ปกติออกไข่ประมาณ10-12ฟองครับ
ปกติที่บ้านจะเลี้ยงไก่ไว้สำหรับบริโภคในครัวเรือน บางทีเลี้ยงด้วยข้าวเปลือก ทำให้สิ้นเปลืองข้าวเปลือกเป็นอันมาก มีวิธีการเลี้ยงไก่บ้านแนะนำไหมครับ จะได้ประหยัดข้าวเปลือก และประหยัดเงินในกระเป๋าบ้าง ขอบคุณครัว
ก่อนอื่นขออนุญาติถามครับว่ารูปที่ลงนี่ไก่ที่บ้านรึป่าวครับ ถ้าใช่ฝูงนี้สวยดีนะครับ
ปกติแล้วไก่บ้านเป็นไก่ที่หากินเก่ง กินแมลงตามธรรมชาติซึ่งเป็นแหล่งโปรตีนที่ดีอยู่แล้ว ซึ่งปกติเกษตรกรก็จะปล่อยตามหลังบ้านให้หากินกันเอง ถ้ามีพื้นที่หากินเพียงพอและจำนวนไก่ไม่มากเกินไปแทบไม่จำเป็นต้องให้อาหารเลยก็ได้ ปล่อยให้หากินเองและโตตามธรรมชาติถ้าหากไม่รีบร้อนอะไร หรืออาจเสริมด้วยเศษอาหารที่เหลือในครัวเรือน เช่น ข้าวสุก เศษผัก ผลไม้ สิ่งเหล่านี้ก็เลี้ยงไก่ได้ ยังมีกากมะพร้าวที่คั้นกะทิแล้วก็เป็นแหล่งโปรตีนอย่างดีเช่นกัน ยังมีใบกระถินที่มีขึ้นอยู่ทั่วไป อาจตากแดดซัก สองแดด เพื่อลดไซยาไนด์ หรือให้สดก็ได้ไม่มีปัญหา ที่กล่าวมาทั้งหมดแค่ให้เป็นส่วนเสริมก็พอจากที่ไก่หากินเอง วันละหนึ่ง-สองมื้อ เช้าเย็น นอกเหนือจากนี้ผมนึกออกแล้วจะเพิ่มเติมภายหลังครับ
เลี้ยงเป็นไก่ชนก็ต้องมีเชื้อสายไก่ดีๆหน่อย เลี้ยงเป็นอาหารก็ไม่ต้องคิดมาก
ผมเคยเลี้ยงแบบผสมกันคือ ชนได้ กินดี
ผมมีพ่อไก่อยู่หนึ่งตัว พวกกันให้มาเขาบอกว่า มันเก่งมากแต่แต่ตอนนี้มันชนไม่ได้ขาเจ้บเพราะหมากัด
ผมก็ซื้อแม่ไก่มา5ตัว ทำสถานที่ให้มันอยู้กันอย่างง่ายๆแต่ปลอดภัยจากลมฟ้าอากาสและยุงกับหมา
ผมให้มันกินอาหารไก่ไข่เพื่อกระตุ้นการไข่ของมัน
ผมทำตู้ฟักไข่ไว้หนึ่งตู้ ทำห้องอบทารกด้วย
พอต้วไหนไข่สุดแล้ว มันก็เริ่มฟัก ผมก็เอามาเข้าตู้ฟัก พอเป็นต้วแล้วก็เอาเข้ารร.อนุบาล
ทำอยู่อย่างนี้ประมาณปีนึง ผมมีไก่หลายร้อย แม่ไก่1ตัวให้ไข่8-10ฟอง ออกเป็นตัวราว8ตัวเลี้ยงแบบอนุบาลแยกออกมาเนี่ย ไม่มีตายนะ ผมี5แม่ไก่ก็เท่ากับว่า ผมได้ลูกไก่รอบละ50ตัวโดยประมาณปีนึงมันได้หลายรอบเพราะแม่ไก่ไม่ต้องเสียเวลาฟักไข่และเลี้ยงลูก พอเราคัดไข่ออกมาก็เอาแม่ไก่มาขังเดี่ยว ถ่ายพยาธิ ให้อาหารบำรุง ไม่นานมันก็จะเริ่มไข่ได้อีก
