ความรู้เกี่ยวกับก๊าซธรรมชาติ NGV และ LPG
มกราคม 03, 2025, 04:33:08 pm *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
   หน้าแรก   ช่วยเหลือ เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก  
หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: ความรู้เกี่ยวกับก๊าซธรรมชาติ NGV และ LPG  (อ่าน 7492 ครั้ง)
eskimo_bkk-LSV team♥
.กลุ่มผู้มีน้ำใจงาม..
member
*

คะแนน1887
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 13885


ไม่แล่เนื้อเถือหนังพวก


อีเมล์
« เมื่อ: กรกฎาคม 03, 2008, 07:58:25 am »

ก๊าซธรรมชาติคืออะไร
ก๊าซธรรมชาติ เป็นพลังงานปิโตรเลียมชนิดหนึ่ง เช่นเดียวกับน้ำมัน
ที่จริง น้ำมัน ก๊าซธรรมชาติ และถ่านหิน ก็คือ
ซากพืชและซากสัตว์ที่ทับถมกันมานานหลายแสนหลายล้านปี
และทับถมสะสมกัน จนจมอยู่ใต้ดิน แล้วเปลี่ยนรูปเป็นสิ่งที่เรียกว่า ฟอสซิล
ระหว่างนั้นก็มีการเปลี่ยนแปลงตามธรรมชาติ
จนซากสัตว์และซากพืชหรือฟอสซิลนั้นกลายเป็นน้ำมันดิบ ก๊าซธรรมชาติ และถ่านหิน
 ที่เรานำมาใช้ประโยชน์ได้ในที่สุด
เราจึงเรียกเชื้อเพลิงประเภทน้ำมัน ก๊าซธรรมชาติ และถ่านหิน ว่า เชื้อเพลิงฟอสซิล

ในทางวิทยาศาสตร์ เรารู้กันดีว่า ต้นพืชและสัตว์ รวมทั้งคน ประกอบด้วยเซลล์เล็กๆ มากมาย เซลล์เหล่านี้ประกอบด้วยธาตุไฮโดรเจนและธาตุคาร์บอนเป็นหลัก เวลาซากสัตว์และซากพืชทับถมและเปลี่ยนรูปเป็นน้ำมันหรือก๊าซธรรมชาติหรือถ่านหิน
พวกนี้จึงมีองค์ประกอบของสารไฮโดรคาร์บอนเป็นส่วนใหญ่
และเมื่อนำไฮโดรคาร์บอนเหล่านี้มาเผา จะให้พลังงานออกมาแบบเดียวกับที่เราเผาฟืน
 เพียงแต่เชื้อเพลิงฟอสซิล เช่น น้ำมัน ก๊าซธรรมชาติ หรือถ่านหิน ให้ความร้อนมากกว่า

ก๊าซธรรมชาติมีก๊าซหลายอย่างประกอบเข้าด้วยกัน
มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า มีเทน อีเทน โพรเพน บิวเทน ฯลฯ
แต่โดยทั่วไปจะประกอบด้วยก๊าซมีเทนเป็นส่วนใหญ่ คือ ร้อยละ 70 ขึ้นไป
ก๊าซพวกนี้เป็นสารไฮโดรคาร์บอนทั้งสิ้น เมื่อจะนำมาใช้ ต้องแยกก๊าซออกจากกันเสียก่อน
 จึงจะใช้ประโยชน์ได้เต็มที่ นอกจากสารไฮโดรคาร์บอนแล้ว
ก๊าซธรรมชาติยังอาจประกอบด้วยก๊าซอื่นๆ อาทิ
ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ไฮโดรเจนซัลไฟด์ ไนโตรเจน และน้ำ เป็นต้น
สารประกอบเหล่านี้สามารถแยกออกจากกันได้ โดยนำมาผ่านกระบวนการแยกที่โรงแยกก๊าซธรรมชาติ ก๊าซที่ได้แต่ละตัวนำไปใช้ประโยชน์ต่อเนื่องได้อีกมากมาย

