มาเช็คอาการประเทศไทยกัน โดย ดร.สมคิด จาตุศรีพิทักษ์
มกราคม 18, 2025, 10:26:30 am *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
   หน้าแรก   ช่วยเหลือ เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก  
หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: มาเช็คอาการประเทศไทยกัน โดย ดร.สมคิด จาตุศรีพิทักษ์  (อ่าน 1323 ครั้ง)
b.chaiyasith
แก้ปัญหาไม่ตกคุยกันเวลางานline:chiabmillion
.กลุ่มผู้มีน้ำใจงาม.
member
*

คะแนน650
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 3008


ไม้ดีไม่ลอยน้ำมาไกล


อีเมล์
« เมื่อ: ตุลาคม 21, 2013, 10:47:45 pm »

มาเช็คอาการประเทศไทยกัน ว่าลมปราณระทวยขนาดไหน
โดย ดร.สมคิด จาตุศรีพิทักษ์

เช็คอาการประเทศไทย เมื่อการเมืองอยู่ที่จีดีพี 'ผู้นำ' ต้องมีความเป็นตัวของตัวเองเข้าใจสถานการณ์ด้วยตัวเอง มีที่มาจากที่ไหนไม่ทราบแต่เมื่อมารับหน้าที่แล้ว ต้องมองทุกอย่างเพื่อประเทศคิดเอง สั่งเอง แต่งตั้งบุคคลมาทำงานด้วยตัวเอง วันที่ 17 ตุลาคม ศาสตราพิชาน ดร.สมคิด จาตุศรีพิทักษ์ ปาฐกถาพิเศษ ในงาน 'จับชีพจรประเทศไทย' ที่จัดโดยสถาบันอนาคตไทยศึกษา ร่วมกับสมาคมผู้สื่อข่าวเศรษฐกิจ ณ โรงแรมพลาซ่า แอทธินี รอยัล เมอริเดียน โดยได้ย้อนมองอดีต และจับชีพจร ตรวจสุขภาพประเทศในปัจจุบัน ศาสตราพิชาน ดร.สมคิด ย้อนมองพัฒนาการการเมืองแล้วเห็นถึง 'อาการของประเทศไทย' เพราะเป็นห่วงว่า ปัญหาที่สะสมมานาน ไร้การแก้ไข จะเริ่มฉุดรั้งประเทศให้ก้าวเข้าสู่ความถดถอยแล้ว "วันนี้ไม่ได้มาเถียงว่า เศรษฐกิจไทยถดถอยหรือไม่ เพราะไปไกลเกินกว่านั้นแล้ว คำถามจากนี้คือ ความตกต่ำถดถอยของประเทศที่กำลังมีอาการอยู่นี้ หากไม่มีการแก้ไขจะนำประเทศไทยไปสู่จุดไหนในอนาคต... ผมยกตัวอย่างประเทศฟิลิปปินส์ ที่ภาวะถดถอยทอดยาวกว่า 4 ทศวรรษ จากประเทศพัฒนาแล้วสูงสุดในเอเชีย กลายเป็นประเทศที่ล้มเหลวแทบทุกมิติ ซึ่งมีผู้ศึกษาระบุว่า เหตุผลที่ฟิลิปปินส์เป็นเช่นนั้น มาจาก บาป 3 ประการ ได้แก่ 1.การบริหารประเทศที่ผิด ไม่ใช่ผิดพลาด (mismanagement) 2.ฉ้อราษฎร์บังหลวง (corruption) 3.