การประยุกต์ใช้งานวงจรไดโอดแบบอื่น ๆ
LSVคลังสมองออนไลน์ "ปีที่14"
พฤศจิกายน 11, 2024, 05:53:47 am *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
   หน้าแรก   ช่วยเหลือ เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก  
หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: การประยุกต์ใช้งานวงจรไดโอดแบบอื่น ๆ  (อ่าน 6929 ครั้ง)
BenQ
member
*

คะแนน214
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 4790


อีเมล์
« เมื่อ: มีนาคม 04, 2007, 10:48:22 pm »

นอกเหนือจากไดโอดที่ได้กล่าวมาแล้ว ไดโอดยังสามารถนำมาประยุกต์ใช้กับงานด้านอื่น ๆ เฉพาะงานได้มีมากมายดัง ตัวอย่างที่แสดงในรูปที่ 1 ถึง 6

       จากรูปที่ 1 เป็นวงจรป้องกันโหลดที่มีขั้ว (เช่น วงจรอิเล็กทรอนิกส์) ซึ่งอาจเสียหายได้ ถ้าได้รับแรงดันจากแบตเตอรี่ ที่ต่อกับขั้ว จากวงจรถ้าต่อขั้วของแบตเตอรี่เข้ากับวงจรอย่างถูกต้อง กระแสจะไหลผ่านไดโอด D1 ไปยังโหลด แต่ไม่ผ่านได โอดD2 และถ้าแบตเตอรี่ถูกต่อกลับขั้วกระแสจะไม่ไหลผ่านไดโอด D1 แต่จะไหลผ่านไดโอด D2 ทำให้บัซเซอร์ส่งเสียง เตือน ขึ้น


รูปที่ 1 วงจรป้องกันโหลดที่มีขั้ว

     จากรูปที่ 2 เป็นวงจรป้องกันโหลดที่มีขั้วอีกแบบหนึ่ง โดยใช้ไดโอด D1 ถึง D4 มาต่อเป็นวงจรเร็กติไฟเออร์แบบ บริดจ์ ซึ่งจะทำให้โหลดได้รับแรงดันถูกขั้วอย่างแน่นอน

รูปที่ 2 วงจนป้องกันโหลดที่มีขั้ว โดยใช้วงจรเร็กติไฟร์เออร์แบบบริดจ์

       จากรูปที่ 3 แสดงการสร้างตัวเก็บประจุชนิดไม่มีขั้วที่มีค่ามาก ๆ จากตัวเก็บประจุอิเล็กทรอนิกส์ แบบมีขั้วที่มีค่า เท่ากัน 2 ตัว และไดโอดอีก 2 ตัว โดยไดโอดแต่ละตัวทำหน้าที่ลัดวงจรตัวเก็บประจุที่คร่อมอยู่ เมื่อขั้วของแรงดันกลับขั้ว กับตัวเก็บประจุ สำหรับวงจรนี้ค่าความจุที่ได้จะเท่ากับค่าของตัวเก็บประจุ C1 หรือ C2

รูปที่ 3 วงจรตัวเก็บประจุชนิดไม่มีขั้วที่มีค่ามาก ๆ (100 ไมโครฟารัด)

       จากรูปที่ 4 แสดงการนำไดโอดชนิดซิลิกอนมาใช้ในการป้องกันความเสียหาย แก่มิเตอร์วัดกระแสชนิดขดลวด เคลื่อนที่ เมื่อเกิดการโอเวอร์โหลด ซึ่งจะทำให้มิเตอร์เหล่านี้ทนการวัดที่ มีค่า 2-3 เท่าของเต็มสเกลได้โดยไม่เสียหาย สำหรับวงจรนี้ความ ต้านทาน Rx จะต้องเลือกค่าที่ทำให้แรงดันตกคร่อมไดโอด 300 มิลลิโวลต์ขณะวัดเต็มสเกล ซึ่งในสภาวะนี้กระแสที่ผ่านไดโอด จะมีค่าเป็นศูนย์ แต่เมื่อมีการวัดที่มีค่ามากกว่า 2 เท่าของเต็มสเกล (โอเวอร์โหลด) ไดโอดจะนำกระแสและช่วยแบ่งกระแสจากมิเตอร์


รูปที่ 4 การป้องกันมิเตอร์เสียหายจากการโอเวอร์โหลด

       จากรูปที่ 5 แสดงการควบคุมรีเลย์ขนาด 6 โวลต์ 2 ตัว โดยใช้แหล่งจ่ายไฟกระแสสลับ 12 โวลต์ จากวงจร จะเห็นว่า รีเลย์ทั้งสองตัวต่ออนุกรมกันและแต่ละตัวมีไดโอดต่อขนานอยู่ ดังนั้นรีเลย์ RY1 จะทำงานในช่วงครึ่ง ไซเกิลบวก และรีเลย์RY2 จะทำงานในช่วงไซเกิลลบเท่านั้น เมื่อสวิตซ์ S1 อยู่ตำแหน่ง 1 จะไม่มีการจ่ายแรงดันใด ๆ ดังนั้นรีเลย์ทั้ง 2 ตัวจะไม่ทำงานเมื่อ อยู่ตำแหน่ง 2 จะมีครึ่งไซเกิลบวกผ่านไปยังรีเลย์ ดังนั้น รีเลย์ RY1 จะทำงาน เมื่ออยู่ตำแหน่ง 3 จะมีครึ่งไซเกิลลบผ่านไปยัง รีเลย์ RY2 จะทำงาน และเมื่ออยู่ตำแหน่ง 4 ไฟกระแสสลับเต็มคลื่นจะผ่านไปยังรีเลย์ ซึ่งจะทำให้ทั้งรีเลย์ RY1 และ RY2 ทำงาน

รูปที่ 5 การประยุกต์ใช้ไดโอดกับการควบคุมรีเลย์

    รูปที่ 6 เป็นวงจรควบคุมรีเลย์ที่ดัดแปลงจากรูปที่ 5 โดยรีเลย์แต่ละตัวจะถูกควบคุมโดยสวิตซ์ของตัวเอง สำหรับการ ทำงานวงจรมีลักษณะเช่นเดียวกับรูปที่ 5

รูปที่ 6 แสดงการควบคุมรีเลย์อีกแบบหนึ่ง

http://www.geocities.com/surin_pra/data1.13.htm





บันทึกการเข้า

หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by MySQL Powered by PHP Powered by SMF 1.1 RC2 | SMF © 2001-2006, Lewis Media

lsv2555Please follow the new website at https://www.pohchae.com

Valid CSS!