คุณสมบัติทั่วไปของก๊าซธรรมชาติ

- เป็นเชื้อเพลิงปิโตรเลียมชนิดหนึ่ง เกิดจากการทับถมของสิ่งมีชีวิตนับล้านปี
- เป็นสารประกอบไฮโดรคาร์บอน ประกอบด้วยก๊าซมีเทนเป็นหลัก
- ไม่มีสี ไม่มีกลิ่น ปราศจากพิษ
( ส่วนมากกลิ่นที่เราคุ้นเคยจากก๊าซธรรมชาติเป็นผลมาจาก
การเติมสารเคมีบางประเภทลงไป เพื่อให้ผู้ใช้รู้ได้ทันท่วงทีเมื่อเกิดเหตุการณ์ก๊าซรั่ว)
- เบากว่าอากาศ (ความถ่วงจำเพาะ 0.5-0.8 เท่าของอากาศ)
- ติดไฟได้ โดยมีช่วงของการติดไฟที่ 5-15% ของปริมาตรในอากาศ
และอุณหภูมิที่สามารถติดไฟได้เองคือ 537-540 องศาเซลเซียส

คุณประโยชน์ของก๊าซธรรมชาติ

- เป็นเชื้อเพลิงปิโตรเลียมที่นำมาใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพสูง มีการเผาไหม้สมบูรณ์
- ลดการสร้างก๊าซเรือนกระจก ซึ่งเป็นสาเหตุของภาวะโลกร้อน
- มีความปลอดภัยสูงในการใช้งาน เนื่องจากเบากว่าอากาศ จึงลอยขึ้นเมื่อเกิดการรั่ว
- มีราคาถูกกว่าเชื้อเพลิงปิโตรเลียมอื่นๆ เช่น น้ำมัน น้ำมันเตา และก๊าซปิโตรเลียมเหลว
- สามารถสร้างมูลค่าเพิ่ม ช่วยขับเคลื่อนการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศ
- ก๊าซธรรมชาติส่วนใหญ่ที่ใช้ในประเทศไทยผลิตได้เองจากแหล่งในประเทศ
จึงช่วยลดการนำเข้าพลังงานเชื้อเพลิงอื่นๆ และประหยัดเงินตราต่างประเทศได้มาก

การใช้ก๊าซธรรมชาติสำหรับรถยนต์ (NGV )

Natural Gas for Vehicles ( NGV ) คือ ก๊าซธรรมชาติที่ใช้เป็นเชื้อเพลิงสำหรับยานยนต์
โดยก๊าซ NGVนี้มีมีส่วนประกอบหลักคือ ก๊าซมีแทนที่มีคุณสมบัติเบากว่าอากาศ
ส่วนใหญ่จะมีการใช้ อยู่ในสภาพเป็นก๊าซที่ถูกอัดจนมีความดันสูง (ประมาณ 3,000 ปอนด์ ต่อ ตารางนิ้ว)
เก็บไว้ในถังที่มีความแข็งแรง ทนทานสูงเป็นพิเศษ
เช่น เหล็กกล้า บางครั้งเรียกก๊าซนี้ว่า CNG ( Compressed Natural gas ) หรือ
ก๊าซธรรมชาติอัด การใช้ก๊าซธรรมชาติเป็นเชื้อเพลิงสำหรับรถยนต์
มีข้อดีคือ เกิดการเผาไหม้สมบูรณ์ ให้มลพิษต่ำโดยเฉพาะปริมาณฝุ่นละออง ( Particulate ) และควันดำ

รูปแบบการใช้ NPG กับรถยนต์

• รถยนต์ใช้ก๊าซ NGV เป็นเชื้อเพลิงอย่างเดียว ( Dedicated NGV ) ส่วนใหญ่ผลิตจากโรงงานโดยตรง
ใช้เครื่องยนต์ที่ออกแบบและพัฒนาขึ้นสำหรับใช้ก๊าซธรรมชาติโดยเฉพาะ
• รถยนต์ใช้ก๊าซ NGV ระบบเชื้อเพลิงทวิ ( Bi-Fuel System ) ซึ่งระบบที่สามารถเลือกใช้น้ำมันเบนซินหรือใช้ NGV เป็นเชื้อเพลิงได้โดยเพียงแต่ปรับสวิตช์เลือกใช้เชื้อเพลิงเท่านั้น
• รถยนต์ใช้ก๊าซ NGV ระบบเชื้อเพลิงผสม ( Dual-fuel system )
 ซึ่งเป็นระบบใช้น้ำมันดีเซล ผสมก๊าซ NGV โดยใช้ร่วมกัน

