......29 กุมภาฯ วันที่ถูกลืม.............
LSVคลังสมองออนไลน์ "ปีที่21"
มิถุนายน 27, 2024, 06:50:06 PM *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
   หน้าแรก   ช่วยเหลือ เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก  
หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: ......29 กุมภาฯ วันที่ถูกลืม.............  (อ่าน 2846 ครั้ง)
Nimit( Un )
member
*

คะแนน442
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 3479


« เมื่อ: กุมภาพันธ์ 27, 2008, 12:23:53 PM »

29 กุมภาฯ วันที่ถูกลืม




ในปีนี้มีวันเพิ่มมาอีก1วัน คือวันที่ 29 กุมภาพันธ์ ทำให้เราจะมีช่วงเวลามากขึ้นอีก24ชั่วโมง เพราะปีนี้มีวันทั้งหมด 366 วัน

เป็นที่ทราบกันดีว่า ในทุกๆ4ปีคล้ายกับฟุตบอลโลก เดือนกุมภาพันธ์จะมีวันที่ 29 เพิ่มขึ้นมาบนหน้าปฏิทิน โดยในประเทศไทยเราจะเรียกปีนี้ว่า ปีอธิกสุรธิน  

  อนึ่ง ปีอธิกสุรทิน คือ ปีที่มีวันหรือเดือนเพิ่มเข้ามา เพื่อทำให้ปีปฏิทินสอดคล้องกับปีดาราศาสตร์หรือปีฤดูกาล ทั้งนี้เป็นผลจากการที่ฤดูกาลและปรากฏการณ์ทางดาราศาสตร์ไม่ได้วนกลับมาเป็นจำนวนวันที่ลงตัว ในปฏิทินเกรกอเรียน ซึ่งเป็นต้นแบบของปฏิทินสุริยคติไทยในปัจจุบัน จะเพิ่มวันในเดือนกุมภาพันธ์ให้มี 29 วัน ในปีที่เป็นปีอธิกสุรทิน จึงทำให้ปีอธิกสุรทินมี 366 วัน ในปฏิทินฮิจญ์เราะหฺจะกำหนดให้เดือนซุลฮิจญะหฺ ซึ่งเป็นเดือนสุดท้ายมี 30 วัน จึงทำให้ปีอธิกสุรทินของปฏิทินฮิจเราะหฺมี 355 วัน

   ปีอธิกสุรทินเกิดจากการที่โดยปกติแล้วในหนึ่งปีนั้นโลกหมุนรอบดวงอาทิตย์ใช้เวลา 365 วัน ซึ่งเป็นการคำนวณอย่างคร่าวๆ แต่ความจริงแล้ว ในแต่ละวันโลกเราจะใช้เวลาหมุนรอบตัวเอง เป็นเวลามากกว่า 24 ชั่วโมง คือเพิ่มขึ้นวันละ 15 นาที
 

ในเวลา 1 ปี เมื่อเราคำนวณจริงๆ แล้ว จะเป็นเวลา 365 วันกับเศษหนึ่งส่วนสี่วัน เวลาหนึ่งส่วนสี่วันนี้ในทุกๆ สี่ปี มันจะรวมกันเป็น 1 วันพอดี ดังนั้นถ้าปีไหนก็ตามซึ่งเป็นปีที่เวลาเศษหนึ่งส่วนสี่วันรวมกันครบ 1 วัน พอดี เราเรียกปีนั้นว่า ปีอธิกสุรทิน ซึ่งเป็นปีที่มี 366 วัน วันที่เพิ่มขึ้น จะเอาไปไว้ในเดือนกุมภาพันธ์จึงทำให้เดือนกุมภาพันธ์มี 29 วัน (ปกติจะมี 28 วัน)




