เมื่อลำไยแตกช่อที่ถิ่นใต้....+f
มกราคม 12, 2025, 03:19:47 am *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
   หน้าแรก   ช่วยเหลือ เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก  
หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: เมื่อลำไยแตกช่อที่ถิ่นใต้....+f  (อ่าน 15171 ครั้ง)
ช่างเล็ก(LSV)
Administrator
member
*

คะแนน1346
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 18847


คิดดี ทำดี ชีวิตมีแต่สุข


อีเมล์
« เมื่อ: สิงหาคม 07, 2009, 07:42:37 am »

หากอ่านบทความไม่พอดีกับจอมือถือ คลิ๊ก!!ดูเนื้อหาเกี่ยวข้อง>www.ubmthai.com เวอร์ชั่นสมาร์ทโฟน >>

https://goo.gl/meZt7N

ปกติลำไยจะขึ้นได้ดีที่ภาคเหนือ ไม่เป็นเรื่องแปลกที่จะออกลูกที่สมบูรณ์ในภาคนั้น..
  แต่วันนี้จะพาไปดูลำไยออกดอก ออกผลทางภาคใต้กันบ้างครับ ลบล้างคำพูดที่เคยได้ยินว่า "...อย่าปลูกลำไยในภาคใต้เลย ไม่มีทางจะออกลูกหรอก .."

  ..น้องชายตัวดีของผม ขับรถมารับในตอนเที่ยงวัน พร้อมบอกว่า " ...พี่ๆไปดูลำไยออกลูกกันที่ต.เปียะ อ.ปากพนัง กันดีกว่า จะได้ไปลองชิมกันด้วยว่ารสชาดเป็นยังไง ... " ผมไม่รีรอ คว้ากล้องได้ก็กระโดดขึ้นรถทันที

  ..อีก20นาทีเราถึงที่หมาย บนเส้นทางปากพนัง-นครศรีฯ เห็นลูกลำไยวาง..เอ้ย แขวน ขายกันเป็นพวงๆแบบข้างทางเชียงใหม่-ลำปาง เด๊ะเลย...ส่วนมะพร้าวน้ำหอมลูกละ5บาทเท่านั้น ปอกให้กินกันเดี๋ยวนั้น หอม..หวาน ชื่นใจ...  HAPPY2!!




บันทึกการเข้า

ช่างเล็ก(LSV)
Administrator
member
*

คะแนน1346
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 18847


คิดดี ทำดี ชีวิตมีแต่สุข


อีเมล์
« ตอบ #1 เมื่อ: สิงหาคม 07, 2009, 07:54:38 am »

เราแกล้งถามแม่ค้าหน้าหวาน ว่าไปเอาลำไยทางภาคเหนือมาขายใช่ไหม ... แม่ค้าหัวเราะลั่นบอกว่า .." หม้ายช่าย เป็นลำไยปลูกที่นี่จริงๆ ลองกินแล หร่อยจังหูนิ...ไม่เชื่อตนลองแลต้นข้างหลังนี่ต๊ะ..." พูดพลางชี้นิ้วไปที่ต้นไม้ข้างเพิงขายผลไม้ ..

... เราสาดสายตาไปตามนิ้ว เออ...ต้นลำไยของจริงด้วยสิ   Sad HAPPY2!!




บันทึกการเข้า
ช่างเล็ก(LSV)
Administrator
member
*

คะแนน1346
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 18847


คิดดี ทำดี ชีวิตมีแต่สุข


อีเมล์
« ตอบ #2 เมื่อ: สิงหาคม 07, 2009, 07:56:24 am »

ลูกลำไยถูกห่อไว้อย่างดี ..สงสัยคงกลัวยุงกัด  Shocked HAPPY2!!



บันทึกการเข้า
ช่างเล็ก(LSV)
Administrator
member
*

คะแนน1346
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 18847


คิดดี ทำดี ชีวิตมีแต่สุข


อีเมล์
« ตอบ #3 เมื่อ: สิงหาคม 07, 2009, 07:58:20 am »

ดกไม่ดก ดูกันเอง ..นี่ขนาดเก็บไปหลายรอบแล้วนะ (ทีนี้แม่ค้าตาหวานคุยทับเลย อิๆ )  HAPPY2!!



บันทึกการเข้า
ช่างเล็ก(LSV)
Administrator
member
*

คะแนน1346
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 18847


คิดดี ทำดี ชีวิตมีแต่สุข


อีเมล์
« ตอบ #4 เมื่อ: สิงหาคม 07, 2009, 08:04:54 am »

..ที่นี่ปลูกไว้ประมาณ30ต้น ชะรอยว่าวันนี้แม่ค้าอารมณ์ดีขายกิโลละ20.-บาท.เท่านั้น
   ..ผมดีใจลึกๆที่ทางถิ่นใต้ สามารถปลูกไม้ผลได้หลายชนิดทีเดียว สามารถสร้างรายได้ให้ชาวบ้าน ..ไม่ต้องตะรอนๆออกไปหากินให้ไกลถิ่นฐานบ้านเกิด ดังเช่นตัวผม    HAPPY2!!



บันทึกการเข้า
ช่างเล็ก(LSV)
Administrator
member
*

คะแนน1346
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 18847


คิดดี ทำดี ชีวิตมีแต่สุข


อีเมล์
« ตอบ #5 เมื่อ: สิงหาคม 07, 2009, 08:09:06 am »

เราซื้อติดมือมาด้วย เพราะต้องการอุดหนุนคุณป้าตาหวานให้มีกำลังใจ ทั้งๆที่คุณป้าให้มาชิมฟรีตั้งเยอะ ...  Cheesy HAPPY2!!

  ..ลองผ่าดูซิ ว่าจะเป็นยังไง

  ..ชิมดูแล้วปรากฏว่ากลายพันธุ์ไปพอควร มีน้ำเยอะไปหน่อย เม็ดในโตกว่าลำไยทางภาคเหนือ ...ถ้าคั้นเอาน้ำไปปั่นเป็นน้ำลำไย น่าจะเหมาะ  HAPPY2!!



.
.

บันทึกการเข้า
ช่างเล็ก(LSV)
Administrator
member
*

คะแนน1346
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 18847


คิดดี ทำดี ชีวิตมีแต่สุข


อีเมล์
« ตอบ #6 เมื่อ: สิงหาคม 07, 2009, 08:11:23 am »

ลองเทียบกับลำไยที่วางขายในตลาดอ.ปากพนัง(กิโลละ25-30บาท) จะเห็นว่าลำไยทางภาคเหนือเนื้อแน่นกว่า มีน้ำน้อยกว่า อร่อยกว่า  HAPPY2!!


บันทึกการเข้า
ช่างเล็ก(LSV)
Administrator
member
*

คะแนน1346
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 18847


คิดดี ทำดี ชีวิตมีแต่สุข


อีเมล์
« ตอบ #7 เมื่อ: สิงหาคม 07, 2009, 08:20:45 am »

คุณป้าเล่าถึงปัญหาที่พบ คือต้นลำไยที่นี่เมื่ออายุประมาณ5-7ปีลำต้นมักจะแตกแล้วล้มตาย พยายามแก้ไขรักษาหลายๆทางแล้วก็ยังไม่สำเร็จ และลูกลำไยมีน้ำเยอะ ไม่อร่อย เช่นทางเหนือ 

..ท่านใดเชี่ยวชาญด้านลำไย(ปลูกไม่ใช่ชิมนะ) ช่วยให้คำแนะนำวิธีแก้ไขด้วยนะครับ จะขอบคุณมาก ...ผมจะคาบข่าวไปบอกชาวบ้านที่ปลูกลำไยได้ทดลองแก้ไขดู เผื่อได้ผลดี ชาวบ้านจะมีกำลังใจมากขึ้น ... เป็นการช่วยเสริมสร้างอาชีพให้แก่ชาวบ้านอีกทาง ...หากได้ผล ต่อไปใครจะไปรู้ว่าลำไยที่วางขายในจ.เชียงใหม่ อาจส่งมาจากปากพนังก็ได้ อิๆ  Shocked

 ...เช้านี้คุยซะเพลิน ..คุณลุงข้างบ้านยกทีวีมาให้ช่วยซ่อมหน่อย อาการแกบอกว่าเสียไม่เยอะหรอก น้ำเข้านิดเดียว เครื่องใจเสาะ ควันขึ้น(นิดเดียวอีกแหละ)จากนั้นเปิดไม่ติดอีกเลย ... ค่าซ่อมอย่าให้เกินพันนะ  ..ฮ่าๆอย่างนี้หมูจริงๆขอตัวหาเงินค่าเน็ตก่อนนะครับ  Shocked THANK!!



