารกัมมันตภาพรังสีคือทำให้มันแตกตัวถึงได้พลังงาน ซึ่งตรงข้ามกับฟิวชั่นเช่นการเอาไฮโดรเจนซึ่งมันมีอยู่เยอะ ในประเทศไทยเราก็มีอยู่เยอะพวก ไฮโซโทปของไฮโดรเจน ต่างๆ ซึ่งมันสามารถนำมาเป็นเชื้อเพลิง เพราะถ้าเราทำได้เราก็จะมีแหล่งผลิตพลังงานแบบใหม่ที่มีความปลอดภัยค่อนข้างสูงไม่มีปัญหาเรื่องการระเบิด เรื่องการปล่อยกัมมันตภาพรังสี ซึ่งจะมีค่อนข้างน้อย ซึ่งหลายๆประเทศกำลังให้ความสนใจ ”


                    ปัจจุบันประเทศต่างๆที่ร่วมกันศึกษาถึงปฏิกิริยานิวเคลียรฟิวชั่นได้ร่วมกันตั้งโรงงานต้นแบบขึ้นที่ประเทศฝรั่งเศสเพื่อใช้ในการศึกษาเกี่ยวกับเทคโนโลยีปฎิกริยานิวเคลียร์ฟิวชั่น เนื่องจากมีการใช้งบประมาณจำนวนมหาศาลในหลักแสนล้านบาทดังนั้นจึงเป็นเรื่องยากที่ประเทศใดประเทศหนึ่งจะทำการศึกษาโดยลำพัง และหากสามารถพัฒนาเป็นไปได้ตามเป้าโลกเราก็น่าจะมีโรงงานนิวเคลียร์ฟิวชั่นเกิดขึ้นเป็นโรงแรกในโลกภายในปี คศ.2050


                    “การศึกษาในเรื่องนี้มันต้องใช้งบประมาณมหาศาลโรงงานต้นแบบที่สร้างขึ้นเพื่อใช้ในการศึกษาใช้งบประมาณ 1 หมื่นล้านเหรียญ ตีเป็นเงินไทยก็ราวๆ 3 แสนล้านบาท



                    ปีนี้กำลังวางรากฐานต่างๆ คาดว่าจะเสร็จปี 2016-17  เครื่องนี้จะใช้ทดลองไปถึงปี 2030 ซึ่งความรู้ทั้งหมดที่ได้ก็คาดการณ์กันว่าจะสามารถนำไปใช้กับโรงงานไฟฟ้านิวเคลียร์ฟิวชั่นได้ในปี 2030 เครื่องนี้จะเป็นเครื่อง demo ก็จะเป็นต้นแบบของโรงไฟฟ้า จนกระทั่งประมาณปี 2050 ก็น่าจะมีโรงงานไฟฟ้านิวเคลียร์ฟิวชั่นโรงแรกของโลกที่สามารถนำมาใช้งานได้จริง

                    เทคโนโลยีที่ได้จาก demo คราวนี้ประเทศไหนที่มีความรู้เทคโนโลยีก็สามารถพัฒนาได้ คือผมคิดว่าเราเองก็ควรจะเข้าไปอยู่ในโปรแกรมของเขาเพื่อที่จะได้เรียนรู้ว่าเขาพัฒนาอย่างไร ทำอย่างไร  แล้วถ้าเราจะพัฒนาเทคโนโลยีของเรา หรือซื้อมานี้เราก็จะสามารถทำได้  ถ้าเราไปรอจนที่มันใช้งานได้แล้วมันก็ไม่ได้แล้วเพราะฝรั่งเศส ญี่ปุ่น จีน พวกนี้ก็จะปิดเพราะมันจะกลายเป็นเทคโนโลยีที่ขายได้แล้ว ถ้าเราไปตอนนี้มันจะเป็นเรื่องของวิทยาสาสตร์ ซึ่งมันทำให้เราสามารถพัฒนาได้เองแม้ว่าจะซื้อก็ซื้อแค่เฉพาะที่จำเป็น ”





