"เกษตรานุสติ ฉบับนาข้าว"
ธันวาคม 22, 2024, 12:07:11 pm *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
   หน้าแรก   ช่วยเหลือ เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก  
หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: "เกษตรานุสติ ฉบับนาข้าว"  (อ่าน 4620 ครั้ง)
bombon
member
*

คะแนน16
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 187


« เมื่อ: มีนาคม 24, 2009, 05:32:18 pm »

เทคนิคการเกษตร

 บทคัดลอกจากรวมเล่ม
                                                    "เกษตรานุสติ  ฉบับนาข้าว"
                                                         โดย  คิม ซา กัสส์
                                     ................... ................... ..................     


         

         เกร็ดเล็กเกร็ดน้อยเรื่องนาข้าว :

 
      1. ปัจจุบันประชากรทั่วโลกกว่า 3,000 ล้านคน (มากกว่าครึ่งหนึ่งของประชากรทั้งโลก)
นิยมบริโภคข้าวเป็นอาหารหลักมากกว่าขนมปังและมีแนวโน้มว่าจะเพิ่มขึ้เรื่อยๆ  นั่นหมายถึง
ตลาดข้าวโลกที่มีโอกาสโตขึ้น

       2.  ทั่วโลกมีข้าวประมาณ 2,000 สายพันธุ์  ปริมาณผลผลิตต่อไร่ที่ได้มากหรือน้อย
ต่างกันนั้น  นอกจากข้อจำกัดของลักษณะทางสายพันธุ์แล้ว สภาพอากาศ  สภาพแวดล้อม
และเทคนิคการปฏิบัติบำรุงก็มีส่วนเกี่ยวข้องทั้งสิ้น
          พันธุ์ข้าวจ้าวที่ทางราชการแนะนำ ได้แก่  กข-7  ทนทานต่อโรคขอบใบไหม้โรค
ไหม้ และค่อนข้างทนทานต่อดินเปรี้ยว.....กข-23 ทนทานต่อโรคใบไหม้  โรคใบหงิก  เพลี้ย
กระโดดสีน้ำตาล   เพลี้ยจั๊กจั่นสีเขียว...หอมคลองหลวง -1 กลิ่นหอมคล้ายขาวดอกมะลิ  ทน
ทานต่อโรคไหม้  โรคขอบใบแห้ง  เพลี้ยกระโดดหลังขาว.....หอมสุพรรณ  กลิ่นหอมคล้าย
ขาวดอกมะลิ  ทนทานต่อโรคขอบใบไหม้  เพลี้ยกระโดดหลังขาว.........สุพรรณบุรี-1 ทน
ทานต่อโรคใบไหม้  โรคใบหงิก  โรคขอบใบแห้ง  เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล  เพลี้ยจั๊กจั่นสี
เขียว.......สุพรรณบุรี-2 ทนทานต่อโรคขอบใบแห้ง  เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล.....สุพรรณบุรี-
60 ทนทานต่อโรคใบไหม้  โรคขอบใบแห้ง  เพลี้ยจั๊กจั่นสีเขียว  เพลี้ยกระโดดหลังขาว.....
สุพรรณบุรี-90 ทนทานต่อโรคใบไหม้  โรคขอบใบแห้ง  โรคขอบใบหงิก  โรคใบสีส้ม  เพลี้ย
กระโดดสีน้ำตาล.....ชัยนาท-1 ทนทานต่อโรคใบหงิก  เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล  เพลี้ยกระโดด
หลังขาว......ปทุมธานี-1 ทนทานต่อโรคใบไหม้  โรคขอบใบแห้ง  เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล
เพลี้ยกระโดดหลังขาว........พิษณุโลก-2 ทนทานต่อโรคใบไหม้  เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล
เพลี้ยกระโดดหลังขาว......สุรินทร์-1 ทนทานต่อโรคใบไหม้  โรคขอบใบแห้ง  ทนต่อดินเค็ม
และความแห้งแล้ง 
       พันธุ์ข้าวเหนียวที่ทางราชการแนะนำ ได้แก่  กข-10 ทนทานต่อโรคใบไหม้......แพร่-1
ทนทานต่อโรคใบไหม้  โรคขอบใบไหม้  โรคใบหงิก  เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล..... สกลนคร.
ทนทานต่อโรคใบไหม้  โรคใบหงิก  เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล......สันป่าตอง  ทนทานต่อโรคใบ
ไหม้  โรคขอบใบแห้ง   