อ้อ...บำรุงพ่อไก่ด้วยนะ
ลูกไก่ที่ออกมาชุดแรกประมาณ7-8เดือนก็จะสามารถไข่ได้แล้ว ก็ดูแลเรื่องเวชภัณฑ์ต่างๆให้ดีตามโปรแกรม
ผมคัดตัวผู้ขายตามราคาที่เซียนไก่เขาเรียกว่า มันถูกทหาร คือ เป็นไก่ชนได้ ราคาขั้นต่ำตัวละ500บาท
ตัวที่ไม่ถูกทหารก็ลงเข่งกก.ละ40-50บาท
ไม่รวยอะไรหนักหนา แต่เพลินดี พอมากเข้าก็เริ่มเหนื่อยๆๆๆๆ
แล้วหวัดนกก็มาช่วยให้ผมหายเหนื่อย
ปัจจุบันประชาชนนิยมรับประทานไก่พื้นเมืองกันมาก แม้ว่าประชาชนจะนิยมเลี้ยงกันอยู่ทั่วไปก็ตาม แต่ไก่พื้นเมือง ก็ยัง ไม่เพียงพอต่อความต้องการของตลาด หรือประชาชนผู้รับประมาณเนื้อไก่พื้นเมือง ทั้งนี้เพราะผู้ที่เลี้ยงไกพื้นเมืองในชนบทโดยทั่วไป ใช้วิธีการเลี้ยงแบบปล่อยให้ไก่พื้นเมืองหากินเองตามธรรมชาติ และเลี้ยงเป็นจำนวนน้อย จะให้อาหารบ้างเป็นบางครั้งคราว จึงทำให้ไก่พื้นเมืองเจริญเติบโตช้าและเป็นโรคตายจำนวนมาก ทั้งๆ ที่ไก่พื้นเมืองมีลักษณะเด่น คือ เลี้ยงง่าย มีความต้านทานโรคสูง เนื้อเป็นที่นิยมรับประทาน เพราะมีรสชาติดีดังนั้น หากผู้ที่เลี้ยงไกพื้นเมืองมีการศึกษาวิธีการเลี้ยงไก่พื้นเมือง ให้เข้าใจ พร้อมทั้งมีการดูแลป้องกันรักษาการเกิดโรคต่างๆ ก็จะทำให้ผลผลิตไก่พื้นเมืองดีขึ้น สามารถจำหน่ายได้ราคาดี เป็นการเพิ่มพูนรายได้ให้กับผู้ที่เลี้ยงไก่พื้นเมืองอีกทางหนึ่งด้วย หากมองให้กว้างๆออกไปอีกไก่พื้นเมืองจะช่วยให้ธรรมชาติม ีความสมดุลในระบบไร่นา คือ จะช่วยจิกกินแมลงที่ทำลายต้นพืชบางอย่างการเลี้ยงไก่พื้นเมืองมีประโยชน์ ดังนี้
1. ทำให้ผู้เลี้ยงไก่พื้นเมืองมีอาหารที่ดีมีคุณภาพไว้รับประทานเนื้อไก่พื้นเมืองและไข่ไก่พื้นเมืองทำให้เด็กเจริญเติบโตเร็ว และช่วยบำรุงสมองให้มีสติปัญญาดี เฉลียวฉลาด
2. ทำให้ผู้เลี้ยงไก่พื้นเมืองมีรายได้เพิ่มขึ้น เพิ่มขึ้น เพราะไม่ต้องเสียเงินไปซื้อเนื้อไก่พื้นเมืองและไข่ไก่พื้นเมืองมารับประทาน สามารถเอาเงินนั้นเก็บไว้ซื้อสิ่งอื่น ๆ ที่จำเป็นและหากผู้ที่เลี้ยงไก่พื้นเมืองเลี้ยงไว้จนเหลือรับประทานแล้วก็สามารถนำไก่พื้นเมืองไปขายเพิ่มรายได้ให้กับครอบครัวด้วยอีกทางหนึ่ง 3. มูลไก่เป็นปุ๋ยคอกที่มีธาตุอาหารของพืชสูง มูลไก่เป็นผลพลอยได้อย่างหนึ่งของการเลี้ยงไก่พื้นเมือง เป็นปุ๋ยต้นไม้ต่าง ๆ ได้ดี และเป็นอาหารเลี้ยงปลาก็ได้ เนื่องจากมูลไก่พื้นเมืองมีธาตุอาหารมากมาทั้งไนโตรเจน โปรตีน แคลเซียม และฟอสฟอรัส
