ผมปลูกต้นกระดาษมา2ครึ่งยังไม่โตเลยแถวหนองคายใครมีวิธีแนะนำการบำรุงบ้างครับ
ธันวาคม 23, 2024, 05:32:36 pm *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
   หน้าแรก   ช่วยเหลือ เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก  
หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: ผมปลูกต้นกระดาษมา2ครึ่งยังไม่โตเลยแถวหนองคายใครมีวิธีแนะนำการบำรุงบ้างครับ  (อ่าน 5389 ครั้ง)
prayothk
member
*

คะแนน9
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 208


อีเมล์
« เมื่อ: มิถุนายน 18, 2009, 07:51:13 pm »

ผมปลูกต้นกระดาษมา2ครึ่งยังไม่โตเลยแถวหนองคายใครมีวิธีแนะนำการบำรุงบ้างครับ


บันทึกการเข้า

Nattawut-LSV Team
E23IUY
.กลุ่มผู้มีน้ำใจงาม.
member
*

คะแนน808
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 3581


อีเมล์
« ตอบ #1 เมื่อ: มิถุนายน 28, 2009, 06:05:24 pm »

หลายๆคนคงจะเห็นในโฆษณาเชิญชวนให้

พี่น้องเกษตรกรหลายคนหันมาปลูกต้นกระดาษ
Double A โดยอ้างว่า ปลูกแล้วจะรวยขึ้นทันตาเห็น
ก่อนอื่นอยากบอกก่อนว่าที่จริงต้นไม้ที่ว่านั้นก็คือ
ต้นยูคาลิปตัสที่ได้ทำการดัดแปลงพันธุกรรมแล้วนั่นเอง

การนำต้นยูคาลิปตัสหรือต้น Double A
มาปลูกนั้นเป็นเรื่องร้ายแรงมาก
ในหลวงท่านก็เคยดำรัสไว้ว่า ชาวบ้านไม่ควรนำต้นเหล่านี้มาปลูก
เพราะมันเป็นพืชต่างถิ่น ท่านวิทยากรก็เสริมว่า ต้นยูคาเป็นพืชเชิงเดี่ยว
เมื่อปลูกแล้วจะส่งผลให้พื้นแผ่นดินในบริเวณนั้น แห้งผาก
เนื่องจากมันี้จะดูดซึมน้ำอย่างรวดเร็ว และต้องการน้ำมาก
ทำให้รากของต้นๆหนึ่งอาจยาวได้ถึง20เมตรเลยทีเดียว
เมื่อดินบริเวณนั้นถูกดูดน้ำจนหมด ผืนดินก็จะกลายเป็น ทะเลทรายในที่สุด
ว่าแล้ววิทยากรก็หยิบดินให้เราดู แล้วโปรยลงพื้น มันคือทรายชัดๆ
แทนที่จะเป็นดินในป่าแบบนี้

แล้วเราอยากให้ทุกคนคิดดู ถ้ามีการปลูกต้น Double A เป็นจำนวนมาก
ผู้คนได้ผลกำไรอย่างงอกงามในการทำธุรกิจกับแผ่นดินของชาติ
แต่นานๆไปเล่า จะเกิดอะไรขึ้น
ผืนแผ่นดินไทยในอนาคตก็มีโอกาสจะกลายเป็นทะเลทรายได้

ไม่ใช่ว่าการปลูกต้นไม้ไม่ใช่เรื่องดีนะครับ..........
แต่สำหรับเจ้าต้นยูคานี้
เป็นต้นไม้ที่ไม่ควรอย่างยิ่งที่จะปลูกในภูมิภาคแบบประเทศไทยเลย..........

ผมเป็นแค่คนตัวเล็กๆไม่มีหน้าที่ใหญ่โตอะไรในวงสังคม........
ไม่มีสิทธิ์ห้ามใครได้........
แต่อยากให้ทุกคนช่วยพิจารณาในเรื่องนี้............
เพราะเราคิดว่าในหลวงท่านก็ทรงห่วงเรื่องนี้เหมือนกัน..............

