Edinburgh ต้นแบบเมือง Creative City
มกราคม 10, 2025, 02:44:18 pm *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
   หน้าแรก   ช่วยเหลือ เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก  
หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: Edinburgh ต้นแบบเมือง Creative City  (อ่าน 2106 ครั้ง)
b.chaiyasith
แก้ปัญหาไม่ตกคุยกันเวลางานline:chiabmillion
.กลุ่มผู้มีน้ำใจงาม.
member
*

คะแนน650
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 3008


ไม้ดีไม่ลอยน้ำมาไกล


อีเมล์
« เมื่อ: พฤศจิกายน 03, 2009, 05:56:03 pm »

มื่อไม่นานมานี้  European Commission เปิดเผยว่าเมือง Edinburgh ใน Scotland ได้รับการจัดอันดับว่าเป็น The Brainiest City in Europe จากการสำรวจ 258 เมืองในยุโรป หลายๆคนอาจจะแปลกใจว่าเมืองที่คนไทยส่วนใหญ่แทบไม่เคยได้ยินชื่อแห่งนี้ จะชนะ Big names ทั้งหลายในยุโรป ทั้ง London, Paris, Frankfurt, Stockholm  นอกจากนี้จากการสำรวจประชากรประมาณ 1 แสนคนของ BBC ในปี 2002 ยังพบว่า ประชากรเมือง Edinburgh มีระดับไอคิวเฉลี่ยสูงที่สุดใน UK อีกด้วย



 

2009:      Edinburgh ได้รับการโหวตว่าเป็นเมืองที่น่าอยู่ที่สุดใน UK เป็นครั้งที่ 4

2007:      กอร์ดอน บราวน์ ศิษย์เก่าของ University of Edinburgh ขึ้นดำรงตำแหน่งนายกฯอังกฤษ

2005:      Edinburgh ได้รับการคัดเลือกจาก UNESCO ให้เป็น  City of Literature

2002:      BBC สำรวจพบว่าชาวเมือง Edinburgh มีไอคิวเฉลี่ยสูงที่สุดใน UK

1960:      ศาสตราจารย์ฮิกซ์ จาก University of Edinburgh เสนอเรื่องการดำรงอยู่อยู่อนุภาคฮิกซ์ ซึ่งเป็นประเด็นที่ร้อนแรงที่สุดทางฟิสิกส์แห่งทศวรรษ

1997:      โทนี่ แบลร์ ชาวเมือง Edinburgh ขึ้นดำรงตำแหน่งนายกฯอังกฤษ

1996:      สถาบันโรสลินใน Edinburgh ประสบความสำเร็จในการโคลนสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมเป็นครั้งแรกของโลก (แกะดอลลี่)

1993:      เจ เค โรวลิ่ง ย้ายมาอยู่ที่ Edinburgh และเริ่มเขียน Harry Potter

1928:      อเล็กซานเดอร์ เฟรมมิ่ง ชาวเมือง Edinburgh ได้คิดค้นยาปฎิชีวนะเป็นครั้งแรกของโลก

1887:      เซอร์อาเธอร์ โคนัน ดอยด์ ชาวเมืองและศิษย์เก่า Edinburgh เริ่มเขียนนวนิยายสืบสวนสอบสวน (เชอร์ลอค โฮมส์)

1874:      อเล็กซานเดอร์ เกรแฮม เบลล์ ชาวเมืองและศิษย์เก่า Edinburgh ได้ประดิษฐ์โทรศัพท์

1867:      โจเซฟ ลิสเตอร์ ได้พัฒนาการผ่าตัดสมัยใหม่  Edinburgh ยังถือเป็นโรงเรียนแพทย์ที่ก้าวหน้าที่สุดในโลกในขณะนั้น และภายหลังทีมแพทย์จาก Edinburgh ยังได้ไปวางแบบแผนในการก่อตั้งโรงเรียนแพทย์แห่งแรกในอเมริกา ที่ University of Pennsylvania