4. ไก่พื้นเมืองสามารถเลี้ยงเป็นอาชีพได้ เนื่องจากไก่พื้นเมืองขายได้ราคาดีมากทั้งตัวผู้และตัวเมีย หรือสามารถเลี้ยงเป็นงานอดิเรกก็ได้ ซึ่งก็จะทำให้มีรายได้เพิ่มพูนยิ่งขึ้นอีกทางหนึ่งด้วย
5. ไก่พื้นเมืองเลี้ยงง่ายและมีความต่างทานโรคสูง สามารถปล่อยให้หากินอาหารที่มีอยู่ตามธรรมชาติได้โดยไม่ต้องเสียเวลาในการเลี้ยงดูเหมือนไก่พันธุ์อื่น ๆ
6. การเลี้ยงไก่พื้นเมืองสามารถช่วยแก้ความเครียด ความหงุดหงิดได้ เป็นการผ่อนคลายอารมณ์ได้เป็นอย่างดี และเป็นการใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์
เรื่องที่ 2 คุณสมบัติลักษณะที่ดีของไก่พื้นเมือง
ไก่พื้นเมืองมีข้อดีหลายอย่างด้วยกัน ถ้าผู้ที่เลี้ยงไก่พื้นเมืองหมั่นคอยสังเกตการเลี้ยงจะมองเห็นได้ชัดเจน ดังนี้
1. ไก่พื้นเมืองใช้เวลาเลี้ยงไม่มาก ต้องมีการอนุบาลลูกไก่พื้นเมืองระยะแรกเกิดนิดหน่อย หลังจากนั้นก็ปล่อยให้หาอาหารกินเองตามธรรมชาติ เป็นการช่วยทุ่นค่าอาหารได้ และให้อาหารเสริมบ้าง ไก่พื้นเมืองจึงจะเจริญเติบโต บางทีผู้ที่เลี้ยงไก่พื้นเมืองไม่ต้องมีการอนุบาลลูกไก่ระยะแรกเกิดเลยก็ได้ โดยปล่อยให้แม่ไก่พื้นเมืองฟักไข่และเลี้ยงลูกจนถึงระยะที่แม่และลูกไก่พื้นเมืองแยกออกจากกัน
2. ในปีหนึ่ง ๆ แม่ไก่พื้นเมืองจะไข่และฟักไข่ 3-4 รุ่นต่อปี แม่ไก่ตัวหนึ่งจะฟักลูกออกมาประมาณ 8-12 ตัว ทั้งปีแม่ไก่พื้นเมือง 1 ตัว จะให้ลูกประมาณ 30-40 ตัว ทำให้ผู้ที่เลี้ยงไก่พื้นเมืองมีไก่พื้นเมืองกินตลอดปี
3. เมื่อพูดถึงไก่พื้นเมืองแล้ว จะมีรสชาดอร่อย เนื้อไก่พื้นเมืองมีไขมันน้อยและให้คุณค่าทางอาหารสูงจึงเป็นที่ต้องการของตลาด เพราะประชาชนนิยมรับประทานไก่พื้นเมืองเป็นหลักมากกว่าไก่พันธุ์อื่น ๆ
4. มีผู้ที่เลี้ยงไก่พื้นเมืองหลายรายที่สามารถเลี้ยงไก่พื้นเมืองเป็นอาชีพได้อย่างดี เนื่องจากไก่พื้นเมืองมีราคาสูง ขายได้ราคาดีทั้งตัวผู้และตัวเมีย จึงยึดเป็นอาชีพหลักได้อย่างสบาย ซึ่งนับเป็นอาชีพที่น่าสนใจมากทีเดียว