 Smiley  HAPPY2!!  wav!!
บันทึกการเข้า
b.chaiyasith
แก้ปัญหาไม่ตกคุยกันเวลางานline:chiabmillion
.กลุ่มผู้มีน้ำใจงาม.
member
*

คะแนน650
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 3008


ไม้ดีไม่ลอยน้ำมาไกล


อีเมล์
« ตอบ #2 เมื่อ: มิถุนายน 28, 2009, 07:15:50 pm »

ยูคาลิปตัส: ไม้เศรษฐกิจของโลก   
 ยูคาลิปตัส เป็นไม้เศรษฐกิจของโลก เป็นวัตถุดิบที่สำคัญในการผลิตเยื่อกระดาษ และเป็นพืชพลังงานที่สำคัญ ส่วนใบและก้านอุดมด้วยน้ำมัน นอกจากนำไปสกัดเป็นน้ำมันยูคาลิปตัสที่มีสรรพคุณทางการแพทย์แล้ว ยังใช้เพื่อการผลิตเชื้อเพลิงชีวภาพได้อีกด้วย ยิ่งไปกว่านั้น ไม้ยูคาลิปตัสเอง เมื่อเผาแล้วก็ใช้เป็นถ่านได้ด้วยเช่นกัน ไม้ยูคาลิปตัสยังเป็นที่ต้องการอย่างมาก จากข้อมูลของฝ่ายวิจัยธนาคารนครหลวงไทย มูลค่าการส่งออกเยื่อกระดาษของประเทศไทยในช่วง 9 เดือนแรกของปี 2550 มีมูลค่า 4,234.4 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 17.5 จากช่วงเดียวกันของปี 2549 สำหรับแนวโน้มของอุตสาหกรรมเยื่อกระดาษในปี 2551 คาดว่าจะเพิ่มขึ้นร้อยละ 5 เมื่อเทียบกับปีที่แล้ว

ยูคาลิปตัส เป็นไม้พื้นเมืองของประเทศออสเตรเลีย มีมากกว่า 700 สายพันธุ์ แต่มีเพียงไม่กี่ชนิดที่เจริญเติบโตได้ดีในประเทศไทย ซึ่งได้มีการปรับปรุงพันธุ์จนเป็นพันธุ์ที่สามารถเจริญเติบโตได้ในสภาพดินแทบทุกประเภท ตั้งแต่ดินทราย ดินเค็ม ดินเปรี้ยว ทนต่อความแห้งแล้งได้ดี แต่ไม่ทนดินที่มีหินปูนสูง การขยายพันธุ์ต้นยูคาลิปตัสนั้น สามารถทำได้โดยการเพาะเมล็ด การตัดกิ่ง และการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ ข้อดีของยูคาลิปตัส คือ โตเร็ว สามารถใช้ประโยชน์ได้ภายใน 4-5 ปี มีการลงทุนค่อนข้างต่ำ เมื่อเทียบกับไม้โตเร็วชนิดอื่น เจริญเติบโตในพื้นที่ที่มีความอุดมสมบูรณ์ต่ำได้ เมื่ออายุ 3-6 ปี เนื้อไม้มีความเหมาะสมสำหรับผลิตเยื่อกระดาษ การปลูกยูคาลิปตัสในพื้นที่ป่าเสื่อมโทรมจะช่วยรักษาระดับความชื้นในอากาศ

สำหรับการปลูกต้นยูคาลิปตัสในประเทศไทยนั้น มีมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2493 แต่มีการสนับสนุนอย่างจริงจังราวปี 2519 เพื่อเป็นไม้ทดแทนป่าที่ถูกทำลายไป โดยปลูกในอัตรา 1 แสนไร่ต่อปี จากนั้นก็ได้รับความนิยมเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ในปี 2525 รัฐบาลสนับสนุนการปลูกยูคาลิปตัสเพื่อใช้ประโยชน์ตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 5 (2525-2529) แต่ก็ต้องมีอันยุติลง เนื่องจากมีการอ้างถึงผลเสียของการปลูกพืชชนิดนี้มาก โดยข้อเสียของยูคาลิปตัส คือ เป็นพืชที่ใช้น้ำมาก และเนื่องจากพืชชนิดนี้โตเร็ว ทำให้ความชื้นและระดับน้ำใต้ดินลดลงไปอย่างรวดเร็วด้วย ซึ่งจะมีผลกระทบต่อแหล่งน้ำ และพืชข้างเคียง และจากการศึกษาผลกระทบของยูคาลิปตัสกับสิ่งแวดล้อมโดยหน่วยงานต่างๆ ได้ข้อสรุปว่า

