อากาศที่เข้าไปในเครื่องยนต์
มกราคม 11, 2025, 04:10:28 pm *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
   หน้าแรก   ช่วยเหลือ เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก  
หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: อากาศที่เข้าไปในเครื่องยนต์  (อ่าน 3259 ครั้ง)
mtds
member
*

คะแนน0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 8


« เมื่อ: กันยายน 04, 2008, 02:20:48 pm »

ขอสอบถามผู้รู้ ช่วยตอบหน่อยครับ อากาศที่เครื่องยนต์ของรถยนต์ เมื่อดูดผ่านไส้กรองเข้าไปในเครื่องยนต์นั้น ถ้าอุณหภูมิ สูง-ต่ำ ต่างกัน เช่น 30 , 20 และ 15 องศา
 จะส่งผลต่อเครื่องยนต์อย่างไรบ้างครับ เช่น ด้านกำลังของเครื่องยนต์ จะแตกต่างกันอย่างไร โดยเฉพาะรถยนต์ที่ใช้ LPG. ........ ขอบคุณครับ


บันทึกการเข้า

aong.com
member
*

คะแนน2
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 27


ไม่มีคำว่าทำไม่ได้ ..ถ้าใจเราต้องการทำ


อีเมล์
« ตอบ #1 เมื่อ: กันยายน 29, 2008, 09:17:16 am »

 Sad โดยปกติแล้วอากาศในเมืองไทยเราคงจะไม่ค่อยถึงนะครับ อุณหภูมิต่ำ ๆ อย่างนั้น (15 องศา) ถึงยังไงให้เราลองสังเกตุดูว่า ถ้าเราขับรถตอนอากาศร้อน ๆ กับอากาศเย็น ตอนไหนรถเราจะวิ่งดีกว่า กัน แน่นอนครับอากาศเย็นย่อมดีกว่าทั้งในเรื่องการระบายความร้อน และเครื่องยนต์เราก็จะไม่ Heat เกินไป และอีกอย่างอากาศเย็นเมื่อเทียบความหนาแน่นของออกซิเจนแล้วจะ มากกว่าอากาศร้อน จึงทำให้การสันดาบภายในเครื่องยนต์ค่อนข้างจะสมบูรณ์กว่า ส่วนเรื่องด้านกำลังถ้าวัดจากความรู้สึกเราแล้วก็คงแทบจะไม่รู้ครับ ยึ่งถ้าเครื่องยนต์เราร้อนแล้วก็ยิ่งจะไม่ค่อยมีผล ยกตัวอย่างที่เห็นได้ชัด ๆ คือ เครื่องบินครับ เมื่อมันอยู่บนพื้นดิน ambient 35 องศา แต่พอบินสูงขึ่น -40 ถึง - ต่ำ ๆ แต่เครื่องก็ยังสามารถทำงานได้ ครับ นี่คือตัวอย่างเล็ก ๆ น้อย ๆ ถ้าหากอยากได้ความรู้เชิงลึก (วิศวกรรม) ค่อยว่ากันอีกที

หากข้อมูลนี้ไม่ถูกต้องหรือ ไม่สมบูรณ์ ก็ช่วยชี้แนะเพื่อทุกคนจะได้ความรู้ครับ


 Sad

เอื้อเฟื้อข้อมูลโดย http://www.pts-service.com
บันทึกการเข้า
ถาวร-LSVteam
.กลุ่มผู้มีน้ำใจงาม.
member
*

คะแนน955
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 7987



อีเมล์
« ตอบ #2 เมื่อ: กันยายน 29, 2008, 10:45:02 am »

ว้าผมรึก็ไปเข้าใจว่า อุณหถูมิ สูงการเผาไหม้จะดี อุณหภูมิต่ำการเผาไหม้จะไม่ค่อยสมบูรณ์ ไปคิดเอาว่าห้องเผ้าไหม้ อุณหภูมิน่าจะอยู่ที่70กว่าองศา ถึงจะเผ้าไหม้สมบูรณ์ดี สงสัยเข้าใจผิดอีกแล้วผม
บันทึกการเข้า

ยังสร้างความฉิบหายให้ประเทศไทยไมพอกันอีกหรือ 
 ผู้ใดคิดร้ายให้ร้ายพระองค์ มันจงพินาจฉิบหายในเวลาอันใกล้
aong.com
member
*