เมื่อรู้ว่า ประเทศเริ่มถดถอย แต่ไร้ความพยายามโดยสิ้นเชิงในการปฏิรูป ดึงให้กลับมาสู่ภาวะเข้มแข็ง จนทำลายความเชื่อมั่นของประชาชนในประเทศที่มีต่อภาคการเมือง ทำลายระบบเศรษฐกิจ ภาคเกษตร ภาคอุตสาหกรรม การสร้างทักษะทรัพยากรมนุษย์ล้มเหลวและฉุดให้จมลึกสู่ความตกต่ำถึงขีดสุด จนคนในประเทศต้องอพยพไปขายแรงงานราคาถูก นี่คือสิ่งที่เกิดขึ้นกับฟิลิปปินส์ และแม้จะพยายามปฏิรูปการเมือง แก้กฎหมายมาตลอด แต่เป็นการปฏิรูปเพื่อทำให้อำนาจ ฐานะตนเองเข้มแข็งขึ้น ไม่ใช่ประชาธิปไตยหรือระบบการเมืองที่ดีขึ้น เป็นการแสดงละครการเมืองครั้งใหญ่ยาวนาน การเมืองจึงกลายเป็นกลไกแย่งชิงเพื่อประโยชน์ของกลุ่มคณะ ถามว่า ประเทศไทยทุกวันนี้เป็นอย่างฟิลิปปินส์หรือไม่ ? กำลังทำบาป 3 ประการอยู่หรือเปล่า ผมตอบไม่ได้...แต่เห็นว่า เริ่มมีอาการเศรษฐกิจถดถอย ที่ชัดเจนคือ 4 เสาหลัก ทรุดพร้อมกัน ทั้งการส่งออก การบริโภค การลงทุน และการใช้จ่ายรัฐบาลในระยะสั้น ไม่คิดว่าจะฟื้นตัวได้ แม้ต้นปีหน้าหากเศรษฐกิจโลกฟื้น ก็ไม่เชื่อว่าจะจรรโลงขึ้นมาได้ และจะเป็นการเจริญเติบโตที่เปราะบาง ไม่ใช่เพราะความต้องการลดลง แต่เป็นเพราะ 'ปัญหาเชิงโครงสร้าง' - การส่งออกตก ไม่ใช่เพราะค่าเงินแข็ง แต่เพราะความสามารถที่แข็งหายไป แรงหนุนส่งในอดีตไม่มีแล้ว - การบริโภคทรุด ประเทศที่ส่งออกแย่ จะพึ่งการบริโภคภายใน แต่สำหรับไทย จริงๆ แล้วจีดีพีไม่ใช่ 5,000 เหรียญต่อปี เพราะถ้า 30 ล้านครัวเรือน 80 ล้านคน จีดีพีภาคเกษตรประมาณ 10% คูณด้วยจีดีพีของประเทศไทย หารด้วย 30 ล้านคน จีดีพีต่อหัวจริงๆ ของคนเหล่านั้น แค่ 1,200 เหรียญต่อปี เรียกได้ว่าจนมาก แล้วจะเอาอะไรมาเป็นอำนาจซื้อภายในประเทศ "ถ้าไม่มีการปฏิรูปโครงสร้างการผลิต ไม่ปฏิรูปการศึกษา วิทยาการและการเกษตรอย่างจริงจัง เอาแต่กระตุ้นหลอกคนไปวันๆ เพราะเห็นว่า การเมืองอยู่ที่จีดีพี รัฐบาลไหนจีดีพีไม่ดีแสดงว่าไม่มีความสามารถ เพราะความคิดเช่นนี้ คนจึงจน กำลังซื้อในประเทศจึงไม่มี" - การลงทุนจากต่างประเทศทรุด กล่าวได้เลยว่า ความไม่แน่นอนทางการเมืองประเทศไทยสูงที่สุดประเทศหนึ่งของโลก ไม่มีอะไรแน่นอนเลยใน 3-5 ปีข้างหน้า คนที่จะเข้ามาลงทุนเขามองอนาคต ต่อให้เราเป็นเพชรเม็ดงามของอาเซียน เขาก็ไม่เสี่ยงเอาเงินแสนล้านมาไว้ในประเทศที่มีความเสี่ยงทางการเมืองและไม่มีอะไรแน่นอน - ค่าใช้จ่ายของรัฐบาลเริ่มมีอาการ ขาดดุลการค้าปีนี้ 500,000 กว่าล้านบาทแล้ว ถึงปลายปีคาดว่าประมาณ 1 ล้านล้านบาท ทั้งนี้ ภาษีที่เก็บได้เริ่มมีอาการ เก็บได้น้อยลงเมื่อเทียบกับปีที่แล้ว แล้วยังไปลดภาษีนิติบุคคล ปีหน้างบจะปิดหีบไม่ลง ข้อจำกัดของรัฐบาลที่จะนำเงินมาใช้จ่ายจะน้อยลงไปเรื่อยๆ นี่คือข้อเท็จจริงที่กำลังเกิดขึ้น! ข้อเท็จจริงเช่นนี้เมื่อไม่ปฏิรูป จะเห็นผลคล้ายๆ ฟิลิปปินส์...กล่าวคือ การเมืองแทนที่จะเป็นไปเพื่อกลไกการพัฒนาประเทศ กลับกลายเป็น 'สนามรบ' เพื่อแย่งชิงอำนาจทางการเมือง ให้ตนอยู่ได้และอยู่รอด นโยบายจึงมีแต่ระยะสั้น มองการหาเสียงเป็นหลักใหญ่ สิ่งไหนที่ไม่ดีก็ไม่สามารถเลิกได้ เพราะหมายถึงฐานเสียง เท่ากับว่าปล่อยให้คอร์รัปชั่นเบ่งบาน อย่างไรก็ตาม ไทยเป็นประเทศที่มีฐานแข็งแรงสั่งสมมาจากในอดีต แต่ก็เป็นทั้ง ข้อดี และข้อเสีย 'ข้อเสีย' คือ เวลามีอาการเจ็บไข้จากข้างใน อาการจะหลบใน มองไม่เห็นชัด แต่หากถึงเวลาทรุดจะทรุดหนักอาการเหล่านี้ยังสามารถแก้ไขได้... ขึ้นอยู่กับ 1.ผู้นำ สำคัญมากสำหรับประเทศไทยขณะนี้ ในการผลักดันให้ประเทศกลับสู่ภาวะที่เข้มแข็ง ซึ่งผู้นำจะต้องรู้สถานการณ์ว่าประเทศเป็นอย่างไร "ถ้าลูกน้องไม่รู้ ก็ต้องให้คนที่รู้มาพูด มาวิเคราะห์ให้ฟัง จากนั้นต้องพยายามคิดหาวิธีแก้ ที่สำคัญต้องรู้จักใช้คนที่ทำงานเป็น ทำงานจริงจัง แต่เมื่อการเมืองเป็นสนามรบ แย่งชิงอำนาจ การแต่งตั้งจึงมาจากคำสั่ง ควบคุมได้ หรือเน้นความจงรักภักดี ไม่ได้เน้นความสามารถ ความเหมาะสม ผลคือ 'ภาวะสมรรถนะบ่งพร่อง' ทั้งประเทศ ทุกระดับ ยิ่งเป็นตัวหลักๆ ยิ่งทำให้อาการทรุดเกิดขึ้นในอัตราเร่ง" 'ผู้นำ' จึงต้องมีความเป็นตัวของตัวเอง เข้าใจสถานการณ์ด้วยตัวเอง จะมีที่มาจากที่ไหนไม่ทราบ แต่เมื่อมารับหน้าที่แล้ว ต้องมองทุกอย่างเพื่อประเทศไทย ต้องคิดเอง สั่งการเอง แต่งตั้งบุคคลมาทำงานด้วยตัวเอง เอาคนเก่งมาทำงาน อย่างที่บอกว่าฟิลิปปินส์ล้มจากภายในไม่ใช่ภายนอก ล้มเพราะประชาชนไม่มีศรัทธาต่อกลไกการเมือง "หากการเมืองไม่สามารถสร้างศรัทธาจากประชาชนได้ เป็นภาวะที่เรียกว่า Distruth Society ไม่ว่าจะทำอะไร ประชาชนจะตั้งคำถามว่าจริงหรือเปล่า แม้ว่าจะตั้งใจเต็มที่ก็จะมีคำถามว่าจะโกงกันมั้ย