5. ไก่พื้นเมืองเลี้ยงง่ายมีความต้านทานโรคสูง สามารถเลี้ยงแบบปล่อยได้ ไม่เสียเวลาเลี้ยงดูมาก และกินอาหารที่มีอยู่ตามธรรมชาติได้ไม่เหมือนไก่พันธุ์อื่น ๆ
เรื่องที่ 3 การเลือกสถานที่เลี้ยงไก่พื้นเมือง
สถานที่เลี้ยงไก่พื้นเมือง นับเป็นปัจจัยที่บ่งบอกความสำเร็จของการเลี้ยงไก่พื้นเมืองได้เป็นอย่างดี ดังนั้น ผู้ที่เลี้ยงไก่พื้นเมืองควรให้ความสนใจการเลือกสถานที่เลี้ยงไก่พื้นเมือง ควรพิจารณาสิ่งสำคัญ ดังนี้
1. ควรเป็นที่เนินและเป็นที่ระบายน้ำได้ดี เพราะเมื่อถึงฤดูฝนเวลาฝนตกลงมาน้ำจะได้ไม่ท่วม หากบริเวณใกล้เคียงกันเป็นที่นาก็จะดีมาก เนื่องจากเมื่อถึงฤดูเก็บเกี่ยวข้าว ข้าวที่ตกหล่นจะเป็นอาหารของไก่พื้นเมืองที่เลี้ยงอยู่
2. ใกล้แหล่งน้ำจืด การเลี้ยงไก่พื้นเมืองจำเป็นต้องมีน้ำจืดที่สะอาดให้กินตลอดเวลา จะช่วยให้การเลี้ยงไก่พื้นเมืองประสบความสำเร็จมากยิ่งขึ้น ถ้าไก่พื้นเมืองขาดน้ำแล้ว การเจริญเติบโตของไก่พื้นเมืองอาจลดลงได้
3. สถานที่ที่จะเลี้ยงไก่พื้นเมืองนั้น ไม่ควรเป็นที่ที่เคยมีโรคระบาดมาก่อน
4. ควรอยู่ห่างจากแหล่งชุมชนพอสมควร ทั้งนี้เพื่อป้องกันไม่ให้กลิ่นและเสียงไปรบกวนหรือไปทำความรำคาญให้กับชาวบ้างใกล้เคียง
5. อยู่ใกล้เส้นทางคมนาคม เพื่อเป็นการประหยัดค่าขนส่ง ไม่ว่าจะเป็นการขนอาหาร วัสดุในการเลี้ยงเข้ามา หรือขนไก่พื้นเมืองออกไปจำหน่าย ต้องทำได้ง่ายและสะดวก
6. บริเวณที่เลี้ยงไก่พื้นเมือง ควรมีต้นไม้เพื่อบังแสงแดดในตองกลางวันหรือตอนบ่าย จะช่วยให้สถานที่เลี้ยงไก่พื้นเมืองมีความร่มเย็นทำให้ไก่พื้นเมืองไม่เครียดเกินไป การเจริญเติบโตของไก่พื้นเมืองก็เป็นไปตามปกติ
7. จะต้องไม่ไกลจากบ้านพักของผู้ที่เลี้ยงไก่พื้นเมืองมากเกินไปนักทั้งนี้เพื่อสะดวกในการดูแล
8. บริเวณที่เลี้ยงไก่พื้นเมือง ควรอยู่ในที่ที่ปลอดภัยจากขโมยและสัตว์ร้ายต่าง ๆ เช่น งู พังพอน และสุนัขด้วย
เรื่องที่ 4 การคัดเลือกพันธุ์ไก่พื้นเมือง
การคัดเลือกพันธุ์ไก่พื้นเมือง ผู้ที่จะเลี้ยงควรคำนึงถึงสิ่งต่อไปนี้
