เรื่องราวของกะเม็ง...ฮ่อมเกี่ยว ยาดี ของหมอยาพื้นบ้าน
ความที่เป็นลูกชาวนาจึงรู้จักกะเม็งตั้งแต่เด็กๆ มันชอบขึ้นตามริมคันนา แต่น่าเสียดายว่าชาวนาจังหวัดนครนายกในแถบอำเภอเมืองไม่มีใครรู้จักชื่อของ กะเม็ง รู้แต่ว่ามันเป็นยาเพราะเขาเคยเห็นหมอยาสมัยก่อนเก็บไปใช้ แต่เมื่อได้ไปถามหมอยา คุณตาส่วน สีมะพริก ท่านเรียกสมุนไพรชนิดนี้ว่า ฮ่อมเกี่ยว และได้อ่านในตำรายา พบว่า ฮ่อมเกี่ยว ซึ่งบางครั้งก็เรียกเพี้ยนเป็นฮ่อมแก่วอยู่บ้างนั้น ใช้เข้ายาอยู่หลายตำรับ เรียกว่าเป็นสมุนไพรยอดฮิตตัวหนึ่งทีเดียว เรื่องน่าสนใจก็คือ หมอยาตระกูลไทย-ลาว ทั้งหมอยาล้านนา หมอยาอีสาน หมอยาไทยใหญ่ หมอยาไทยเลย หมอยาไทยพวน ต่างเรียกกะเม็งว่า ฮ่อมเกี่ยว เหมือนกันทั้งนั้น
กะเม็ง…ยาแก้เกี่ยว อาการทางประสาท อาการชัก ไข้
หมอยาอีสาน หมอยาไทยใหญ่ หมอยาล้านนา มักจะเรียกกะเม็งว่า “ฮ่อมเกี่ยว” ใช้รักษาอาการ “เกี่ยว” อาการเกี่ยวนั้นน่าจะเป็นอาการทางประสาท เป็นลมวิงเวียน ชักเกร็ง มือเกร็งและเกี่ยวกัน ซึ่งอาการเช่นนี้คล้ายๆ กับโรค Hyperventilation ในแผนปัจจุบัน วิธีใช้นั้นจะใช้ฮ่อมเกี่ยวเป็นตัวหลักตำคั้นน้ำผสมกับสมุนไพรที่มีกลิ่นหอม ตัวอื่นๆ เช่น ขิง ว่านเปราะหอม เป็นต้น แล้วใช้น้ำคั้นที่ได้ให้ผู้ป่วยจิบ และใช้ผ้าชุบน้ำผสมน้ำคั้นสมุนไพรเหล่านั้นเช็ดหน้า คลุมหัวผู้ป่วยไว้
การศึกษาวิจัยสมัยใหม่เกี่ยวกับกะเม็ง พบว่ามีฤทธิ์คลายเครียด ช่วยทำให้นอนหลับ โดยกะเม็งไปมีฤทธิ์เพิ่มระดับ Melatonin ซึ่งเป็นฮอร์โมนชนิดหนึ่งที่หลั่งออกมาตอนกลางคืน ซึ่งสารนี้จะช่วยปรับสภาพร่างกายให้เหมาะแก่การนอนหลับ
กะเม็ง...รักษาตับ
กะเม็งเป็นสมุนไพรที่มีการกล่าวขวัญถึงในหมู่หมอยาสมัยก่อนทั้ง ไทย จีน พม่า อินเดีย โดยใช้เป็นยารักษาตับ หมอยาไทยมักจะบอกว่ากะเม็งรักษาอาการดีซ่านตัวเหลืองตาเหลือง เคยมีหมอพม่าและหมออินเดียมาดูงานที่โรงพยาบาลต่างพูดตรงกันว่า กะเม็งเป็นสมุนไพรที่บ้านเขาใช้รักษาตับ มีทั้งใช้กะเม็งเดี่ยวๆ หรือบางครั้งก็ใช้เป็นตำรับร่วมกับต้นลูกใต้ใบ ผักหวานบ้าน มะขามป้อม เป็นต้น สอดคล้องกับการค้นคว้าทางเอกสาร พบว่าหมอยาพื้นบ้านในประเทศต่างๆ ก็มีการใช้กะเม็งรักษาโรคตับเช่นกัน