         พันธุ์ข้าวที่ใช้ในพิธีจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ ประจำปี 2550   จำนวน 6 สายพันธุ์
ได้แก่   ข้าวหอมปทุม-1.  ข้าวหอมสุพรรณ-1.   ข้าวหอมดอกมะลิ กข-105.   ข้าว กข-
6.   ข้าวพัทลุง.   ข้าวหอมพิษณุโลก-1. ข้าวไร่ดอกพยอม.   และข้าวไร่ซิวแม่จัน.   เป็น
พันธุ์ข้าวที่ได้มาจากแปลงสาธิตในสวนจิตรลดา
         ข้าวไวแสง  หมายถึง  ข้าวสายพันธุ์ที่ปลูกแล้วเจริญเติบโตได้ดีในช่วงกลางวันสั้นกว่า
กลางคืน  หรือวันสั้นซึ่งมีแสงน้อยกว่า 12 ชม.  เหมาะสำหรับปลูกเป็นข้าวนาปีหรือปลูกในฤดู
ฝนแล้วออกดอกในฤดูหนาว
         ข้าวไม่ไวแสง  หมายถึงข้าวสายพันธุ์ที่ปลูกแล้วเจริญเติบโตได้ดีทุกฤดกาล ตราบเท่า
ที่มีน้ำอย่างเพียงพอ  ปริมาณแสงไม่มีอิทธิพลต่อการเจริญเติบโต เหมาะสำหรับปลูกเป็น
ข้าวนาปรังหรือช่วงฤดูร้อน

        3. ข้าวเป็นพืชอายุสั้นฤดูกาลเดียว  ปลูกได้ทุกพื้นทีๆ มีน้ำและทุกฤดูกาล  โดยหลัง
งอก 110-120 วัน (ตามชนิดของสายพันธุ์) ก็เก็บเกี่ยวได้  เจริญเติบโตได้ดีในดินทุกชนิดที่มี
อินทรีย์วัตถุมากๆ  โปร่ง  ร่วนซุย  น้ำและอากาศผ่านสะดวก

        4.  ข้าวไม่มีฤดูกาล  ลงมือหว่าน/ดำเมื่อใด  ให้นับต่อไปอีก 90-120 วัน ก็เก็บเกี่ยว
ได้  การทำนาข้าวส่วนใหญ่รอน้ำฝนเพียงอย่างเดียว  โดยเริ่มลงมือหว่าน/ดำเมื่อถึงฤดูฝน  จึง
ทำให้มีข้าวออกสู่ตลาดพร้อมกันทั่วประเทศ (พ.ย.และ มี.ค. ข้าวเปลือกล้นตลาด)  ส่งผลให้
ราคาข้าวเปลือกถูกลง  เพื่อหลีกเลี่ยงสภาวะข้าวล้นตลาด  นาในเขตชลประทานซึ่งมีน้ำ
บริบูรณ์ สามารถผันน้ำเข้าแปลงนาได้ทุกเวลาที่ต้องการ  ควรวางแผนหว่า/ดำก่อนหรือหลังนา
น้ำฝน 1-2 เดือน จะทำให้เก็บเกี่ยวได้ก่อนหรือหลังนาน้ำฝน 1-2 เดือน  ซึ่งช่วงนี้ข้าวเปลือก
เริ่มมีราคาดีขึ้นแล้ว  หลังจากจัดตารางช่วงการทำนาได้ในปีแรกแล้วก็จะใช้ตารางช่วงการทำนา
นี้ได้ตลอดไป