ยูคาลิปตัสไม่ได้มีพิษภัยต่อระบบนิเวศ ต่อพืชพรรณ หรือสัตว์ แต่ปัญหาเกิดขึ้นจากระบบการปลูกเป็นเชิงเดี่ยวที่กว้างขวางเกินไป เช่นเดียวกับการปลูกพืชเชิงเดี่ยวชนิดอื่นๆ เช่น ข้าวโพด ไม้สัก หรือมันสำปะหลัง ที่ไม่ได้มีระบบการจัดการบำรุงดินที่ดีก็จะมีผลกระทบกับสิ่งแวดล้อมเช่นเดียวกัน

ดังนั้น การปลูกยูคาลิปตัสต้องคัดเลือกสายพันธุ์ให้เหมาะสมกับสภาพแวดล้อม และต้องมีการจัดการที่ถูกต้องเหมาะสมด้วย

ในระยะหลังนี้ การปลูกบนคันนาเป็นที่ฮือฮากันมาก ประเทศไทยมีการทำนาประมาณ 60 ล้านไร่ แต่ผลผลิตเฉลี่ยข้าวของประเทศไทยยังต่ำกว่าประเทศเพื่อนบ้าน ผลผลิตข้าวต่ำจึงเป็นสาเหตุหนึ่งของปัญหาความยากจน การแก้ปัญหาในส่วนนี้คือ การใช้ประโยชน์จากที่นาให้เต็มที่ โดยเฉพาะคันนาที่ทิ้งร้างว่างเปล่าไว้ น่าจะศึกษาวิจัยกันอย่างจริงจังให้เป็นระบบ เลือกพันธุ์ยูคาลิปตัสให้เหมาะสมกับแต่ละพื้นที่ได้ แต่ต้องมีการจัดการพื้นที่การปลูกด้วย เช่น จะใช้สายพันธุ์อะไรที่มีความทนทานต่อพื้นที่ที่มีน้ำใต้ดินสูง และมีโอกาสน้ำท่วมขัง พันธุ์ที่มีเรือนยอดเล็ก มีลำต้นตรงเพื่อที่จะได้ไม่ไปบังแสงแดดต่อต้นข้าวในนา ในการปลูกพืชผสมจึงควรดูจุดมุ่งหมายว่าต้องการอะไร เพื่อจัดการให้ได้ตามนั้น หากต้องการผลผลิตจากข้าวเป็นหลัก แต่ต้องการรายได้เสริมบ้าง และใช้พื้นที่คันนาให้เกิดประโยชน์สูงสุด ก็ปลูกยูคาลิปตัสเป็นพืชเสริมได้

ยูคาลิปตัสเป็นพืชผสมตัวเองและสามารถผสมข้ามได้ โดยทั่วไปแล้วอัตราการผสมข้ามจะสูง ดังนั้น หากนำเมล็ดที่ไม่ได้รับการควบคุมการผสมไปปลูกอาจได้ต้นพันธุ์ที่แปรปรวนไปจากต้นแม่ได้ การใช้เทคโนโลยีชีวภาพด้านการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อเข้ามาช่วยในการขยายกล้าพันธุ์จากต้นแม่ที่ได้รับการคัดเลือกว่าดีแล้ว จึงเป็นทางออกที่ดี เพราะจะให้กล้าพันธุ์ที่เหมือนต้นแม่ที่ต้องการ แต่เนื่องจากต้นที่ได้จากการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่ออาจมีต้นทุนสูง ดังนั้น การที่จะเพาะพันธุ์ให้ได้ต้นพันธุ์ที่เหมือนต้นแม่ที่ต้องการ จึงมีการนำเอาเทคนิคการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อมาใช้ในการเพิ่มปริมาณต้นพันธุ์ และใช้การปักชำเข้ามาช่วยในการขยายพันธุ์จากต้นพันธุ์จำนวนมากที่ได้จากการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่ออีกที วิธีการผสมผสานจะทำให้ได้ต้นกล้ายูคาลิปตัสที่มีราคาถูกลง และตรงตามสายพันธุ์แม่ที่ต้องการ

