รัฐปรับปรุงภาษีสรรพสามิตรถยนต์ใหม่ ปี2559 ให้เป็นธรรมมากขึ้น
ธันวาคม 22, 2024, 08:19:51 pm *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
   หน้าแรก   ช่วยเหลือ เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก  
หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: รัฐปรับปรุงภาษีสรรพสามิตรถยนต์ใหม่ ปี2559 ให้เป็นธรรมมากขึ้น  (อ่าน 1459 ครั้ง)
หลอดไฟ
วีไอพี
member
***

คะแนน246
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 1550


อีเมล์
« เมื่อ: มีนาคม 26, 2015, 10:24:49 am »



ภาษีสรรพสามิตรถยนต์ใหม่ ปี2559
หลังจากที่โครงการรถคันแรกได้รับการตอบรับแบบถล่มทลาย ค่ายรถต่างๆ(โดยเฉพาะรุ่นที่เข้าโครงการ) ก็ได้รับผลบุญขายดิบขายดีกันเป็นแถวๆ จนบางเจ้าต้องรอรถกันเป็นปีๆทีเดียว แต่คนที่รับภาระหนักก็คงจะตกอยู่กับกรมสรรพสามิต ที่นอกจากรายได้จากภาษีรถยนต์ใหม่ที่เข้าโครงการรถคันแรกที่หดหายไปบานแล้ว เจ้าหน้าที่ของกรมฯเองก็ต้องทำงานกันตาแตก แบบหามรุ่งหามค่ำ เพื่อรองรับคลื่นมหาชนที่มายื่นเรื่องคืนภาษีให้ทันตามกำหนดเวลา

   ด้วยเหตุที่รายได้ของกรมสรรพสามิตหดหายไปนี่เอง ทางกรมฯจึงต้องวางแนวทางในการเพิ่มรายได้เพื่อสมทบคืนที่หายไปจากโครงการรถคันแรก นั่นก็คือ “การปรับโครงสร้างการเก็บภาษีสรรพสามิตรถยนต์ใหม่” (ผ่านความเห็นชอบจากครม.แล้ว) ที่จะมีผลบังคับใช้ต้นปี59 ให้เหมาะสมกับยุคสมัยและประเภทรถมากขึ้น โดยจากเดิมโครงสร้างภาษีจะคิดจาก “ขนาดเครื่องยนต์(CC.) และแรงม้า” (ยิ่งเยอะยิ่งแพง) แต่โครงสร้างใหม่จะคิดจาก 3ปัจจัย นั่นคือ “ขนาดเครื่องยนต์(CC.) ปริมาณไอเสีย(คาร์บอนไดออกไซด์  หรือ CO2) ที่ปล่อยจากเครื่องยนต์ และพลังงานเชื้อเพลิงที่รถยนต์คันนั้นใช้” จากโครงสร้างใหม่ที่กล่าวไปเห็นชัดๆเลยว่า รัฐบาลมีการสนับสนุนให้ผู้ผลิตรถยนต์ออกแบบและพัฒนารถยนต์ที่มีการปล่อยไอเสียในระดับที่ต่ำลง เนื่องจากรถกลุ่มนี้จะเสียอัตราภาษีในอัตราที่ต่ำกว่ารถยนต์ที่ปล่อยไอเสียมากๆ ทำให้ผู้ผลิตสามารถกำหนดราคารถยนต์ให้ต่ำกว่าได้ (เสียภาษีถูกลง) ซึ่งนำไปสู่ปริมาณการใช้รถยนต์กลุ่มนี้มีเพิ่มขึ้นนั่นเอง(ส่งผลดีต่อสภาพแวดล้อม)