 
บันทึกการเข้า
ถาวร-LSVteam
.กลุ่มผู้มีน้ำใจงาม.
member
*

คะแนน955
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 7987



อีเมล์
« ตอบ #8 เมื่อ: สิงหาคม 07, 2009, 08:44:56 am »

สงสัยว่ามันจะได้น้ำมากไปมั้งครับ สระบุรีก็มีครับเขาปลูกไว้เป็น20ปีแล้วครับ แต่มันมีเนื้อหุ้มเมล็ดนิดเดียว ทุกวันนี้ต้นมันก็ยังอยู่ ลูกเท่านิ้วก้อย เนื้อหนากว่าเปลือกนิดเดียว
บันทึกการเข้า

ยังสร้างความฉิบหายให้ประเทศไทยไมพอกันอีกหรือ 
 ผู้ใดคิดร้ายให้ร้ายพระองค์ มันจงพินาจฉิบหายในเวลาอันใกล้
b.chaiyasith
แก้ปัญหาไม่ตกคุยกันเวลางานline:chiabmillion
.กลุ่มผู้มีน้ำใจงาม.
member
*

คะแนน650
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 3008


ไม้ดีไม่ลอยน้ำมาไกล


อีเมล์
« ตอบ #9 เมื่อ: สิงหาคม 07, 2009, 07:36:57 pm »

การปลูกลำไย

 

                ลำไย  เป็นไม้ผลกึ่งเมืองร้อย  เจริญเติบโตได้ดีในเมืองร้อน  ปัจจุบันนี้ลำไยเป็นผลไม้ที่นิยมบริโภคกันมาก   ทั้งในประเทศและต่างประเทศ  นับเป็นพืชที่น่าสนใจยิ่งของชาวสวน  เพราะเป็นผลไม้ที่มีราคาดีและมีคู่แข่งน้อยมากในตลาดต่างประเทศ  นอกจากนี้ลำไยยังเป็นที่ต้องการของโรงงานอุตสาหกรรมอีกด้วย

 

สภาพดินฟ้าอากาศที่เหมาะสม

                1. ดินและสภาพพื้นที่  ลำไยต้องการดินที่มีความอุดมสมบูรณ์สูงถึงปานกลางดินมีการระบายน้ำดี  เช่น  ดินร่วน  ดินร่วนปนทราย  หรือดินร่วนปนเหนียว  พื้นที่ดินควรมีความสูงพอสมควร

                2. น้ำและความชื้น  ในเขตที่ไม่มีการชลประทานต้องการปริมาณน้ำฝนที่เหมาะสมประมาณ  1,200-1,400  มิลลิเมตรต่อปี  ในช่วงเดือนมีนาคม-เมษายน  ถ้าลดลงต่ำมากาจะทำให้ดอกผลแห้งร่วงไป  อุณหภูมิต่ำประมาณ  10-12  องศาเซลเซียส   เมื่อติดผลแล้วอุณหภูมิจะสูงขึ้นก็ไม่เป็นไร  แต่ถ้าสูงเกิน  40  องศาเซลเซียส  จะทำให้ผลแห้งและแตก

 

พื้นที่ปลูกลำไยในประเทศไทย

                การปลูกลำไยส่วนใหญ่ปลูกในภาคเหนือ  เนื่องจากมีสภาพแวดล้อมที่เหมาะสม  80%  ของลำไยปลูกอยู่ที่จังหวัดเชียงใหม่  ลำพูน  เชียงราย  ลำปาง  นอกจากนี้ก็มีปลูกกันบ้างในภาคกลางและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ  แต่คุณภาพของลำไยต่ำกว่าในภาคเหนือ

 

พันธุ์ลำไย

                ลำไยแบ่งออกเป็น  2  ประเภทคือ

                1.   ลำไยเครือ  เป็นลำไยที่มีผลเล็ก  เมล็ดโต  มีกลิ่นคาวคล้ายกลิ่นกำมะถัน  มีปลูกทั่วไป  นิยมปลูกเป็นไม้ประดับ

                2.   ลำไยต้น  เป็นลำไยที่รู้จักกันทั่วไป  แบ่งออกเป็น  2  ชนิด  คือ

               

-  ลำไยพื้นเมือง  (ลำไยกระดูกหรือลำไยผลเล็ก)  มีผลเล็กเมล็ดโต  เนื้อบาง  ให้ผลดก  เปลือกลำต้นขรุขระมาก  ต้นตรงปัจจุบันนิยมใช้ทำต้นตอ

                -   ลำไยกระโหลก  เป็นลำไยที่นิยมบริโภคกันมาก  ปัจจุบันมีพันธ์ใหม่  ๆ  มาก  พันธุ์ที่สำคัญในปัจจุบันได้แก่พันธ์  อีดอ  แห้ว  สีชมพู  และเบี้ยวเขียว

 

พันธุ์ลำไยกระโหลก

                1.  พันธุ์แดงกลม  (อีแดง)   ให้ผลดกที่สุด  ความสม่ำเสมอในการออกผลดี  แต่มีราคาต่ำ  เพราะผลเล็ก  เมล็ดโต  เนื้อบาง  แฉะ  แตกง่าย  เก็บไม่ได้นาน  และไม่ต้านทานต่อสภาพน้ำขัง

 

                2. พันธุ์อีดอ  เป็นพันธุ์เบา  แก่ก่อนพันธุ์อื่น  ขายได้ราคาดี  เจริญเติบโตเร็ว  ให้ผลสม่ำเสมอ  ไม่เว้นปี  ผลผลิตดีพอควร  คุณภาพปานกลาง  เนื้อไม่ค่อยกรอบ  มีกลิ่นคาวเล็กน้อย

               

3.   พันธุ์แห้ว  เป็นพันธุ์ที่มีคุณภาพการบริโภคดีมาก  เนื้อแห้ง  สีขาวขุ่นและกรอบที่สุด  เปลือกหนา  ทนทานต่อการขนส่งและเก็บไว้ได้นาน  แต่มีข้อเสียคือ  ออกผลไม่สม่ำเสมอมักเว้นปี  มีช่วงการเก็บผลสั้น  ก้านแข็งทำให้บรรจุภาชนะยาก  ผลเบี้ยวเล็กน้อย  จึงปลอมขายเป็นพันธุ์เบี้ยวเขียว  ซึ่งราคาดีกว่า  แต่ก็เป็นพันธุ์เดียวที่โรงงานต้องการมากเพราะกรอบทน

 

4.   พันธุ์สีชมพู  มีคุณภาพการบริโภคดีมาก  รสหวานจัดที่สุด  เนื้อสีชมพู  หนา  กรอบ  มีกลิ่นหอม  ช่อยาว  ปีที่มีสภาพแวดล้อมเหมาะสมดีจะให้ผลผลิตสูงมาก  มีข้อเสียคือ  ค้นไม่ค่อยแข็งแรง  ต้องการดินอุดมสมบูรณ์  และการดูแลรักษาดี  มีน้ำสม่ำเสมอและความชื้นในอากาศสูงพันธุ์นี้เป็นที่นิยมมากทั้งในประเทศและต่างประเทศ

