วิธีเอาตัวรอด จากการถูกฟ้าผ่า
มกราคม 09, 2025, 08:15:04 pm *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
   หน้าแรก   ช่วยเหลือ เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก  
หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: วิธีเอาตัวรอด จากการถูกฟ้าผ่า  (อ่าน 2360 ครั้ง)
ปื้น ปากพนัง
.กลุ่มผู้มีน้ำใจงาม.
member
*

คะแนน173
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 531


« เมื่อ: สิงหาคม 08, 2014, 12:06:32 pm »



นับเป็นเรื่องสะเทือนใจเป็นอย่างยิ่ง ที่สามีภรรยาเข้าใหม่ปลามันอย่าง ดร.อารัมภ์ กาวีวงศ์ อาจารย์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และ ทันตแพทย์หญิงรัชยา ตันตรานนท์ ซึ่งเพิ่งเมื่อเข้าพิธีมงคลสมรสกันเมื่อวันที่ 12 ก.ค. ที่ผ่านมา ต้องมาจบชีวิตลงระหว่างการฮันนีมูน จากปรากฏการณ์ฟ้าผ่า ใกล้จุดชมวิว “เลอเฟวเรอร์”  ของอุทยานแห่งชาติ แกรนด์แคนยอน รัฐอริโซนา ประเทศสหรัฐอเมริกา
แม้จะกระทันหัน…แต่อย่างน้อยที่สุดทั้งคู่ก็ได้ใช้ชีวิตร่วมกันจนวันสุดท้าย และได้จากไปในช่วงเวลาที่มีความสุขที่สุดในชีวิต…
เมื่อไม่นานมานี้ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จัดเสวนาให้ความรู้เรื่อง “ฟ้าผ่า ภัยธรรมชาติที่มาพร้อมฤดูมรสุม” พร้อมทั้งแนะวิธีการปฏิบัติตัวในช่วงฝนฟ้าคะนอง โดย สธน วิจารณ์วรรณลักษณ์ อาจารย์ภาควิชาฟิสิกส์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ให้ข้อมูลว่า ฟ้าผ่าเกิดจากเมฆคิวมูโลนิบัสหรือเมฆฟ้าคะนอง เมื่อหยดน้ำในเมฆมีขนาดใหญ่มากจนไม่สามารถต้านแรงดึงดูดของโลกไว้ได้ จะเริ่มตกลงสู่พื้นดิน เป็นกระแสอากาศไหลลง (Downdraft)


บันทึกการเข้า

ปื้น ปากพนัง
.กลุ่มผู้มีน้ำใจงาม.
member
*

คะแนน173
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 531


« ตอบ #1 เมื่อ: สิงหาคม 08, 2014, 12:07:13 pm »



การเกิดทั้งกระแสลมพัดขึ้นและลงนี้จะทำให้เกิดการแยกประจุบวกและลบภายในก้อนเมฆขึ้น โดยด้านบนของเมฆจะเป็นประจุบวกและด้านล่างซึ่งเป็นฐานเมฆจะเป็นประจุลบ แต่เนื่องจากฐานเมฆอยู่ใกล้กับพื้นดินมาก จึงเกิดการเหนี่ยวนำให้สิ่งของต่างๆ ทั้งต้นไม้บ้านเรือน ตึก คน บริเวณใต้ฐานเมฆเป็นประจุบวก ประจุลบที่ฐานเมฆจะเคลื่อนที่ลงมายังพื้นดินที่เป็นประจุบวก เกิดเป็นฟ้าผ่าขึ้นในที่สุด

นอกจากนี้ ลักษณะของฟ้าผ่ายังเกิดขึ้นได้หลายชนิดด้วยกัน เช่น การเกิดฟ้าผ่าจากฐานเมฆลงสู่พื้นจากเมฆสู่เมฆ ฟ้าผ่าที่เกิดขึ้นภายในเมฆเอง รวมทั้งฟ้าผ่าจากยอดเมฆลงสู่พื้น เรียกว่า Positive Lightning การเกิดฟ้าผ่าชนิดนี้รุนแรงมาก เนื่องจากสามารถผ่าได้ไกลถึง 30 กิโลเมตร นั่นคือ แม้ว่าเหนือศีรษะเราอาจไม่มีฝนฟ้าคะนองเกิดขึ้น แต่ก็มีโอกาสถูกฟ้าผ่าชนิดนี้ได้เช่นกัน

