เปิดโมเดลมอเตอร์เวย์น้ำ”ทีมกรุ๊ป แก้น้ำท่วมภาคกลาง
ธันวาคม 12, 2024, 06:41:41 am *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
   หน้าแรก   ช่วยเหลือ เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก  
หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: เปิดโมเดลมอเตอร์เวย์น้ำ”ทีมกรุ๊ป แก้น้ำท่วมภาคกลาง  (อ่าน 2197 ครั้ง)
eskimo_bkk-LSV team♥
.กลุ่มผู้มีน้ำใจงาม..
member
*

คะแนน1887
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 13886


ไม่แล่เนื้อเถือหนังพวก


อีเมล์
« เมื่อ: พฤศจิกายน 26, 2011, 04:18:02 pm »

http://www.naewna.com/news.asp?ID=289794



ทีมกรุ๊ปเสนอแนวทางแก้น้ำท่วมภาค กลาง-กทม. ทั้งระยะสั้น กลาง ยาว – หนุนระบบระบายน้ำมอเตอร์เวย์ คาดสามารถระบายน้ำได้ 100 ล้านลูกบาศก์เมตรต่อวัน

          วันนี้ (26 พฤศจิกายน) ทีมกรุ๊ปได้เสนอแก้ไขปัญหาอุทกภัยในภาคกลางเชิงบูรณาการอย่างยั่งยืน ในพื้นที่ภาคกลาง และกรุงเทพมหานคร ทั้งนี้จากความเสียหายครั้งใหญ่ที่เกิดขึ้น ทางรัฐจึงต้องมีการดำเนินการก่อสร้างโครงการต่าง ๆ เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดปัญหาเช่นที่เกิดในปี 2554 ขึ้นอีก

          โดยทีมกรุ๊ป ระบุว่า จากการศึกษาของทีมกรุ๊ป โดยใช้แบบจำลองชลศาสตร์-อุทกวิทยาที่สร้างขึ้นมาเป็นการเฉพาะสำหรับลุ่มน้ำ เจ้าพระยา พบว่า มีความจำเป็นที่จะต้องก่อสร้างระบบระบายน้ำ เพื่อให้สามารถเร่งการระบายน้ำลงสู่ทะเลได้อย่างรวดเร็วทั้งในช่วงก่อน ระหว่าง และหลังจากมวลน้ำขนาดใหญ่ไหลเข้าสู่พื้นที่ในเขตภาคกลาง และกรุงเทพมหานคร

          ทั้งนี้ การก่อสร้างดังกล่าวประกอบด้วย 7 โครงการหลักที่สำคัญ แบ่งเป็นแผนการดำเนินงานในระยะสั้น กลาง ยาว ได้ดังนี้

          แผนระยะสั้น ระยะเวลาดำเนินการแล้วเสร็จภายใน 1-2 ปี

          (1) การปรับปรุงระบบระบายน้ำในปัจจุบัน : ประกอบด้วย การขุดลอกคูคลอง ปรับปรุงพนังกั้นน้ำ ประตูระบายน้ำ และสถานีสูบน้ำ

          การปรับปรุงคลอง : มีคูคลองจานวนมากที่มีการตกตะกอน รวมทั้งการที่ประชาชน รุกล้าเข้าไปอยู่อาศัยในเขตคลอง ดังนั้นจึงจำเป็นต้องมีการขุดลอกตะกอนดินอย่างสม่าเสมอ และป้องกันไม่ให้ประชาชนเข้าไปอาศัยอยู่ในเขตคลอง โดยเฉพาะคลองสายหลัก และสายอื่นๆ ที่ใช้ในการระบายน้ำลงสู่ทะเล ซึ่งจากประสบการณ์น้ำท่วมในปี พ.ศ 2554 นี้ก็สามารถจะกำหนดได้ว่าคลองใดบ้างที่จะต้องใช้เป็นคลองระบายน้ำลงสู่แม่ น้าเจ้าพระยา แม่น้ำท่าจีน เพื่อระบายลงสู่ทะเล ในบางแห่งจะต้องขยายคลองปรับเปลี่ยนจากคลองส่งน้ำมาเป็นคลองระบายน้ำด้วย อย่างไรก็ตามการขุดลอกคูคลองนี้มีความจำเป็นต้องดาเนินการในทุกๆ คลอง หมุนเวียนกันไปโดยจะต้องกำหนดไว้ว่าคลองใดจะเป็นคลองสายหลัก และ คลองสายรองที่จะใช้ระบายน้ำเพื่อจะได้จัดเรียงลำดับความสำคัญก่อนหลังในการ ดำเนินการได้อย่างมีประสิทธิภาพ