การที่จะทราบว่าปีใดในระบบคริสต์ศักราชเป็นปีอธิกสุรทินหรือไม่ ทำได้โดยการหารปีนั้นด้วย 4 หากหารลงตัวจะเป็นปีอธิกสุรทิน นอกจากปีที่ลงท้ายด้วยเลขร้อย ต้องหารด้วย 400 หากหารลงตัวจะเป็นอธิกสุรทินตัวอย่าง 2004 หารด้วย 4 ลงตัว ก็จะเป็นปีอธิกสุรทิน เดือนกุมภาพันธ์ของปีนั้นมี 29 วัน

การแบ่งปีตามหลักปฏิทินสากลแบ่งได้เป็นปีปกติมี 365 วัน และปีอธิกสุรทินมี 366 วัน โดยเพิ่มวันที่ 29 กุมภาพันธ์  ขึ้นมาอีกหนึ่งวัน

การให้มีปีอธิกสุรทิน  เพราะโลกหมุนรอบดวงอาทิตย์หนึ่งรอบใช้เวลา 365.24218...ดังนั้นจึงต้องมีการปรับให้จำนวนวันต่อปีไม่คลาดเคลื่อนกับวิถีการโคจร


บันทึกการเข้า

Nimit( Un )
member
*

คะแนน442
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 3479


« ตอบ #1 เมื่อ: กุมภาพันธ์ 27, 2008, 12:27:34 PM »

เพื่อให้หลักการของปีอธิกสุรทินมีความชัดเจน จึงกำหนดเป็นสูตรไว้ดังนี้


วันที่ 29 กุมภาพันธ์ เป็นวันที่ 60 ของปีอธิกสุรทิน ตามปฏิทินสุริยคติแบบเกรกอเรียน เมื่อถึงวันนี้จะยังเหลือวันอีก 306 วันในปีนั้น ปีที่มีวันนี้จะเรียกว่าปีอธิกสุรทิน วันนี้จะปรากฏขึ้นในทุกๆ รอบ 4 ปี เมื่อปีนั้น (ในรูป ค.ศ.) หารด้วย 4 ลงตัว แต่กฎเกณฑ์นี้มีข้อยกเว้น 2 กรณีคือถ้าปี ค.ศ. นั้นหารด้วย 100 ลงตัว ให้เป็นปีปกติสุรทิน
แต่ถ้า ปี ค.ศ. นั้นหารด้วย 400 ลงตัว ให้เป็นปีอธิกสุรทิน



ด้วยกฎเหล่านี้จึงทำให้ ค.ศ. 1800, 1900, 2100, 2200 เป็นปีปกติสุรทิน แต่ ค.ศ. 1600, 2000, 2400 เป็นปีอธิกสุรทิน

การคำนวนหาปีอธิกสุรธิน
1.   ให้เดือนกุมภาพันธ์มี 29 วัน ทุก ๆ 4 ปี โดยนำเอาปี คศ. หารด้วย 4 ลงตัวถือว่าเป็นปีอธิกสุรทิน
2.   ให้ปรับโดยถ้าปีหารด้วย 100 ลงตัวให้เป็นปีปกติ
3.   ถ้าปีหารด้วย 400 ลงตัว ให้ปรับไปเป็นปีอธิกสุรทินอีก


จากกฎเกณฑ์นี้ ปี คศ. 2000 เป็นปีอธิกสุรทิน มี 366 วัน ปี คศ. 1900 และ 2100 เป็นปีปกติที่มี 365 วัน


หลักการของปฏิทินกรีกอเรียนทุก ๆ 400 ปี จะมีการปรับตามเงื่อนไขดังกล่าวแล้ว ในรอบ 400 ปี จะมีจำนวนวันทั้งสิ้น 146,097 วัน ตัวเลข 146097 หารด้วย 7 ลงตัว ดังนั้นปฏิทินระบบนี้จึงลงตัวที่ 400 ปี พอดี และจะซ้ำเดิมอีกครั้งและหากนำ 146097 หาร 400 จะได้ 365.2425 หรือกล่าวได้ว่าความยาวเฉลี่ยของปีหนึ่งมีค่าเท่ากับ 365.2425 แต่หากนำมาเปรียบเทียบกับเวลาการโคจรจริงของโลกพบว่าตามหลักการนี้จะทำให้มีข้อผิดพลาดไปหนึ่งวันในช่วงเวลาประมาณ 2500 ปี นั่นหมายถึง ก่อนรอบ 2500 ปี จะต้องมีการปรับวันที่กันอีกหนึ่งครั้ง ซึ่งหลายต่อหลายคนได้นำเสนอให้ปรับให้ปีที่หารด้วย 1600 ลงตัว ให้มี 365 วันอีกครั้ง
   