 โรงงานนิวเคลียร์
                                                      ภาพจาก www.tint.or.th

สำหรับปัญหาในปัจจุบันผศ. ดร. ธวัชชัย อ่อนจันทร์ เผยว่าไม่ใช่การทำให้เกิดปฎิกริยาแต่เป็นการควบคุมให้สามารถทำให้เกิดปฎิกริยาอย่างต่อเนื่องหากต้องการนำไปใช้งานจริงในปัจจุบันสามารถทำให้เกิดได้ในระดับวินาที และคาดการณ์ว่าโรงงานที่ตั้งขึ้นประเทศฝรั่งเศสจะสามารถควบคุมให้เกิดปฎิกริยาอย่างต่อเนื่องได้ในระดับชั่วโมง


                    “ปัญหาของของการศึกษาในตอนนี้ไม่ใช่การทำให้เกิดเพราะสามารถทำให้เกิดได้แล้วล่ะแต่ปัญหาคือจะทำอย่างไรให้มันเกิดได้อย่างต่อเนื่อง เพราะว่าอุณหภูมิของไฮโดรเจนที่เรานำมาใช้นี้มันจะมีอุณหภุมิสูงมากประมาณ 200 ล้านองศาเซลเซียส ซึ่งเป็นไปตามหลักธรรมชาติคือของร้อนจะถ่ายเทอุณหภูมิไปที่ของเย็น  พอถ่ายเทความร้อนอุณหภูมิมันจะเย็นลงทำให้เกิดความร้อนเป็นปฎิกริยาฟิวชั่น ปลดปล่อยพลังงานออกมา  ก็คือทำให้พวกนี้มันสามารถรวมตัวกันได้และเกิดเป็นปฏิกิริยาฟิวชั่นได้อย่างต่อเนื่อง ตอนนี้ เราสามารถทำให้เกิดพลังงานในระดับที่ว่าอย่างเช่นเราใส่พลังงานไป100 มันสามารถเกิดพลังงานในระดับที่มากกว่า 100  แต่เรายังทำได้ในระดับวินาทีเช่น 5 วินาที 10 วินาที แต่เรายังไม่สามารถทำให้มันอยู่ได้เป็นระยะเวลานาน อย่างถ้าเราเอาเทคโนโลยีนี้ไปใช้ในโรงงานไฟฟ้าเราก็ต้องการให้มันอยู่ได้เป็นวัน ถ้าทำไปได้ 1 นาทีต้องมาสตาร์ใหม่ อย่างนั้นก็ไม่ไหว ในต่างประเทศตอนนี้ก็ทำการวิจัยกันอยู่ ”


                    แม้ยังต้องอาศัยระยะเวลาในการทดลองค้นคว้าอีกเป็นเวลานานสำหรับการนำมาใช้งานจริงของปฎิกริยานิวเคลียร์ฟิวชั่นแต่เชื่อแน่ว่าหากมีความสำเร็จขึ้นมาก็เป็นก้าวย่างสำคัญที่ช่วยแก้ไขปัญหาพลังงานของโลกได้ ในขณะที่ปัจจุบันโลกเรายังต้องอาศัยบริการจากปฎิกริยานิวเคลียร์ฟิชชั่นไปพลางๆก่อน ในประเทศไทยเองก็มีข่าวออกมาอย่างต่อเนื่องสำหรับการสร้างโรงงานนิวเคลียร์เพื่อแก้ไขปัญหาพลังงาน

สำหรับปัญหาในปัจจุบันผศ. ดร. ธวัชชัย อ่อนจันทร์ เผยว่าไม่ใช่การทำให้เกิดปฎิกริยาแต่เป็นการควบคุมให้สามารถทำให้เกิดปฎิกริยาอย่างต่อเนื่องหากต้องการนำไปใช้งานจริงในปัจจุบันสามารถทำให้เกิดได้ในระดับวินาที และคาดการณ์ว่าโรงงานที่ตั้งขึ้นประเทศฝรั่งเศสจะสามารถควบคุมให้เกิดปฎิกริยาอย่างต่อเนื่องได้ในระดับชั่วโมง