แต่ในทางตรงข้ามโครงสร้างภาษีรถยนต์ใหม่ ก็กลับส่งผลร้ายต่อผู้ผลิตและลูกค้าที่ซื้อรถยนต์ประเภทเครื่องใหญ่ๆ ปล่อยมลพิษเยอะๆ เพราะรถยนต์กลุ่มนี้จะต้องเสียภาษีฯในอัตราที่สูงขึ้น(อย่างน่าตกใจ) อันจะส่งผลให้ราคาจำหน่ายสูงขึ้นเป็นเงาตามตัว ซึ่งเหตุผลที่ต้องเก็บภาษีฯในอัตราที่สูงก็ด้วยหลักการที่ว่า ใครใช้ทรัพยากร(น้ำมัน)เปลือง ทำลายสิ่งแวดล้อมเยอะ และมีอันจะกิน(รวย) ก็ต้องมีภาระที่ต้องรับผิดชอบคืนสู่สังคมมากกว่าคนอื่นนั่นเองครับ

เกริ่นมาซะยาวเหยียด เรามาเข้าเรื่องกันเลยนะครับ เกี่ยวกับรายละเอียดอัตราภาษีสรรพสามิตรถยนต์ใหม่ที่มีผลบังคับใช้ต้นปี59 ที่เค้าแบ่งเป็น 8 กลุ่มรถยนต์ และซอยย่อยลงไปในแต่ละกลุ่ม ตามปริมาณการปล่อยไอเสียของเครื่องยนต์ มาดูรายละเอียดกันเลยครับ

1. รถยนต์นั่ง และรถยนต์โดยสารที่มีที่นั่งไม่เกิน 10 คน ที่มีความจุกระบอกสูบไม่เกิน 3,000 ซีซี
- ปล่อยก๊าซไม่เกิน 150 กรัมต่อกิโลเมตร                                จัดเก็บภาษี 30% (เดิมจัดเก็บภาษี 25%)
- ปล่อยก๊าซ 150-200 กรัมต่อกิโลเมตร                                 จัดเก็บภาษี 35% (เดิมจัดเก็บภาษี 25%)
- ปล่อยก๊าซเกิน 200 กรัมต่อกิโลเมตร                                    จัดเก็บภาษี 40% (เดิมจัดเก็บภาษี 30%)

2. รถยนต์นั่งประเภทอี 85 และรถที่ใช้ก๊าซธรรมชาติที่มีความจุกระบอกสูบไม่เกิน 3,000 ซีซี
- ปล่อยก๊าซไม่เกิน 150 กรัมต่อกิโลเมตร                                จัดเก็บภาษี 25% (เดิมจัดเก็บภาษี 25%)
- ปล่อยก๊าซ 150-200 กรัมต่อกิโลเมตร                                 จัดเก็บภาษี 30% (เดิมจัดเก็บภาษี 25%)
- ปล่อยก๊าซเกิน 200 กรัมต่อกิโลเมตร                                    จัดเก็บภาษี 35% (เดิมจัดเก็บภาษี 30%)

3. รถยนต์แบบผสมที่ใช้พลังงานเชื้อเพลิงและไฟฟ้า ที่มีความจุกระบอกสูบไม่เกิน 3,000 ซีซี (เดิมจัดเก็บภาษี 10%)
- ปล่อยก๊าซไม่เกิน 100 กรัมต่อกิโลเมตร                                 จัดเก็บภาษี 10%
- ปล่อยก๊าซเกิน 100-150 กรัมต่อกิโลเมตร                             จัดเก็บภาษี 20%
- ปล่อยก๊าซเกิน 150-200 กรัมต่อกิโลเมตร                            จัดเก็บภาษี 25%
- ปล่อยก๊าซเกิน 200 กรัมต่อกิโลเมตร                                      จัดเก็บภาษี 30%

4. รถยนต์ Eco Car (เดิมจัดเก็บภาษี 17%)
- ปล่อยก๊าซไม่เกิน 100 กรัมต่อกิโลเมตร และใช้น้ำมัน E85 ได้       จัดเก็บภาษี 12%
- ปล่อยก๊าซไม่เกิน 100 กรัมต่อกิโลเมตร                                จัดเก็บภาษี 14%
- ปล่อยก๊าซเกิน 100-120 กรัมต่อกิโลเมตร                            จัดเก็บภาษี 17%