ปีอธิกมาส ปกติวาร  หมายถึงจำนวนวันปกติ แต่จะเพิ่มเดือนขึ้นมาอีก 1 เดือนรวมเป็น 13 เดือนใน 1 ปี โดยเพิ่มเดือน 8 ซึ่งเป็นเดือนเต็มมี 30 วัน เข้าไปอีก 1 เดือน เป็นปีที่มีเดือน 8 สองครั้ง รวมทั้งปีจะมี 384 วัน   สำหรับปีพิเศษนี้เราเรียกว่า ปีอธิกมาส


สำหรับกฏเกณฑ์ที่จะพิจารณาว่าปีใดจะมีการเพิ่มเดือน 8  หรือ ปีใดจะมีการเพิ่มวันในเดือน 7  หรือจะเป็นปกติไม่มีการเพิ่มวันเพิ่มเดือนนั้น  กำหนดโดยการคำนวนจากช่วงเวลาที่มีการใช้ปฏิทินจันทรคติ และปฏิทินสุริยคติไปในรอบ 19 ปี  ช่วงเวลานี้เราเรียกว่า วัฏจักรเมตอน (Metonic Cycle) ซึ่งคิดโดย เมตอน นักปราชญ์ชาวกรีกเมื่อ 400 ปีก่อนคริสตกาล  เพื่อปรับให้ปฏิทินทั้งสองสอดคล้องกันทุกๆรอบ 19 ปี


จะเห็นว่าในช่วงเวลา 19 ปี จำนวนวันในปฏิทินสุริยคติจะเท่ากัน 365.25 x 19 เท่ากับ 6,939.75 วัน  ส่วนในปฏิทินจันทรคติจะมี 354 x19 เท่ากับ 6,726 วัน  ผลต่างของปฏิทินทั้งสองแบบคือ 6,939.75 ลบ 6,726  เท่ากับ 213.75 วัน  เมื่อคิดเป็นเดือนเต็มทางจันทรคติซึ่งมี 30 วันจะได้ 7 เดือน กับเศษอีก 3.75 วัน  ดังนั้นในรอบ 19 ปี ปฏิทินจันทรคติจะต้องมีการเพิ่มเดือนเข้าไป 7 เดือน เท่ากับว่าในรอบ 19 ปีจะมี ปีอธิกมาส 7 ปี โดยกำหนดให้ตรงกับปีที่ 3..6..9.11..14..17. 19  วนเวียนอยู่เช่นนี้


ส่วนเศษของวันอีก 3.75 วันในรอบ 19 ปีนั้น จะใช้วิธีควบรวม 2 วัฏจักรคือทุกๆช่วง 38 ปี ทำให้มีวันเพิ่มขึ้นมาอีก 7 วันครึ่งในรอบ 38 ปี  โดยจะเพิ่มวันเข้าไปเป็นเดือนอธิกวาร โดยเพิ่มในปีปกติมาสเท่านั้น จึงมีปีอธิกวารอยู่ 7 ปีคือ ปีที่ 6.....12....17....2 2.....28....33....3 8
 