1. ไก่พื้นเมืองที่ดีควรมีรูปร่างใหญ่ ตัวโต แข็งแรง คอยาว ขนดกเป็นมัน ไม่เป็นโรค คัดจากพ่อแม่เป็นไก่พื้นเมืองที่มีลูกดก
2. ผู้ที่เลี้ยงไก่พื้นเมืองต้องหมั่นคัดเลือกพ่อพันธุ์ แม่พันธุ์ไก่พื้นเมืองตัวที่มีลักษณะดีเด่นไว้ทำพันธุ์ ถ้าพ่อพันธุ์ แม่พันธุ์ไก่มีอายุแก่เกิน 3 ปี ให้คัดออกไม่ใช้ทำพันธุ์ต่อไป
3. ให้คัดเลือกลูกไก่พื้นเมืองที่เกิดจากพ่อพันธุ์ แม่พันธุ์ไก่พื้นเมืองตัวที่ดีไว้ทำพันธุ์รุ่นละ 2-3 ตัว
ลักษณะพ่อพันธุ์ แม่พันธุ์ไก่พื้นเมืองที่ดี
1. พ่อพันธุ์ไก่พื้นเมืองที่ดี จะต้องมีรูปร่างสมบูรณ์ แข็งแรง มีน้ำหนักตัวตั้งแต่ 2.5 กิโลกรัมขึ้นไป มีอายุตั้งแต่ 9 เดือน แต่ไม่เกิน 3 ปี
2. แม่พันธุ์ไก่พื้นเมือง จะต้องมีรูปร่างสมบูรณ์ แข็งแรง ขนดก มีน้ำหนักตัวตั้งแต่ 1.5 กิโลกรัมขึ้นไป มีอายุตั้งแต่ 7 เดือน แต่ไม่เกิน 3 ปี และมีความสามารถเฉพาะตัว ดังนี้
- ให้ไข่อย่างน้อยปีละ 4 ชุด
- ให้ไข่อย่างน้อยชุดละ 12 ฟอง
- ฟักไข่ออกเป็นตัวอย่างน้อยชุดละ 8 ตัว
- เลี้ยงลูกเก่ง เลี้ยงลูกรอดจนโตชุดละประมาณ 6 ตัว
- ไม่ดุร้าย ไม่คอยจิกตีลูกไก่พื้นเมืองของแม่ไก่พื้นเมืองตัวอื่น ๆ
[url=http://dnfe5.nfe.go.th/ilp/occupation/45209/4520902.html]]http://dnfe5.nfe.go.th/ilp/occupation/45209/4520902.html]ปัจจุบันประชาชนนิยมรับประทานไก่พื้นเมืองกันมาก แม้ว่าประชาชนจะนิยมเลี้ยงกันอยู่ทั่วไปก็ตาม แต่ไก่พื้นเมือง ก็ยัง ไม่เพียงพอต่อความต้องการของตลาด หรือประชาชนผู้รับประมาณเนื้อไก่พื้นเมือง ทั้งนี้เพราะผู้ที่เลี้ยงไกพื้นเมืองในชนบทโดยทั่วไป ใช้วิธีการเลี้ยงแบบปล่อยให้ไก่พื้นเมืองหากินเองตามธรรมชาติ และเลี้ยงเป็นจำนวนน้อย จะให้อาหารบ้างเป็นบางครั้งคราว จึงทำให้ไก่พื้นเมืองเจริญเติบโตช้าและเป็นโรคตายจำนวนมาก ทั้งๆ ที่ไก่พื้นเมืองมีลักษณะเด่น คือ เลี้ยงง่าย มีความต้านทานโรคสูง เนื้อเป็นที่นิยมรับประทาน เพราะมีรสชาติดีดังนั้น หากผู้ที่เลี้ยงไกพื้นเมืองมีการศึกษาวิธีการเลี้ยงไก่พื้นเมือง ให้เข้าใจ พร้อมทั้งมีการดูแลป้องกันรักษาการเกิดโรคต่างๆ ก็จะทำให้ผลผลิตไก่พื้นเมืองดีขึ้น สามารถจำหน่ายได้ราคาดี เป็นการเพิ่มพูนรายได้ให้กับผู้ที่เลี้ยงไก่พื้นเมืองอีกทางหนึ่งด้วย หากมองให้กว้างๆออกไปอีกไก่พื้นเมืองจะช่วยให้ธรรมชาติม ีความสมดุลในระบบไร่นา คือ จะช่วยจิกกินแมลงที่ทำลายต้นพืชบางอย่างการเลี้ยงไก่พื้นเมืองมีประโยชน์ ดังนี้
