รายละเอียดทั่วไป
กรดไฮโดรคลอริก หรือ กรดเกลือ (อังกฤษ : hydrochloric acid)
เป็นสารประกอบเคมีประเภทกรดละลายในน้ำ
โดยเป็นสารละลายของไฮโดรเจนคลอไรด์ (HCl) เป็นกรดแก่,
เป็นส่วนประกอบหลักของกรดกระเพาะ (gastric acid)
และใช้กันอย่างกว้างในอุตสาหกรรมเป็นของเหลว
ที่มีพลังการกัดกร่อนสูง
กรดเกลือ หรือเรียกอีกชื่อ กรดไฮโดรคลอริก (HCl)
เป็นกรดที่มีใช้กันมากในอุตสาหกรรม
มีสถานะเป็นของเหลวที่มีค่าความเข้มข้นต่างๆ เช่น
กรดไฮโดรคลอริกเข้มข้น และกรดไฮโดรคลอริก 35% และ 37%
จัดเป็นกรดแก่ ใช้มากในการผลิตคลอไรด์
อุตสาหกรรมสี ชุบโลหะ ใช้ถลุงแร่เพื่อผลิต ดีบุก และแทนทาลัม,
ใช้ในการปรับความเป็นกรด-ด่าง
โดยเฉพาะสารที่เป็นด่างให้มีความเป็นกรด
ใช้ Hydrolized แป้ง และโปรตีน
เพื่อผลิตอาหารรูปแบบต่าง ๆ ใช้กัดผิว
และทำความสะอาดผิวโลหะใช้ในโรงงานอุตสาหกรรมอื่น ๆ
กรดไฮโดรคลอริก หรือ มูเรียติกแอซิด
ถูกค้นพบโดย "จาเบียร์" (Jabir ibn Hayyan) ราวปี ค.ศ. 800
ช่วงปฏิวัติอุตสาหกรรม (Industrial Revolution)
ถูกใช้อย่างกว้างขวางในการผลิตสารประกอบอินทรีย์ เช่น
ไวนิลคลอไรด์ สำหรับผลิต PVC พลาสติก
และ MDI/TDI (Toluene Diisocyanate)
สำหรับผลิต โพลียูรีเทน, (polyurethane)
และใช้ในการผลิตขนาดเล็กเช่น
การผลิต เจลาติน (gelatin)
และ ใช้ฟอกหนัง
กรดเกลือหรือกรดไฮโดรคลอริก มีลักษณะจำเพาะ ดังนี้
เป็นของเหลวไม่มีสีหรือมีสีใสออกเหลือง มีไอระเหย มีกลิ่นฉุน ไม่เป็นสารไวไฟ
ระเหยเป็นไอได้รวดเร็ว ไอเป็นกรดมีพิษต่อระบบทางเดินหายใจ
มีมวล 36.46 กรัม/โมล
ความหนาแน่น 1.18 กรัม/ลบ.ซม.
จุดหลอมเหลว -27.32 องศาเซลเซียส
จุดเดือด 110 องศาเซลเซียส
ปริมาณต่ำสุดที่เริ่มได้กลิ่น 0.8 - 5 ppm
ก๊าซไฮโดรเจนคลอไรด์(HCl)
ค่าความเป็นกรด-ด่าง < 1
ประโยชน์ และการนำไปใช้
ใช้เป็นสารฟอกหนัง ฟอกสี
ใช้สำหรับปรับสภาพความเป็นด่างของน้ำให้เป็นกรด ใช้มากในระบบบำบัดน้ำเสีย
ใช้ในอุตสาหกรรมชุบเคลือบโลหะ
ใช้เป็นตัวทำละลายในอุตสาหกรรมผลิตสี และผลิตภัณฑ์ที่ต้องใช้ตัวทำละลายกรด
ใช้เป็นส่วนผสมในผลิตภัณฑ์ทำความสะอาด ผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดโลหะ
ใช้ในอุตสาหกรรมปิโตรเคมี กระบวนการเตรียมสารประกอบอินทรีย์
เช่น ไวนิลคลอไรด์โมโนเมอร์ เป็นต้น
ใช้ในอุตสาหกรรมอาหาร
ใช้ในกระบวนการฆ่าเชื้อในระบบปรับปรุงคุณภาพน้ำ
หรือระบบบำบัดน้ำเสีย หรือใช้ฆ่าเชื้อได้โดยตรง
ข้อมูลความอันตรายของสาร