          การปรับปรุงพนังกั้นน้ำ : จะต้องมีการปรับปรุงพนังกั้นน้ำต่างๆ ที่เสียหายจากน้ำท่วมใหญ่ในปี 2554 นี้ รวมทั้งในจุดที่มีความสาคัญมีความเสี่ยง ควรมีการเสริมความแข็งแรงของพนังกั้นน้ำ และพิจารณาความสูงให้เหมาะสม เป็นไปตามหลักวิชาการ และสอดคล้องกับการใช้ประโยชน์ได้ตามวัตถุประสงค์เพื่อสามารถป้องกันน้ำท่วม ในภาพรวมให้แก่ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องได้อย่างแท้จริง

          การปรับปรุงประตูระบายน้ำ : จะต้องมีการบารุงรักษาให้ประตูระบายน้ำสามารถใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพ อยู่เสมอ ปรับปรุงบานและเครื่องกว้านให้มีขนาดเพียงพอในการรองรับปริมาณน้ำในปริมาณ มากๆ เท่ากับในปี 2554 นี้ได้อย่างเพียงพอ โดยที่สามารถใช้งานได้ทั้งการส่งน้ำ และระบายน้ำ ซึ่งในบางแห่งอาจจะต้องมีการขยายเพิ่มขนาดบานและอาคารด้วย นอกจากนี้ ในส่วนอาคารโครงสร้าง ชุดเครื่องกว้าน บานระบาย ก็จำเป็นต้องมีการซ่อมบำรุงให้มีสภาพดี แข็งแรง สามารถใช้งานได้ตลอดเวลา

          สถานีสูบน้ำ : จะต้องมีการบำรุงรักษา และซ่อมแซม ปรับปรุงเครื่องสูบน้ำและอาคารประกอบให้มีความเหมาะสมทางด้านวิศวกรรม สามารถใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพ เช่นชนิดและขนาดของเครื่องสูบน้ำจะต้องมีความเหมาะสมทั้งที่จะใช้ในการสูบ ส่ง และการสูบระบาย

          อนึ่ง การปรับปรุงคูคลองทั้งหมดนี้ย่อมจะมีปัญหาด้านมวลชนที่อาศัยอยู่ในเขต คลอง จะต้องมีการศึกษาด้านการเวนคืน การจ่ายค่าชดเชย ซึ่งในปี 2554 ที่เกิดวิกฤติน้ำท่วมใหญ่นี้ถือเป็นโอกาสหนึ่งที่รัฐจะทำความเข้าใจกับ ประชาชนได้ง่ายขึ้น เพราะทุกคนได้เห็นถึงผลเสียหายที่เกิดขึ้นจากการบุกรุกที่ดินเขตคลองและการ สร้างโรงงาน อาคาร และบ้านเรือนที่อยู่อาศัยอยู่ในเส้นทางน้ำ (Floodway) ที่จะระบายลงสู่ทะเล



แผนระยะกลาง ระยะเวลาดำเนินการแล้วเสร็จภายใน 2-5 ปี

          (1) พัฒนาพื้นที่ลุ่มต่ำเป็นพื้นที่แก้มลิง : จะต้องมีการกำหนดให้พื้นที่เกษตรกรรมที่เป็นพื้นที่ลุ่มต่ำที่มีศักยภาพที่ จะเป็นพื้นที่แก้มลิง ซึ่งจากผลการศึกษาของทีมกรุ๊ปร่วมกับกรมชลประทานพบว่า สามารถดำเนินการ โดยแบ่งพื้นที่เป็น 2 ส่วน คือพื้นที่ตอนบน บริเวณเหนือจังหวัดนครสวรรค์ และพื้นที่ตอนล่าง บริเวณจังหวัดอ่างทอง และจังหวัดพระนครศรีอยุธยาซึ่งในปัจจุบันในส่วนนี้ได้ศึกษากำหนดพื้นที่ไว้ แล้ว รวม 8 พื้นที่ ศึกษาถึงระบบพนังของพื้นที่ปิดล้อม และระบบประตูระบายน้ำต่างๆ อย่างครบถ้วน และได้กำหนดค่าชดเชยให้แก่ประชาชนที่เป็นเจ้าของพื้นที่การเกษตรในพื้นที่ แก้มลิงดังกล่าว โดยได้ทำความเข้าใจจนเป็นที่ยอมรับว่าเกษตรกรสามารถเพาะปลูกพืชต่างๆ ไปตามปกติ และหากปีใดที่มีน้ำปริมาณมาก ก็จะขอใช้พื้นที่ดังกล่าวเป็นแก้มลิงเพื่อใช้ในการตัดยอดน้ำหลากในภาวะ วิกฤติ แล้วทางรัฐก็จะจ่ายค่าชดเชยให้ในราคาที่เหมาะสมกับความเสียหายในปีนั้นๆ ต่อไป จากการศึกษาพบว่าสามารถใช้พื้นที่แก้มลิงซึ่งมีความจุรวมประมาณ 1,000 ล้าน ลูกบาศก์เมตร ดังกล่าวในการตัดยอดน้ำ ลดความลึกของน้ำท่วมได้อย่างมีประสิทธิภาพ