สรุปเกี่ยวกับปฏิทินจันทรคตินั้นให้สังเกตสิ่งที่ผิดปกติอยู่ 2 เดือนคือ เดือน 7 กับเดือน 8  โดยสังเกตจากปฏิทินว่า ถ้าปีใดที่เดือน 7 มีแรม 15 ค่ำ แสดงว่าปีนั้นเป็นปีอธิกวาร มีการเพิ่มวัน 1 วัน (ปกติเดือน 7 จะมีแค่ แรม 14 ค่ำเท่านั้น)   และสังเกตเดือน 8 ถ้าปีใดที่มีเดือน 8 สองครั้ง คือเขียน 8-8  แสดงว่าปีนั้นมีการเพิ่มเดือนขึ้นมา 1 เดือนเรียกว่า ปีอธิกมาส



ทั้งนี้  ปีอธิกสุรทิน หมายถึง ปีที่เดือนกุมภาพันธ์มี 29 วัน ซึ่ง 4 ปีจะมีปีอธิกสุรทิน 1 ครั้ง คำนวนได้ง่ายด้วยการใช้ปี คศ. หารด้วย 4 ถ้าไม่เหลือเศษแสดงว่าเป็นปีอธิกสุรทิน ส่วนปีที่เดือนกุมภาพันธ์มี 28 วันอีก 3 ปีนั้นเรียกว่า ปีปกติสุรทิน 




บันทึกการเข้า
Nimit( Un )
member
*

คะแนน442
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 3479


« ตอบ #2 เมื่อ: กุมภาพันธ์ 27, 2008, 12:30:10 PM »

ในตำนานสากลกล่าวถึงการกำเนิดปฏิทินว่า  เมื่อเราต้องการตรวจสอบวันในสัปดาห์หรือหาดูว่าวันหนึ่งวันใดในสัปดาห์ที่จะถึงเป็นวันที่เท่าไหร่ เราก็จะต้องดูในปฏิทิน พวกเราบางคนมีปฏิทินอยู่บนนาฬิกาข้อมือด้วย ฉะนั้น มันก็จะดูเป็นเรื่องง่ายๆ


แต่เมื่อหลายพันปีก่อนโน้น มันไม่ง่ายอย่างนี้หรอก บรรพบุรุษในยุคแรกสุดของเราต้องเฝ้าดูวันและเวลาที่ผ่านไปโดยการดูดวงอาทิตย์ ดวงจันทร์และดวงดาว เมื่อเห็นดวงอาทิตย์ขึ้น เขาก็รู้ว่าวันใหม่เริ่มต้นขึ้นแล้ว เขาจะบอกได้ว่าเป็นเวลาเช้าหรือสายโดยดู


จากความยาวของเงาที่เปลี่ยนไป ส่วนช่วงระยะต่างๆของดวงจันทร์ตั้งแต่ข้างขึ้นอ่อนๆ ระยะที่เป็นเสี้ยว ครึ่งดวง หรือเต็มดวง ก็ทำให้บรรพบุรุษของเราทราบอย่างคร่าวๆ ว่าวันผ่านไปกี่วันแล้ว

มนุษย์ค่อยๆเรียนรู้ว่า ดวงจันทร์ต้องใช้เวลามากกว่า 29 วันนิดหน่อยกว่าจะหมุนไปครบหนึ่งรอบ หรือ นับจากข้างขึ้นครั้งหนึ่งถึงข้างขึ้นอีกครั้งหนึ่ง การค้นพบความจริงข้อนี้ทำให้เกิดแนวความคิดเรื่องเดือนทางจันทรคติโดยอาศัยการสังเกตวงโคจรของทางดวงจันทร์ มนุษย์ยังได้เรียนรู้อีกว่าโลกต้องใช้เวลาประมาณ 365 วันในการโคจรรอบดวงอาทิตย์ครบหนึ่งรอบ ดังนั้นจึงเกิด