 

5.              พันธุ์เบี้ยว  (อีเบี้ยว)  เป็นพันธุ์ที่รู้จักกันแพร่หลาน  แบ่งเป็น  2  ชนิดคือ

 

-   เบี้ยวเขียวก้านแข็ง  มีเมล็ดและผลโต  เนื้อกรอบ  เปลือกหนา  คล้ายกับพันธุ์แห้ว  ผลไม่ดก  ออกผลไม่สม่ำเสมอ  ก้านช่อสั้น  จึงไม่ค่อยนิยมนัก

 

-   เบี้ยวเขียวก้านอ่อน  มีคุณภาพในการบริโภคดี  กรอบมาก  รสหวานจัด  ผลโตสม่ำเสมอกัน  เปลือกหนา  เก็บไว้ได้นาน  ช่อยาวให้ผลดกมาก  ออกผลล่ากว่าพันธุ์อื่นทำให้มีราคาดี  ก้านช่อยาว  บรรจุภาชนะได้สะดวก

พันธุ์เบี้ยวเขียวมักถูกปลอมขายโดยใช้พันธุ์แห้วทั้งกิ่งตอนและผล  แต่อาจสังเกตความแตกต่างได้บ้างจาก

ก.   ช่อผล   พันธุ์เบี้ยวเขียวก้านอ่อน  มีช่อผลยาว  และมีความโน้ม  แต่พันธุ์แห้วมีช่อผลสั้นแข็งทื่อและผลไม่สม่ำเสมอ

ข.   ผล   พันธุ์เบี้ยวเขียวก้านอ่อนจะมีผลเบี้ยวเห็นได้ชัดเปลือกสีน้ำตาลอมเขียว  แต่พันธุ์แห้วมีเปลือกสีน้ำตาลคล้ำปนดำ

ค.   ใบ   พันธุ์เบี้ยวเขียวก้านอ่อน  มีใบบางสีเขียวคล้ำเป็นมันและพลิ้วเล็กน้อย   แต่พันธุ์แห้ว  แผ่นใบค่อนข้างเรียบ  ยาวทื่อ  หนา

 

6.   พันธุ์กระโหลกใบดำ  (ใบดำ  อีดำ)   เป็นพันธุ์ที่ให้ผลดกออกผลล่า  ช่วงเวลาการเก็บยืดไปได้นาน  ช่อผลยาว  ขนาดผลสม่ำเสมอบรรจุภาชนะได้สะดวก  ทนต่อความแห้งแล้งและน้ำขัง  แฉะ  มีข้อเสีย  คือ  เนื้อค่อนข้างเหนียว  ผลไม่โต  ผิวไม่สวย

 

7.   พันธุ์ปู่มาตีนโค้ง  มีผลสวยมากขนาดใหญ่ที่สุด  สีเขียวสวยให้ผลดก  แต่คุณภาพเลวมาก  รสไมดี  และมีกลิ่นคาวจัด  (กลิ่นกำมะถัน)

 

แหล่งพันธุ์ลำไย

                ปัจจุบันไม่มีการปลูกลำไยเพื่อขยายพันธุ์โดยเฉพาะ  ดังนั้นจึงต้องติดต่อชื้อกับชาวสวนลำไยทั่วไปโดยอาจติดต่อกับชาวสวนโดยตรง  หรือเพื่อความแน่นอนอาจติดต่อเจ้าหน้าที่สำนักงานเกษตรจังหวัดหรือเกษตรอำเภอในแหล่งปลูกลำไยนั้น  การสั่งกิ่งตอนนั้นในช่วงติดผล  ผู้ซื้อควรไปสังเกตดูว่าต้นไหนดก  มีคุณภาพดี  แล้วกำหนดกิ่งตอนเป็นต้น  ๆ  ไป  ควรสั่งซื้อก่อนฤดูการทำกิ่งตอน  และมาดูแลการตัดกิ่งตอนด้วยตนเองก่อน  ควรจะซื้อให้มากกว่า  ปริมาณที่ต้องการใช้ประมาณ  50  เปอร์เซ็นต์

 

การขยายพันธุ์

การขยายพันธุ์ลำไยทำได้หลายวิธี

                1.   การตอน   ลำไยที่ปลูกปัจจุบันนี้เกือบทั้งหมดปลูกโดยใช้กิ่งตอน  การตอนกิ่งจะทำในฤดูฝน  โดยแช่กาบมะพร้าวทิ้งไว้ล่วงหน้า  3-4  เดือน  ทำการตอนเช่นเดียวกับต้นไม้อื่น ๆ  ประมาณเดือนกรกฎาคมก็จะออกราก  เมื่อรากเปลี่ยนจากสีขาวเป็นสีน้ำตาลแล้วจึงตัดกิ่งตอนแล้วนำกิ่งตอนมาชำในเป๊าะ  (ก๋วย)  หรือถุงพลาสติกระยะหนึ่ง    แล้วจึงขายแก่ผู้ปลูก  ข้อเสียของกิ่งตอนคือมักมีรากด้านเดียวและไม่มีรากแก้ว

                การปลูกด้วยกิ่งตอนควรทำการเสริมรากด้วย  เพื่อช่วยให้ลำไยแข็งแรง  ล้มยาก  หาอาหารได้มาก  ซึ่งมีวิธีการคือ  เพาะต้นตอลำไยจากเมล็ด  เมื่อจะปลูกก็นำกิ่งตอนลงหลุมปลูกชิดกันกับต้นไม้ที่ได้จากการเพาะเมล็ด  โดยให้ติดกันกับกิ่งตอนทำเครื่องหมายไว้  แล้วใช้มีดคม ๆ  เฉือนเปลือกกิ่งตอนที่จุดนั้นให้เปิดออก  2-3  นิ้ว  หรือกรีดเป็น  2  แนว  แล้วตัดออกก็ได้  ส่วนต้นตอนั้นเฉือนลึกเข้าไปในเนื้อไม้ประมาณ  1/3  ของความหนาของกิ่ง  ความยาวเท่ากับแผลที่กิ่งตอน  นำแผลทั้งสองประกบกับแล้วใช้เชือกแบน ๆ  พันรัดให้แน่น  ถ้ากิ่งตอนมีขนาดใหญ่ให้ใช้หัวตะปูเล็ก  ๆ  ตอกยึดไว้ด้วยประมาณ  2  ½  -  3  เดือน  แผลก็จะเชื่อมติดกันสนิทตัดยอดต้นตอออกได้

                การเสริมรากอาจทำได้อีกวิธีโดยการโน้มยอดต้นตอไปสัมผัสกับกิ่งตอนทำเครื่องหมายไว้  แล้วตัดยอดต้นตอออกทำเป็นรูปลิ่ม  สอดเข้าไปในแผลที่ทำไว้ที่กิ่งตอน  โดยการกรีดเปลือกเป็น  2  แนว  แล้วตัดออก  จากนั้นใช้เชือกแบน ๆ  รัดให้แน่น  การเสริมรากควรทำในขณะที่ต้นลำไยอายุไม่เกิน  3  ปี  จึงจะได้ผลเต็มที่