1855:      แมกซ์เวลล์ (Maxwell) ชาวเมือง Edinburgh เริ่มคิดค้นทฤษฎีแม่เหล็กไฟฟ้า ภายหลังได้รับการยกย่องว่าเป็น Theoretical Physicist ที่ผลงานมีอิทธิพลต่อโลกเป็นอันดับ 3 (รองจากนิวตัน และไอน์สไตน์)

1849:      แรงคิน (Rankine) แห่ง Edinburgh ได้รับการยกย่องว่าผู้ริเริ่มกฎ 3 ข้อทางเทอร์โมไดนามิคส์ (ร่วมกับ Kelvin และ Clausius)

1825:      ชาส์ล ดาวิน ผู้คิดค้นทฤษฎีวิวัฒนาการ เข้าเรียนแพทย์ที่ Edinburgh

1748:      อดัม สมิธ ย้ายจาก Glasgow มาที่ Edinburgh ซึ่งต่อมากลายมาเป็นเพื่อนสนิทกับเดวิด ฮูม และเริ่มพัฒนาทฤษฏีทางเศรษฐศาสตร์

1711:      เดวิด ฮูม “นักปรัชญาคนสำคัญที่สุด ในโลกที่ใช้ภาษาอังกฤษ”  ได้ถือกำเนิดขึ้น

1707:      สก็อตแลนด์ริเริ่มแบบแผน Public Education System เป็นครั้งแรกของโลก

1614:      จอน เนเปียร์ ชาวเมือง Edinburgh คิดค้น Logarithm และเป็นนักคณิตศาสตร์คนแรกที่เริ่มต้นใช้จุดทศนิยม

 

 

ไม่ใช่เรื่องบังเอิญอย่างแน่นอน ที่เมืองหลวงแห่งสก็อตแลนด์ที่มีประชากรเพียง 5 แสนคน ในประเทศที่มีประชากรเพียง 5 ล้าน

คน (เล็กกว่ากรุงเทพฯ) จะมีอิทธิพลต่อชาวโลกได้มากมายขนาดนี้ คำถามก็คือ อะไรคือปัจจัยที่ผลักดัน Innovation ในเมือง

Edinburgh อย่างไม่รู้จบ

 

ก่อนศตวรรษที่ 17 สก็อตแลนด์เป็นเพียงประเทศเล็กๆที่แทบจะไม่เป็นที่รู้จักต่อชาวโลก แทบจะล้าหลังเท่าๆกับประเทศในแถบ

ยุโรปเหนือ เช่น เดนมาร์ก นอร์เวย์ สวีเดน (ที่ต่อมาภายหลังก็มีการพัฒนาอย่างก้าวกระโดด) แต่หลังจากนั้นเพียงไม่นาน

สก็อตแลนด์กลับกลายเป็นประเทศที่มีนวัตกรรมล้ำ หน้าประเทศส่วนใหญ่ในยุโรป โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้าเทียบกับอัตราส่วน

ประชากรแล้ว นับได้ว่าสก็อตแลนด์มีผลงานนวัตกรรมมากที่สุดในยุโรป ซึ่งยาวนานมาจนกระทั่งปัจจุบันที่ สก็อตแลนด์มี

Scientific publication per head ติดอันดับ Top 3 ของโลก  พลังอะไรกันที่ผลังดันให้สก็อตแลนด์ภายหลังศตวรรษที่ 17

กลายเป็นประเทศชั้นนำของโลกภายในชั่วเวลาไม่กี่สิบปีหลังจากนั้น?

