ศาลคุ้มครองผู้บริโภค..กฎหมายใหม่ที่คนไทยต้องรู้..โดยเฉพาะชาวช่าง
มกราคม 09, 2025, 11:04:43 pm *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
   หน้าแรก   ช่วยเหลือ เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก  
หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: ศาลคุ้มครองผู้บริโภค..กฎหมายใหม่ที่คนไทยต้องรู้..โดยเฉพาะชาวช่าง  (อ่าน 10031 ครั้ง)
eskimo_bkk-LSV team♥
.กลุ่มผู้มีน้ำใจงาม..
member
*

คะแนน1887
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 13885


ไม่แล่เนื้อเถือหนังพวก


อีเมล์
« เมื่อ: สิงหาคม 14, 2008, 09:36:42 am »

พ.ร.บ.วิธีพิจารณาคดีผู้บริโภคกฎหมายใหม่ที่คนไทยต้องรู้
ผู้บริโภคชาวไทยทุกวันนี้น้อยคนนักที่จะรู้ว่ารัฐบาล
พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์
ได้อนุมัติร่างพระราชบัญญัติวิธีพิจารณาคดีผู้บริโภค
พ.ศ....
เพื่อให้มีกฎหมายที่ให้ความยุติธรรม
และคุ้มครองผู้บริโภคจากการใช้สินค้า
ที่ไม่ได้คุณภาพมาตรฐาน
 เนื่องจากผู้บริโภคมักอยู่ในฐานะที่เสียเปรียบ
และมีอำนาจต่อรองน้อยกว่าผู้ประกอบการ
 
          กฎหมายดังกล่าวที่ประกาศใช้แล้ว
ถือว่าได้มีประโยชน์ต่อผู้บริโภคอย่างมาก
 และในฉบับนี้เราจะมาทำความรู้จัก พ.ร.บ.หน้าใหม่ดังกล่าว

 
          พ.ร.บ.วิธีพิจารณาคดีผู้บริโภค เกิดขึ้นจากการที่
นายวิรัชลิ้มวิชัย ประธานศาลฎีกา
 ยกร่างเสนอโดยอาศัยรัฐธรรมนูญมาตรา 142(3)
ที่กำหนดให้ศาล
หรือองค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญมีสิทธิเสนอพ.ร.บ.ต่อรัฐสภา
 โดยนายวิรัชได้เสนอ พ.ร.บ.ดังกล่าว
ให้สภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) พิจารณา

 
          จึงถือได้ว่า พ.ร.บ.ฉบับนี้เป็นกฎหมายฉบับแรกที่ศาลยุติธรรม
ใช้สิทธิตามที่รัฐธรรมนูญเปิดทางให้เสนอกฎหมายต่อ สนช.
 
          เนื้อหาสาระหลักของ พ.ร.บ.วิธีพิจารณาคดีผู้บริโภค คือ
 การพยายามมุ่งเน้นให้ความคุ้มครองผู้บริโภค
เมื่อมีข้อพิพาทเรื่องการใช้สินค้า
ระหว่างผู้บริโภคกับผู้ประกอบการซึ่งเป็นผู้ผลิตสินค้านั้นๆ
 โดยการดำเนินคดีตามกฎหมายฉบับดังกล่าว
จะเปลี่ยนรูปแบบการต่อสู้คดีจากเดิม
ที่ยืนบนพื้นฐานของกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
 ซึ่งถือว่าคู่ความทั้งสองฝ่าย
มีสถานการณ์ต่อสู้คดีเท่าเทียมกัน

 
          นอกจากนี้ยังยึดหลัก
 "ผู้ใดกล่าวอ้าง ผู้นั้นมีหน้าที่นำสืบ"
ซึ่งเท่ากับเป็นการผลักภาระให้ผู้บริโภค
ในการหาพยานหลักฐานทางเทคนิค
 ซึ่งผู้บริโภคมักไม่มีความสามารถในการเข้าถึงข้อมูล
 จึงเป็นข้อเสียเปรียบในการสู้คดี
 ซึ่งกฎหมายฉบับใหม่ระบุให้ผู้ประกอบการ
ต้องเป็นฝ่ายนำข้อมูลหลักฐานมาแสดงต่อศาล
เพื่อสนับสนุนข้อกล่าวหาของตนแทน
 