         5. นาข้าวเป็นกิจกรรมทางการเกษตรที่มีประชากรทำมากที่สุด หรือมีพื้นที่ปลูกมากที่
สุด  จนได้รับสมญาว่าเป็น  "กระดูกสันหลัง"  ของชาติ  และข้าวเป็นพืชอายุสั้นฤดูกาลเดียว
ชนิดเดียวที่มีโรคและแมลงศัตรูพืชมากที่สุด

         6. เมล็ดพันธุ์ข้าวบางสายพันธุ์ไม่มีระยะพักตัว  บางสายพันธุ์มีระยะพักตัวยาว หรือ 0-
80 วัน  ก่อนหว่าน/ดำจำป็นต้องรู้ระยะพักตัวของเมล็ดพันธุ์ด้วย........เมล็ดพันธุ์ที่เก็บเกี่ยวใน
ช่วงแล้ง อุณหภูมิร้อนมักมีระยะพักตัวสั้นความสำคัญของระยะพักตัวคือ เมล็ดพันธุ์ที่ผ่านระยะ
พักตัวครบกำหนดตามธรรมชาติของสายพันธุ์จะให้เปอร์เซ็นต์ความงอกสูงกว่าเมล็ดพันธุ์ที่พัก
ตัวไม่ครบกำหนด หรือไม่ได้พักตัวเลย หรือพักตัวเกินกำหนด

       7. ใส่ปุ๋ยเคมีแก่ต้นข้าวให้ได้ประสิทธิภาพสูงสุด 2 ช่วงเท่านั้น   คือ  ช่วงทำเทือก
(เตรียมดิน) และช่วงตั้งท้อง-แต่งตัว   การใส่ปุ๋ยช่วงอื่นๆ จะไม่เกิดประโยชน์ใดๆ

         8. การใส่ปุ๋ยแต่งหน้า หรือใส่ปุ๋ยทันทีหลังปักดำ (นาดำ)หรือเมล็ดพันธุ์เริ่มงอก (นา
หว่าน) จะไม่เกิดประโยชน์  เพราะต้นกล้ายังไม่พร้อมรับและยังไม่มีความจำเป็นต้องให้  ทั้งนี้
ระยะต้นกล้างอกใหม่ๆจะใช้สารอาหารที่มีอยู่ในเมล็ดตัวเอง (แป้ง  โปรตีน  ไขมัน  วิตามิน
ฯลฯ) เป็นหลัก

        9. แปลงนาน้ำพอแฉะหน้าดินจะตอบสนองต่อปุ๋ย (เคมี - อินทรีย์) ได้ดีกว่าแปลงนาน้ำ
ขัง  สังเกตแปลงนาที่ต้นข้าวขึ้นในแปลงบริเวณรอยต่อระหว่างที่ลุ่มกับที่ดอน  ซึ่งมีน้ำพอแฉะ
หน้าดินไม่ท่วมโคนต้น  ต้นข้าวบริเวณนั้นมักจะเจริญเติบโต  สมบูรณ์  แตกกอ  มีจำนวนลำ
มากกว่าต้นข้าวในบริเวณที่มีน้ำหล่อโคนต้น  แสดงว่าธรรมชาติหรือนิสัยของต้นข้าวชอบน้ำพอ
หน้าดินแฉะเท่านั้น

         10. แก๊สคาร์บอนไดออกไซด์จากอากาศมีประโยชน์ต่อต้นข้าวในการสร้างแป้งหรือ
เปลี่ยนสารอาหารต่างๆให้เป็นแป้ง


บันทึกการเข้า

bombon
member
*

คะแนน16
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 187


« ตอบ #1 เมื่อ: มีนาคม 24, 2009, 05:33:37 pm »

11. ข้าวที่ปลูกระยะระหว่างกอห่างๆ แล้วบำรุงให้แต่ละกอแตกหน่อเกิดเป็นลำใหม่
จำนวนมาก  จะให้ผลผลิตดีกว่าทั้งคุณภาพและปริมาณ  เมื่อเทียบกับการปลูกระยะระหว่างกอ
ชิดมากๆ  แต่ละกอจะแตกหน่อเกิดเป็นลำใหม่น้อย ปริมาณและคุณภาพไม่ดีนัก

