ใครเอาน้ำมันคนไทยไป
มกราคม 07, 2025, 06:45:52 am *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
   หน้าแรก   ช่วยเหลือ เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก  
หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: ใครเอาน้ำมันคนไทยไป  (อ่าน 3398 ครั้ง)
b.chaiyasith
แก้ปัญหาไม่ตกคุยกันเวลางานline:chiabmillion
.กลุ่มผู้มีน้ำใจงาม.
member
*

คะแนน650
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 3008


ไม้ดีไม่ลอยน้ำมาไกล


อีเมล์
« เมื่อ: กุมภาพันธ์ 28, 2013, 02:16:14 pm »

วันพุธที่ 27 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556
ทรัพย์สินของแผ่นดิน พลังงานของชาติ ...จะปล่อยให้คนไม่กี่ตระกูล ครอบครองและกอบโกยผลประโยขน์ - ทวงคืน ปตท.. เพื่อให้เป็นสมบัติของลูกหลานคนไทยทุกคน...◕‿◕..
ก๊าซฯ จากอ่าวไทย ถูกสุด สำหรับโรงไฟฟ้า


ปริมาณการใช้ไฟฟ้าของไทยจะเพิ่มสูงขึ้นตาม GDP และปัจจัยเสริมต่างๆ เช่น การเติบโตภาคอุตสาหกรรม และโครงการรถไฟฟ้า 10 สาย จึงปฏิเสธไม่ได้ที่ไทยต้องเร่งสรรหากำลังผลิตไฟฟ้าเพิ่มเพื่อลดความเสี่ยง จากเหตุแบล็คเอาท์ที่อาจก่อให้เกิดความเสียหายอย่างรุนแรงต่อเศรษฐกิจ  เป็นภาระให้ EGAT ต้องหาวิธีเพิ่มโรงไฟฟ้าขนาดใหญ่ในประเทศเพื่อรองรับปริมาณการใช้ไฟฟ้าที่จะ สูงขึ้นดังกล่าว ในขณะเดียวกัน EGAT ก็ต้องเผชิญกับแรงต่อต้านการสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหินและนิวเคลียร์ที่ค่อนข้าง รุนแรง  จึงดูเหมือนว่า โรงไฟฟ้าก๊าซธรรมชาติอาจเป็นทางออกทางเดียวของไทย ทั้งๆ ที่ในปัจจุบัน ไทยใช้เชื้อเพลิงก๊าซธรรมชาติผลิตไฟฟ้าในสัดส่วนที่สูงถึง 70% ของเชื้อเพลิงทั้งหมดอยู่แล้ว ในอนาคตเมื่อก๊าซธรรมชาติที่ผลิตในประเทศหมดลง อุตสาหกรรมผลิตไฟฟ้าของไทยคงต้องพึ่งพาการนำเข้า LNG ในสัดส่วนที่สูงขึ้นอย่างหลีกเลี่ยงมิได้


LNG นำเข้าจำเป็นต้องมีสัดส่วนมากขึ้นในการผลิตไฟฟ้าเพราะปริมาณการผลิตก๊าซธรรมชาติของไทยไม่เพียงพอสำหรับอนาคต
ก๊าซ ธรรมชาติที่ใช้ในไทยมาจาก 3 แหล่ง หลักๆ คือ อ่าวไทย พม่า และ นำเข้าในรูปของก๊าซอัดเหลว (Liquefied Natural Gas: LNG) จากต่างประเทศ เช่น อินโดนีเซีย ไนจีเรีย เปรู กาตาร์ และรัสเซีย โดยประมาณการสัดส่วนของ ก๊าซฯ ที่ใช้ผลิตไฟฟ้าในปี 2012 ได้แก่ ก๊าซฯ จากอ่าวไทย 79% ก๊าซฯ จากพม่า 18% และ LNG 3%  แต่ก๊าซฯ จากอ่าวไทยซึ่งเป็นแหล่งก๊าซฯ หลักนั้นกำลังร่อยหรอลง โดย Worst-case Scenario ตามคาดการณ์ของสถาบันวิจัยทั่วโลกคือมีแนวโน้มที่ก๊าซฯ จากอ่าวไทยจะไม่มีเหลือใช้ภายหลังปี 2020 นอกจากนั้นแล้ว ยังมีความเสี่ยงจากการระงับการต่อสัญญาซื้อขายก๊าซฯ จากพม่าที่จะหมดสัญญาราวปี 2030 อีกด้วย เนื่องจากความต้องการใช้ไฟฟ้าในพม่าก็กำลังเติบโตในอัตราเร่งตัวเช่นกัน ถึงแม้ไทยจะมีแผนการนำเข้าก๊าซฯ ผ่านท่อจากกัมพูชา ทว่ายังขาดความแน่นอนจากรัฐบาลทั้งสองฝ่าย จึงดูเหมือนอนาคตไทยจะต้องติดอยู่กับการพึ่งพา LNG มากขึ้นอีกหลายเท่าตัว