          (2) ปรับปรุงคลองบางแก้ว-แม่น้ำลพบุรี : จะต้องปรับปรุงและขยายคลองบางแก้ว-แม่น้ำลพบุรี และเพิ่มช่องการระบายน้ำของ ปตร.ปากคลองบางแก้ว ปตร.ปากคลองพระครู และ ปตร.ปลายคลองบางแก้ว และปลายแม่น้ำลพบุรี เพื่อให้สามารถเร่งการระบายน้ำลงสู่มอเตอร์เวย์น้าได้อย่างรวดเร็ว เมื่อก่อสร้างแล้วเสร็จจะสามารถลดระดับน้ำท่วมในพื้นที่อาเภอเมืองอ่างทองลง ได้ 49 เซ็นติเมตร และสามารถลดระยะเวลาการท่วมในพื้นที่ดังกล่าวลงได้ 18 วัน

          (3) ขุดช่องลัดแม่น้ำท่าจีนและก่อสร้างประตูระบายน้ำควบคุม 4 แห่ง : เป็นการเร่งระบายน้ำทางฝั่งตะวันตก โดยน้อมนำพระราชดาริที่ดำเนินการที่บางกระเจ้า โดยการขุดคลองลัดโพธิ์ และก่อสร้างบานประตูเพื่อควบคุมและระบายน้ำ เพื่อการบรรเทาอุทกภัย ได้น้อมนำเอาแนวพระราชดำริดังกล่าวมาใช้ในแม่น้ำท่าจีน เพื่อช่วยให้ระบายน้ำได้รวดเร็วยิ่งขึ้น

          จากการศึกษาพบว่า มีความเหมาะสมที่จะขุดช่องลัดในคุ้งน้ำที่คดเคี้ยวของแม่น้ำท่าจีน จานวน 4 แห่ง และก่อสร้างประตูน้ำในทุกๆ ช่องลัด เพื่อควบคุมการปิด-เปิด ระบายน้ำให้สอดคล้องกับจังหวะการขึ้น-ลง ของน้ำทะเล จะลดระยะทางการไหลของน้ำในส่วนดังกล่าวจาก 48 กิโลเมตร ลดลงเหลือ 10 กิโลเมตร ซึ่งจะสามารถเร่งการระบายน้ำลงสู่ทะเลได้เพิ่มมากขึ้นอีกวันละ 10 ล้านลูกบาศก์เมตร

แผนระยะยาว ระยะเวลาดำเนินการแล้วเสร็จมากกว่า 5 ปี

          (1) การก่อสร้างมอเตอร์เวย์น้ำ : เนื่องจากปริมาณการจราจรของเส้นทางภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีความ หนาแน่น โดยเฉพาะในช่วงธัญญบุรี ถึงลาดกระบังซึ่งได้มีการขยายเส้นทางไปแล้ว แต่ก็ยังไม่พอเพียง จึงมีความจาเป็นต้องพัฒนาโครงการก่อสร้างถนนวงแหวนรอบที่ 3 ในขณะเดียวกันในด้านการระบายน้ำทางฝั่งตะวันออกนั้นก็จำเป็นจะต้องเพิ่มการ ระบายน้ำ เพื่อทดแทนทางน้ำหลาก (Floodway) ที่มีอยู่ในสมัยโบราณ เนื่องจากแม่น้ำเจ้าพระยาสามารถระบายน้ำได้สูงสุด 300 ล้านลูกบาศก์เมตรต่อวันเท่านั้น