เวลาตอบโต้ก็ไม่มีใครเชื่อ เพราะเขาตั้งสมมติฐานไว้ข้างหลัง ฉะนั้น สิ่งสำคัญที่ภาครัฐต้องทำ คือ สร้างศรัทธาขึ้นมาให้ได้" ผมไม่คิดว่า จะช้าเกินไป คนเก่งของภาครัฐมีมาก แต่เขาจะต้องเป็นตัวของตัวเองและกล้าบริหารจัดการอย่างมีศักดิ์ศรี เมืองไทยจะกลับมาดีขึ้น ไม่ต้องสนใจว่าใครจะว่ายังไง ใครจะด่าจะว่าต้องรับเพื่อมาแก้ไขให้ประเทศอยู่รอด 2.จิตสำนึกของนักการเมือง เชื่อว่านักการเมืองที่ดีในเมืองไทยมีอีกเยอะ เพียงแต่บางครั้งไม่มีที่ยืน ไม่มีคนกล้าที่จะคิดด้วยตัวเอง เพื่อประเทศ เพื่อบ้านเมือง คิดถึงแต่ความอยู่รอดว่าจะมีพรรคอยู่หรือไม่ กลายเป็นแค่กลไกหนึ่งของการเมือง 3.ถ้าไม่มี 2 ข้อข้างต้น อย่างน้อยต้องมี ภาคประชาชนที่เข้มแข็ง ที่มาตีกรอบการเมืองที่ดีได้ ไม่ใช่ใครใคร่คิด คิด ใครใคร่ทำ ทำ ใครใคร่โกง โกง แล้วมาบ่น มารอให้มีการเลือกตั้งครั้งต่อไป แต่หากไม่มี 3 ข้อนี้ จะกลายเป็น 'กรรม' บอกได้เลยว่าอนาคตในชีวิตของพวกเราจะได้เห็นถึงความเสื่อมถอย ความผุกร่อนของประเทศแน่นอน "อย่าคิดว่าตอนนี้เศรษฐกิจดีนะ มันดีแค่เปลือก ข้างล่างเสาหลักแต่ละเสาผุกร่อนหมดแล้ว" ผมไม่ได้มาบอกว่าพรรคนั้นไม่ดี พรรคนี้ไม่ดี มันเป็นเรื่องที่สะสมกันมายาวนาน และถึงเวลาต้องแก้ไข หากปล่อยอย่างนี้ไปเรื่อยๆ ขณะที่ชาติอื่นในอาเซียนกำลังขึ้น ไทยจะลงอย่างรวดเร็ว เสียโอกาส และนี่คือ 'ชีพจรประเทศไทย' หากไม่แก้ไขกันตั้งแต่วันนี้
 สมคิด จาตุศรีพิทักษ์


บันทึกการเข้า

"CHIAB"
มนุษย์เราแต่ละคน  ต่างไม่รู้ว่ามาจากไหน  ไม่มีใครรู้จักกันมาก่อนเลย  แล้ววันหนึ่งก็มาพบหน้ากัน  สมมุติเป็นพ่อ  เป็นแม่  เป็นเมีย  เป็นสามี  เป็นลูก  อยู่ร่วมกัน  ใช้ชีวิตร่วมกัน และแล้ววันหนึ่ง  ก็แยกย้ายด้วยการ  "ตายจาก"  กันไปสู่  ณ  ที่ซึ่งไม่มีใครได้ตามพบ  คืนสู่ความเป็นผู้ไม่รู้ว่ามาจากไหน  ไปไหน  และคืนสู่ความเป็น  "คนแปลกหน้า"  ซึ่งกันและกันอนันกาลอีกครั้งหนึ่ง...และอีกครั้งหนึ่ง!?
ขอขอบคุณ คุณเปลว สีเงิน ที่ให้ข้อคิดดีๆ

หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by MySQL Powered by PHP Powered by SMF 1.1 RC2 | SMF © 2001-2006, Lewis Media

lsv2555Please follow the new website at https://www.pohchae.com

Valid CSS!