ทำให้ราคา pool gas สูงขึ้นซึ่งนั่นคือต้นทุนของผู้ผลิตไฟฟ้า
ราคา ก๊าซฯ ที่ผู้ผลิตไฟฟ้ารับซื้อนั้นเรียกว่า pool gas ประกอบไปด้วย 1) ก๊าซฯ จากอ่าวไทยที่เหลือจากการจำหน่ายให้โรงแยกก๊าซฯ ซึ่งมีราคาถูกที่สุด 2) ก๊าซฯ ที่นำเข้าตามท่อก๊าซฯ ที่เชื่อมโยงกับต่างประเทศ เช่น ท่อก๊าซฯ ที่เชื่อมต่อกับพม่า ซึ่งแพงกว่าก๊าซฯ จากอ่าวไทยราว 40% และ 3) LNG ซึ่งมีราคาสูงที่สุด โดยปัจจุบันราคาตลาดของ LNG ในภูมิภาคเอเชียสูงกว่าก๊าซฯ จากอ่าวไทยเกือบเท่าตัว จากต้นทุนค่าขนส่งและค่าแปรสถานะก๊าซฯ ให้อยู่ในรูปของเหลวเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการขนส่ง และค่าแปลง LNG ให้กลับมาอยู่ในรูปของก๊าซฯ ก่อนนำไปใช้เป็นเชื้อเพลิง ยิ่งไปกว่านั้น อุปสงค์ที่สูงขึ้นจากแนวโน้มความต้องการ LNG ของญี่ปุ่นเพื่อทดแทนพลังงานนิวเคลียร์ บวกกับการที่ผู้ส่งออกในภูมิภาคหลายรายที่เริ่ม “กอดแหล่งก๊าซฯ” ของตนเพื่อใช้ในประเทศมากขึ้น ทำให้ราคา LNG มีแนวโน้มสูงขึ้นในระยะปานกลาง
อย่าง ไรก็ตาม ทิศทางของราคาอาจมีแนวโน้มลดลงได้ในระยะยาวด้วยอุปทานก๊าซฯ ที่เพิ่มขึ้นจากแหล่ง shale gas และก๊าซฯ ประเภทอื่น (unconventional gas) ที่ค้นพบใหม่ ซึ่งอุปทานที่เพิ่มขึ้นเหล่านี้จะสร้างแรงกดดันต่อราคา LNG โดย Facts Global Energy (FGE) ผู้เชี่ยวชาญด้านพลังงานในเอเชีย ได้มีการคาดการณ์ไว้ว่า ราคา LNG ในภูมิภาคเอเชียถึงแม้จะมีแนวโน้มสูงขึ้นถึง 18 ดอลลาร์สหรัฐฯ ต่อ MMBTU ในปี 2020 จากราคาปัจจุบันที่ประมาณ 17 ดอลลาร์สหรัฐฯ แต่มีโอกาสที่ราคาจะปรับตัวลงมาอยู่ที่ 15 ดอลลาร์สหรัฐฯ ได้ในปี 2030 แม้ว่าราคา LNG ในอนาคตจะมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นหรือลดลง คาดว่าไม่น่าต่ำไปกว่าราคาก๊าซฯ ในอ่าวไทยและราคาก๊าซฯ จากพม่าที่ใช้อยู่เป็นหลักในปัจจุบัน