          ในปี พ.ศ. 2542 ทีมกรุ๊ปได้เคยร่วมกับองค์การความร่วมมือระหว่างประเทศแห่งญี่ปุ่น (Japan International Cooperation Agency- JICA) ศึกษาแนวทางในการแก้ไขปัญหาอุทกภัยในภาคกลางและได้ร่วมกันวางแนวทางในการก่อ สร้างคลองผันน้ำขนาดใหญ่จากบางไทรระบายลงไปสู่อ่าวไทยผ่านทุ่งตะวันออกของกรุงเทพฯ

          จากปัญหาน้ำท่วมใหญ่ในปี 2554 นี้ ทำให้เห็นว่ามีความจำเป็นจะต้องหาวิธีการเร่งระบายน้ำในพื้นที่ภาคกลางตอน ล่างและกรุงเทพมหานครเพิ่มเติมนอกเหนือจากการระบายน้ำผ่านทางแม่น้ำเจ้า พระยา และแม่น้ำท่าจีนเท่านั้น

          ทีมกรุ๊ปได้เคยศึกษาการก่อสร้างมอเตอร์เวย์น้ำ ควบคู่ไปกับถนน วงแหวนรอบที่ 3 ไว้ก่อนหน้านี้แล้ว จึงเห็นว่ามีความจำเป็นที่จะต้องเร่งการก่อสร้างโครงการดังกล่าว

          อนึ่ง ในอดีตได้เคยมีการศึกษาเรื่องการก่อสร้าง Floodway แบบธรรมชาติ โดยวิธีการนี้จะใช้พื้นที่เป็นบริเวณกว้างประมาณ 2-5 กิโลเมตร เพื่อเป็นทางน้ำผ่านระบายน้ำจากจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ผ่านทางทุ่งรังสิต หนองเสือ และผ่านทุ่งด้านตะวันออกของกรุงเทพฯ ลงไปสู่ทะเล ซึ่งในปัจจุบันสภาพการใช้ที่ดินได้เปลี่ยนแปลงไปมากมีสิ่งปลูกสร้างต่างๆ เป็นจำนวนมาก การก่อสร้างทางน้ำหลาก (Floodway) ในพื้นที่บริเวณกว้างจะทำได้ยากขึ้น และทางน้ำอาจจะคดเคี้ยวเนื่องจากต้องหลบสิ่งปลูกสร้างต่างๆ เหล่านั้น ทีม กรุ๊ปจึงได้เสนอแนวทางในการก่อสร้างมอเตอร์เวย์น้ำ ซึ่งกำหนดไว้เป็นการขุดคลองระบายน้ำ ในขนาด 1,150 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที สามารถระบายน้ำได้ 100 ล้านลูกบาศก์เมตรต่อวัน



“มอเตอร์เวย์น้ำ” จะขุดเป็นคลองที่มีความกว้าง 180 เมตร ลึกประมาณ 8 เมตร มีประตูควบคุมน้ำที่ตอนเหนือบริเวณบางปะอิน จังหวัดพระนครศรีอยุธยา และมีประตูควบคุมน้ำที่บริเวณท้ายน้ำ รวมทั้งมี ประตูเรือ (Navigation Lock) ที่ให้เรือผ่านเข้าออกได้ ใช้เป็นเส้นทางเดินเรือบรรทุกสินค้าขนาด 3,000 ตันได้ ซึ่งจะทาให้ลดปริมาณการจราจรทางน้ำในแม่น้ำเจ้าพระยาได้อีกทางหนึ่ง นอกจากนี้น้ำในคลองจะถูกเก็บกักและควบคุมให้เป็นน้ำจืดที่สามารถใช้เป็นน้ำ สำรองสาหรับใช้เป็นแหล่งน้ำดิบในการผลิตน้ำประปาสำหรับกรุงเทพฯ ด้านฝั่งตะวันออกได้อีกด้วย

          “มอเตอร์เวย์น้ำ” จะก่อสร้างคู่ขนานไปกับถนนวงแหวนรอบที่ 3 โดยมีคลองอยู่ตอนกลาง ซึ่งจะมีส่วนของถนนที่ใช้เป็นทางด่วนเก็บค่าธรรมเนียมผ่านทางอยู่ด้านหนึ่ง และมีถนนคู่ขนาน (Local Road) สองข้าง สามารถบริการประชาชนได้โดยไม่เก็บค่าธรรมเนียม