                2.   การทาบกิ่ง   เป็นวิธีที่ง่ายแต่ได้ผลดี  วิธีการคือ  ทำการเฉือนกิ่งต้นตอและต้นพันธุ์ให้ยาวเท่า ๆ  กัน  แล้วนำแผลประกบกันเอาเชือกรัดให้แน่นจนแน่ใจว่าติดกันแล้ว  จึงตัดยอดต้นตอ  และโคนกิ่งพันธุ์ออก  หลักสำคัญคือ  ต้นตอที่ปลูกด้วยเมล็ดต้องอายุ  8-18  เดือนจึงใช้ได้  และกิ่งพันธุ์ที่ใช้ควรเป็นกิ่งอ้วนและอ่อนคือ  ใบเปลี่ยนจากใบอ่อนเป็นใบแก่แล้ว  ลำกิ่งเป็นสีน้ำตาลอมเขียว  เปลือกเรียบไม่ขรุขระถ้ามีวัสดุควบคุมความชื้นได้จะทำได้  ในช่วงฤดูร้อน

 

                3.   การต่อกิ่ง   (การเสียบกิ่ง)   วิธีการ  คือ  ทำการเพาะเมล็ดลำไยในภาชนะที่ใหญ่และสมควร  เพื่อใช้เป็นต้นตอ  เมื่อต้นมีขนาดโตประมาณ  1  เซนติเมตร  หรือขนาดแท่งดินสอดำ  ก็ตัดยอดต้นตอออกแบบแฉลบแบ่งรอยแฉลบออกเป็น  3  ส่วน  ที่จุดแบ่ง  1  ส่วนจากด้านสูงใช้มีดผ่าลึกลงไป  1  ½  นิ้ว  แล้วตัดส่วนนี้ให้ขาดไปเป็นรอยหยัก  การตัดส่วน  1  ใน  3  ก็ตัดเฉียง ๆ  เช่นกัน  กิ่งพันธุ์ที่ใช้ให้ใช้กิ่งที่มีความแก่อ่อนพอเหมาะ  ตัดให้กิ่งพันธุ์ยาวประมาณ  4-6  นิ้ว  ริดใบออกให้หมด เฉือนโคนกิ่งให้เป็นรูปลิ่มเป็นรอยหยักเท่ากับของต้นตอ  เอารอยแผลประกบกันแล้วใช้เชือกรัดให้แน่น  จากโคนขึ้นบนแล้วใช้ผ้าพลาสติกบาง ๆ  ความกว้าง  1  เซนติเมตร  พันท่อนพันธุ์ที่โผล่จากต้นตอเหลือส่วนยอดใช้ถุงพลาสติกสวมทับมัดปากให้แน่น  รดน้ำโคนต้นตอ  เมื่อยอดกิ่งพันธุ์เจริญขึ้นจนเกือบถึงก้นถุงออกปล่อยให้ยอดเจริญต่อไป

                ระหว่างทำการเสียบกิ่งให้เอาฟักไว้ในเรือนเพาะชำหรือที่ร่ม  หมั่นรดน้ำจนกว่ายอดจะมีใบแก่หมด  ใช้เวลาประมาณ  60  วัน  ก็นำไปปลูกได้  ต้นเสียบกิ่งนี้จะโตเร็วกว่ากิ่งตอนมาก  ปกติมักทำในฤดูหนาวจะนำไปปลูกเมื่อไรก็ได้

                การเสียบยอดนี้อาจทำโดยปลูกต้นตอลงในสวนเลยก็ได้เมื่อต้นสูงประมาณ  80-100  เซนติเมตร  ก็ทำการเสียบยอดได้

 

ฤดูปลูกลำไย

แบ่งออกเป็น  2  ช่วง  คือ

                1.   ต้นฤดูฝน  ลำไยสามารถปลูกได้ตลอดปี  แต่เพื่อประหยัดน้ำจึงนิยมปลูกในช่วงนี้  ซึ่งมีข้อเสีย  คือช่วงนี้อากาศร้อน  ความชื้นสูงทำให้มีแมลงรบกวนมากและปัจจุบันนิยมปลูกโดยใช้กิ่งตอนซึ่งจะตอนในระยะต้นฤดูฝน  ดังนั้นกิ่งตอนที่ปลูกจึงไม่ค่อยสมบูรณ์  เนื่องจากเป็นกิ่งตอนข้ามปี

                2. ปลายฤดูฝน   (ระยะปลายกันยายน-ต้นตุลาคม)   ช่วงนี้ความชื้นในดินอากาศมีพอเหมาะ  ลำไยจะผลิใบได้ดีมาก  แต่จะต้องให้น้ำบ้างในระยะหลัง  ช่วงนี้นับว่าเหมาะสมกว่าต้นฤดูฝน  เพราะไม่มีโรคและแมลงระบาดและกิ่งตอนที่ใช้ก็เป็นกิ่งตอนที่ใหม่ซึ่งจะสมบูรณ์ดี

 

 

การปลูกและการเตรียมพื้นที่

การเตรียมพื้นที่ปลูกแบ่งเป็น  2  ลักษณะคือ

                1.   การเตรียมรั้ว  ใช้เสาไม้  เนื้อแกร่ง  ปักลงทุก ๆ  2.5  เมตร  และใช้ไม้รวกเป็นคร่าวหรืออาจปลูกต้นไม้โตเร็ว  เช่น  กระถิน  มะขามเทศ  ตามขอบรั้วเป็นระยะ ๆ  และใช้ไม้รวกหรือลาดหนามทำเป็นคร่าวจะได้เสาที่มั่นคง  ไม่ผุและกันลมด้วย

                2.   การเตรียมพื้นที่  ถ้าพื้นที่เป็นที่ลุ่มต่ำควรขุดร่องให้กว้างและลึกและเอาดินในร่องมาถมแปลงให้สูง  ปกติจะขุดร่องกว้าง  1-3  เมตร  ลึก  0.5-1.5  เมตร  ขึ้นกับความต้องการดิน  ความกว้าวของแปลงจากร่องหนึ่งไปอีกร่องหนึ่งประมาณ  5-8  เมตร  ในที่ดินที่เป็นป่าเปิดใหม่  ให้เอาตอออก  ปรับพื้นที่และไถพรวนดิน  แล้วปลูกหญ้าให้เต็มพื้นที่เพื่อป้องกันวัชพืช  เช่น  หญ้าคา  แห้วหมู่  ขึ้นและเป็นการสร้างอินทรียวัตถุในสวนด้วย

                การเตรียมพื้นที่นี้อาจทำล่วงหน้าก่อนปลูก  1  ปี  ขณะเดียวกันควรจำได้ทำการชำกิ่งตอนลำไยในปี๊บ  ซึ่งจะมีค่าเท่ากับว่าได้ปลูกลำไยไปแล้ว  1  ปี  วิธีการทำคือ  ใช้ดินผสมอย่างดี  เช่น  ดินขุยไผ่  ดินจอมปลวกหรือผิวดินที่มีการทับถมของใบไม้ขุดให้ลึก  2-3  นิ้ว  ตากให้แห้งแล้วย่อยให้ละเอียด  ผสมกับขี้เถ้าแกลบและปุ๋ยคอก  ในอัตรา  2:1:1   ใส่ลงในปี๊บที่เจาะรูก้นแล้วเอากิ่งตอนปักลงไปที่ขอบด้านใดด้านหนึ่งของปี๊บแล้วยึดกับหลักให้แน่น  และทำเครื่องหมายด้านที่มีรากมากไว้  เพื่อสะดวกในการปฏิบัติดูแล

 

ระยะปลูก

                การเลือกระยะปลูกขึ้นอยู่กับพันธุ์  สภาพของดิน  น้ำ  และปริมาณต้นที่ต้องการ  ซึ่งจะปลูกได้หลายระยะ  เช่น  12x12   เมตร,   12x16   เมตร  ปลูกเป็นรูปสามเหลี่ยมด้านเท่ากันด้านละ  12  เมตร  หรือปลูกระยะ  6x6   เมตร  แล้วตัดลำไยออกต้นเว้นต้นเมื่อพุ่มชนกันแล้ว