ส่งผลให้ค่าไฟฟ้าที่ผู้บริโภคต้องแบกรับภาระอาจสูงขึ้นเกือบเท่าตัวได้
SCB EIC ได้ประมาณการค่าไฟฟ้าที่จะเพิ่มขึ้นในปี 2020 และในปี 2030 โดยอิงฐานจากราคาของปี 2012 และให้ปัจจัยอื่นๆ คงที่ โดยในแต่ละปีปรับเพียง 1) ราคาก๊าซฯ ทั้ง 3 ประเภทตามสมมติฐานซึ่งยึดประมาณการราคาของ FGE สำหรับราคา LNG  2) สัดส่วนของก๊าซฯ ทั้ง 3 ประเภทตาม Worst-case Scenario (รูปที่ 1)  และ 3) ปริมาณความต้องการใช้ไฟฟ้าซึ่งยึดตามแผน PDP 2010 ฉบับปรับปรุงครั้งที่ 3 (รูปที่ 1) จากการประมาณการพบว่า ราคาค่าไฟฟ้าจะเพิ่มขึ้นจากค่าเฉลี่ยปี 2012 ซึ่งอยู่ที่ราว 3.44 บาทต่อหน่วย เป็น 4.85 บาทต่อหน่วยในปี 2020 และ 6.12 บาทต่อหน่วยในปี 2030 (รูปที่ 2)  โดยอัตราค่าไฟฟ้าที่เพิ่มขึ้นเฉลี่ยปีละ 15 สตางค์ในช่วงปี 2012-2030 จะเป็นการคงแนวโน้มอัตราการเติบโตของค่าไฟฟ้าในช่วง 3 ปีที่ผ่านมาซึ่งอยู่ที่ราว 18 สตางค์ต่อปี เพื่อให้เห็นภาพที่ชัดเจนขึ้น ในปัจจุบันถ้าผู้บริโภคภาคครัวเรือนใช้ไฟฟ้า 300 หน่วย จะมีภาระค่าไฟฟ้าประมาณ 1,100 บาทต่อเดือน แต่ในปี 2030 จะต้องจ่ายค่าไฟฟ้าเป็นเงิน 2,000 บาทต่อเดือนหากใช้ไฟฟ้าในปริมาณเท่าเดิม  ซึ่งการประมาณการอัตราค่าไฟฟ้าที่เพิ่มขึ้นของ SCB EIC ยังไม่ได้นับรวมถึงต้นทุนการสร้างโรงไฟฟ้าเพิ่ม และต้นทุนจากพลังงานหมุนเวียนที่จะมีสัดส่วนและราคาที่เพิ่มขึ้น ซึ่งผู้ใช้ไฟฟ้าจะเป็นผู้ที่แบกรับภาระมากที่สุดเนื่องจากการผลักภาระจาก EGAT และผู้ผลิตไฟฟ้าเอกชน

ถึงแม้ว่าก๊าซฯ จากอ่าวไทยใกล้จะหมดลง ทว่าโรงไฟฟ้าก๊าซธรรมชาติก็เป็นหนึ่งในทางเลือกที่ดีที่สุด
โรง ไฟฟ้าก๊าซธรรมชาติเหมาะแก่การเป็นโรงไฟฟ้าฐาน (Base Load Plant) ที่สามารถเดินเครื่องผลิตไฟฟ้าได้ตลอดเวลา และมีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมต่ำที่สุดในกลุ่มโรงไฟฟ้า Base Load  อีกทั้งยังได้รับการต่อต้านจากมวลชนน้อยกว่าโรงไฟฟ้าถ่านหิน และนิวเคลียร์  ทั้งนี้การผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนเป็นอีกทางเลือกหนึ่ง แต่ยังไม่เหมาะสมที่จะเป็น โรงไฟฟ้า Base load ในปัจจุบัน เนื่องจากต้นทุนในการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนบางประเภทยังสูงกว่ากลุ่ม Base Load อยู่มาก และส่วนใหญ่ยังเป็นโรงไฟฟ้าขนาดเล็กที่ผลิตไฟฟ้าในปริมาณน้อยจึงมีต้นทุนสูง  นอกจากนี้พลังงานหมุนเวียนยังมีปัญหาอื่นๆ เช่นชีวมวลยังมีความเสี่ยงด้านความผันผวนด้านอุปทานของเชื้อเพลิง  ในขณะที่โรงไฟฟ้าแสงอาทิตย์ไม่สามารถผลิตไฟฟ้าได้ตลอด 24 ชั่วโมง เป็นต้น