          นายพงษ์เดช วานิชกิตติกูล
 ผู้พิพากษาหัวหน้าศาลประจำสำนักประธานศาลฎีกา
 ให้รายละเอียดเพิ่มเติมถึงกฎหมายฉบับดังกล่าวว่า
ผู้บริโภคจะได้รับประโยชน์
จากกฎหมายดังกล่าวหลายเรื่องหลักๆ คือ
1.   ได้รับความสะดวกทางการฟ้องร้องต่อศาล
จากการผ่อนคลายกฎเกณฑ์เดิมที่มีความเคร่งครัด
 เพราะผู้บริโภคโดยเฉพาะผู้ที่ด้อยโอกาส
 สามารถใช้สิทธิทางศาล
ในการเรียกร้องค่าเสียหายได้ง่ายขึ้น
 อาจฟ้องศาลด้วยวาจาหรือเป็นหนังสือก็ได้
 
2.   รวดเร็ว โดยในกฎหมายระบุว่า
ให้ศาลนั่งพิจารณาคดีติดต่อกันโดยไม่เลื่อนคดี
แต่หากมีเหตุจำเป็น
 ศาละจะมีคำสั่งเลื่อนคดีได้ครั้งละไม่เกิน 15 วัน
 และการพิจารณาคดีมี 2 ชั้นศาล คือ
 ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์
ทำให้คดียุติได้เร็วขึ้น
3.   ความเป็นธรรม
 โดย พ.ร.บ.ระบุให้ผู้ประกอบการ
ซึ่งถือว่ามีอำนาจต่อรองมากกว่าผู้บริโภค
 จะต้องเป็นผู้พิสูจน์ข้อกล่าวอ้างนั้น
หากไม่เป็นไปตามการฟ้องร้องของผู้บริโภค
 ก็ถือว่าให้คดีจบไป
แต่หากพบว่าเป็นความผิดของผู้ประกอบการจริง
จะต้องรับผิดชอบค่าใช้จ่ายในการฟ้องร้องคดีทั้งหมด
 รวมถึงส่วนของผู้บริโภคด้วย
 
          และประโยชน์ข้อสุดท้าย คือ
 การประหยัด
เนื่องจากผู้บริโภคจะได้รับการยกเว้นค่าธรรมเนียม
 เช่น ค่าขึ้นศาล ค่าป่วยการพยาน ค่าทนายความ ฯลฯ
 ซึ่งหากผู้บริโภคชนะคดี
ผู้ประกอบการต้องเป็นผู้รับผิดชอบค่า
ใช้จ่ายทั้งหมด ยกเว้นกรณีที่ผู้บริโภคฟ้อง
 โดยไม่มีเหตุอันควร
หรือเรียกค่าเสียหายเกินควร

 
          นายพงษ์เดช กล่าวต่อว่า
 ถึงแม้กฎหมายดังกล่าว
จะให้การคุ้มครองผู้บริโภคมากกว่าผู้ประกอบการ
แต่ไม่ได้หมายความว่า
ผู้ประกอบการจะไม่ได้รับความเป็นธรรม
 เพราะกฎหมายฉบับนี้ก็ช่วยให้ผู้ประกอบการ
ที่ไม่มีคุณภาพต้องออกจากตลาดไป
 เหลือแต่เพียงผู้ประกอบการ
ที่ผลิตสินค้ามีคุณภาพเท่านั้น
 
          ตัวอย่างของการฟ้องร้องเช่น
 หากผู้บริโภคให้แชมพูแล้ว
บอกว่าเกิดอาการคัน ผมร่วง
สันนิษฐานว่าเป็นเพราะสูตรของแชมพู
ไม่ได้มาตรฐาน
 ก็สามารถฟ้องร้องให้มีผู้ประกอบการพิสูจน์ว่า
ส่วนประกอบการที่ใช้ในการผลิต
ได้คุณภาพหรือไม่
 
          "จุดเด่นของกฎหมายฉบับนี้คือ
การคุ้มครองและให้ความยุติธรรม
กับผู้บริโภคมากกว่ากฎหมายในอดีต
 และช่วยให้ผู้บริโภคเข้าถึงกระวนการยุติธรรม
ได้ง่ายกว่าเดิม
 ซึ่งจะทำให้คดีความได้ข้อยุติรวเร็ว"