1. ระบบความปลอดภัย ความปลอดภัยของระบบเชื้อเพลิงก๊าซ ( NGV SAFETY ADVICE )
ระบบ BRC / NGV ได้ถูกออกแบบตามมาตรฐานที่ให้ความปลอดภัยสูง
ตามมาตรฐานความปลอดภัยของยุโรป ECE R110
ทำให้รถของท่านมีความปลอดภัยสูงสุดและทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ

ก๊าซธรรมชาติ เป็นก๊าซประเภท ( NON - TOXIC)
และไม่เป็นอันตรายต่อการสูดหายใจเข้าไปในปริมาณความเข้มข้นต่ำ
และก๊าซธรรมชาติมีน้ำหนักเบากว่าอากาศ
ดังนั้นเมื่อมีการรั่วตามจุดข้อต่อต่าง ๆ ก๊าซธรรมชาติจะลอยขึ้นสู่อากาศไม่สะสมในรถยนต์

• กรณีที่สงสัย หรือพบว่ามีการรั่วไหลของก๊าซธรรมชาติ ควรจอดรถในที่โล่ง ,
ดับเครื่องยนต์และปิดวาล์วมือที่ถังบรรจุก๊าซธรรมชาติ
จากนั้นปรับไปใช้เชื้อเพลิงแก๊สโซลีน และนำรถยนต์ของท่านไป
ตรวจสอบจากผู้เชี่ยวชาญที่ได้มาตรฐาน

• เมื่อเติมก๊าซธรรมชาติให้เปิด ฝาครอบพลาสติกที่ครอบหัวเติมก๊าซ
จะมีสวิตช์ที่การทำงานตัดระบบของเครื่องยนต์โดยอัตโนมัติ เครื่องยนต์จะสตาร์ทไม่ติด

2. การซ่อมบำรุงการปรับเปลี่ยน (CONVERSION MAINTENANCE)
อุปกรณ์เสริมเพื่อใช้เชื้อเพลิงก๊าซธรรมชาติในรถของท่าน ต้องการการซ่อมบำรุงเพียงเล็กน้อยเท่านั้นคำแนะนำนี้จะช่วยให้รถของท่านทำงานด้วยสมรรถนะที่ดีที่สุด

การตรวจสอบระยะ 1,000 กิโลเมตร
เมื่อเครื่องยนต์ติดตั้งระบบ NGV และใช้งานแล้วประมาณ 1,000 กิโลเมตร
 กรุณานำรถเข้าศูนย์เพื่อทำการ ปรับตั้ง (JUNE UP) และเพื่อตรวจสอบการทำงานอีกครั้งทั้งระบบ โปรดติดต่อกับผู้เชี่ยวชาญ หรือศูนย์บริการเพื่อทำการตรวจสอบรถของท่าน
( ดูรายการตรวจสอบที่ 1000 กิโลเมตร ในหัวข้อตารางการซ่อมบำรุง )

การตรวจสอบประจำปี
การตรวจสอบระบบเชื้อเพลิงก๊าซธรรมชาติ นั้นควรมีการตรวจสอบทุกปี
( ดูรายการตรวจสอบประจำปี ในหัวข้อตารางการซ่อมบำรุง )