เมื่อการสลายตัวหรือทำปฏิกิริยากับโลหะหรือสารอื่น
จะทำให้เกิดควันที่เป็นพิษของก๊าซ Hydrogen chloride
และเกิดปฏิกิริยาที่มีความไวกับไฟหรือเกิดระเบิดได้ง่าย
จึงควรหลีกเลี่ยงการสัมผัสกับด่าง, amines, โลหะกลุ่มอัลคาไล, ทองแดง,
อัลล์ลอยด์ของทองแดง, อลูมิเนียม, เหล็ก
เกิดปฏิกิริยารุนแรงหากกรดมีความเข้มข้นสูงมีการสัมผัสกับน้ำ
มีความเป็นพิษสูง และมีฤทธิ์กัดกร่อนสูงมาก ควัน
และไอจะระคายเคืองต่อดวงตา, เยื่อบุอ่อน, และทางเดินหายใจส่วนบน
ข้อแนะนำ และแนวทางปฏิบัติ
ควรสวมเครื่องกรองอากาศ, ถุงมือกันสารเคมี, แว่นครอบตา
และเสื้อผ้าคลุมตามมาตรฐานของ OSHA/MSHA
ควรจัดให้มีท่อฝักบัว และอ่างล้างตาในสถานที่ปฏิบัติงาน
ระวังการสัมผัสถูกซ้ำ ๆ หรือต่อเนื่องเป็นเวลานาน
ควรเก็บภาชนะให้ปิดแน่นเสมอ, เก็บไว้ในที่แห้งและเย็น,
ระวังอาจเกิดแรงดันในภาชนะได้
ถ้าสัมผัสถูกให้เปิดน้ำล้างบริเวณที่สัมผัสถูก เช่น ตา, ผิวหนัง,
ด้วยน้ำปริมาณมาก ๆ อย่างน้อย 15 นาที พร้อม ๆ ไปกับถอดเสื้อผ้า
และรองเท้าที่เปื้อนออก โดยเฉพาะบริเวณดวงตา
เพื่อความแน่ใจว่าล้างสารพิษออกหมด
ให้ใช้นิ้วมือดึงหนังตา เปิดล้างด้วยน้ำสะอาดด้วย
ถ้าหายใจเข้าไป ให้นำผู้ป่วยออกมาที่ที่มีอากาศบริสุทธิ์,
ถ้าหายใจติดขัด ให้ออกซิเจน
ถ้าผู้ป่วยไม่หายใจ ให้รีบทำการช่วยหายใจ วิธีที่ควรใช้คือ ปาก ต่อ ปาก
ถ้ารับประทาน และผู้ป่วยมีสติให้ดื่มน้ำมาก ๆ ห้ามทำให้อาเจียนเด็ดขาด
สุดท้ายรีบนำผู้ป่วยส่งแพทย์
https://กรุงเทพเคมี.com/index.php?route=product/product&product_id=1248
---------------------------------------------------------------------
ผม นำกรดนี้ใช้กัดหินอ่อน
ทำมาเป็นร้อยอันแล้ว
ทำป้ายบ้านเลขที่ / ป้าย หน้าหลุมศพ ฯลฯ
ไม่เคย"ได้ตังค์สักบาทเดียว"
ส่วนไหนที่จะกัดใช้ สติกเกอร์ หรือ เทปกาว แปะติดปิดไว้
ใช้สีสะเปย์พ่น หน้าพื้นผิวหินอ่อน 2-3 ครั้ง
ดึงเทปกาวออก จะเห็นพื้นผิวหินอ่อน
ส่วนที่เป็นสีสะเปย์ที่พื้นผิว
กรดจะไม่ทำ (ปฏิกิริยา chemical reaction) กับสี
เอาดินน้ำมันกันขอบหินไว้ ให้ครบสี่ด้าน ไม่ให้น้ำไหลออก
เอา กรดเกลือผสมกับน้ำ 70/30 (กรด 70 น้ำเปล่า 30)
เทราด ลง บนหินอ่อน ทำแบบนี้ 2-3 ครั้ง
จนกว่าเราจะพอใจส่วน ร่องลึกที่เรากัด
เอาดินน้ำมันออก ใช้ทินเน่อร์ ล้าง สีบนหินอ่อน
หรือใช้น้ำกับใบมีดขูดออก
พอแห้งแล้ว ใช้สีทองหรือสีที่ชอบ ทาในร่องตัวอักษร
นำไปติดตั้ง รับตังค์ จบ