ศาลคุ้มครองผู้บริโภค
การก่อตั้งองค์กรอิสระ
เพื่อผู้บริโภคคงเกิดขึ้นอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้
 เนื่องจากความจำเป็นที่ต้องจัดตั้งขึ้น
ตามเจตนารมณ์ของกฎหมายรัฐธรรมนูญตามมาตรา 57
 และเมื่อองค์กรอิสระเพื่อคุ้มครองผู้บริโภคจัดตั้งขึ้น
 สิ่งที่ตามมานั่นคือ
องค์กรหรือองค์การนี้จะช่วยสนับสนุนและกระตุ้น
ให้ผู้บริโภคเข้ามามีส่วนร่วมและมีบทบาท
ในการคุ้มครองสิทธิของตนเอง
 เป็นการสร้างความเข้มแข็งให้กับผู้บริโภค
 ทำให้การคุ้มครองสิทธิผู้บริโภคจะเพิ่มขึ้นกว่าเดิม

สิ่งสำคัญที่จะต้องคำนึงถึงต่อไป นั่นคือ
 การมีองค์การอิสระที่เป็นการเพิ่มพลังให้กับผู้บริโภค
ในการปกป้องสิทธิในการบริโภคของตน
ขณะเดียวกันย่อมทำให้ผู้บริโภคมีความกล้า
ที่จะดำเนินการเรียกร้องความเป็นธรรม
และฟ้องร้องค่าเสียหายจากผู้ประกอบการ
โดยผ่านกระบวนการทางศาลยุติธรรมมากยิ่งขึ้น
 หากตกลงเจรจายอมความกันไม่ได้
ทั้งนี้โดยมีองค์การอิสระคอยให้ความช่วยเหลือ
อันเป็นเหตุให้ในอนาคต
จะมีคดีความที่เกี่ยวข้องกับการคุ้มครองผู้บริโภค
เพิ่มมากขึ้น

และในอนาคต เมื่อมีคดีความฟ้องร้องมากขึ้น
 ภาระหน้าที่ของกระบวนการยุติธรรม
ทั้งคดีแพ่ง และคดีอาญาย่อมมีมากขึ้น
 ซึ่งหากพิจารณาศักยภาพการพิจารณาคดีในปัจจุบัน
 ปรากฏว่า มีความล่าช้าในการดำเนินคดีความ
 โดยมีคดีติดค้างอยู่ระหว่างการดำเนินการของศาล
และพนักงานอัยการอยู่เป็นจำนวนมาก
 และมีข้อพิพาทอีกจำนวนมาก
ที่ผู้บริโภคตัดสินใจไม่ฟ้องร้อง
เพราะไม่คุ้มค่ากับค่าใช้จ่ายและเวลาที่ต้องเสียไป

เพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมของกระบวนการยุติธรรม
เพื่อรองรับคดีความเกี่ยวกับการคุ้มครองผู้บริโภค
 จึงเสนอว่า ควรมีการศึกษาความเป็นไปได้ในการจัดตั้ง
 "ศาลคดีคุ้มครองผู้บริโภค"
 แยกออกมาเพื่อพิจารณาคดีความ
ที่เกี่ยวข้องกับผู้บริโภคโดยเฉพาะ
 ในลักษณะของศาลชำนาญพิเศษ
เช่นเดียวกับศาลแรงงานกลาง
 ศาลล้มละลาย ศาลเยาวชน
และครอบครัว เป็นต้น
 หากทำเช่นนี้ ย่อมช่วยให้การดำเนินคดี
คุ้มครองผู้บริโภคทำได้อย่างรวดเร็ว