ถังบรรจุเชื้อเพลิงก๊าซธรรมชาติ

ชิ้นส่วนอุปกรณ์ ระยะเวลา
- รักษาระบบการจุดระเบิด
(IGNITION SYSTEM) ให้อยู่ในสภาพที่สมบูรณ์
(ดูตารางการซ่อมบำรุงจาก คู่มือการใช้รถของท่าน)
- เปลี่ยนน้ำมันเครื่อง ตามระยะเวลาที่บริษัทผู้ผลิตแนะนำ
- เปลี่ยนกรองอากาศ ทุก20,000-30,000กิโลเมตรหรือตามความจำเป็น
- ทำความสะอาดกรองอากาศ ทุก ๆ อาทิตย์
- เปลี่ยนกรองก๊าซ NGV ทุก 40,000 กิโลเมตร หรือทุก 1 ปี
- เปลี่ยนหัวเทียน ทุกๆ30,000 กิโลเมตร
- ตรวจสอบข้อต่อและอุปกรณ์ NGV
(ยกเว้นส่วนอุปกรณ์ไฟฟ้า) ด้วยน้ำสบู่ทุก ๆ เดือน
- ทำการใช้ระบบเชื้อเพลิง อย่างน้อย 10 กิโลเมตร/วัน
- ตรวจสอบตั้งค่าการทำงานในระบบเชื้อเพลิงNGV เมื่อมีการซ่อมแซมเครื่องยนต์ใหม่
- การตรวจสอบถังบรรจุเชื้อเพลงก๊าซธรรมชาติ NGV ต้องทำการตรวจและรับรอง ทุกๆ 5 ปี

ก๊าซปิโตเลียมเหลว กับ ก๊าซหุงต้ม ( LPG )
ก๊าซหุงต้ม มีชื่อเป็นทางการว่าก๊าซปิโตรเลียมเหลว ( liquefied petroleum gas : LPG ) หรือเรียกย่อๆ ว่า แอลพีจี เป็นผลิตภัณฑ์ที่ได้จากการแยกน้ำมันดิบในโรงกลั่นน้ำมันหรือการแยกก๊าซธรรมชาติ
ในโรงแยกก๊าซธรรมชาติ ก๊าซปิโตรเลียมเหลวประกอบด้วยส่วนผสมของไฮโดรคาร์บอน 2 ชนิด
คือ โพรเพนและบิวเทน ในอัตราส่วนเท่าใดก็ได้ หรืออาจจะเป็นโพรเพนบริสุทธิ์ 100% หรือบิวเทนบริสุทธิ์ 100% ก็ได้ สำหรับในประเทศไทยก๊าซหุงต้มส่วนใหญ่ได้จากโรงแยกก๊าซธรรมชาติโดยใช้อัตราส่วนผสมของโพรเพน
 และบิวเทนประมาณ 70:30 ซึ่งจะให้ค่าความร้อนที่สูง ทำให้ผู้ใช้ประหยัดเวลาและค่าเชื้อเพลิง
ก๊าซปิโตรเลียมเหลวสามารถใช้เป็นเชื้อเพลิงในการหุงต้ม ในครัวเรือน ในโรงงานอุตสาหกรรม และในยานพาหนะได้ เช่นเดียวกับก๊าซธรรมชาติที่สามารถใช้เป็นเชื้อเพลิงในการผลิตกระแสไฟฟ้า ในโรงงานอุตสาหกรรม และในยานพาหนะ แต่ในประเทศไทยยังไม่มีการนำก๊าซธรรมชาติมาใช้งานในครัวเรือนโดยตรง
ด้วยคุณสมบัติในการเป็นเชื้อเพลิงติดไฟของก๊าซธรรมชาติและก๊าซหุงต้ม เพื่อความปลอดภัย ผู้ใช้ต้องใส่ใจในการปฏิบัติตามกฎความปลอดภัยในการใช้งานอย่างเคร่งครัด

คุณสมบัติทั่วไปของ LPG
• เป็นสารประกอบไฮโดรคาร์บอน ประกอบด้วยก๊าซโพรเทนและนิวเทน เป็นหลัก
• ไม่มีกลิ่น ไม่มีสี ปราศจากพิษ ( แต่โดยทั่วไปจะเติมสารเคมีเพื่อความปลอดภัย )
• หนักกว่าอากาศ
• ติดไฟได้ในช่วงของการติดไฟที่ 2–15 % ของปริมาณในอากาศ และอุณหภูมิที่ติดไฟได้เองคือ 400 c ํ