นอกจากนี้ยังมีประสบการณ์จากทางบ้านคือ ใช้ต้นกะเม็งสดๆ ๓-๔ ต้น ล้างให้สะอาดนำไปต้มให้เดือดประมาณ ๑๐ นาที แล้วดื่มน้ำโดยผสมน้ำตาลทรายลงไปผสมพอมีรสหวาน ดื่มกินไม่เกิน ๒ วัน ช่วยแก้อักเสบ บวมช้ำ (พระจีรพันธ์ ธัมมกาโม วัดพบพระใต้ จ.ตาก)
ปัจจุบันมีรายงานการศึกษาวิจัยเป็นจำนวนมากถึงผลของกะเม็งต่อตับ คือกะเม็งสามารถป้องกันไม่ให้ตับถูกทำลายจากสารพิษรวมทั้งจากแอลกอฮอล์ ป้องกันไม่ให้เซลล์ตับถูกทำลายจากไวรัส แถมยังช่วยในการฟื้นตัวของตับที่ถูกทำลายได้อีกด้วย
กะเม็ง…ยาอายุวัฒนะ
กะเม็งยังเข้ายาอายุวัฒนะหลายตำรับ มีทั้งใช้เดี่ยวๆ และใช้เข้ายาตำรับร่วมกับสมุนไพรชนิดอื่นๆ โดยทำเป็นผง ปั้นเป็นลูกกลอน เป็นยาชงกินแทนน้ำชาทุกวันก็ได้ และมีตำรับที่ใช้การตำคั้นกะเม็งผสมน้ำผึ้งกินทุกวันเดือนดับก็มี จากการศึกษาสมัยใหม่พบว่ากะเม็งมีฤทธิ์เพิ่ม T-lymphocyte และมีการศึกษาตำรับยาจีนชนิดหนึ่งเรียกว่า AFE ซึ่งมีกะเม็งเป็นส่วนประกอบ พบว่าสูตรยาดังกล่าวสามารถเพิ่มระดับ lymphocyte และ IgG ซึ่งเป็นสารสำคัญต่อระบบภูมิคุ้มกัน นอกจากนี้กะเม็งยังทำให้เยื่อหุ้มเซลล์ของเม็ดเลือดแดงแข็งแรงขึ้น ซึ่งยืนยันการใช้เป็นยาอายุวัฒนะของคนสมัยก่อนได้เป็นอย่างดี และอาจมีประโยชน์ต่อการใช้เป็นยาเสริมภูมิคุ้มกันในผู้ป่วยเอดส์ นอกจากนี้แล้วยังพบว่า กะเม็งลดการกดภูมิคุ้มกันซึ่งน่าจะเป็นประโยชน์ต่อการใช้ใรักษาความเป็นปกติ ของร่างกายขณะได้รับเคมีบำบัด
นอกจากเป็นยาอายุวัฒนะแล้ว หมอยาพื้นบ้านยังบอกว่ากะเม็งเหมาะที่จะทำเป็นชาสมุนไพรสำหรับผู้ป่วยเบา หวาน โดยนำต้นกะเม็งตากแดดให้แห้ง แล้วนำไปคั่วให้พอหอม ชงน้ำร้อนดื่มเป็นน้ำชารับประทานดียิ่งนัก
กะเม็ง...รักษาแผล โรคติดเชื้อทางผิวหนัง แก้อักเสบ
หมอยาทุกภาคต่างรู้ดีว่ากะเม็งเป็นสมุนไพรทำแผล ช่วยห้ามเลือดและป้องกันการติดเชื้อ มีเรื่องเล่าจากประสบการณ์ว่า สมัยสงครามเวียดนาม กะเม็งเป็นยาคู่สนามรบมีการนำมาใช้ทั้งสดและแห้งเพื่อห้ามเลือด นอกจากนำมาใช้รักษาแผลให้คนแล้ว กะเม็งยังเป็นยารักษาแผลในสุนัขตัวโปรดได้ด้วย