นอกจากการใช้เทคนิคด้านการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อแล้ว วิทยาการด้านเทคโนโลยีชีวภาพในสาขาดีเอ็นเอ ยังสามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้อย่างมากมายในเรื่องของยูคาลิปตัส การใช้ดีเอ็นเอเครื่องหมายสามารถนำมาทำเอกลักษณ์ทางพันธุกรรมของสายพันธุ์ยูคาลิปตัสที่ดีได้ เพื่อใช้ในการตรวจสอบคุณภาพของกล้ายูคาลิปตัส นอกจากนั้น ยังสามารถช่วยในการพิสูจน์หลักฐานในคดีความที่มีการลักขโมยพันธุ์ หรือการลักลอบตัดไม้ในพื้นที่ปลูก

นอกจากนี้ เทคนิคด้านดีเอ็นเอยังสามารถช่วยในการปรับปรุงพันธุ์ยูคาลิปตัสให้มีลักษณะที่ต้องการได้เร็วขึ้นกว่าการปรับปรุงพันธุ์แบบดั้งเดิม เพราะการปรับปรุงพันธุ์แบบดั้งเดิม ต้องเริ่มจากการคัดเลือกพันธุ์พ่อแม่และทำการผสมให้ได้ก่อน จากนั้นก็นำไปทำการปลูกทดสอบเพื่อหาต้นที่มีลักษณะที่ต้องการ ซึ่งอาจใช้เวลาและพื้นที่ปลูกมาก ถ้าหากมีดีเอ็นเอเครื่องหมายที่ควบคุมลักษณะที่ต้องการ เช่น ต้านทานต่อโรค ต้านทานต่อแมลง คุณภาพเนื้อไม้ ลำต้นตรง และการเจริญเติบโตที่รวดเร็ว เราสามารถใช้ดีเอ็นเอเครื่องหมายที่ควบคุมลักษณะดังกล่าวในการคัดเลือกต้นกล้าได้เลย โดยไม่ต้องนำไปปลูกเพื่อคัดเลือกจำนวนหลายพันต้น เพื่อจะเลือกต้นที่ดีเพียงไม่กี่ต้นไว้ทำแม่พันธุ์

นอกจากเทคนิคทั้ง 2 วิธีที่กล่าวมาแล้ว การนำเทคโนโลยีด้านการถ่ายยีนมาช่วยในการพัฒนาพันธุ์ยูคาลิปตัสก็สามารถทำได้ ซึ่งในต่างประเทศเทคโนโลยีชีวภาพ ได้ถูกนำมาใช้ในการปรับปรุงพันธุ์ยูคาลิปตัสในหลายๆ ประเทศ และโดยมากการวิจัยและการปรับปรุงพันธุ์ยูคาลิปตัสจะอยู่ในบริษัทเอกชนส่วนมาก เช่น การถ่ายยีนให้มีลิกนินในเนื้อไม้น้อยลง จะทำให้ขั้นตอนฟอกเยื่อกระดาษ (bleaching) ไม่ต้องใช้สารเคมีจำนวนมาก ซึ่งจะช่วยในการลดพลังงานและสารเคมีในกระบวนการผลิตเยื่อกระดาษ และสารมลพิษจากการผลิตเยื่อกระดาษ เป็นต้น

เนื่องจากราคาไม้ยูคาลิปตัสนั้นมีแนวโน้มสูงขึ้นเรื่อยๆ ตามความต้องการของตลาด ดังนั้น หากมีระบบการจัดการที่ดีประกอบกับการใช้เทคโนโลยีร่วมกันอย่างเหมาะสม การปลูกต้นยูคาลิปตัสก็เป็นตัวเลือกหนึ่งที่น่าสนใจของประเทศ

###

 

ผู้เขียน: ศิริพร วัฒนศรีรังกุล ชุลีพร อรุณแสงสุรีย์ ดร. สมวงษ์ ตระกูลรุ่ง
           ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ
http://www.nstda.or.th/th/index.php?option=com_content&task=view&id=500&Itemid=66
 