คุณประโยชน์ของก๊าซ LPG
• เป็นเชื้อเพลิงที่นำมาใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงมีการเผาไหม้สมบูรณ์
• ลดการสร้างก๊าซเรือนกระจก ซึ่งเป็นสาเหตุของภาวะไอกรีน
• มีราคาถูก 9.5 ( 05/08/48 )
• ก๊าซอยู่ในสภาพแรงดันต่ำ 180 psi
• อัตราการสิ้นเปลืองก๊าซเทียบเท่ากับการใช้น้ำมันเบนซิน
• อุปกรณ์มีราคาถูกกว่าอุปกรณ์ก๊าซ NGV

ข้อเปรียบเทียบ
ก๊าซธรรมชาติ
ก๊าซหุงต้ม (LPG)

ความปลอดภัย มีความปลอดภัยสูงเนื่องจาก เบากว่าอากาศเมื่อเกิดการรั่วไหล จะลอย ขึ้นสู่อากาศทันที
เนื่องจากหนักกว่าอากาศ เมื่อเกิดการรั่วไหลจะกระจายอยู่ตามพื้นราบ
ความพร้อมในการนำมาใช้งาน สถานะเป็นก๊าซนำไปใช้ได้เลย สถานะเป็นของเหลว ต้องทำให้เป็นก๊าซ ก่อนนำไปใช้งาน
ประสิทธิภาพการเผาไหม้ เผาไหม้ได้สมบูรณ์ เผาไหม้ได้สมบูรณ์
คุณลักษณะของเชื้อเพลิง ไม่มีสี ไม่มีกลิ่นเผาไหม้
ปราศจากเขม่าและกำมะถัน ไม่มีสี ไม่มีกลิ่น แต่โดยทั่วไป
จะเติมสารเคมีเพื่อความปลอดภัย
จำนวนสถานีบริการ 36 แห่ง ( กค 48) กว่า 200 แห่งทั่วประเทศ

1. ระบบความปลอดภัย ความปลอดภัยของระบบเชื้อเพลิงก๊าซ ( LPG SAFETY ADVICE )
ระบบ LPG ซึ่งผลิตโดย BRC ได้ถูกออกแบบตามมาตรฐานที่ให้ความปลอดภัยสูง ตามมาตรฐานความปลอดภัยของยุโรป ECE 67 ซึ่งทำให้รถของท่านมีความปลอดภัยสูง และทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ
• กรณีที่สงสัย หรือพบว่ามีการรั่วไหลของแก๊ส ควรปฏิบัติดังนี้
1.ดับเครื่องยนต์ และเคลื่อนย้ายไปที่อากาศถ่ายเท
2.ปิดวาล์วทันทีเมื่อพบแก๊สรั่ว (มีกลิ่นเหม็น) หรือ ได้ยินเสียงรั่วซึม
3.หยุดการกระทำที่อาจเกิดประกายไฟ ตรวจหาจุดรั่วซึมและแก้ไขจนกว่ามีการรั่วซึม
4.หากทำการแก้ไขด้วยตัวเองไม่ได้ทำการสับสวิทช์มาใช้เบนซินและนำรถมาซ่อมที่ศูนย์ติดตั้ง

2. การซ่อมบำรุงการปรับเปลี่ยน (CONVERSION MAINTENANCE)
อุปกรณ์เสริมเพื่อใช้เชื้อเพลิงแก๊ส LPG ในรถของท่าน ต้องการการซ่อมบำรุงเพียงเล็ก น้อยเท่านั้น คำแนะนำนี้จะช่วยให้รถของท่านทำงานด้วยสมรรถนะที่ดีที่สุด
ตารางการดูแลและบำรุงรักษาที่ควรทำเป็นประจำ
(REGULAR MAINTENANCE)

ชิ้นส่วนอุปกรณ์
ระยะเวลา

- รักษาระบบการจุดระเบิด (IGNITION SYSTEM)
ให้อยู่ในสภาพที่สมบูรณ์ ( ดูตารางการซ่อมบำรุงจาก คู่มือการใช้รถของท่าน)