 

หนึ่งใน Key Success Factors ที่ส่งผลอย่างรุนแรงและเปลี่ยนโฉมหน้าเมือง Edinburgh และ Scotland ไปตลอดกาล กลับเป็นเรื่องที่อาจจะดูง่ายจนคาดไม่ถึง นั่นคือ พลังของเครือข่าย

 

ในปี 1603 มีเหตุการณ์สำคัญเกิดขึ้นในอังกฤษและสก็อตแลนด์ นั่นก็คือ กษัตริย์เจมส์ที่ 6 แห่งสก็อตแลนด์ ได้กลายมาเป็นรัชทายาทบัลลังค์กษัตริย์อังกฤษ สืบเนื่องจากพระนางอลิซาเบธไม่มีบุตร และผู้สืบเชื้อสายที่ใกล้ที่สุดกลับกลายเป็นกษัตริย์แห่งสก็อตแลนด์ กษัตริย์เจมส์ที่ 6 จึงเป็นกษัตริย์องค์แรกที่ปกครองทั้งสก็อตแลนด์และอังกฤษพร้อมๆกัน และย้ายมาประทับที่ลอนดอน  เหตุการณ์ครั้งนี้เรียกว่า Union of Crowns ซึ่งในเวลาต่อมาได้พัฒนาเป็น Acts of Union 1707 ที่ยุบรัฐบาลเหลือเพียงรัฐบาลเดียวด้วยเหตุผลทางเศรษฐกิจ

 

เหตุการณ์ครั้งนั้นไม่เพียงยุติความเป็นศัตรูกันระหว่างสองประเทศ หากแต่ยังเป็นกันทำลายกำแพงเฮเดรียน ที่ขวางกั้นสก็อต

แลนด์จากวิทยาการจากเมโสโปเตเมีย กรีก และโรมัน มานับร้อยๆปี

 

ดังที่นิวตันได้กล่าวไว้ ว่าเขาเพียงอาศัยความรู้จากยักษ์ใหญ่ในอดีตทั้งหลาย (Stands of the shoulders of giants) มากกว่า

99% ของความรู้ของไอน์สไตน์และนิวตัน ล้วนแต่หยิบยืมมาจากนักวิทยาศาสตร์ในอดิต นวัตกรรมนั้นเป็นเพียงการต่อยอด

1% จากความรู้ที่มีมาก่อนหน้า ฉันใดก็ฉันนั้น ไม่มีประเทศใดในโลกที่คิดอะไรขึ้นมาคนเดียวได้ทั้งหมด เมื่อประตูเปิด ความ

เสียเปรียบทางภูมิศาสตร์ของสก็อตแลนด์จึงหมดไป พร้อมๆกับการอ้าแขนรับวิทยาการสมัยใหม่ด้วยความหิวกระหาย นี่คือ

Network ขั้นแรก

 

และด้วยสภาพทางภูมิศาสตร์ของสก็อตแลนด์ที่เป็นประเทศเล็ก สามารถเดินทางไปมาในแต่ละเมืองได้ในเวลาอันสั้น จุดอ่อน

ของการเป็นประเทศเล็กที่ถูกโดดเดี่ยว จึงกลายเป็นจุดแข็งอย่างไม่รู้ตัว สก็อตแลนด์ดูดซับความรู้จากยุโรปเบื้องล่างได้ และยัง

สามารถพัฒนา Network ภายในประเทศได้อย่างมีประสิทธิภาพ ขอยกตัวอย่างบางด้านที่น่าจะเห็นได้ชัด

 

Innovation และ Network ทางวิศวกรรม

โจเซฟ แบลค ศิษย์เก่า Edinburgh และอาจารย์ที่ University of Glasgow และที่ Edinburgh (Glasgow อยู่ห่างจาก

Edinburgh เพียงประมาณ 45 นาทีโดยรถไฟในปัจจุบัน ซึ่งเป็นสาเหตุอีกประการหนึ่งที่ทำให้องค์ความรู้สามารถเคลื่อนย้าย

ผ่านสองเมืองนี้ได้โดยง่าย) ค้นพบก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ และความร้อนแฝง (ที่เราเรียนสมัยเด็กๆว่า ขณะน้ำแข็งกลายเป็น

น้ำจะไม่เปลี่ยนอุณหภูมิ)   ในขณะเดียวกัน วิลเลี่ยม แรงคิน จาก Edinburgh ก็ได้พัฒนาความรู้ทางเทอร์โมไดนามิคส์ (วัฎจักร