การจัดตั้งศาลคดีคุ้มครองผู้บริโภค
 ซึ่งเป็นศาลชำนาญเฉพาะทาง
 ย่อมเท่ากับต้องมีการจัดวางกำลังบุคลากร
ที่มีความชำนาญเฉพาะในเรื่องนี้ให้เพียงพอ
เพราะต้องมีการเพิ่มจำนวนผู้พิพากษา
ผู้พิพากษาสมทบ อัยการ ทนายความ และเจ้าหน้าที่ต่างๆ
 เพื่อทำหน้าที่นี้โดยเฉพาะ
และดำเนินการได้อย่างมีอิสระภายใต้
โครงสร้างการบริหารที่แยกออกมาเป็นเอกเทศ
 อันจะช่วยให้การดำเนินคดีด้านการคุ้มครอง
ผู้บริโภคมีประสิทธิภาพ
 มีความเด็ดขาดและรวดเร็วกว่าเดิม นอกจากนี้
ยังเป็นช่องทางให้ความเป็นธรรมแก่ผู้ประกอบการ
 ในการเปิดโอกาสให้ชี้แจงหลักฐาน
และยืนยันความบริสุทธิ์ของตนเอง
 โดยมีศาลเป็นผู้พิจารณาอย่างยุติธรรม
 ทำให้เกิดความเป็นธรรมแก่ทุกฝ่าย

แนวคิดจัดตั้งศาลคดีคุ้มครองผู้บริโภค
ได้เคยมีการกล่าวถึงบ้าง
 เมื่อประมาณต้นปี 2545
นายแพทย์กระแส ชนะวงศ์
ซึ่งขณะนั้นดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี
 มีหน้าที่กำกับดูแลสำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค (สคบ.)
 ได้จัดตั้งคณะอนุกรรมการเพื่อศึกษา
เกี่ยวกับการจัดตั้งศาลแผนกคดีคุ้มครองผู้บริโภค
 โดยมีหน่วยงานต่างๆ
และองค์กรเอกชนที่เกี่ยวข้องกับ
การคุ้มครองผู้บริโภคร่วมกันพิจารณา
เพื่อแก้ไขปัญหาระยะยาว

แต่หลังจากนั้นเรื่องได้เงียบหายไป
 ไม่มีการกล่าวถึง สาเหตุหนึ่งอาจเนื่องจาก
 องค์กรที่เกี่ยวข้องกับการคุ้มครองผู้บริโภคต่างๆ
ได้ให้ความสำคัญกับการจัดตั้งองค์การอิสระ
เพื่อคุ้มครองผู้บริโภคให้ประสบความสำเร็จ
 โดยการผลักดันร่าง
พระราชบัญญัติการจัดตั้งองค์กรอิสระ
เพื่อคุ้มครองผู้บริโภคเข้าสู่สภาฯ
 แต่ปัจจุบันก็ยังไม่มีใครกล่าวถึง
การจัดตั้งศาลคุ้มครองผู้บริโภคอีก
 ทั้งๆ ที่ในความเป็นจริงน่าจะ
เป็นเรื่องที่ควรพิจารณาไปพร้อม ๆ กัน

ข้อเสนอการจัดตั้งศาลคดีคุ้มครองผู้บริโภค
 นับเป็นแนวคิดเบื้องต้นที่เสนอให้ผู้ที่เกี่ยวข้อง อาทิ
 ศาลยุติธรรม สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค
 เครือข่ายองค์กรที่มีวัตถุประสงค์เพื่อคุ้มครองผู้บริโภค
 และหน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้อง
 ได้พิจารณาเพื่อดำเนินการศึกษาหาความเป็นไปได้
ในการดำเนินการร่าง พ.ร.บ.จัดตั้งศาลคดีคุ้มครองผู้บริโภค
เพื่อให้เกิดขึ้นอย่างเป็นรูปธรรม
 ได้ทันเวลารองรับการเกิดขึ้น
ขององค์กรอิสระเพื่อคุ้มครองผู้บริโภค
และความเข้มแข็งของผู้บริโภคในอนาคต

