ค.ศ.1938 อ๊อตโต ฮาห์น (Otto Hahn) ฟริทซ์ สตราสแมน (Fritz Strassman) ไลซ์ ไมน์เนอร์ (Lise Meitner) และอ๊อตโต ฟริซ์ช (Otto Frisch) นักวิทยาศาสตร์ชาวเยอรมันพบว่าการยิงนิวเคลียสของธาตุด้วยนิวตรอนให้แตกออกทำให้ได้พลังงานจำนวนมากออกมา ถือว่าเป็นจุดกำเนิดของปฏิกิริยาฟิชชั่น และทำให้อ๊อตโต ฮาห์นได้รับรางวัลโนเบลสาขาเคมีในปี ค.ศ.1944 (แต่ฮาห์นไม่สามารถเข้ารับรางวัลในขณะนั้นได้ เนื่องจากถูกคุมขังอยู่ที่ประเทศอังกฤษในฐานะเชลยสงคราม)
ค.ศ.1939 จากความก้าวหน้าของการวิจัยเรื่องปฏิกิริยาการแตกตัวแบบลูกโซ่ของนักวิทยาศาสตร์เยอรมัน ทำให้นักวิทยาศาสตร์หลายท่านเดินทางมาพบกับไอน์สไตน์เพื่อชี้แจงข่าวการค้นพบของทางเยอรมัน และขอให้ไอน์สไตน์ร่วมลงนามในจดหมายส่งถึงประธานาธิบดีแฟรงคลิน ดี. รูสเวลท์
2 สิงหาคม 1939 ไอน์สไตน์ลงนามในจดหมายที่ส่งถึงผู้นำสหรัฐชี้แจงเหตุผลแก่รัฐบาลสหรัฐให้มีการวิจัยเกี่ยวกับระเบิดปรมาณู เพื่อให้เกิดการถ่วงดุลอำนาจทางอาวุธสงครามกับเยอรมัน แต่เนื่องจากขณะนั้นประเทศสหรัฐยังไม่มีท่าทีจะเข้าร่วมสงครามโลกจึงไม่ให้ความสนใจการวิจัยระเบิดปรมาณูมากนัก
1 ก.ย. 1939 สงครามโลกครั้งที่ 2 อุบัติขึ้นในทวีปยุโรปเมื่อกองทัพเยอรมันบุกเข้ารุกรานโปแลนด์
มีนาคม ค.ศ.1940 ไอน์สไตน์ส่งจดหมายถึงประธานาธิบดีรูสเวลท์เป็นฉบับที่สองเพื่อแจ้งให้ทราบถึงความก้าวหน้าในงานวิจัยด้านระเบิดปรมาณูของประเทศเยอรมัน เดือนเมษายนปีเดียวกันไอน์สไตน์ส่งจดหมายถึงประธานาธิบดีสหรัฐฉบับที่สามเพื่อกระตุ้นให้มีการวิจัยระเบิดปรมาณูมากขึ้น
กองเรือสหรัฐถูกโจมตีโดยเครื่องบินรบญี่ปุ่นที่เพิร์ล ฮาร์เบอร์
6 ธันวาคม 1942 (1 วันก่อนที่ฝูงบินรบของญี่ปุ่นจะเข้าถล่มกองทัพเรือของสหรัฐที่อ่าวเพิร์ล ฮาเบอร์ เกาะฮาวาย) ประธานาธิบดีรูสเวลท์ลงนามอนุมัติงบประมาณ 2 พันล้านดอลลาร์ (เทียบมูลค่าเท่ากับ 5 หมื่นล้านดอลลาร์ในปัจจุบัน) สำหรับโครงการแมนฮัตตัน (Manhattan Project) เพื่อสร้างระเบิดปรมาณูโดยมีนักฟิสิกส์ เจ. โรเบิร์ต ออพเพนไฮม์เมอร์ (J. Robert Oppenheimer) เป็นผู้อำนวยการโครงการดังกล่าว
12 เมษายน 1945 ประธานาธิบดีรูสเวลท์ถึงแก่อสัญกรรม และแฮร์รี่ เอส ทรูแมน (Harry S. Truman) เข้ารับตำแหน่งประธานาดีคนที่ 33 ของสหรัฐต่อจากรูสเวลท์
7 พฤษภาคม หลังอดอล์ฟ ฮิตเลอร์กระทำอัตวินิบาตกรรม เยอรมันประกาศยอมแพ้สงครามถือเป็นจุดสิ้นสุดสงครามโลกในทวีปยุโรป
16 กรกฏาคม 1945 สหรัฐทดลองระเบิดปรมาณูลูกที่หนึ่งทรินิตี้ (Trinity) จากจำนวน 3 ลูกที่รัฐนิวเม็กซิโก
เจ้าเด็กน้อย (little boy)
เจ้าอ้วน (fat man)
6 สิงหาคม 1945 เจ้าเด็กน้อย (Little Boy) ระเบิดปรมาณูลูกที่หนึ่งของสหรัฐอเมริกาถูกทิ้งลงที่เมืองฮิโรชิมา ตามมาด้วยวันที่ 9 สิงหาคม เจ้าอ้วน (Fat Man) ระเบิดปรมาณูลูกที่สองถูกทิ้งลงที่เมืองนางาซากิ สร้างความสูญเสียให้กับญี่ปุ่นอย่างใหญ่หลวงทำให้ญี่ปุ่นประกาศยอมแพ้สงครามทันทีและถือเป็นการสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่ 2 อย่างสมบูรณ์
ไอน์สไตน์เป็นผู้ที่รักสันติ ไม่ชอบความรุนแรง ดังนั้นไอน์สไตน์จึงเป็นเพียงแค่ชี้แจงถึงเหตุอันควรสร้างระเบิดปรมาณู แต่ไม่ได้มีส่วนร่วมใด ๆ ในโครงการแมนฮัตตันซึ่งเป็นโครงการที่ตั้งขึ้นมาเพื่อวิจัย ออกแบบและสร้างระเบิดปรมาณูโดยเฉพาะ ตรงกันข้ามบุรุษผู้เป็นเหมือนสัญลักษณ์แห่งวงการวิทยาศาสตร์แห่งศตวรรษที่ 20 นี้กลับใช้ชีวิตแบบเรียบง่ายดังคำพูดของเขาที่ว่า
"I am happy because I want nothing from anyone. I do not care for money. Decorations, titles, or distinctions mean nothing to me. I do not crave praise. The only thing that gives me pleasure, apart from my work, my violin, and my sailboat, is the appreciation of my fellow workers."