อุตสาหกรรมที่ใช้ไฟฟ้าเป็นจำนวนมาก รวมทั้งภาคครัวเรือนควรจะต้องปรับตัวจากค่าไฟฟ้าที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง
อุตสาหกรรม ผลิตอาหาร ค้าส่งค้าปลีก และอุตสาหกรรมเหล็ก ซึ่งมีอัตราการใช้ไฟฟ้าค่อนข้างสูง สามารถลงทุนเพิ่มประสิทธิภาพการใช้ไฟฟ้าได้ เช่น การเข้าร่วมทุนกับบริษัทจัดการพลังงาน (ESCO Venture Capital) การเข้าร่วมโครงการ Demand-Side Management Bidding (DSM Bidding) เพื่อขอรับเงินสนับสนุนลงทุนลดการใช้ไฟฟ้าจากภาครัฐ และการเพิ่มกำลังการผลิตในช่วงกลางคืนหรือเสาร์อาทิตย์ (Off-Peak) ซึ่งมีค่าไฟฟ้าที่ถูกกว่า   ส่วนทางด้านภาคครัวเรือนอาจมีแนวทางปรับตัวไม่มากนักนอกเหนือไปจากการปรับ เปลี่ยนพฤติกรรมการดำเนินชีวิตประจำวันเพื่อลดการใช้ไฟฟ้าอย่างมี ประสิทธิภาพ  โดยหากทั้งประเทศสามารถลดการใช้ไฟฟ้าตามแผนที่รัฐตั้งเป้าไว้ที่ 25% ได้จริง จะเห็นว่าสามารถช่วยลดภาระค่าไฟฟ้าได้ค่อนข้างมาก  โดยคาดว่าราคาค่าไฟฟ้าจะปรับขึ้นเป็นราว 3.65 บาทต่อหน่วยในปี 2020 และ 4.61 บาทต่อหน่วยในปี 2030 ตาม Efficient Case ดังรูป

อีกทางเลือกหนึ่งที่ผู้ประกอบการภาคอุตสาหกรรมอาจนำมาใช้เพื่อลดต้นทุนนั่นคือการผลิตไฟฟ้าใช้เอง
โรง ไฟฟ้าจากพลังงานชีวมวลมีต้นทุนการผลิตไฟฟ้าราว 3.00-3.50 บาทต่อหน่วย ซึ่งถูกกว่าค่าไฟฟ้าในปัจจุบัน และไฟฟ้าส่วนที่เหลือจากการใช้ยังสามารถนำมาขายเข้าระบบได้อีกด้วย

การนำเข้า LNG เพื่อรองรับการผลิตไฟฟ้าในอนาคตในสัดส่วนที่สูงเช่นนี้ จะทำให้ก๊าซธรรมชาติกลายเป็นหนึ่งในสินค้านำเข้าที่สำคัญของไทย
ปัจจุบัน มูลค่าการนำเข้าก๊าซฯ คิดเป็นประมาณ 2% ของมูลค่าการนำเข้าทั้งหมด แต่ในปี 2030 เมื่อไม่เหลือก๊าซฯ จากอ่าวไทยและพม่าให้ใช้ การนำเข้าก๊าซฯ ทั้งหมดในรูปของ LNG นั้นจะปรับตัวสูงขึ้นถึง 4-5% ของมูลค่าการนำเข้าทั้งหมด (โดยใช้สมมติฐานว่าการเติบโตของมูลค่าการนำเข้าอยู่ที่ 8-10% ต่อปี)