                การเตรียมหลุ่ม  เมื่อได้ระยะปลูกแล้ว  ก่อนถึงฤดูปลูกก็เตรียมหลุมปลูกได้ถ้าดินร่วนโปร่งให้ขุดหลุมลึก  1  ฟุต  กว้าง  1  ฟุต  แต่ถ้าดินแน่นก็ขุดหลุมลึกให้ใหญ่ขึ้น  อาจใช้สว่านเจาะดินให้ลึก  70-80  เซนติเมตร  กว้าง  30  เซนติเมตร  ก็ได้  ควรแยกดินบนและล่างออกจากกัน  นำดินบนมาผสมกับหญ้าแห้งหรือปุ๋ยคอก  อัตรา  1:1  และใส่กระดูกในหรือหิน  ฟอสเฟตอีก  1  กิโลกรัมต่อหลุม   ที่ก้านหลุมใส่ขึ้นแกลบหรือทรายหยาบให้สูง  1  คืบ  แล้วใช้ท่อไม้ไผ่หรือท่อพลาสติกขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง  1  นิ้ว  1  อัน   ปักลงไปที่ทรายก้นหลุมให้ปลายมาโผล่ที่ปากหลุมแล้วจึงเอาดินผสมลงกลบใส่ในหลุม  ดินชั้นล่างนำมาทำคันโอบรอบปากหลุม  ถ้าพื้นที่เอียงให้ทำคันโอบด้านต่ำเพียงด้านเดียว  แต่ถ้าเป็นที่ราบให้ทำคันโอบรอบหลุมเพื่อช่วยกักเก็บน้ำฝน  แล้วใช้ไม้หลักที่ทายากันปลวกและแมลงแล้วตอกลงไปให้ถึงก้นหลุมและมีความยาวโผล่พ้นหลุม  1  เมตร  เมื่อปล่อยไว้ดินจะยุบตัวให้เอาดินผสมเพิ่มลงให้เต็มหลุม

 

การปลูก

                เมื่อจะนำต้นลำไยในปี๊บลงหลุมต้องเอาปี๊บออกก่อน  น้ำปี๊บต้นพันธุ์วางที่ปากหลุม  ใช้มีดและค้อนตอกตามขอบล่างเลาะตามตะเข็บลงล่าง  แล้วนำปี๊บลงกะดูว่าเมื่อวางแล้วโคนต้นลำไยจะอยู่ที่ปากหลุมพอดี  แล้วจัดขอบล่างของปี๊บให้ขาดออกจากกันพับก้นปี๊บขึ้นไปทางด้านหลังวางให้ต้นพันธุ์ชิดกับหลักมากที่สุดแล้วผูกให้แน่น  กลบดินและคลุมโคนต้นแล้วใช้ฝักบัวรดน้ำที่ปากหลุมให้ชุ่มถึงดินล่าง

 

การกลบดิน

                ถ้าเป็นที่ดอน  โคนต้นอาจจมลึกลงไปจากปากหลุมได้บ้าง  ค่อย ๆ  กลบดินทีละน้อย  เมื่อรากฟูขึ้นจึงค่อยกลบดินอีกทีหนึ่ง  ในที่ราบควรปลุกให้ลอยไว้เล็กน้อย  และกลบดินให้เสมอกับระดับต้นเมื่ออยู่ในปี๊บหรือกลบเสมอขอบกาบมะพร้าวด้านบน

 

การคลุมโคน

                คลุมโคนต้นด้วยหญ้าแห้ง   ฟางแห้ง  ตลอดเวลาให้หนาประมาณ  2-2  ½   นิ้ว   รัศมีรอบโคนต้น   1   เมตร

 

การให้น้ำ

                หลังจากปลูกแล้วให้น้ำทางท่อไม้ไผ่หรือท่อพลาสติกที่ปักไว้ที่หลุมโดยมใช้กรวยสวมที่ปากท่อ  ระวังอย่าให้ดินตอนบนเปียก  ควรให้น้ำเป็นระยะ ๆ  ครั้งละมาก ๆ  ถ้าให้น้ำครั้งละ  1  ปี๊บ  ดินจะเก็บความชื้นได้ถึง  25-30  องศาต่อวัน  ควรทำการให้น้ำในตอนเช้า

 

การควบคุมกำจัดวัชพืช

                การควบคุมอาจทำได้โดยใช้วัสดุคลุมบริเวณโคนต้น  ส่วนวัชพืชที่อยู่นอกทรงพุ่มควรตัดไม่ให้รก  อาจทำได้โดยการพ่นยาปราบศัตรูพืชหรือตัดเป็นระยะ ๆ  แล้วนำเศษหญ้ามาคลุมโคน

 

การปลูกพืชคลุมดินในสวน

                ไม่มีความจำเป็นต้องปลูกพืชอื่น  ถ้ามีการปลูกหญ้า และควบคุมอย่างดีแล้ว  หญ้าที่ควรใช้ปลูก  เช่น  หญ้าส้ม

 

การพรวนดิน

                ถ้ามีการคลุมโคนเป็นประจำ  และรดน้ำ  โดยไม่ผ่านหน้าดินแล้วก็ไม่ต้องพรวนดิน  เว้นแต่บางต้นที่มีผิวหน้าดินแน่นมาก  ก็อาจพรวนบ้างเป็นครั้งคราว

 

การปลูกพืชแซม

                ถ้าจะปลุกควรปลูกพืชล้มลุกหรือพืชกิ่งถาวรและเป็นพืชเตี้ย

 

การใส่ปุ๋ย

                ในระยะแรก  ถ้าใส่ปุ๋ยอินทรีย์มากเพียงพอแล้วก็ไม่ต้องใส่ปุ๋ยเคมี   ถ้าจะใส่ปุ๋ยเคมีควรใส่ปุ๋ย  N-P-K   ในอัตราส่วน   1:1:1   หรือ   สูตร    15:15:15,   13:13:13   หรือ   10:10:10   โดยใช้ควบคู่กับปุ๋ยอินทรีย์ที่ใช้รองพื้น  ปุ๋ยอินทรีย์ควรใส่ทุกปี   อัตรา  5  ปี๊บต่อต้นต่อปีก็เพียงพอและอาจใส่ปุ๋ยเคมีเกรด   1:1:1  ร่วมด้วย   อัตรา   100   กรัม  ถึง   1   กิโลกรัม/ต้น/ปี   ในระยะที่ยังไม่ให้ผลนั้นจะให้ปุ๋ยเมื่อไรก็ได้อาจให้ปุ๋ยพร้อมกับการให้น้ำทางท่อก็ได้

 