- เปลี่ยนน้ำมันเครื่อง
ตามระยะเวลาที่บริษัทผู้ผลิตแนะนำ

- เปลี่ยนกรองอากาศ
ทุก 20,000- 30,000 กิโลเมตร หรือตามความจำเป็น

- ทำความสะอาดกรองอากาศ
ทุก ๆ อาทิตย์

- เปลี่ยนกรองก๊าซ LPG
ทุก 40,000 กิโลเมตร หรือทุก 1 ปี
- เปลี่ยนหัวเทียน
ทุก ๆ 30,000 กิโลเมตร

- ตรวจสอบข้อต่อและอุปกรณ์ LPG
(ยกเว้นส่วนอุปกรณ์ไฟฟ้า)
ด้วยน้ำสบู่ทุก ๆ เดือน

- ทำการใช้ระบบเชื้อเพลิง
อย่างน้อย 10 กิโลเมตร/วัน

- ตรวจสอบตั้งค่าการทำงานในระบบเชื้อเพลิงLPG
เมื่อมีการซ่อมแซมเครื่องยนต์ใหม่

-การตรวจสอบถังบรรจุเชื้อเพลิงก๊าซธรรมชาติ
อายุไม่เกิน 10 ปี
( ไม่ต้องตรวจและทดสอบ )
อายุเกิน 10 ปี
( ต้องตรวจและทดสอบทุก 5 ปี )
NGV. และ LPG คืออะไรและก๊าซทั้งสองชนิดแตกต่างกันอย่างไร
ก๊าซ เอ็นจีวี ย่อมาจากภาษาอังกฤษว่า Natural Gas for Vehicles
หรือก๊าซธรรมชาติที่นำมาใช้เป็นเชื้อเพลิง โดยมีส่วนประกอบหลักคือก๊าซมีเทน มีคุณสมบัติเบากว่าอากาศ ส่วนใหญ่จะใช้งานในสภาพที่ถูกอัดจนมีความดัน 3,000 ปอนด์ต่อตารางนิ้ว
 จึงต้องเก็บไว้ในถังที่มีความแข็งแรงทนทานสูงเป็นพิเศษ บางครั้งเรียกว่า
ก๊าซซีเอ็นจี CNG ซึ่งย่อมาจาก Compressed Natural Gas
ก๊าซเอ็นจีวี มีแหล่งผลิตจากในประเทศคือจากบ่อก๊าซต่างๆ ในอ่าวไทย
ที่การปิโตรเลียมแห่งประเทศไทยดำเนินการอยู่
คาดคะเนว่ามีสำรองใช้ในประเทศได้ประมาณ 50 ปี และยังซื้อจากแหล่งของเพื่อนบ้านได้อีก
 เช่นจากแหล่งในอ่าวเมาะตะมะของพม่า

สำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน ให้ข้อมูลว่า
ข้อดีของก๊าซเอ็นจีวีที่เด่นชัดคือเป็นพลังงานสะอาดที่ช่วยรักษาสิ่งแวดล้อมของประเทศ
และราคาถูกกว่าเบนซินและดีเซลมาก เพราะราคาเพียง 8.50 บาทต่อกิโลกรัมเท่านั้น ส่วนเรื่องความปลอดภัยนั้นหายห่วงเพราะก๊าซเอ็นจีวีเบากว่าอากาศ
เวลาเกิดการรั่วไหลก็จะลอยสู่ท้องฟ้า ที่สำคัญติดไฟยาก เพราะต้องใช้อุณหภูมิสูงถึง 540 องศาเซลเซียส จึงมีความปลอดภัยกว่าเมื่อเทียบกับเชื้อเพลิงอีกหลายประเภท อย่างไรก็ตาม การติดตั้งระบบก๊าซเอ็นจีวีภายในรถยนต์ยังมีค่าใช้จ่ายสูงและปั๊มที่ให้บริการยังไม่แพร่หลาย

ส่วนก๊าซแอลพีจี LPG ย่อมาจาก Liquefied Petroleum Gas มีชื่อเป็นทางการคือก๊าซปิโตรเลียมเหลว หรือที่รู้จักกันในนามก๊าซหุงต้มที่ใช้ในครัวนั่นเอง มีส่วนผสมของก๊าซโพรเพน กับก๊าซบิวเทน ซึ่งแยกออกมาจากก๊าซธรรมชาติโดยกระบวนการของโรงแยกก๊าซ