                                                                                                                       

ที่มา
http://thai-energy.blogspot.com/2013/02/blog-post_27.html


บันทึกการเข้า

"CHIAB"
มนุษย์เราแต่ละคน  ต่างไม่รู้ว่ามาจากไหน  ไม่มีใครรู้จักกันมาก่อนเลย  แล้ววันหนึ่งก็มาพบหน้ากัน  สมมุติเป็นพ่อ  เป็นแม่  เป็นเมีย  เป็นสามี  เป็นลูก  อยู่ร่วมกัน  ใช้ชีวิตร่วมกัน และแล้ววันหนึ่ง  ก็แยกย้ายด้วยการ  "ตายจาก"  กันไปสู่  ณ  ที่ซึ่งไม่มีใครได้ตามพบ  คืนสู่ความเป็นผู้ไม่รู้ว่ามาจากไหน  ไปไหน  และคืนสู่ความเป็น  "คนแปลกหน้า"  ซึ่งกันและกันอนันกาลอีกครั้งหนึ่ง...และอีกครั้งหนึ่ง!?
ขอขอบคุณ คุณเปลว สีเงิน ที่ให้ข้อคิดดีๆ

b.chaiyasith
แก้ปัญหาไม่ตกคุยกันเวลางานline:chiabmillion
.กลุ่มผู้มีน้ำใจงาม.
member
*

คะแนน650
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 3008


ไม้ดีไม่ลอยน้ำมาไกล


อีเมล์
« ตอบ #1 เมื่อ: กุมภาพันธ์ 28, 2013, 11:42:30 pm »

ความจริงที่คนไทยไม่เคยรู้ และยากที่จะรู้ แต่สามารถรู้ได้


ความจริงที่คนไทยไม่เคยรู้ และยากที่จะรู้ แต่สามารถรู้ได้
โดย ม.ล. กรกสิวัฒน์ เกษมศรี
___________________ ___________________ ___________________ ___________________ ____
1. ประเทศไทยผลิตน้ำมันดิบ ติดอันดับ 33 ของโลก
ข้อมูลของรัฐบาลประเทศสหรัฐอเมริกา EIA ได้จัดอันดับไทยให้อยู่่ลำดับที่ 24 ของโลกในการผลิตก๊าซธรรมชาติ และลำดับที่ 33 ของโลกในการผลิตน้ำมัน   จากประเทศที่ผลิตน้ำมันกว่า 200 ประเทศ โดยสูงกว่าประเทศบรูไนที่ขึ้นชื่อว่าเป็นเศรษฐีน้ำมัน
 
แต่ทำไมส่วนแบ่ง ผลประโยชน์จากทรัพยากรปิโตรเลียมของไทยจึงต่ำที่สุดในกลุ่มอาเซียน และต่ำกว่าประเทศที่สูบน้ำมันและก๊าซได้น้อยกว่าประเทศไทย เช่น พม่าหรือกัมพูชา Huh?
 สาเหตุเพราะ  ประเทศไทยไม่เคยเจาะสำรวจปริมาณสำรองของแหล่งพลังงาน ทำให้
 ไม่มีข้อมูล โดย ตรง จึงต้องเชื่อข้อมูลที่ได้รับสัมปทานโดยตรง ฝ่ายเดียว ซึ่งต่างจากประเทศอื่นที่ต้องสำรวจศักยภาพปิโตรเลียมก่อนแล้วจึงให้สัมปทาน
การที่มาอ้างว่าไม่มีงบประมาณ ทั้งๆที่ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมากว่า 20 ปี มูลค่าก๊าซและน้ำมันดิบที่สูงกว่า 3.4 ล้าน ล้าน บาท ก็จะสูงกว่าค่าขุดเจาะมาก คือเสียเพียง 3.4 หมื่นล้านบาท  (ซึ่งคิดเป็นเพียง 1%ของรายได้ที่ควรได้ ) แต่กลับไม่ทำ ในขณะที่กัมพูชายังจ้างบริษัทที่ปรึกษาถึง2บริษัทเพื่อมาประเมินศักยภาพ ปิโตรเลียมในประเทศตน (แต่ไทยไม่ทำ)
 