การสร้างทรงต้น

                ลำไยที่ปลูกด้วยกิ่งตอนจำเป็นต้องสร้างทรงต้นตั้งแต่นำกิ่งตอนไปชำ   โดยตัดให้เหลือกิ่งที่ตรงที่สุด   สมบูรณ์ที่สุด   และยาวที่สุดเพียงกิ่งเดียว  การสร้างทรงต้นถือหลักว่า  ทรงต้นจะต้องโปร่งมีกิ่งแยกจากต้นไม่มาก   กิ่งทำมุมกว้างกับลำต้นโดยกระจายอยู่รอบลำต้น  และต้องไม่มียอดเมื่อต้นสูง   1.20   เมตร   ให้เด็ดยอดลำไยออก  จะเกิดกิ่งแตกออกมาโดยรอบ  เลือกกิ่งที่อวบ  สมบูรณ์ไว้  3-4  กิ่ง  แต่ละกิ่งห่างกัน  4-6  นิ้ว  และคอยเด็ดส่วนที่แตกเป็นกระจุกออกเรื่อย ๆ  เพื่อให้กิ่งถ่างออก  และใช้ไม้เล็ก ๆ  ผูกยึดกิ่งหนึ่งและผูกรั้งไว้  เมื่อกิ่งที่เลือกไว้ยาวออกก็ตัดให้เหลือ  6 นิ้ว  ทั้ง  3-4  กิ่งนี้ก็จะแตกแขนงออกให้เลือกไว้กิ่งละ  2  แขนงเมื่อกิ่งแขนงนี้ยาวออกไปก็ตัดให้ยาวเพียง  6  นิ้ว  ซึ่งจะแตกแขนงอีกแล้วคัดเลือกไว้แขนงละ  2  กิ่งย่อย  เมื่อกิ่งย่อยนี้ยาวออกไปก็คัดเลือกไว้กิ่งละ  2  แขนง  จะได้เป็น  24  หรือ  32  กิ่งย่อย  จากนั้นก็ปล่อยให้แตกตามธรรมชาติ  เมื่อเห็นว่ากิ่งหลัก  3-4  กิ่งนั้นถ่างออกคงที่แล้ว  ก็ตัดยอดที่เป็นกระจุกนั้นให้ชิดกับโคนกิ่งหลักที่อยู่บนสุด  จะได้  1  ลำต้น  มีกิ่งหลัก  3  หรือ  4  กิ่ง  กิ่งย่อย  24  หรือ  32  กิ่ง  ทรงต้นที่สมบูรณ์แบบจะมีทรงพุ่มต่ำ  โปร่งแสงส่องลอดได้  ลมโกรก  ทำให้ออกผลสม่ำเสมอ  งานนี้จะเริ่มทำตั้งแต่ปีที่  1  อาจเสร็จในปีที่  3-4  ลำไยที่สร้างทรงพุ่มจะมีขนาดเล็กตั้งแต่แข็งแรงกว่าที่ไม่ได้สร้าง

                จากนั้นสร้างทรงพุ่มให้เป็นทรงกลมค่อนข้างแบน  สม่ำเสมอทุกด้าน  โดยบังคับให้ทุกด้านเจริญพร้อม ๆ  กัน  ถ้าด้านไหนเจริญเร็วไปให้ตัดยอด  เพื่อให้ชะงักการเจริญชั่วคราวจนกว่ากิ่งอื่นจะเจริญทัน

 

 

 

 

การปฏิบัติดูแลต้นลำไยที่ให้ผลแล้ว

 

การให้น้ำ

                เมื่อหมดฤดูฝนถึงระยะเริ่มออกดอกควรงดการให้น้ำเด็ดขาด  ในช่วงเดือนธันวาคม  ให้กวาดใบที่ร่วงรอบโคนต้นออกเพื่อให้หน้าดินแห้ง  หลังจากดอกบานจึงให้น้ำและใช้ฟางหรือหญ้าแห้งคลุมโคนต้นส่วนในระยะที่ติดผลแล้วควรให้น้ำอาทิตย์ละครั้ง

 

การใส่ปุ๋ย

แบ่งใส่  2  ระยะคือ

                1.   เมื่อเริ่มออกดอก  ให้ปุ๋ยคอก  4-10  ปี๊บต่อต้น  โดยหว่านรอบ ๆ  ต้น

                2.   ติดผลแล้ว   ใส่ปุ๋ยเคมีสูตร  13-13-21  ใส่ทุก  15  วัน  อัตรา  300  กรัมต่อต้น  ใส่ให้จนถึง  1  เดือนก่อนเก็บผลถ้ามีใบซีดและใบน้อยให้เพิ่มปุ๋ยยูเรียด้วยครั้งละ  2  กำมือ  จากนั้นใส่อีกครั้งเมื่อเก็บผลแล้วอัตรา  2  กก./ต้น  ควรใส่ปุ๋ยก่อนให้น้ำ  1  วัน  ก่อนใส่ปุ๋ยให้เก็บใบรวมกันไว้  เมื่อหว่านปุ๋ยแล้วจึงเกลี่ยใบกลบ

 

การตัดแต่งกิ่ง

                ช่วยให้ทรงพุ่มโปร่ง  ดูแลได้สะดวก  ป้องกันการโค่นล้มและช่วยให้ผลดก  ให้ผลสม่ำเสมอทุกปี  แบ่งออกเป็น  2  ประเภท  คือ

                1.   การตัดแต่งกิ่งประจำปี  ต้องทำทุกปีหลังเก็บผลแล้วมีหลักคือ  ให้ตัดกิ่งที่ฉีดหักก่อน  ถ้ากิ่งใดคาดว่าไม่ออกดอกผลอีกแล้วก็ให้ตัดชิดโคนกิ่งเลย  ส่วนกิ่งที่ต้องการให้แตกยอดใหม่  เมื่อออกผลให้ตัดเหลือไว้ให้ยาว  กิ่งต่อไปที่ติดคือ  กิ่งที่ไม่แข็งแรงและกิ่งกระโดง  โดยตัดให้ชิดโคนกิ่ง  แล้วทาแผลด้วยสีน้ำมัน  หรือปูนขาวหรือยากันรา

                2.   การตัดแต่งกิ่งย่อยหรือตัดแต่งกิ่งตามความจำเป็น  เมื่อเข้าสวนชาวสวนควรนำกรรไกรติดตัวไปด้วยทุกครั้ง  เพื่อตัดกิ่งที่เป็นโรคหรือมีแมลงออก  มีหลักดังนี้

                -   ถ้าต้นสมบูรณ์ให้ตัดได้เต็มที่  แต่ถ้าต้นโทรมมากให้ตัดออกเพียงเล็กน้อย

                -   ตัดแต่งด้วยความระมัดระวังอย่าให้กิ่งช้ำหรือกระทบกระเทือนกิ่งใหญ่  ควรใช้มีดตัดก่อนแล้วใช้เลื่อยตามอีกครั้ง

 

เครื่องมือที่ใช้ในการตัดแต่งกิ่ง

1.             กรรไกรขนาดเล็กและใหญ่

2.             เลื่อยแต่งกิ่งมีลักษณะคล้ายคันธนูใช้สำหรับเลื่อยไม้สดโดยเฉพาะ

3.             สิ่ว  ใช้ทำให้แผลเรียบ

 

การค้ำต้น

                เมื่อลำไยอายุได้  4-5  ปี  ควรทำการค้ำยันต้นเพื่อป้องกันการโค่นต้น  มีวิธีการคือ  ใช้เสา  4  เสา  ปีก  4  มุม  และมีคานรับไปที่กิ่งใหญ่เมื่อต้นโตก็ใช้ไผ่สีสุกหรือไม่ซางถ่างเป็นง่ามที่ตอนปลายหรือทำเป็นรูเอาสลักสอดไว้  ไปค้ำยันไว้ที่ง่ามของกิ่งลำไย  โดยโคนไม้ยันไว้ที่พื้น  แต่วิธีน้ำไม่ค่อยมั่นคง  และเปลืองไม้ค้ำมาก  อาจทำให้มั่นคงได้โดยใช้ไม้รวกสอดเข้าไปในพุ่มโดยเลือกแนวให้สัมผัสกิ่งมาก ๆ  ประมาณ  4-5 กิ่ง  ปลายไม้ห่างจากริมนอกประมาณ  1  เมตร  โคนไม้ทำมุม  60-70  องศา  กับพื้นดินหลีกความยาว  1  ½   เมตร   ตอกลงดินประมาณ  70   เซนติเมตร  ใช้ตะปูและลวดยึดหลักกับไม้รวกไว้  และใช้ยางในรถยนต์ตัดเป็นแถบกว้าง  ½  นิ้ว  ยาว  50  ซม.   รัดไม้รวกกิ่งที่สัมผัสนั้นให้แน่น  ที่โคนไม้ก็ใช้ไม้รวกคุมยึดระหว่างหลักต่อหลัก

 

แมลงศัตรูลำไย

               

ก.   แมลงศัตรูลำไยที่พบทั่ว ๆ  ไป

                1. ไรแดง  ระบาดในฤดูแล้ง   แต่เมื่อฝนตกก็จะหายไปเองจะมีผลต่อต้นลำไยที่ยังเล็กเท่านั้น