         12. การลดความสูงต้นของต้นข้าว  ถือเป็นปัจจัยสำคัญที่สุดในการเพิ่มปริมาณผล
ผลิตและคุณภาพ  นอกจากนี้ยังทำให้ต้นแข็งแรงไม่หักล้มง่าย และโรคแมลงเข้าเข้ารบกวน
น้อยอีกด้วย.......ข้าวที่ลำต้นสูงมากๆ ทำให้สิ้นเปลืองน้ำเลี้ยงไปสร้างลำต้นจึงทำให้มีสาร
อาหารเหลือไปเลี้ยงรวงน้อย หรือ "ฟางมากเมล็ดน้อย-ฟางน้อยเมล็ดมาก"ต้นข้าวในน้ำที่ระดับ
พอเปียกหน้าดิน (ดินแฉะเล็กน้อย) จะแตกกอได้จำนวนมากกว่าต้นข้าวที่ปลูกในน้ำขังค้าง หรือ
ท่วมโคน........ข้าวลำต้นสูง (น้ำมาก  ไนโตรเจนมาก)  จะมีรวงสั้น  แต่ข้าวลำต้นสั้น (น้ำ
พอแฉะหน้าดิน สารอาหารสมดุลทุกตัว) จะมีรวงยาว.......ต้นข้าวช่วงระยะกล้าที่ไม่ได้ให้ 46-
0-0 แต่ให้ 16-8-8 แทน  ควบคู่กับช่วง ตั้งท้อง-แต่งตัว ให้ 0-42-56  โดยฉีดพ่นพอเปียก
ใบ 1-2 รอบ จะช่วยให้ต้นข้าวไม่สูงแต่กลับเจริญเติบโตทางข้างอวบอ้วน  เหมือนต้นไม้ผลมี
อาการอั้นตาดอก.......การตัดยอดช่วง  ตั้งท้อง-แต่งตัว  ก็เป็นอีกวิธีหนึ่งที่ทำให้ต้นข้าวไม่สูง
ต่อ  แล้วอวบอ้วนเหมือนอั้นตาดอกได้เช่นกัน

       13. ต้นข้าวที่ปลูกโดยวิธีปักดำ  ฐานรากจะยึดดินลึกและแน่น  สามารถต้านทานการล้ม
ได้ดีกว่าแบบหว่าน

       14.  ดอกข้าวเป็นดอกสมบูรณ์เพศ  มีทั้งเกสรตัวผู้และเกสรตัวเมียอยู่ในดอกเดียวกัน
และผสมกันเองได้.......ดอกจะเริ่มบานจากส่วนปลายรวงลงมาโคนรวง  ดอกบานครบทั้งรวง
ใช้ระยะเวลาประมาณ 7 วัน  และช่วงดอกบานควรงดการฉีดพ่นทางใบเพราะอาจทำให้เกสร
เปียกชื้นจนผสมไม่ติดได้  หรือผสมติดก็ได้คุณภาพเมล็ดไม่ดี
            ดอกข้าวที่บานในวันที่อากาศสดใส แสงแดดดี ช่วงเช้าถึงเที่ยง จะผสมติดเป็นผล
(เมล็ด) ได้ดีซึ่งดอกข้าวจะบานและเกสรพร้อมผสมได้ภายในระยะเวลา 30-60 นาที
            ระยะข้าวเริ่มเป็นน้ำนมใช้ระยะเวลาประมาณ 7 วันหลังผสมติด
            ระยะข้าวเม่าหรือเป็นไตใช้ระยะเวลาประมาณ 14-21วันหลังผสมติด
            ระยะเมล็ดแก่เต็มที่หรือระยะเก็บเกี่ยวใช้ระยะเวลาประมาณ 30 วันหลังผสมติด