จุดประสงค์คือ จัดตั้ง "ศาลคุ้มครองผู้บริโภค"
เพราะปัจจุบันผู้บริโภคถูก
เอารัดเอาเปรียบจากผู้ประกอบการ
 กลายเป็นปัญหาใหญ่ของสังคม
 แต่กระบวนการยุติธรรม
ทำได้แค่เอื้อมมือไป
แตะต้องผู้กระทำผิดอย่างแผ่วเบาเท่านั้น
ที่ผ่านมามีคดีเรื่องนี้เกิดขึ้น
 จะลงโทษเพียงเปรียบเทียบปรับ
 และผู้เสียหายยอมความ ยอมรับค่าชดใช้
แทนที่จะนำคดีผ่านอัยการไปสู่ศาลยุติธรรม
ที่ประชุมเห็นพ้องต้องกัน
 จะต้องปรับปรุงประสิทธิภาพ
ของกระบวนการยุติธรรม
 ด้วยการตั้งศาลคุ้มครองผู้บริโภค
เพื่อให้มีบทลงโทษผู้กระทำผิดทางอาญา
แต่ในชั้นแรก
 ให้แต่ละหน่วยงานไปพิจารณา
อำนาจและกฎหมายของตน
จะพัฒนาหรือเปลี่ยนแปลงประการใด
 ก่อนจะมีการจัดตั้งศาลอย่างสมบูรณ์
แน่นอนครับ
 ถ้ามีศาลคุ้มครองผู้บริโภค
 ประชาชนจะได้มีที่พึ่งพา
 ไม่ต้องตกเป็นเบี้ยล่างของผู้ประกอบการ
ที่เห็นแก่ตัว

มีข่าวพนักงานเทศบาลตำบลหนองสำโรง
 อ.เมืองอุดรธานี
 ไปซื้อชาเขียว "โออิชิ"
 ที่ร้านเซเว่น-อีเลฟเว่น
 ใต้ถุนโรงแรมเจริญศรีพาเลซ
เปิดฝาต่อหน้าพนักงานขาย
 พบตัวอักษรที่ขอบด้าน
ในมีข้อความ 1 ล้านบาท
เธอรีบโทรศัพท์ติดต่อกับ
พนักงานโออิชิในกรุงเทพฯ
 ตามเบอร์ที่แจ้งไว้ข้างขวด
หลังจากสอบถามรายละเอียดแล้ว
โออิชิบอกน้ำชาเขียวและขวดเป็นของจริง
 แต่ฝาที่อ้างว่าถูกรางวัลเป็นของปลอม
เพราะคำว่า 1 ล้านบาท
 จะอยู่ตรงกลางฝาด้านใน
 และเป็นตัวอักษรที่ยิงด้วยแสงเลเซอร์
ไม่ใช่สติ๊กเกอร์ติดขอบฝาด้านใน
นายตัน ภาสกรนที เจ้าพ่อโออิชิ
 บอกว่าไม่สนใจเรื่องนี้ เพราะไม่ใช่เรื่องจริง
 และว่าเคยมีคนเอาฝาแบบนี้มาขึ้นเงินที่บริษัท
 แต่ขอตัวเข้าห้องน้ำแล้วหายไป
โออิชิมีเรื่องฉาวโฉ่จากการพบ
สิ่งแปลกปลอมในขวดมาแล้ว
 รวมทั้งมีการพิสูจน์พบว่า
 ในแต่ละขวดของชาเขียว
จะมีสารกาเฟอีนมากเกินอัตรา
พอโออิชิเจอเรื่องนี้ก็เล่นเอาเป๋ไปพักหนึ่ง
 นายตันเลยทุ่มเงิน 30 ล้าน
 เปิดแคมเปญรวยฟ้าผ่าขึ้นมา
 ผู้คนก็เฮโลเอาเงิน 20 บาท
 ไปสร้างความหวังกับ 1 ล้าน
นายตันบอกว่าฝาที่เป็นข่าวเป็นฝาปลอม
 ผมก็ว่ามันง่ายเกินไป
สำหรับการปัดความรับผิดชอบ

เรื่องอย่างนี้ ถ้ามีศาลคุ้มครองผู้บริโภค
 ก็จะรู้ว่าใครผิดใครถูก
 หรือใครจะต้องติดคุก.