                    “ปัญหาของของการศึกษาในตอนนี้ไม่ใช่การทำให้เกิดเพราะสามารถทำให้เกิดได้แล้วล่ะแต่ปัญหาคือจะทำอย่างไรให้มันเกิดได้อย่างต่อเนื่อง เพราะว่าอุณหภูมิของไฮโดรเจนที่เรานำมาใช้นี้มันจะมีอุณหภุมิสูงมากประมาณ 200 ล้านองศาเซลเซียส ซึ่งเป็นไปตามหลักธรรมชาติคือของร้อนจะถ่ายเทอุณหภูมิไปที่ของเย็น  พอถ่ายเทความร้อนอุณหภูมิมันจะเย็นลงทำให้เกิดความร้อนเป็นปฎิกริยาฟิวชั่น ปลดปล่อยพลังงานออกมา  ก็คือทำให้พวกนี้มันสามารถรวมตัวกันได้และเกิดเป็นปฏิกิริยาฟิวชั่นได้อย่างต่อเนื่อง ตอนนี้ เราสามารถทำให้เกิดพลังงานในระดับที่ว่าอย่างเช่นเราใส่พลังงานไป100 มันสามารถเกิดพลังงานในระดับที่มากกว่า 100  แต่เรายังทำได้ในระดับวินาทีเช่น 5 วินาที 10 วินาที แต่เรายังไม่สามารถทำให้มันอยู่ได้เป็นระยะเวลานาน อย่างถ้าเราเอาเทคโนโลยีนี้ไปใช้ในโรงงานไฟฟ้าเราก็ต้องการให้มันอยู่ได้เป็นวัน ถ้าทำไปได้ 1 นาทีต้องมาสตาร์ใหม่ อย่างนั้นก็ไม่ไหว ในต่างประเทศตอนนี้ก็ทำการวิจัยกันอยู่ ”


                    แม้ยังต้องอาศัยระยะเวลาในการทดลองค้นคว้าอีกเป็นเวลานานสำหรับการนำมาใช้งานจริงของปฎิกริยานิวเคลียร์ฟิวชั่นแต่เชื่อแน่ว่าหากมีความสำเร็จขึ้นมาก็เป็นก้าวย่างสำคัญที่ช่วยแก้ไขปัญหาพลังงานของโลกได้ ในขณะที่ปัจจุบันโลกเรายังต้องอาศัยบริการจากปฎิกริยานิวเคลียร์ฟิชชั่นไปพลางๆก่อน ในประเทศไทยเองก็มีข่าวออกมาอย่างต่อเนื่องสำหรับการสร้างโรงงานนิวเคลียร์เพื่อแก้ไขปัญหาพลังงาน


ที่มาวชก ดอดคอม


บันทึกการเข้า

"CHIAB"
มนุษย์เราแต่ละคน  ต่างไม่รู้ว่ามาจากไหน  ไม่มีใครรู้จักกันมาก่อนเลย  แล้ววันหนึ่งก็มาพบหน้ากัน  สมมุติเป็นพ่อ  เป็นแม่  เป็นเมีย  เป็นสามี  เป็นลูก  อยู่ร่วมกัน  ใช้ชีวิตร่วมกัน และแล้ววันหนึ่ง  ก็แยกย้ายด้วยการ  "ตายจาก"  กันไปสู่  ณ  ที่ซึ่งไม่มีใครได้ตามพบ  คืนสู่ความเป็นผู้ไม่รู้ว่ามาจากไหน  ไปไหน  และคืนสู่ความเป็น  "คนแปลกหน้า"  ซึ่งกันและกันอนันกาลอีกครั้งหนึ่ง...และอีกครั้งหนึ่ง!?
ขอขอบคุณ คุณเปลว สีเงิน ที่ให้ข้อคิดดีๆ