5. รถยนต์กระบะที่ไม่มีพื้นใส่สัมภาระด้านหลังคนขับ มีความจุกระบอกสูบไม่เกิน 3,250 ซีซี (เดิมจัดเก็บภาษี 3%)
- ปล่อยก๊าซไม่เกิน 200 กรัมต่อกิโลเมตร                                จัดเก็บภาษี 3%
- ปล่อยก๊าซเกิน 200 กรัมต่อกิโลเมตร                                     จัดเก็บภาษี 5%

6. รถยนต์กระบะที่มีพื้นใส่สัมภาระด้านหลังคนขับ มีความจุกระบอกสูบไม่เกิน 3,250 ซีซี (เดิมจัดเก็บภาษี 3%)
- ปล่อยก๊าซไม่เกิน 200 กรัมต่อกิโลเมตร                                จัดเก็บภาษี 5%
- ปล่อยก๊าซเกิน 200 กรัมต่อกิโลเมตร                                    จัดเก็บภาษี 7%

7. รถยนต์นั่งที่มีกระบะ (ดับเบิ้ลแคป) มีความจุกระบอกสูบไม่เกิน 3,250 ซีซี (เดิมจัดเก็บภาษี 12%)
- ปล่อยก๊าซไม่เกิน 200 กรัมต่อกิโลเมตร                                จัดเก็บภาษี 12%
- ปล่อยก๊าซเกิน 200 กรัมต่อกิโลเมตร                                    จัดเก็บภาษี 15%

8. รถยนต์นั่งกึ่งบรรทุก มีความจุกระบอกสูบไม่เกิน 3,250 ซีซี (เดิมจัดเก็บภาษี 20%)
- ปล่อยก๊าซไม่เกิน 200 กรัมต่อกิโลเมตร                                จัดเก็บภาษี 25%
- ปล่อยก๊าซฯเกิน 200 กรัมต่อกิโลเมตร                                  จัดเก็บภาษี 30%

จากที่ได้เห็นหลักเกณฑ์ใหม่ของการเสียภาษีฯไป เห็นได้ชัดๆเลยว่าในอีก 3ปีข้างหน้า(ปี59) หากผู้ผลิตไม่มีการปรับตัวรับมือไว้เสียแต่ตอนนี้ รับรองว่าราคารถยนต์ใหม่ที่จำหน่ายในบ้านเรา “แพงขึ้น” แน่ๆครับ เพราะแค่การพัฒนารถยนต์ให้ใช้พลังงานทดแทนพวก น้ำมัน E20 E85 B5 CNG หรือจะเป็นพลังงานจากไฟฟ้าได้นั้น ไม่พออีกต่อไปแต่ผู้ผลิตต้องพยายามปรับปรุงและพัฒนาเครื่องยนต์ให้มีการปล่อยไอเสียให้ได้น้อยที่สุดเท่าที่เป็นไปได้ ทั้งการลดขนาดเครื่องยนต์ การเพิ่มประสิทธิภาพการเผาใหม่ และการเลือกใช้เชื้อเพลิงที่สะอาดขึ้น แต่คงไว้ซึ่งพละกำลังและอัตราเร่งที่ดีคงเดิม(หรือดีขึ้น) ซึ่งแนวทางพวกนี้นอกจากจะทำให้ราคารถยนต์ไม่ปรับเพิ่ม(มากนัก)แล้ว ลูกค้าผู้ใช้รถยังจะได้รับประโยชน์แบบเต็มๆ ในด้านประสิทธิภาพการ “ประหยัดน้ำมัน” ที่รถยนต์รุ่นใหม่ๆจะมีเพิ่มมากขึ้นอีกด้วยครับ



ขอบคุณ http://www.ubmthai.com/


บันทึกการเข้า

ทำวันนี้ให้ดีที่สุด

หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by MySQL Powered by PHP Powered by SMF 1.1 RC2 | SMF © 2001-2006, Lewis Media

lsv2555Please follow the new website at https://www.pohchae.com

Valid CSS!