         15. อากาศหนาว (15-20 องศาเซลเซียส / ภาคเหนือเกิดน้ำค้างแข็ง) ติดต่อกัน
10 วัน มีผลต่อต้นข้าวหลายอย่าง  เช่น เมล็ดไม่งอก ต้นกล้าโตช้า  ต้นแคระแกร็น  ใบ
เหลือง  ออกดอกช้า  และช่วงช่อดอกอ่อนเกสรจะฝ่อผสมไม่ติดหรือผสมติดก็เป็นเมล็ด
ลีบ      แก้ไขโดยการให้  "แม็กเนเซียม + สังกะสี + ธาตุรอง/ธาตุเสริม + กลูโคส
+ ฯลฯ"    หรือ   "ฮอร์โมนน้ำดำ"  (ตามสูตรที่ให้ไว้)  ล่วงหน้าก่อนหนาว 2-3 วัน  และให้
ระหว่างอากาศหนาว ทุก 2-3 วันจนกว่าอากาศจะหายหนาว

        16. อากาศร้อน (สูงกว่า 35 องศาเซลเซียส) ช่วงข้าวหลังผสมเกสรติด หรือเริ่มเป็น
น้ำนมจะกลายเป็นข้าวเมล็ดลีบมาก    แก้ไขโดยให้    "แม็กเนเซียม + สังกะสี + ธาตุรอง/
ธาตุเสริม + เอ็นเอเอ. + กลูโคส + ฯลฯ" ล่วงหน้า 2-3 วันก่อนอากาศร้อนและให้ระหว่าง
อากาศร้อน ทุก 2-3 วัน จนกว่าอากาศจะปกติ

       17.  สายลมแรงมากทำให้ต้นข้าวเครียดเนื่องจากต้องคายน้ำมาก  มีผลทำให้เมล็ดข้าว
ลีบ  รวงจะเป็นสีขาวคล้ายถูกหนอนกอทำลาย  วิธีแก้ไขเหมือนช่วงอากาศร้อนจัด

        18. การนับอายุข้าว  นาดำเริ่มนับวันที่ปักดำ ส่วนนาหว่านเริ่มนับวันที่หว่าน  แต่
อย่างไรก็ตาม  ในธรรมชาติไม่มีตัวเลขที่แน่นอน  ทุกอย่างต้องขึ้นกับ  ปัจจัยพื้นฐานด้าน
การเกษตร (ดิน - น้ำ - แสงแดด - อุณหภูมิ - ฤดูกาล - สารอาหาร - สายพันธุ์ - โรค) ที่
เป็นทั้ง  "ปัจจัยต้าน และ ปัจจัยเสริม"  ทั้งสิ้น

        19. ตกกล้าสำหรับนาดำ (รถดำ) ระหว่างการตกกล้าในกระบะ (ตาป๊อก) กับการตกกล้า
บนพื้นในแปลง (คนดำ) ใช้ระยะเวลา 16-20 วันเท่ากัน  แต่ต้นกล้าบนพื้นในแปลงจะสูงก
ว่า.......ต้นกล้าในกระบะเพาะเหมาะสำหรับใช้ปักดำด้วยรถดำนา  ส่วนต้นกล้าในแปลงบนพื้น
เหมาะสำหรับปักดำด้วยมือ

        20. ในนาหว่าน  ถ้าระดับน้ำท่วมเมล็ดมาก (น้ำลึก) เมล็ดจะงอกช้า  เพราะในน้ำมี
อากาศน้อย  หลังจากงอกขึ้นมาแล้วลำต้นจะสูงและอ่อนแอ แต่ถ้าหว่านเมล็ดระดับน้ำพอท่วม
เมล็ดหรือท่วมน้อยที่สุดจะงอกเร็วเพราะเมล็ดพันธุ์ได้รับอากาศด
บันทึกการเข้า
bombon
member
*

คะแนน16
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 187


« ตอบ #2 เมื่อ: มีนาคม 24, 2009, 05:35:26 pm »

เข้าไปดูเพิ่มเติมได้ที่ สามรถมารถสอบถามเกี่ยวกับการเกษตรกับ ลุงคิมได้เลย ที่เวบบอร์ดครับ ของเขาดีจริงจึงบอกเพื่อน
http://kasetloongkim.com
บันทึกการเข้า
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by MySQL Powered by PHP Powered by SMF 1.1 RC2 | SMF © 2001-2006, Lewis Media

lsv2555Please follow the new website at https://www.pohchae.com

Valid CSS!