บันทึกการเข้า

"CHIAB"
มนุษย์เราแต่ละคน  ต่างไม่รู้ว่ามาจากไหน  ไม่มีใครรู้จักกันมาก่อนเลย  แล้ววันหนึ่งก็มาพบหน้ากัน  สมมุติเป็นพ่อ  เป็นแม่  เป็นเมีย  เป็นสามี  เป็นลูก  อยู่ร่วมกัน  ใช้ชีวิตร่วมกัน และแล้ววันหนึ่ง  ก็แยกย้ายด้วยการ  "ตายจาก"  กันไปสู่  ณ  ที่ซึ่งไม่มีใครได้ตามพบ  คืนสู่ความเป็นผู้ไม่รู้ว่ามาจากไหน  ไปไหน  และคืนสู่ความเป็น  "คนแปลกหน้า"  ซึ่งกันและกันอนันกาลอีกครั้งหนึ่ง...และอีกครั้งหนึ่ง!?
ขอขอบคุณ คุณเปลว สีเงิน ที่ให้ข้อคิดดีๆ
uca
member
*

คะแนน7
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 151


อีเมล์
« ตอบ #3 เมื่อ: มิถุนายน 28, 2009, 08:36:01 pm »

โทรมาคุยดีกว่าครับ ผมช่วยแนะวิธีให้ครับ
083-1017994
บันทึกการเข้า
nantawut
Full Member
member
**

คะแนน36
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 508


« ตอบ #4 เมื่อ: มิถุนายน 28, 2009, 09:35:43 pm »

เอาของเก่ามาตอบ อิอิ  Tongue Tongue Tongue

ยูคาเป็นไม้โตเร็ว แน่นอนมันจึงต้องการอาหารในดินมากขึ้น ถ้าไม่มีการบำรุงรักษาปลูกอะไรก็เสียเหมือนกัน  Tongue
โรงงานที่รับซื้อส่วนใหญ่มีทางภาคตะวันออก อีสานและภาคกลาง ภาคเหนือและภาคใต้ถ้ามีการปลูกกันมากๆ น่าจะมีแหล่งรับซื้อ
พื้นที่ 1 ไร่ปลูกได้ประมาณ 300 ต้นได้ไม้ 15-20 ตันใช้เวลาปลูก 3-5 ปีถึงตัดได้ ราคาตันละ 900-1200 บาท
การปลูกต้องเลือกสายพันธ์ที่เหมาสมกับพื้นที่นั้นๆ  สรุป ถ้าจะปลูกให้คุ้มควรจะมีที่เยอะๆ ดินไม่ค่อยดีปลูกพืชอย่างอื่นไม่ค่อยได้ แล้ง ไม่ต้องดูแลมาก ผมว่าดีกว่าปล่อยที่ดินทิ้งไว้เปล่าๆ มีต้นไม้จะดูชุ่มชื้นกว่า เคยไปทางใต้มีการปลูกต้นยางกันเยอะ ตอนหน้าแล้งขับรถไปมองตามข้างทางลองเปรียบเทียบกับภาคอีสานดูสิครับ ผิดกันเลย  ยูคาไม่ได้เลวร้ายอย่างที่คิดหรอกครับ

บันทึกการเข้า
golfzazzz
member
*

คะแนน2
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 13


« ตอบ #5 เมื่อ: พฤศจิกายน 04, 2009, 01:19:29 am »

ขอเสริมครับ

ตามความเห็นข้างบน แฟนผมคนสระแก้วผมเห็นเค้าปลูกกันเยอะ

เพราะพื้นที่บางช่วงแห้งแล้งจนไม่สามารถปลูกอะไรได้ ปลูกมันก็ไม่คุ้มค่าปุ๋ย
ปลูกข้าว   อย่าไปหวังแค่ไม่ขาดทุนก็พอ ปลูกอ้อย ไม่แน่ใจไม่มีข้อมูล

แต่ยูคา ลำบากดูแลแค่ 1ปีแรก ที่เหลือ ไปถางหญ้ากันไฟก็พอ
พอครบ ไม่ว่า จะ 2ปี 3ปี 4ปี หรือมากกว่านั้น ก็ตัดขายได้แล้วครับ
พอขาย ตอที่ 1  เราสามารถ รอต่อที่ 2 ได้เลย แถมการปลูกต่อ 2 สบายครับ
รากมันยึดแล้ว ตัดแล้วปล่อยรอมันโต อีก 3 ปีตัดเลย
ฉะนั้นเค้าจึงนิยมปลูกยูคาในพื้นที่แล้ง เพราะดูแลง่ายกำไล ดี แต่ต้องหมั่นดูแล
บันทึกการเข้า
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by MySQL Powered by PHP Powered by SMF 1.1 RC2 | SMF © 2001-2006, Lewis Media

lsv2555Please follow the new website at https://www.pohchae.com

Valid CSS!