1. ทำให้ผู้เลี้ยงไก่พื้นเมืองมีอาหารที่ดีมีคุณภาพไว้รับประทานเนื้อไก่พื้นเมืองและไข่ไก่พื้นเมืองทำให้เด็กเจริญเติบโตเร็ว และช่วยบำรุงสมองให้มีสติปัญญาดี เฉลียวฉลาด
2. ทำให้ผู้เลี้ยงไก่พื้นเมืองมีรายได้เพิ่มขึ้น เพิ่มขึ้น เพราะไม่ต้องเสียเงินไปซื้อเนื้อไก่พื้นเมืองและไข่ไก่พื้นเมืองมารับประทาน สามารถเอาเงินนั้นเก็บไว้ซื้อสิ่งอื่น ๆ ที่จำเป็นและหากผู้ที่เลี้ยงไก่พื้นเมืองเลี้ยงไว้จนเหลือรับประทานแล้วก็สามารถนำไก่พื้นเมืองไปขายเพิ่มรายได้ให้กับครอบครัวด้วยอีกทางหนึ่ง 3. มูลไก่เป็นปุ๋ยคอกที่มีธาตุอาหารของพืชสูง มูลไก่เป็นผลพลอยได้อย่างหนึ่งของการเลี้ยงไก่พื้นเมือง เป็นปุ๋ยต้นไม้ต่าง ๆ ได้ดี และเป็นอาหารเลี้ยงปลาก็ได้ เนื่องจากมูลไก่พื้นเมืองมีธาตุอาหารมากมาทั้งไนโตรเจน โปรตีน แคลเซียม และฟอสฟอรัส
4. ไก่พื้นเมืองสามารถเลี้ยงเป็นอาชีพได้ เนื่องจากไก่พื้นเมืองขายได้ราคาดีมากทั้งตัวผู้และตัวเมีย หรือสามารถเลี้ยงเป็นงานอดิเรกก็ได้ ซึ่งก็จะทำให้มีรายได้เพิ่มพูนยิ่งขึ้นอีกทางหนึ่งด้วย
5. ไก่พื้นเมืองเลี้ยงง่ายและมีความต่างทานโรคสูง สามารถปล่อยให้หากินอาหารที่มีอยู่ตามธรรมชาติได้โดยไม่ต้องเสียเวลาในการเลี้ยงดูเหมือนไก่พันธุ์อื่น ๆ
6. การเลี้ยงไก่พื้นเมืองสามารถช่วยแก้ความเครียด ความหงุดหงิดได้ เป็นการผ่อนคลายอารมณ์ได้เป็นอย่างดี และเป็นการใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์
เรื่องที่ 2 คุณสมบัติลักษณะที่ดีของไก่พื้นเมือง
ไก่พื้นเมืองมีข้อดีหลายอย่างด้วยกัน ถ้าผู้ที่เลี้ยงไก่พื้นเมืองหมั่นคอยสังเกตการเลี้ยงจะมองเห็นได้ชัดเจน ดังนี้