กะเม็งยังใช้ตำพอกแก้อักเสบเมื่อถูกแมลงสัตว์กัดต่อย ใช้ต้มอมบ้วนปากรักษาอาการปากและเหงือกเป็นแผล แก้ปวดฟันหรือจะใช้ต้นสดผิงไฟให้แห้งแล้วบดเป็นผงทาที่เหงือกแก้ปวดฟันก็ได้ และกะเม็งยังใช้รักษาอาการปากเปื่อย-ปากเจ็บเนื่องจากเชื้อราในเด็ก โดยใช้น้ำคั้นจากใบ ๒ หยดผสมน้ำผึ้ง ๘ หยด ทาบ่อยๆ
กะเม็งยังสามารถรักษาแผลไฟไหม้ น้ำร้อนลวก อาการฟกช้ำ อาการแพ้ได้อย่างดี โดยบดตำเอามาพอกที่บาดแผล ลดอาการอักเสบ ปวดแสบปวดร้อน อาการอักเสบจะดีขึ้น ให้พอกไปเรื่อยๆ และคอยเปลี่ยนยาบ่อย ๆ
กะเม็งยังช่วยรักษาอาการน้ำกัดเท้า ชาวนาสมัยก่อนจะนำใบกะเม็งขยี้ทาเท้าทิ้งไว้ให้แห้งก่อนลงนา การศึกษาวิจัยสมัยใหม่พบว่ากะเม็งมีฤทธิ์ในการฆ่าเชื้อทั้งราและแบคทีเรีย และเป็นสมุนไพรที่ขึ้นได้ดีในหน้าน้ำ เป็นเรื่องน่าแปลกเพราะดูเหมือนว่า ธรรมชาติจะได้ประทานสมุนไพรชนิดนี้มาให้กับชาวนาใช้รักษาโรคน้ำกัดเท้า ในหน้าลงนาได้พอดิบพอดี
สอบถามข้อมูลสมุนไพร โทร (๐๓๗) ๒๑๑๒๘๙
www.abhaibhubejhr.o rg http://thrai.sci.ku.ac.th/node/936 *
ะเม็งตัวเมีย
ชื่อวิทย์ Eclipta prostrata Linn.
ชื่อวงศ์ COMPOSITAE
ชื่ออื่น ห้อมเกี่ยว หญ้าสับ ล้อม(เหนือ) แป๊ะปัวกี่เช้า ใบลบ(ใต้) บั้งกี่เช้า
สรรพคุณ
ต้น
ใบ
ราก
ดอก
ลูก
ขมเฝื่อยเย็น ขับลมให้กระจาย แก้จุกเสียดแน่น เฟ้อ ห้ามเลือด บำรุงโลหิต ทำให้เลือดเย็น แก้ ไอ อาเจียนเป็นเลือด ปัสสาวะ อุจจาระเป็นเลือด แก้ไอกรน แก้ริดสีดวงทวาร แก้เจ็บตา แก้เจ็บ คอ ใช้ทาพอก แก้ผื่นคัน แก้ฝีพุพอง รักษาแผล ตกเลือด
รสขมเฝื่อน เป็นยาถ่าย ทำให้อาเจียน แก้อา เจียนเป็นเลือด แก้จุกเสียดแน่น แก้พิษโลหิต ทำให้ร้อน
รสขมเฝื่อน ขับลมในลำไส้ แก้อาเจียนเป็นเลือด บำรุงร่างกาย แก้โรคตับ และม้ามพิการ เป็น ยาถ่าย ใช้ทาแผลฆ่าเชื้อโรค ทำให้อาเจียน
รสขมเฝื่อน แก้ดีซ๋าน เป็นยาชาเฉพาะที่ ระงับ ปวด แก้ปวดฟัน
รสขมเฝื่อน ขับผายลม
http://www.geocities.com/thaimedicinecm/sansilpayathai41kameng.htm*