คะแนน2
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 27


ไม่มีคำว่าทำไม่ได้ ..ถ้าใจเราต้องการทำ


อีเมล์
« ตอบ #3 เมื่อ: กันยายน 29, 2008, 05:38:17 pm »

ว้าผมรึก็ไปเข้าใจว่า อุณหถูมิ สูงการเผาไหม้จะดี อุณหภูมิต่ำการเผาไหม้จะไม่ค่อยสมบูรณ์ ไปคิดเอาว่าห้องเผ้าไหม้ อุณหภูมิน่าจะอยู่ที่70กว่าองศา ถึงจะเผ้าไหม้สมบูรณ์ดี สงสัยเข้าใจผิดอีกแล้วผม


จริง ๆ แล้วอุณหภูมิในห้องเผาไหม้ ไม่ใช่ แค่ 70 หรือ 80 องศา ครับ อุณหภูมิที่ว่านี้คือ อุณหภูมิที่เครื่องยนต์เราต้องการ warm up หรืออุณหภูมิในการทำงานของเครื่อง จะเห็นว่าเราใส่วาล์วน้ำเข้าไปเพื่อให้รักษาอุณหภูมิของเครื่องยนต์เราไว้ที่ 80 องศา กล่าวคือ เริ่มแรกที่สตาร์ทเครื่องยนต์ ถ้าอุณหภูมิของเครื่องที่น้ำเป็นตัวนำความร้อนมาจากรอบข้างห้อมเผาใหม้ ยังไม่ถึง 80 องศา วาล์วน้ำเราจะยังไม่เปิด ดูง่าย ๆ น้ำจะไม่มีการวน แต่เมื่อไรก็ตามอุณหภูมิของเครื่องสะสมสูงขึ้นจนถึง 80 องศา วาล์วน้ำก็จะเปิดเพื่อให้น้ำไประบายความร้อนที่แผ่นระบายความร้อน (หม้อน้ำ หรือรังผึ้ง) เพื่อที่จะรักษาอุณหภูมิของเครื่องยนต์ไม่ให้สูงเกินไป และทำไมหม้อน้ำของรถแต่ละรุ่นจึงมีขนาดไม่เท่ากัน คำตอบก็คือ ขึ้นอยู่กับปริมาณความร้อนที่ต้องระบายออกให้เหมาะสมกับเครื่องยนต์รุ่นนั้น ๆ (ไม่มีเครื่องจักรความร้อนใดที่มีประสิทธิภาพ 100%) ในทางวิศวกรรมแล้วประสิทธิภาพของเครื่องยนต์ถ้าจะให้ได้เต็ม100%จริง ๆ จะต้องไม่มีการสูญเสียความร้อนไป แต่ในทางปฏิบัติแล้วไม่สามารถทำได้  (ถ้ามีก็คงดีเราจะได้มีรถที่วิงได้ ประมาณ 100 กม. ต่อ น้ำมัน 1 ลิตรเลยมั้งครับ)
แต่ถ้าจะพูดถึงอุณหภูมิในห้องเผาใหม้จริง ๆ ผมจำตัวเลขที่ชัดเจนไม่ได้นะครับ  ถ้าจำไม่ผิด ประมาณ 1648 - 2760 oC (3000 - 5000 oF), ติดไว้ก่อนครับถ้าได้ข้อมูลจะแก้ให้





บันทึกการเข้า
ถาวร-LSVteam
.กลุ่มผู้มีน้ำใจงาม.
member
*

คะแนน955
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 7987



อีเมล์
« ตอบ #4 เมื่อ: กันยายน 30, 2008, 08:04:02 am »

ต้องขอบคุณท่าน aong.com ที่ให้ควา่มรู้แก่สมาชิกครับ ช่างซ่อมทีวีที่รู้มาผิดๆแบบผมได้รับความกระจ่าง
บันทึกการเข้า

ยังสร้างความฉิบหายให้ประเทศไทยไมพอกันอีกหรือ 
 ผู้ใดคิดร้ายให้ร้ายพระองค์ มันจงพินาจฉิบหายในเวลาอันใกล้
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by MySQL Powered by PHP Powered by SMF 1.1 RC2 | SMF © 2001-2006, Lewis Media

lsv2555Please follow the new website at https://www.pohchae.com

Valid CSS!