1. ไก่พื้นเมืองใช้เวลาเลี้ยงไม่มาก ต้องมีการอนุบาลลูกไก่พื้นเมืองระยะแรกเกิดนิดหน่อย หลังจากนั้นก็ปล่อยให้หาอาหารกินเองตามธรรมชาติ เป็นการช่วยทุ่นค่าอาหารได้ และให้อาหารเสริมบ้าง ไก่พื้นเมืองจึงจะเจริญเติบโต บางทีผู้ที่เลี้ยงไก่พื้นเมืองไม่ต้องมีการอนุบาลลูกไก่ระยะแรกเกิดเลยก็ได้ โดยปล่อยให้แม่ไก่พื้นเมืองฟักไข่และเลี้ยงลูกจนถึงระยะที่แม่และลูกไก่พื้นเมืองแยกออกจากกัน
2. ในปีหนึ่ง ๆ แม่ไก่พื้นเมืองจะไข่และฟักไข่ 3-4 รุ่นต่อปี แม่ไก่ตัวหนึ่งจะฟักลูกออกมาประมาณ 8-12 ตัว ทั้งปีแม่ไก่พื้นเมือง 1 ตัว จะให้ลูกประมาณ 30-40 ตัว ทำให้ผู้ที่เลี้ยงไก่พื้นเมืองมีไก่พื้นเมืองกินตลอดปี
3. เมื่อพูดถึงไก่พื้นเมืองแล้ว จะมีรสชาดอร่อย เนื้อไก่พื้นเมืองมีไขมันน้อยและให้คุณค่าทางอาหารสูงจึงเป็นที่ต้องการของตลาด เพราะประชาชนนิยมรับประทานไก่พื้นเมืองเป็นหลักมากกว่าไก่พันธุ์อื่น ๆ
4. มีผู้ที่เลี้ยงไก่พื้นเมืองหลายรายที่สามารถเลี้ยงไก่พื้นเมืองเป็นอาชีพได้อย่างดี เนื่องจากไก่พื้นเมืองมีราคาสูง ขายได้ราคาดีทั้งตัวผู้และตัวเมีย จึงยึดเป็นอาชีพหลักได้อย่างสบาย ซึ่งนับเป็นอาชีพที่น่าสนใจมากทีเดียว
5. ไก่พื้นเมืองเลี้ยงง่ายมีความต้านทานโรคสูง สามารถเลี้ยงแบบปล่อยได้ ไม่เสียเวลาเลี้ยงดูมาก และกินอาหารที่มีอยู่ตามธรรมชาติได้ไม่เหมือนไก่พันธุ์อื่น ๆ
เรื่องที่ 3 การเลือกสถานที่เลี้ยงไก่พื้นเมือง
สถานที่เลี้ยงไก่พื้นเมือง นับเป็นปัจจัยที่บ่งบอกความสำเร็จของการเลี้ยงไก่พื้นเมืองได้เป็นอย่างดี ดังนั้น ผู้ที่เลี้ยงไก่พื้นเมืองควรให้ความสนใจการเลือกสถานที่เลี้ยงไก่พื้นเมือง ควรพิจารณาสิ่งสำคัญ ดังนี้
1. ควรเป็นที่เนินและเป็นที่ระบายน้ำได้ดี เพราะเมื่อถึงฤดูฝนเวลาฝนตกลงมาน้ำจะได้ไม่ท่วม หากบริเวณใกล้เคียงกันเป็นที่นาก็จะดีมาก เนื่องจากเมื่อถึงฤดูเก็บเกี่ยวข้าว ข้าวที่ตกหล่นจะเป็นอาหารของไก่พื้นเมืองที่เลี้ยงอยู่
2. ใกล้แหล่งน้ำจืด การเลี้ยงไก่พื้นเมืองจำเป็นต้องมีน้ำจืดที่สะอาดให้กินตลอดเวลา จะช่วยให้การเลี้ยงไก่พื้นเมืองประสบความสำเร็จมากยิ่งขึ้น ถ้าไก่พื้นเมืองขาดน้ำแล้ว การเจริญเติบโตของไก่พื้นเมืองอาจลดลงได้
3. สถานที่ที่จะเลี้ยงไก่พื้นเมืองนั้น ไม่ควรเป็นที่ที่เคยมีโรคระบาดมาก่อน