ต่อไป ท่านผู้มีอาชีพให้บริการทั้งหลาย
โดยเฉพาะอาชีพช่างต้อง
พึงระวังในเรื่องนี้นะครับ
กฎหมายรู้สึกว่าจะประกาศ
ในราชกิจมีผลบังคับใช้เร็วๆนี้
หละครับ (รู้สึกวันที่27 สิงหา ไม่แน่ใจครับ)
ค่าแรงต่างๆจะต้องเพิ่มทวีสูงขึ้น
โดยเฉพาะอาชีพหมอ
 ที่กำลังมีปัญหาอยู่ว่า
 รักษาไม่หาย คนไข้ฟ้องศาล จะทำยังไง
แบบนี้เค้าเรียกว่า
 กำลังขับเคลื่อนกฎหมายให้ทันยุคโลกาภิวัตน์
แต่ไม่คำนึงถึงเล่ห์เหลี่ยมของพี่ไทย
งานนี้ ฟ้องกันแหลก
 ถ้ากฎหมายตัวนี้ประกาศใช้
แต่ไง ผมก็คงไม่ต้อง หอบทีวีสี JVC 29 นิ้ว
ไปทุ่มหน้าบริษัทJVC อีกต่อไปแล้ว
และชาวบ้าน
 ก็ไม่ต้องเอาค้อนไปทุบรถหน้า
บริษัทเมื่อรถที่ซื้อมามีปัญหา
ช่างซ่อมทีวีระวังไว้ด้วยนะครับ
 ประเภท ยำ ลูกค้า แบบที่ผมเคยโดน ยำ
ท่านที่มีความไม่ซื่อสัตย์ต่อวิชาชีพ
ซ่อมทีวีได้สักพัก ต้องขอตัวไปขึ้นศาล
555555555555555 ดีว๊อย


  Grin wav!!


บันทึกการเข้า

พรเทพ-LSV team♥
รับติดตั้งจานดาวเทียม ลาดพร้าว บางกะปิ
Senior Member
member
*

คะแนน1453
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 12125

091-091-9196 ID LINE : tv59


เว็บไซต์
« ตอบ #1 เมื่อ: สิงหาคม 14, 2008, 10:19:40 am »

แบบนี้ก็เสร็จผมละสิพี่ชา 

จะฟ้องใครดีหว่า 

** สายนำสัญญาณไม่ได้มาตรฐาน
**SP  ไม่ได้มาตรฐาน  (อันนี้พี่ชาก็โดนมาแล้ว)
**ช่างไฟไปวางระบบทีวี แต่วางไม่เป็น ไม่ได้ มาตรฐาน จ่ายสัญญาณไม่ไป เสียเวลาช่างทีวีต้องแก้กันมากมาย เงินก็ไม่ได้  Angry
 
และอีกมามายรายการ ที่ไม่ได้ มาตรฐาน
บันทึกการเข้า

eskimo_bkk-LSV team♥
.กลุ่มผู้มีน้ำใจงาม..
member
*

คะแนน1887
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 13885


ไม่แล่เนื้อเถือหนังพวก


อีเมล์
« ตอบ #2 เมื่อ: สิงหาคม 14, 2008, 11:08:54 am »

แบบนี้ก็เสร็จผมละสิพี่ชา 

จะฟ้องใครดีหว่า 

** สายนำสัญญาณไม่ได้มาตรฐาน
**SP  ไม่ได้มาตรฐาน  (อันนี้พี่ชาก็โดนมาแล้ว)
**ช่างไฟไปวางระบบทีวี แต่วางไม่เป็น ไม่ได้ มาตรฐาน จ่ายสัญญาณไม่ไป เสียเวลาช่างทีวีต้องแก้กันมากมาย เงินก็ไม่ได้  Angry
 
และอีกมามายรายการ ที่ไม่ได้ มาตรฐาน


พี่พรเทพสิที่จะเสร็จ
ผมจึงว่าไงว่า งานนี้ ฟ้องกันแหลก
จะเอาแบบฝรั่งไง แต่ไม่รู้ว่าเหลี่ยมพี่ไทย นิดหนึ่งก็ฟ้องกันง่ายๆ
ผมจึงว่า งานนี้ ช่างไทยน่าเป็นห่วง
อย่าว่าแต่ช่างไม่บริสุทธ์ใจเลย ชาวบ้านก็ใช่ย่อย
 ประเภทหัวหมอ เค้าเรียก วางยา แล้วฟ้องศาล เพื่อจะไม่ต้องจ่าย
มันเป็นกฏหมาย ดาบ 2 คม
บันทึกการเข้า
eskimo_bkk-LSV team♥
.กลุ่มผู้มีน้ำใจงาม..
member
*

คะแนน1887
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 13885


ไม่แล่เนื้อเถือหนังพวก


อีเมล์
« ตอบ #3 เมื่อ: สิงหาคม 14, 2008, 11:14:15 am »