แรงคิน และวัฎจักรคาร์โนต์) พร้อมๆกับ Lord Kelvin จาก Glasgow ที่พัฒนากฎข้อสองของเทอร์โมไดนามิคส์ (ภายหลังได้รับ

เกียรติให้ตั้งชื่อเป็นอุณหภูมิเคลวิน) โจเซฟ แบลค เป็นอาจารย์และเพื่อนกับ เจมส์ วัตต์ ซึ่งต่อมาความรู้ทางทฤษฎีทั้งหลายเหล่านี้ได้ส่งผลต่อภาคปฎิบัติ ที่เจมส์ วัตต์ ก็นำมาประยุกต์แล้วระเบิดออกมาเป็นความก้าวหน้าอย่างฉับพลันในเทคโนโยลีเครื่องจักรไอน้ำ ที่นำอังกฤษไปสู่การปฎิวัติอุตสาหกรรมและเป็นเจ้าอาณานิคม  ขณะเดียวกัน ข่าวการค้นพบของไมเคิล ฟาราเดย์ ก็ทำให้ แมกซ์เวลล์ได้พัฒนาทฤษฎีแม่เหล็กไฟฟ้า ซึ่งจากการจัดอันดับของ BBC ถือว่าเป็นผลงานทางฟิสิกส์ที่ยิ่งใหญ่เป็นอันดับ 3 ของศตวรรษ รองจากไอน์สไตน์และนิวตัน[ii]

 

นอกจากนี้ ความรู้ที่หลั่งไหลเข้ามายังทำให้ชาวสก็อตประดิษฐ์คิดค้นสิ่งใหม่ๆมากมาย เช่น โทรทัศน์ โทรศัพท์ แฟกซ์ ยาง

รถยนต์แบบมียางใน (Dunlop) จักรยานแบบมีบันไดถีบ การใช้ยางมะตอยทำถนน เรดาร์ แม้กระทั่งสารานุกรมเล่มแรก

(Encyclopedia Britannica) ก็ทำขึ้นใน Edinburgh   ในหมู่ชาวตะวันตกชาวสก็อตได้ชื่อว่าเป็นนักประดิษฐ์ที่เก่งกาจที่สุด ซึ่ง

แม้สะท้อนออกมาในหลายๆด้าน เช่นภาพยนต์เรื่อง MacGyver ก็แต่งให้ตัวเอกที่ชื่อ Angus MacGyver มีเชื้อสายสก็อต  (ชื่อ

Angus เป็นเมืองในสก็อตแลนด์ ส่วนนามสกุลที่ขึ้นต้นว่า Mac และ Mc นี้เป็นนามสกุลชาวสก็อต)

 

Innovation  และ Network ทางการแพทย์

เมื่อย่างเข้าศตวรรษที่ 19 Edinburgh และ Scotland ได้พัฒนาตัวเองไปสู่การเป็นศูนย์กลางการแพทย์ที่ทันสมัยที่สุดในโลก

และสามารถดึงดูดแพทย์หัวกะทิชาวอังกฤษให้เข้ามาเรียนที่ Edinburgh ได้มากมาย รวมไปถึง Charles Darwin บิดาแห่ง

ทฤษฎีวิวัฒนาการ และ Joseph Lister บิดาแห่งการแพทย์ผ่าตัดแบบปลอดเชื้อ Joseph ได้พัฒนาการแพทย์สมัยใหม่ ขณะ

เรียนและฝึกหัดที่ Glasgow และ Edinburgh (น้ำยาฆ่าเชื้อ Listerine ตั้งชื่อตาม Joseph Lister)  นอกจากนี้ Edinburgh ยัง

ได้เป็นแม่แบบให้กับคณะแพทย์ในหลายประเทศในเวลาต่อมา รวมไปถึงคณะแพทย์แห่งแรกในสหรัฐฯ คือที่ University of

Pennsylvania ซึ่งได้ใช้ Edinburgh เป็นแม่แบบ และเชิญอาจารย์แพทย์จาก Edinburgh มาสอนในช่วงแรกๆ