          ส่วนที่ดินบริเวณสองข้างของถนนคู่ขนานเลียบมอเตอร์เวย์น้ำนี้ จะมีโอกาสพัฒนาให้มีความเจริญขึ้น ทั้งทางด้านการพัฒนาเป็นชุมชนที่พักอาศัยที่ทันสมัย อยู่ใกล้คลองที่จะมีน้ำอยู่ตลอดปี และพื้นที่ใกล้เคียงถัดออกไปสามารถใช้ในการเกษตรกรรมแผนใหม่ โดยในปัจจุบันบริษัท บางจาก ปิโตรเลียม จากัด (มหาชน) ได้เริ่มมีการส่งเสริมให้ปลูกต้นปาล์มแทนสวนส้มที่ได้รับความเสียหายใน พื้นที่บริเวณทุ่งหนองเสือ โดยจะใช้น้ำมันปาล์มมาผลิตเป็น Bio Diesel ต่อไป

          นอกจากนี้ยังพัฒนาด้านการท่องเที่ยวทางน้ำได้อีกด้วย และส่วนของทางด่วนนั้นจากการศึกษาพบว่าจะสามารถเก็บค่าธรรมเนียมผ่านทางได้ ประมาณ 3,500 ล้านบาท ต่อปีอีกด้วย

          จากการใช้แบบจำลองชลศาสตร์-อุทกวิทยา (River Network Model) ที่ทีมกรุ๊ปได้พัฒนาขึ้นมาเป็นการจำเพาะสาหรับลุ่มน้ำเจ้าพระยาซึ่งได้สอบ เทียบ และใช้งานอย่างได้ผลดีมาตลอด 30 ปี และในการศึกษา ระบบระบายน้ำที่ปรับปรุงใหม่นี้ทั้งระบบดังกล่าวแล้วพบว่าการใช้มอเตอร์เวย์ น้ำเป็นทางระบายน้ำหลักอีกสายหนึ่งบูรณการร่วมกับแม่น้ำเจ้าพระยา แม่น้ำท่าจีน และการปรับปรุงทั้งระบบแล้วจะสามารถระบายน้ำจากตอนเหนือ และจากลุ่มน้าเจ้าพระยาทั้งหมดได้รวม 550 ล้าน ลบ.ม./วัน สามารถบริหารจัดการน้ำท่วมใหญ่ที่มีมวลน้ำที่มากมายทั้งในสภาพปี พ.ศ. 2538 และปี พ.ศ. 2554 นี้ได้อย่างเพียงพอแน่นอน ไม่เกิดความเสียหายอย่างที่เกิดในปีพ.ศ. 2554 อีกต่อไป

          (2) ปรับปรุงคลองชัยนาท-ป่าสัก : จะต้องปรับปรุงคลองชลประทานชัยนาท-ป่าสัก ซึ่งปัจจุบันมีขนาดความจุ 210 ลบ.ม./วินาที ส่งน้ำได้วันละ 18 ล้านลูกบาศก์เมตร ขยายขนาดคลองและปรับเปลี่ยนไปเป็นคลองระบายน้ำขนาด 500 ลบ.ม./วินาที ระบายน้ำได้วันละ 43 ล้านลูกบาศก์เมตร เพื่อเร่งการระบายน้ำจากนครสวรรค์และชัยนาท ไม่ให้เกิดการสะสมในทุ่ง โดยก่อสร้างให้ไปเชื่อมต่อกับมอเตอร์เวย์นำ เพื่อเร่งการระบายน้ำลงสู่ทะเลต่อไป

          (3) การก่อสร้างเขื่อนแก่งเสือเต้น และเขื่อนแม่วงก์ : จะต้องพิจารณาคัดเลือกทางเลือกที่เหมาะสมที่สุดในการพัฒนาโครงการก่อสร้าง เขื่อนแก่งเสือเต้นที่มีความจุอ่างเก็บน้ำ 730 ล้านลูกบาศก์เมตร และเขื่อนแม่วงก์ ที่มีความจุอ่างเก็บน้ำ 230 ล้านลูกบาศก์เมตร เพื่อใช้เป็นแหล่งเก็บกักน้ำไว้ใช้ในฤดูแล้ง และสามารถใช้บรรเทาอุทกภัยได้ในฤดูฝนอีกด้วย



 
วันที่ 26/11/2011


บันทึกการเข้า

หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by MySQL Powered by PHP Powered by SMF 1.1 RC2 | SMF © 2001-2006, Lewis Media

lsv2555Please follow the new website at https://www.pohchae.com

Valid CSS!