อย่างไรก็ตาม ธรรมชาติของสายฟ้ามักจะผ่าลงในที่โล่งและมีวัตถุสูงเด่นในบริเวณนั้น ดังนั้นความเสี่ยงที่จะถูกฟ้าผ่าของคนในเมืองจะมีน้อยกว่าคนที่อยู่ในที่โล่งแจ้งหรือกลางทุ่งนา เนื่องจากในเมืองมีตึกสูงจำนวนมาก และตึกเหล่านี้มักติดตั้งสายล่อฟ้าอยู่แล้ว แต่ใช่ว่าจะมีความเสี่ยงน้อยแล้วจะปลอดภัย เพราะในเมืองก็มีที่โล่ง เช่น สวนสาธารณะต่างๆ ที่มีต้นไม้ใหญ่ ดังนั้นเมื่อเกิดพายุฝนฟ้าคะนองก็ไม่ควรเสี่ยง หลบเข้าอาคารบ้านเรือนจะปลอดภัยกว่า
บันทึกการเข้า
ปื้น ปากพนัง
.กลุ่มผู้มีน้ำใจงาม.
member
*

คะแนน173
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 531


« ตอบ #2 เมื่อ: สิงหาคม 08, 2014, 12:08:24 pm »



“วิธีสังเกตคือ เมื่อมีฟ้าแลบแล้วจะมีเสียงฟ้าร้องตามมาภายใน 3 วินาที แสดงว่ามีฟ้าผ่าเกิดขึ้นในรัศมี 1 กิโลเมตร ยิ่งถ้าฟ้าแลบแล้วมีเสียงร้องตามมาใน 1 วินาที แสดงว่าอยู่ใกล้มากแค่ประมาณ300 เมตรเท่านั้น มันมีความเสี่ยง ให้หยุดกิจกรรมทุกอย่างแล้วรีบเข้าไปอยู่ในที่ปลอดภัย จะอยู่ในบ้านตึกที่มิดชิด หรือถ้าไม่ทันก็หลบไปนั่งในรถยนต์ก็ได้เพราะถ้าฟ้าผ่ารถ กระแสไฟฟ้ามันจะวิ่งตามผิวชั้นนอก” อาจารย์ภาควิชาฟิสิกส์ กล่าว

อย่างไรก็ตาม ถ้าหาที่หลบไม่ได้จริงๆ ให้นั่งยองๆ กอดเข่า เพื่อลดพื้นผิวสัมผัสกับพื้นให้มากที่สุดอย่านอนราบลงกับพื้น เพราะหากเกิดฟ้าผ่าขึ้นกระแสย้อนกลับจากพื้นดินอาจเคลื่อนที่ผ่านตัวเรารวมทั้งห้ามหลบใต้ต้นไม้ใหญ่ๆ หรือต้นไม้สูงๆเด็ดขาด เนื่องจากต้นไม้จะถูกเหนี่ยวนำให้เกิดประจุบวกจำนวนมาก โอกาสถูกฟ้าผ่าจึงสูงมาก หรือหากเกิดฟ้าผ่าขึ้นที่ต้นไม้นั้น ก็อาจถูกกระแสไฟฟ้าที่เคลื่อนที่จากลำต้นมายังโคนต้นไม้ได้เช่นกัน
สธน. ให้ข้อมูลด้วยว่า การตายที่มีสาเหตุจากฟ้าผ่าเกิดขึ้นทุกปี เฉพาะปีนี้ก็คร่าชีวิตประชาชนไปแล้วกว่า 30 คน และมีแนวโน้มมากขึ้นเรื่อยๆ โดยเฉพาะในฤดูมรสุม ซึ่งเกิดบ่อยครั้งในช่วงเดือน พ.ค.-มิ.ย. ที่ผ่านมา

ขอบคุณ http://www.108kaset.com/index.php/topic,67
บันทึกการเข้า
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by MySQL Powered by PHP Powered by SMF 1.1 RC2 | SMF © 2001-2006, Lewis Media

lsv2555Please follow the new website at https://www.pohchae.com

Valid CSS!