4. ควรอยู่ห่างจากแหล่งชุมชนพอสมควร ทั้งนี้เพื่อป้องกันไม่ให้กลิ่นและเสียงไปรบกวนหรือไปทำความรำคาญให้กับชาวบ้างใกล้เคียง
5. อยู่ใกล้เส้นทางคมนาคม เพื่อเป็นการประหยัดค่าขนส่ง ไม่ว่าจะเป็นการขนอาหาร วัสดุในการเลี้ยงเข้ามา หรือขนไก่พื้นเมืองออกไปจำหน่าย ต้องทำได้ง่ายและสะดวก
6. บริเวณที่เลี้ยงไก่พื้นเมือง ควรมีต้นไม้เพื่อบังแสงแดดในตองกลางวันหรือตอนบ่าย จะช่วยให้สถานที่เลี้ยงไก่พื้นเมืองมีความร่มเย็นทำให้ไก่พื้นเมืองไม่เครียดเกินไป การเจริญเติบโตของไก่พื้นเมืองก็เป็นไปตามปกติ
7. จะต้องไม่ไกลจากบ้านพักของผู้ที่เลี้ยงไก่พื้นเมืองมากเกินไปนักทั้งนี้เพื่อสะดวกในการดูแล
8. บริเวณที่เลี้ยงไก่พื้นเมือง ควรอยู่ในที่ที่ปลอดภัยจากขโมยและสัตว์ร้ายต่าง ๆ เช่น งู พังพอน และสุนัขด้วย
เรื่องที่ 4 การคัดเลือกพันธุ์ไก่พื้นเมือง
การคัดเลือกพันธุ์ไก่พื้นเมือง ผู้ที่จะเลี้ยงควรคำนึงถึงสิ่งต่อไปนี้
1. ไก่พื้นเมืองที่ดีควรมีรูปร่างใหญ่ ตัวโต แข็งแรง คอยาว ขนดกเป็นมัน ไม่เป็นโรค คัดจากพ่อแม่เป็นไก่พื้นเมืองที่มีลูกดก
2. ผู้ที่เลี้ยงไก่พื้นเมืองต้องหมั่นคัดเลือกพ่อพันธุ์ แม่พันธุ์ไก่พื้นเมืองตัวที่มีลักษณะดีเด่นไว้ทำพันธุ์ ถ้าพ่อพันธุ์ แม่พันธุ์ไก่มีอายุแก่เกิน 3 ปี ให้คัดออกไม่ใช้ทำพันธุ์ต่อไป
3. ให้คัดเลือกลูกไก่พื้นเมืองที่เกิดจากพ่อพันธุ์ แม่พันธุ์ไก่พื้นเมืองตัวที่ดีไว้ทำพันธุ์รุ่นละ 2-3 ตัว
ลักษณะพ่อพันธุ์ แม่พันธุ์ไก่พื้นเมืองที่ดี
1. พ่อพันธุ์ไก่พื้นเมืองที่ดี จะต้องมีรูปร่างสมบูรณ์ แข็งแรง มีน้ำหนักตัวตั้งแต่ 2.5 กิโลกรัมขึ้นไป มีอายุตั้งแต่ 9 เดือน แต่ไม่เกิน 3 ปี
2. แม่พันธุ์ไก่พื้นเมือง จะต้องมีรูปร่างสมบูรณ์ แข็งแรง ขนดก มีน้ำหนักตัวตั้งแต่ 1.5 กิโลกรัมขึ้นไป มีอายุตั้งแต่ 7 เดือน แต่ไม่เกิน 3 ปี และมีความสามารถเฉพาะตัว ดังนี้
-
ให้ไข่อย่างน้อยปีละ 4 ชุด
- ให้ไข่อย่างน้อยชุดละ 12 ฟอง
- ฟักไข่ออกเป็นตัวอย่างน้อยชุดละ 8 ตัว
- เลี้ยงลูกเก่ง เลี้ยงลูกรอดจนโตชุดละประมาณ 6 ตัว
- ไม่ดุร้าย ไม่คอยจิกตีลูกไก่พื้นเมืองของแม่ไก่พื้นเมืองตัวอื่น ๆhttp://dnfe5.nfe.go.th/ilp/occupation/45209/4520902.html