ก่อนหน้านี้เมื่อได้รับความเดือดร้อนจากราคาน้ำมันที่แพงขึ้นจึงได้มีผู้ดัดแปลงเครื่องยนต์ของแท็กซี่
เพื่อติดตั้งถังก๊าซเพื่อใช้แอลพีจีเป็นเชื้อเพลิง
ข้อดีของการติดตั้งระบบเครื่องยนต์ใช้ก๊าซหุงต้มนี้จะเสียค่าใช้จ่ายน้อยกว่าระบบเอ็นจีวี
คืออยู่ที่ 2-3 หมื่นบาทต่อคัน ขณะที่ระบบเอ็นจีวีเสียค่าใช้จ่าย 4-5 หมื่นบาทต่อคัน
และแอลพีจีจะวิ่งได้ระยะทางมากกว่าก๊าซเอ็นจีวี ทำให้ไม่ต้องหาปั๊มเติมบ่อยๆ
ส่วนข้อเสียคืออันตรายมากหากก๊าซรั่ว เนื่องจากจุดไฟติดง่าย

อย่างไรก็ตาม เนื่องจากก๊าซเอ็นจีวีเป็นคนละตัวกับแอลพีจีหรือก๊าซหุงต้ม
โดยก๊าซหุงต้มสามารถใช้ถังบรรจุที่มีความดันใช้งานเพียง 110-120 ปอนด์ต่อตารางนิ้ว
ขณะที่ถังบรรจุก๊าซเอ็นจีวีต้องใช้ความดันระดับสูงขนาด 3,000 ปอนด์ต่อตารางนิ้ว
 ดังนั้น ถังสำหรับก๊าซหุงต้มจะนำมาใช้กับก๊าซเอ็นจีวีไม่ได้
เพราะจะทำให้เกิดอุบัติเหตุระเบิดได้เหมือนอย่างที่เคยปรากฏเป็นข่าวมาแล้วหลายครั้ง

ข้อมูลเพิ่มเติม

ก๊าซธรรมชาติ(NGV/LPG)คืออะไร

อะไรคือ LPG ?

เวลาผู้บริหารบ้านเมืองมานำเสนอข่าวเกี่ยวกับพลังงานทางเลือก...
มันเหมือน...เด็กปัญญาอ่อนเลย...
ตกลงชาวบ้านก็ยัง งง ว่า....
จะใช้อะไรดีในการประหยัดพลังงานทางเลือก
เดี๋ยวจะมาอีกแล้ว E 20
ผมนั่ง taxi คนขับถามผมว่า
อ้าย NGV LPG ไบโอดีเซล แก๊สโซฮอล มันคืออะไร
ผมบอก ไม่เคยรู้เลย ?
ต้องมานั่งศึกษา ?
   


บันทึกการเข้า

mbsamart
บุคคลทั่วไป
« ตอบ #1 เมื่อ: กรกฎาคม 03, 2008, 10:14:33 am »

พลังงานทางเลือก มีให้เลือกมากจัง แต่เลือกแบบจองไว้ก่อนยังหาใช้งานจริงๆ ลำบาก อย่าง NGV จังหวัดที่ผมอยู่รู้สึกมีอยู่ปั๊มเดียวเอง จองๆๆ ฮ่ะๆๆ
ประเทศไทย.. ถ้าถามผมว่าจะช่วยประหยัดน้ำมันยังไง ผมจะตอบว่าขับรถให้ผิดกฎดีกว่า ถ้าตามกฎเมื่อไหร่ไปยูเทิร์นกลับมากินน้ำมันเกือบลิตร..
ประเทศไทย.. ถ้าผมเป็นนักการเมืองแล้วมีคนถามว่าจะทำยังไงให้บ้านเมืองพัฒนา ผมจะฆ่าตัวตาย เพราะถ้านักการเมืองตายไปแล้วบ้านเมืองคงเจริญกว่านี้
บันทึกการเข้า
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by MySQL Powered by PHP Powered by SMF 1.1 RC2 | SMF © 2001-2006, Lewis Media

lsv2555Please follow the new website at https://www.pohchae.com

Valid CSS!