                2.   ไรลำไย   เป็นแมลงตัวเล็ก ๆ  สีเหลืองอ่อน  เกาะกินอยู่ใต้ใบ  ทำให้ผิวใบด่างที่หลังใบจะรวมตัวกันเป็นจุด ๆ  ถ้ามรเล็กน้อยจะไม่เป็นอันตราย  แต่ถ้าระบาดมากให้ใช้ยาดูดซึม  เช่น  ไดเมทโธเอท,  ไซดริน.  อโรเกอร์,  เพอเฟคไธออน  ฉีดพ่น

                3.   เพลี้ย  มักเกิดคู่กับมด   อาจมีความสำคัญในอนาคตมี  2  ชนิด  คือ

                                -   เพลี้ยหอย

                                -   เพลี้ยแป้ง  มีสีขาวปกคลุม  คล้ายแป้ง  และมีเส้นใยยื่นออกจากตัว  ตัวอ่อนจะดูดน้ำเลี้ยงที่ยอด  ทำให้ยอดหด  หยิก  ไม่ออกดอกผล  กำจัดโดยใช้ยาประเภทดูดซึม

                4.   หนอนเจาะกิ่ง   ระบาดเป็นประจำทำให้สวนทรุดโทรมแต่เป็นไปอย่างช้าๆ  มี  2  ชนิด  คือ

                                -    หนอนแมลงปีกแข็ง

                                -   หนอนของผีเสื้อ  ทำให้ใบเหลือง  ร่วงและกิ่งแห้งตายอย่างรวดเร็ว

                5.   หนอนชอนกิ่ง  มีขนาดเล็กกว่าหนอนเจาะกิ่ง  จะวางไข่ตามเปลือก  ลำต้น  กิ่ง  ชอนเข้าไปอยู่ระหว่างเปลือกกับเนื้อไม้  ถ้ามีมากต้นจะโทรมลงอย่างเร็ว

                การทำลายหนอนทั้ง  2  ชนิดนี้  ทำโดยสังเกตขุยที่เกิดขึ้นจาการถ่ายมูลของหนอน  ถ้าพบก็ให้ทำความสะอาดบริเวณโคนต้นรัศมี  2  เมตร  เพื่อดูว่ามีขี้หนอนหรือไม้  ถ้ามีตรวจดูตราต้น  กิ่ง  ว่ามีขุยติดอยู่ที่ส่วนใดบ้าง  ใช้ไม้แหลมเขี่ยหารูให้เจอแล้วใช้ยาฆ่าแมลงผสมน้ำ  อัตราส่วน  1:1   ใส่เข็มฉีดยาอัดเข้าไปในรูแล้วใช้ดินเหนียวอุดปิดรู

                สำหรับหนอนชอนเปลือกนั้น  ถ้ามีมากให้ถากเปลือกออกแล้วใช้ยาประเภทดูดซึม  เช่นดีดริน  คลอเดน  ผสมกับน้ำ  ในอัตราเข็มข้นกว่าที่กำหนดเล็กน้อย  ฉีดพ่นตามต้นและกิ่งเป็นระยะ ๆ  ทุก  2  เดือน

                6.   แมลงปีกแข็ง  ที่ระบาดในขณะที่ต้นยังเล็กมี  2  ชนิด  คือ

                -   แมลงนูน  มีลำตัวสีน้ำตาล  (คล้ายด้วงกุหลาบ)  จะกัดทำลายใบเป็นต้น ๆ  ไป  ต้องรับกำจัดโดยการพ่นยา  เช่น  เซฟวิน  85  ดีดริน  คลอเดน  ที่บริเวณโคนต้นและที่ใบอ่อน  (ห้ามจับแมลงมากิน)

                -   แมลงค่อมทอง  (แมงกอม)  ตัวสีเขียวอมเหลือง  จะเกาะกัดกินใบอยู่เป็นกลุ่ม ๆ  ถ้าไปกระทบต้นจะทิ้งตัวลงพื้น  การกำจัด  เช่นเดียวกับแมงนูน  แต่วิธีที่ดีที่สุดคือ   จับทำลาย

                7.   หนอนคืบกินใบอ่อน  จะระบาดเป็นช่วง ๆ  ปีหนึ่งอาจระบาด  2-3  ครั้ง  ถ้าระบาดมากภายใน  7  วัน  ใบจะโกร๋นหมด  กำจัดโดยกวาดพื้นสวนให้สะอาดใช้ตะขอเขย่ากิ่งให้หนอนทิ้งตัวลงมาแล้วรวบรวมทำลายเสีย  ไม่ควรฉีดพ่นยาที่ต้น

 

ข.   แมลงศัตรูลำไยในระยะออกดอก

                1.   หนอนกินดอกลำไย  เป็นหนอนผีเสื้อ  เข้าทำลายในระยะดอกยังไม่บาน

                2.   หนอนเจาะก้านดอก  ตัวเล็กมาก  ขนาดเท่าเส้นด้ายทำให้ลำไยไม่ติดผล  การป้องกันกำจัด  ควรฉีดพ่นยาเมื่อเริ่มมีช่อดอก

               

ค.   แมลงศัตรูลำไยในระยะดอกบาน

                แมลงแกงหรือมวนลำไยตัวขนาด  1  เซนติเมตร  รูปร่างคล้ายแมงดาจะผสมพันธุ์ในเดือนธันยาคม  และวางไข่ทั่วไป  ตัวอ่อนจะดูดกินน้ำเลี้ยงดอก  ทำให้ดอกแห้งตาย  ถ้าระบาดหนักจะไม่ติดผลเลย  การป้องกันกำจัด  ควรทำในเดือนธันยาคมถึงกุมภาพันธุ  อาจทำลายตัวแมลงหรือทำลายไข่ที่อยู่ตามเปลือกต้น  ไม้ค้ำโคนต้น

 

ง.   แมลงศัตรูในระยะลำไยเริ่มหวาน

                1.   แมลงวันทอง  (แมลงวันผลไม้)  รูปร่างคล้ายต่อแตน  สีเหลือง  ปีกใส  เจาะวางไข่ในผลทำให้ผลเน่า  การป้องกันกำจัด  ทำได้โดยใช้ยาเคมี  เช่น  ดิพเทอเรท  แลนเนท  และเซฟวิน  เอฟ  3  ผสมกับน้ำตาลโมลาส  พ่นเคลือบตามใบและพุ่มต้นในระยะที่ลำไยเริ่มติดผล

                -  ใช้กับดัก  (Trap)  เป็นเครื่องมือล่อให้แมลงเข้าไปโดยใส่สำลีจุ่มน้ำยาที่มีกลิ่นล่อแมลงเข้าไปผสมพันธุ์

                -   ใช้ดอกเดหลีใบกล้วย  โดยการปลูกต้นเดหลีใบกล้วยไว้มาก ๆ  เมื่อดอกบานก็นำมารวมกันแล้วพ่นยาฆ่าแมลงเคลือบเกสรดอกจะบานและส่งกลิ่นตั้งแต่เข้ามือถึง  10  โมงเช้า  แต่ละดอกจะล่อทำลายแมลงได้  10-50  ตัวและบานอยู่  5-7

                2.  ผีเสื้อมวนหวาน  ทำความเสียหายมากจะเจาะเข้าไปดูดกินน้ำหวานทำให้ผลเน่า  ตัวหนึ่ง ๆ  จะทำลายผลได้  20-50  ผล/วัน  การกำจัดต้องทำในช่วง  1-4  พุ่ม  (  19.00-22.00  น.  )  ซึ่งเป็นช่วงที่ระบาดมากโดยใช้วิธีกลควบกับการใช้สารเคมี  เช่น  ใช้กล้วย  สับปะรด  ขนุน  ใส่สารเคมีล่อให้แมลงมากินหรืออาจใช้สวิงโฉบจับ  ใช้ไฟนีออนล่อหรือรมควันโดนใช้กำมะถันผสมขี้เลื่อยจุดไฟไปแขวนไว้ตามกิ่ง