หลอดไฟ
วีไอพี
member
***

คะแนน246
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 1550


อีเมล์
« ตอบ #1 เมื่อ: มีนาคม 13, 2011, 10:03:26 am »

ภาคเหนือ ภาคใต้ ภาคกลาง ที่ไหนดีครับ
บันทึกการเข้า

ทำวันนี้ให้ดีที่สุด
b.chaiyasith
แก้ปัญหาไม่ตกคุยกันเวลางานline:chiabmillion
.กลุ่มผู้มีน้ำใจงาม.
member
*

คะแนน650
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 3008


ไม้ดีไม่ลอยน้ำมาไกล


อีเมล์
« ตอบ #2 เมื่อ: มีนาคม 13, 2011, 10:19:27 am »

ถ้าอยากสร้างจริงๆ ขอเสนอทุ่งกุลาร้องไห้ โครงการของรัฐบาลควรไปลงที่ไม่มีประชาชนอยู่ เพื่อสร้างชุมชน
ในอนาคต จะได้คัดเลือกคนกล้าไปในตัว (ไม่สร้างดีที่สุดครับ)
บันทึกการเข้า

"CHIAB"
มนุษย์เราแต่ละคน  ต่างไม่รู้ว่ามาจากไหน  ไม่มีใครรู้จักกันมาก่อนเลย  แล้ววันหนึ่งก็มาพบหน้ากัน  สมมุติเป็นพ่อ  เป็นแม่  เป็นเมีย  เป็นสามี  เป็นลูก  อยู่ร่วมกัน  ใช้ชีวิตร่วมกัน และแล้ววันหนึ่ง  ก็แยกย้ายด้วยการ  "ตายจาก"  กันไปสู่  ณ  ที่ซึ่งไม่มีใครได้ตามพบ  คืนสู่ความเป็นผู้ไม่รู้ว่ามาจากไหน  ไปไหน  และคืนสู่ความเป็น  "คนแปลกหน้า"  ซึ่งกันและกันอนันกาลอีกครั้งหนึ่ง...และอีกครั้งหนึ่ง!?
ขอขอบคุณ คุณเปลว สีเงิน ที่ให้ข้อคิดดีๆ
surinn
member
*

คะแนน0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 2


อีเมล์
« ตอบ #3 เมื่อ: มีนาคม 13, 2011, 10:27:05 am »

ใกล้กรุงเทพเหมาะสมมากครับ
บันทึกการเข้า
b.chaiyasith
แก้ปัญหาไม่ตกคุยกันเวลางานline:chiabmillion
.กลุ่มผู้มีน้ำใจงาม.
member
*

คะแนน650
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 3008


ไม้ดีไม่ลอยน้ำมาไกล


อีเมล์
« ตอบ #4 เมื่อ: มีนาคม 15, 2011, 11:20:25 am »

ยังจะอยากสร้างอีก..?

Japan's NHK network explains nuclear reactors and how the systems failed during the earthquake and subsequent tsunami.

http://edition.cnn.com/video/#/video/world/2011/03/14/dnt.japan.reactor.explainer.nhk?hpt=C2
บันทึกการเข้า

"CHIAB"
มนุษย์เราแต่ละคน  ต่างไม่รู้ว่ามาจากไหน  ไม่มีใครรู้จักกันมาก่อนเลย  แล้ววันหนึ่งก็มาพบหน้ากัน  สมมุติเป็นพ่อ  เป็นแม่  เป็นเมีย  เป็นสามี  เป็นลูก  อยู่ร่วมกัน  ใช้ชีวิตร่วมกัน และแล้ววันหนึ่ง  ก็แยกย้ายด้วยการ  "ตายจาก"  กันไปสู่  ณ  ที่ซึ่งไม่มีใครได้ตามพบ  คืนสู่ความเป็นผู้ไม่รู้ว่ามาจากไหน  ไปไหน  และคืนสู่ความเป็น  "คนแปลกหน้า"  ซึ่งกันและกันอนันกาลอีกครั้งหนึ่ง...และอีกครั้งหนึ่ง!?
ขอขอบคุณ คุณเปลว สีเงิน ที่ให้ข้อคิดดีๆ
หลอดไฟ
วีไอพี
member
***