ตู้เย็นที่ปารีส ข้างบนไม่เย็นในห้องฟีส ข้างล่างเย็นในห้องล่าง
เรียกช่างมาดู ค่าวิเคราะห็อาการ ตกเป็นเงินไทย 5 พันบาท
ยังไม่ได้ตกลงเรื่องซ่อมนะครับ
ถ้าซ่อม เป็นหมื่น แล้วมีค่าประกัน อีก
 ที่ช่างจะเรียก ตู้เย็นใบหนึ่งซ่อมที2หมื่นกว่าบาท
ถึงฝรั่ง เวลาเครื่องไฟฟ้าเสีย
 จะทิ้งเลย ไม่มีการซ่อมไง
แบบกฏหมายที่จะออกมานี่หละ
ต้องคิดค่าเสี่ยง
บันทึกการเข้า
พรเทพ-LSV team♥
รับติดตั้งจานดาวเทียม ลาดพร้าว บางกะปิ
Senior Member
member
*

คะแนน1453
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 12125

091-091-9196 ID LINE : tv59


เว็บไซต์
« ตอบ #4 เมื่อ: สิงหาคม 14, 2008, 11:18:13 am »



อันนี้ก็เข้าทางผมอีก     สายอากาศเสียเปลี่ยนอย่างเดียวไม่ต้องซ่อม   
บันทึกการเข้า

eskimo_bkk-LSV team♥
.กลุ่มผู้มีน้ำใจงาม..
member
*

คะแนน1887
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 13885


ไม่แล่เนื้อเถือหนังพวก


อีเมล์
« ตอบ #5 เมื่อ: สิงหาคม 14, 2008, 11:29:58 am »

อันนี้ก็เข้าทางผมอีก
 สายอากาศเสียเปลี่ยนอย่างเดียวไม่ต้องซ่อม  Grin
ผมไม่คิดแบบพี่นะสิ ผมกำลังคิดว่า
ถ้ากฏหมายใช้เต็มรูปแบบชาวบ้านรู้ถึง
รายละเอียดของกฏหมาย (หัวหมอ)
ใครเขาจะซ่อม เพราะราคาซ่อมแพง
ไหนจะค่าเสี่ยงอีก เค้าจะไม่ยกมาซ่อม
มันจะเป็นแบบฝรั่ง คือ เสียแล้วทิ้ง ทิ้ง
แล้วซื้อใหม่ ทีนี้หละ อาชีพช่างซ่อม ทำไง ?
คงต้อง รับซ่อมทีวีไปด้วยขายฝรั่งดองหน้าร้านไปด้วย
เป็นแน่เลย แล้วคนดวงจะซวย น๊ะ มันก็จะซวย
ฝรั่งดองคนซื้อเสือกเม็ดฝรั่งไปติดที่ลำใส้ เป็นใส้ติ่ง
คนไกล้เคียงแนะให้ไปฟ้องศาล
เรียกค่าเสียหายฐานขายฝรั่งดอง ทำให้เสียสุขภาพ
โอ๊ย ไม่อยากจะคิด ช่างซ่อมทีวีโดนจับ ติดคุก 2ปี
ฐานขายฝรั่งดองทำให้ประชาชนเป็นใส้ติ่งอักเสบ
wav!!
บันทึกการเข้า
eskimo_bkk-LSV team♥
.กลุ่มผู้มีน้ำใจงาม..
member
*

คะแนน1887
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 13885


ไม่แล่เนื้อเถือหนังพวก


อีเมล์
« ตอบ #6 เมื่อ: สิงหาคม 14, 2008, 11:38:41 am »

ทางออกที่ดี
 ถ้ามีกฏหมายฉบับนี้มีผลประกาศใช้ ต่อไป บริษัท ประกันภัย จะรวย
ต้องทำประกันไว้กับบริษัทประกันภัย
 ซ่อมอะไรทีต้องมีบริษัทค้ำประกัน
แต่ค่าค้ำประกันที่เราจะต้องจ่ายในแต่ละเดือนนี่สิ
ที่เราจะต้องไปบวกกับลูกค้า
 
บันทึกการเข้า
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by MySQL Powered by PHP Powered by SMF 1.1 RC2 | SMF © 2001-2006, Lewis Media

lsv2555Please follow the new website at https://www.pohchae.com

Valid CSS!