 

การเก็บลำไย

                ลำไยนับแต่ออกดอกประมาณ  5  เดือน  ผลก็จะเริ่มแก่พอจะเก็บได้  ซึ่งสังเกตได้จากขนาดของผลโตเต็มที่  สีผิวของผล  (เปลือก)  จะมีสีคล้ำขึ้น  ผิวที่เปลือกจะเรียบขึ้น  ที่ผิวเปลือกด้านใบมีร่องคล้ายร่างแห  รสหวาน

                การเก็บลำไยแต่ละต้นควรทยอยเก็บเป็น  2  ครั้ง  ห่างกันครั้งละ  7-10    ในตาละปีควรจดบันทึกออกดอก  วันเก็บ  ปริมาณผลผลิตไว้ด้วย

 

ข้อควรระวังในการเก็บลำไย

1.             ไม่เก็บลำไยในวันที่ฝนตก

2.             ไม่ควรปล่อยลำไยทิ้งไว้ให้สุกนานเกินไปจนเกิดการ  “ขึ้นหัว”  เพราะจะทำให้ได้ลำไยมีรสจืด

3.             ไม่หักก้านช่อลำไยลึกเกินไป  จะทำให้ต้นโทรม

4.             ควรเก็บลำไยในตอนเช้ามืดหรือตอนบ่าย

5.             เมื่อเก็บลำไยแล้วต้องนำส่งตลาดทันที

6.             การเก็บลำไยควรใช้กรรไกรตัดเพื่อให้แตกช่อใหม่ได้เร็ว

 

วิธีการเก็บลำไย

                ใช้พะวงพาดในพุ่มหรือที่พุ่มแล้วปีนขึ้นไปหักหรือตัดกิ่งลำไยใส่เข่ง  เมื่อเต็มเข่งก็  จะโรยเชือกลงมาให้คนข้างล่างขนลำไยออกและหักช่อลำไยจากกิ่ง  แล้วคัดขนาดผลที่เล็กและลีบออก  แล้วนำมาบรรจุเข่งที่เอาใบลำไยวางรองก้นเข่งไว้แล้ววางช่อลำไยลงโดยวางเรียงเอาปลายช่อลงและวางซ้อนเรียงกันขึ้นมา  เมื่อจะเต็มเข่งจึงใช้ใบลำไยปิดหนห้า  เอาฝาปิดแล้วไม้  2  อัน  อัดไม้  เข่งที่ใช้มีขนาดกว้าง  35  เซนติเมตร  บรรจุได้ประมาณ  21-22  กิโลกรัม  ถ้าหากเปลี่ยนมาใช้กล่องกระดาษอาจทำให้ขนได้สะดวกขึ้น

                ผลผลิตของลำไยแต่ละต้นประมาณ  30-100  กิโลกรัมต่อต้นขึ้นอยู่กับพันธุ์  อายุ  ความสมบูรณ์ของต้นและดิน  ลำไยจะออกสู่ตลาดประมาณกลางกรกฎาคม-สิงหาคม

 

                การซื้อขายลำไย  แบ่งออกได้เป็น  2  ชนิด

1.             การซื้อขายในสวน

2.             ขายหลังจากผลออกสู่ตลาดแล้ว

ชาวสวนมีการขายลำไย  2  วิธี  คือ

1.             ชาวสวนเก็บขายเอง  ในสมัยก่อนไม่มีเลย  แต่ในปัจจุบันมีบ้างแต่ยังน้อย

2.             ขายเหมาสวนลำไยให้แก่พ่อค้า  มี  2  รูปแบบคือ

 

ก.                   เหมายาว  (ขายยาวหรือขายเหมาลำไยทั้งสวน)  เป็นระยะเวลาหลายปี  เช่น  3,4  หรือ  5  ปี  มีการทำสัญญาซื้อขายกันโดยกำหนดเวลาที่เหมาจำนวนลำไยที่จะได้รับในแต่ละปี  วิธีนี้ชาวสวนเสียเปรียบมาก  แต่บางครั้งชอบเพราได้เงินมาก่อนบ้าง

ข.                  การขายเหมาประจำปี  ขายเหมาแค่ปีเดียวแบ่งเป็น  3  ลักษณะ  คือ

1.             ขายเหมาดอก  พ่อค้าจะมาดูดอกลำไย  แล้วตั้งราคาเอง  วิธีนี้มักถูกกดราคา

2.             ขายเหมาผล  ตกลงสัญญากันเมื่อเห็นผลโตติดแน่นอนแล้ว

3.             ขายเหมาเป็นเข่ง  วิธีนี้ยุติธรรมกว่าวิธีอื่น  แต่ชาวสวนต้องศึกษาราคาลำไยในตลาดอยู่เสมอ

 

ชาวสวนควรบันทึกจำนวนผลผลิตลำไยไว้ทุกปี  เพื่อจะได้ใช้ประเมินราคาและผลผลิตในปีต่อไป.

 

 

 

 

ฝ่ายส่งเสริมการเกษตร

สำนักวิจัยและส่งเสริมวิชาการการเกษตร

มหาวิทยาลัยแม่โจ้   จ. เชียงใหม่   50290

โทร.  0-53873938 , 0-53873939
บันทึกการเข้า

"CHIAB"
มนุษย์เราแต่ละคน  ต่างไม่รู้ว่ามาจากไหน  ไม่มีใครรู้จักกันมาก่อนเลย  แล้ววันหนึ่งก็มาพบหน้ากัน  สมมุติเป็นพ่อ  เป็นแม่  เป็นเมีย  เป็นสามี  เป็นลูก  อยู่ร่วมกัน  ใช้ชีวิตร่วมกัน และแล้ววันหนึ่ง  ก็แยกย้ายด้วยการ  "ตายจาก"  กันไปสู่  ณ  ที่ซึ่งไม่มีใครได้ตามพบ  คืนสู่ความเป็นผู้ไม่รู้ว่ามาจากไหน  ไปไหน  และคืนสู่ความเป็น  "คนแปลกหน้า"  ซึ่งกันและกันอนันกาลอีกครั้งหนึ่ง...และอีกครั้งหนึ่ง!?
ขอขอบคุณ คุณเปลว สีเงิน ที่ให้ข้อคิดดีๆ
ช่างเล็ก(LSV)
Administrator
member
*

คะแนน1346
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 18847


คิดดี ทำดี ชีวิตมีแต่สุข


อีเมล์
« ตอบ #10 เมื่อ: สิงหาคม 08, 2009, 09:16:42 pm »

ข้อมูลแน่นปึ๊กเลยครับ ....  Cheesy
บันทึกการเข้า
ช่างเล็ก(LSV)
Administrator
member
*

คะแนน1346
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 18847


คิดดี ทำดี ชีวิตมีแต่สุข


อีเมล์
« ตอบ #11 เมื่อ: พฤษภาคม 22, 2017, 12:06:12 pm »



.
.




เพิ่งกลับจากสวนลำไย จ.เชียงใหม่
..คนงานกำลังฉีดฮอร์โมน+ยาฆ่าแมลง มาทำลายช่อดอกครับ  Cool


ดังนั้น หากไม่แน่ใจ ไม่ควรกินลำไยทั้งเปลือกนะครับ เราเตือนท่านแล้ว   Shocked   Smiley


บันทึกการเข้า
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by MySQL Powered by PHP Powered by SMF 1.1 RC2 | SMF © 2001-2006, Lewis Media

lsv2555Please follow the new website at https://www.pohchae.com

Valid CSS!