คะแนน246
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 1550


อีเมล์
« ตอบ #5 เมื่อ: มีนาคม 15, 2011, 11:52:58 am »

วันจันทร์นี้ดูข่าวจากไทยทีวี นักวิชาการบอกว่าเตานิวเคลียร์ของญี่ปุ่นเป็นรุ่นเก่า สร้างมานาน40ปีจึงมีปัญหา ในประเทศไทยจะนำเตารุ่นใหม่ล่าสุดราคาเตาละ9หมื่นล้านมาใช้ รับรองได้ว่าไม่มีปัญหารั่วไหลของกัมมันตภาพรังสี
บันทึกการเข้า

ทำวันนี้ให้ดีที่สุด
b.chaiyasith
แก้ปัญหาไม่ตกคุยกันเวลางานline:chiabmillion
.กลุ่มผู้มีน้ำใจงาม.
member
*

คะแนน650
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 3008


ไม้ดีไม่ลอยน้ำมาไกล


อีเมล์
« ตอบ #6 เมื่อ: มีนาคม 15, 2011, 01:30:51 pm »

เตาที่นักวิการพูดนั้นเชื่อว่าเป็นรุ่นที่อเมริกาเลิกใช้แล้ว และเชื้อเพิงชนิดนี้กำลังจะหมดไป
ญี่ปุ่นกลัวมากเพราะมีประสพการณ์คนตายไปเยอะและได้ใช้ระบบที่ประชาชนยอมรับได้
แต่เมื่อต้องShutdownกระทันหัน ไม่มีไฟฟ้าสำลอง ความร้อนก็พุ่งขึ้นเอาไม่อยู่
ไม่ว่ารุ่นไหนก็ระเบิดทั้งนั้น หลังจากนี้มีทางเดียวคือครอบไว้ไม่ให้รั่วเพิ่ม ถ้ามาใช้
ที่บ้านเราจะระเบิดรุนแรงกว่า เพราะไม่มีวินัยและมักดื้อตาใส และที่สำคัญจะเป็น
ปัญหาเมื่อโกรธกับมหาอำนาจ จะเป็นข้ออ้างเพื่อโจมตี ไม่เอาด้วยดีกว่า แต่ใครจะชอบก็ไม่ว่านะ
บันทึกการเข้า

"CHIAB"
มนุษย์เราแต่ละคน  ต่างไม่รู้ว่ามาจากไหน  ไม่มีใครรู้จักกันมาก่อนเลย  แล้ววันหนึ่งก็มาพบหน้ากัน  สมมุติเป็นพ่อ  เป็นแม่  เป็นเมีย  เป็นสามี  เป็นลูก  อยู่ร่วมกัน  ใช้ชีวิตร่วมกัน และแล้ววันหนึ่ง  ก็แยกย้ายด้วยการ  "ตายจาก"  กันไปสู่  ณ  ที่ซึ่งไม่มีใครได้ตามพบ  คืนสู่ความเป็นผู้ไม่รู้ว่ามาจากไหน  ไปไหน  และคืนสู่ความเป็น  "คนแปลกหน้า"  ซึ่งกันและกันอนันกาลอีกครั้งหนึ่ง...และอีกครั้งหนึ่ง!?
ขอขอบคุณ คุณเปลว สีเงิน ที่ให้ข้อคิดดีๆ
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by MySQL Powered by PHP Powered by SMF 1.1 RC2 | SMF © 2001-2006, Lewis Media

lsv2555Please follow the new website at https://www.pohchae.com

Valid CSS!