 

และเมื่อเทคโนโลยีทางวิทยาศาสตร์ วิศวกรรม และการแพทย์ได้มาบรรจบกัน ชาวสก็อตก็ได้ผลิตผลงานทางการแพทย์ที่มี

ประโยชน์ต่อชาวโลกมากมาย เช่น Criminal Fingerprint  เครื่อง Ultra Sound เครื่อง MRI Scanner ไตเทียม รวมไปถึงเทคนิค

ทางด้าน Forensic Science (Dr Adrian Linacre ที่หมอพรทิพย์เชิญมาเมืองไทย เป็นอาจารย์ที่ University of Strathclyde

ใน Glasgow)

 

Innovation และ Network ทางเศรษฐศาสตร์ และการเงิน

มรดกที่นักปรัชญาชาวสก็อตทิ้งไว้ให้แก่โลก นับว่าส่งอิทธิพลต่อมนุษย์ชาติไม่น้อยไปกว่าผลงานทางวิศวกรรมและการแพทย์เลยแม้แต่น้อย Frances Hutchinson และ David Hume ได้พัฒนาความรู้ทางด้าน Utilitarian และ Free Trade และในที่สุด Adam Smith ก็ได้ประมวลแล้วนำมาต่อยอดใน The Wealth of Nation ซึ่งกลายมาเป็นตำราทางเศรษฐศาสตร์เล่มแรกของโลก นอกจากนี้ เป็นที่น่าสนใจด้วยว่า ชาวสก็อตชื่อว่า William Paterson เป็นผู้ก่อตั้งและผู้ว่าฯ Bank of England เป็นคนแรก ในขณะที่ชาวสก็อตที่ชื่อ Thomas Sutherland ได้ก่อตั้ง Hongkong and Shanghai Bank ขึ้นในฮ่องกง ซึ่งเป็นอาณานิคมของอังกฤษในขณะนั้น ซึ่งภายหลังได้พัฒนามาเป็นธนาคารที่ใหญ่ที่สุดในเอเชีย และกลายมาเป็น HSBC ซึ่งเป็นธนาคารใหญ่ที่สุดในโลกในปี 2009  ธนาคารอีกแห่งที่ควรกล่าวถึงได้แก่ Royal Bank of Scotland ซึ่งมีขนาดใหญ่ Top 10 ของโลกอีกแห่งหนึ่ง

 

นวัตกรรมทางการเงินที่เป็นผลงานของชาวสก็อต ได้แก่ตู้เอทีเอ็ม โดย John Shepherd-Barron ได้รับเครดิตว่าเป็นผู้ประดิษฐ์และใช้งานได้จริงเป็นคนแรก และการทำ Overdraft โดย Royal Bank of Scotland 




(มีต่อ)


บันทึกการเข้า

"CHIAB"
มนุษย์เราแต่ละคน  ต่างไม่รู้ว่ามาจากไหน  ไม่มีใครรู้จักกันมาก่อนเลย  แล้ววันหนึ่งก็มาพบหน้ากัน  สมมุติเป็นพ่อ  เป็นแม่  เป็นเมีย  เป็นสามี  เป็นลูก  อยู่ร่วมกัน  ใช้ชีวิตร่วมกัน และแล้ววันหนึ่ง  ก็แยกย้ายด้วยการ  "ตายจาก"  กันไปสู่  ณ  ที่ซึ่งไม่มีใครได้ตามพบ  คืนสู่ความเป็นผู้ไม่รู้ว่ามาจากไหน  ไปไหน  และคืนสู่ความเป็น  "คนแปลกหน้า"  ซึ่งกันและกันอนันกาลอีกครั้งหนึ่ง...และอีกครั้งหนึ่ง!?
ขอขอบคุณ คุณเปลว สีเงิน ที่ให้ข้อคิดดีๆ

หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by MySQL Powered by PHP Powered by SMF 1.1 RC2 | SMF © 2001-2006, Lewis Media

lsv2555Please follow the new website at https://www.pohchae.com

Valid CSS!