ความคิดเรื่องปีสุริยคติขึ้น แต่ปฏิทินจริงๆ ก็ยังอยู่ห่างไกลนัก การแบ่งเวลาตามการโคจรของดวงจันทร์และดวงอาทิตย์นั้น ก่อให้เกิดปัญหาขึ้นอย่างหนึ่ง คือ เวลา 1 ปี ประกอบด้วยเดือนทางจันทรคติ 12 เดือน โดยแต่ละเดือนมี 29 ฝ วันนั้น รวมแล้วจะมี 354 วัน ขาดอีก 11 วัน จึงจะเท่าปีทางสุริยคติซึ่งมี 365 วัน

ชาวโรมันใช้ปฏิทินที่มีเดือนแบบจันทรคติ 12 เดือน แต่แล้วก็ค้นพบอย่างรวดเร็วว่าการใช้ปฏิทินแบบนี้ทำให้แต่ละปีขาดไป 11 วัน ชาวโรมันคาดว่าเมื่อเพิ่มเดือนพิเศษเข้าไปอีก 1 เดือน ทุกๆ 2-3 ปี จะสามารถชดเชยส่วนที่ขาดหายไปนั้นได้ อย่างไรก็ตาม


เมื่อจูเลียส ซีซาร์ ได้ปกครองกรุงโรมในศตวรรษที่ 1 ก่อนคริสตกาล เขาก็พบว่า ปฏิทินโรมันนั้นช้ากว่าความเป็นจริงเกือบ 3 เดือน ซีซาร์จึงหารือกับนักดาราศาสตร์ชั้นนำคนหนึ่งชื่อ โซซิจีเนส และได้ทราบว่าในหนึ่งปีมี 365 ผ วัน จึงคิดปฏิทินแบบใหม่ขึ้น แทนที่จะเป็นเดือนทางจันทรคติที่มี 29 วันในหนึ่งเดือน เดือนแบบใหม่จะมี 30 หรือ 31 วัน ยกเว้นเดือนกุมภาพันธ์ ดังนั้น

ในหนึ่งปีก็จะมี 365 วัน และเพื่อที่จะชดเชย ผ วันที่ขาดหายไป จึงมีการเพิ่มวันเข้าไป 1 วันในเดือนกุมภพันธ์ของทุกๆปี ที่เรียกว่า ปีอธิกสุรทิน

แม้กระนั้นก็ตาม ปฏิทินโรมัน หรือที่เรียกกันว่า ปฏิทินจูเลียน นั้นก็ยังไม่ถูกต้องอยู่ดีนั่นแหละ การประเมินของโซซิจีเนสที่ว่า


หนึ่งปีมี 365 วัน นั้นก็ยังมีเวลาที่ขาดหายไปราว 11 นาที กับอีก 2-3 วินาที มันก็ไม่ใช่เวลามากมายอะไรนักหรอก แต่พอหลายร้อยปีผ่านไป เจ้าเวลาเหล่านั้นจะรวมกันกลายเป็นเวลาหลายวัน ในศตวรรษต่อๆ มา ผู้คนพบว่าวันแรกของฤดูใบไม้ผลิ หรือที่เรียกว่า เวอร์นัน อิควิน๊อกซ์ ซึ่งเป็นวันที่กลางวันและกลางคืนยาวเท่ากันนั้น มาเร็วขึ้นเรื่อยๆ ในปีค.ศ. 1582 วันดังกล่าวนี้มาถึงเร็วกว่ากำหนดถึง 10 วัน คือมาถึงวันที่ 11 มีนาคม แทนที่จะเป็นวันที่ 21 มีนาคม

สันตะปาปาเกรเกอรีที่ 13 ได้ทรงขอให้บรรดานักดาราศาสตร์ชั้นแนวหน้าช่วยกันคิดหาวิธีแก้ข้อผิดพลาดของปฏิทินโรมัน นักดาราศาสตร์ชื่อ คริสโตเฟอร์ คลาเวียส ได้เสนอให้ตัดวันในปีนั้นออกเสีย 10 วัน ซึ่งสันตะปาปาก็ทรงเห็นชอบด้วย วันถัดจากวันที่ 4 ตุลาคม ค.ศ.1582 จึงถูกประกาศให้เป็นวันที่ 15 ตุลาคม ไม่ใช่วันที่ 5 ตุลาคม แต่นั่นไม่ได้แก้ปัญหาในอนาคต สันตะปาปาจึงทรงมีโองการว่า นับแต่นั้นไป ปีอธิกสุรทินที่เป็นปีแรกของศตวรรษ จะไม่มีวันเพิ่มเป็นพิเศษในเดือนกุมภาพันธ์การยกเว้นดัง


กล่าวนี้จะได้แก่ปีแรกของศตวรรษซึ่งเลขปี ค.ศ. หารด้วย 400 ได้ลงตัว เช่น ปี ค.ศ. 2000 เป็นต้น เพราะฉะนั้น ปฏิทินเกรเกอเรียนที่ใช้กันอยู่ในประเทศส่วนใหญ่ของโลก จะมีเวลาเกินอยู่ปีละ 25 วินาที หรือมีเวลาเกินไป 1 วันในทุกๆ 3,300 ปี

อาจเป็นเพราะว่า 4 ปีจึงจะมีสักครั้ง อีกทั้งยังไม่ใช่วันสำคัญอะไร ไม่มีใครตั้งหน้าตั้งตารอคอย ผู้คนส่วนใหญ่จึงไม่ได้สนใจวันที่ 29 กุมภากันเท่าไหร่ นัยว่ามีหรือไม่มีก็ไม่เห็นต่างกัน

แต่สำหรับคนที่เกิดหรือมีคนที่รู้จักเกิดวันที่ 29 กุมภา คงเข้าใจว่าวันนั้นเป็นวันที่หลายคนรอคอยอย่างใจจดใจจ่อ


แม้ว่าส่วนใหญ่จะเลือกที่จะฉลองงานวันเกิดในวันที่ 28 กุมภาหรือ 1 มีนาแทน บ้างก็มีแก้เกี้ยวว่ามีวันเกิด 4 ปีครั้งก็ดี ไม่ต้องเลี้ยงงานวันเกิดบ่อย ไม่เปลือง ทว่าลึกๆแล้ววันคล้ายวันเกิดที่แท้จริงกลับมีแค่วันเดียว ซึ่ง4ปีจึงจะมีสักครั้ง

อย่างไรก็ตาม 29 กุมภาก็เป็น วันที่พิเศษกว่าทุกวัน เป็นเดือนพิเศษกว่าทุกเดือน และยังทำให้ปีนั้นเป็นปีที่พิเศษกว่าทุกปี

แล้วสำหรับคุณละ 29 กุมภาพันธ์ นอกจากจะเป็นวันสิ้นเดือนที่เงินเดือนออกแล้ว วันนั้นมีความหมายกับคุณอย่างไรบ้าง 


ที่มน
http://webboard.mthai.com/5/2008-02-25/370943.html

โดย เอ็มนินโญ่


************ข้อมูลบางส่วนจาก***************

       http://th.wikipedia.org/wiki


บันทึกการเข้า
BenQ
member
*

คะแนน214
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 4790


อีเมล์
« ตอบ #3 เมื่อ: กุมภาพันธ์ 27, 2008, 07:37:14 PM »

รู้สึกว่า กระทู้ BenQ จะถูกลบ  Cool  Sad  Sad  Sad  Roll Eyes  Roll Eyes ลบทำไมกัน  Cool

เหมือนว่าข้อความถูกแก้ไข  Roll Eyes  Huh?  Lips Sealed  Lips Sealed  Lips Sealed  Lips Sealed  Lips Sealed

เอ๊ะ....ยังไงกัน  Sad  Sad  Sad
สงสัยรับความจริงไม่ได้  Cool  Grin  Shocked  Shocked  Shocked  Undecided  Undecided  Undecided
บันทึกการเข้า
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by MySQL Powered by PHP Powered by SMF 1.1 RC2 | SMF © 2001-2006, Lewis Media

lsv2555Please follow the new website at https://www.pohchae.com

Valid CSS!