 
2. น้ำมันดิบและก๊าซธรรมชาติบนขวานทองของไทย
ปิโตรเลียม (ก๊าซธรรมชาติและน้ำมันดิบ) ของประเทศไทย มีทั้งบนบกและในทะเล (ข้อมูลที่ยืนยันคือประเทศไทย พบซากฟอสซิลไดโนเสาร์ จำนวนมาก แสดงถึงความอุดมสมบูรณ์ของพื้นที่) ข้อมูลจากองค์กรกลุ่มโอเปกในรายงานประจำปี (Annual Statistical Bulletin 2010/2011) ระบุว่าไทยมีก๊าซธรรมชาติ มากกว่า กลุ่มประเทศโอเปก 8 ประเทศ
ทุกวันนี้ประเทศไทยมีบ่อผลิตน้ำมันดิบและก๊าซธรรมชาติ 2768 แห่ง
 แหล่งปิโตรเลียม
 ล้านลิตรต่อปี
 แหล่งน้ำมันสิริกิติ์ (กำแพงเพชร สุโขทัย พิษณุโลก นครสวรรค์)
 2,000  ล้านลิตรต่อปี
 แหล่งเพชรบูรณ์
 94  ล้านลิตรต่อปี
 แหล่งสุพรรณบุรี
 90  ล้านลิตรต่อปี
 แหล่งเชียงใหม่
 60  ล้านลิตรต่อปี
 แหล่งในทะเล เช่น แหล่งบงกช
 10,000   ล้านลิตรต่อปี

3. ประเทศไทยผลิตก๊าซธรรมชาติ ติดอันดับ 24 ของโลก
 ปัจจุบัน ราชการอ้างว่า ปิโตรเลียมบ่อเล็กกำลังจะหมด แต่จากรายงานประจำปีของกระทรวงพลังงาน พบว่า ปริมาณน้ำมันปิโตรเลียมที่ขุดได้กลับเพิ่มขึ้นตลอดระยะเวลาหลายสิบปีที่ผ่าน มา ข้อมูลการขุดน้ำมันในเดือนพฤษภาคม 2555 คือ 1ล้านบาร์เรล หรือ 160 ล้านลิตรต่อวัน
Census Bureau (หน่วยงาน กระทรวงพาณิชย์สหรัฐ) จัดประเทศไทย ให้อยู่ในกลุ่ม World Major Producer ของก๊าซธรรมชาติ ติดอันดับการผลิตน้ำมัน Top 15% ของโลก แต่ผลประโยชน์ที่กลับคืนสู่ประเทศไทยกลับต่ำกว่า ประเทศที่มีศักยภาพในการผลิตที่ต่ำกว่า
ที่ประเทศสหรัฐ จะมีการทำข้อมูลทรัพยากรปิโตรเลียมอย่างโปร่งใส มีหน่วยงานกลางคอยเก็บข้อมูลเพื่อป้องกันการสร้างผลประโชน์ทับซ้อยของคน บางกลุ่ม นอกจากนั้นสหรัฐ ยังมีระบบที่สามารถตรวจสอบและถ่วงดุลกันได้
ในขณะที่ประเทศไทยกลับเอาผู้มีผลประโยชน์ทางด้าน พลังงาน ไปนั้งกำกับดูแลธุรกิจพลังงาน และคนดูแลเก็ยข้อมูลพลังงานกลับมีผลประโยชน์ร่วมกับผู้รับสัมปทาน  ทำให้งบการเงินของบริษัทขุดเจาะและผู้ค้าน้ำมัน มีกำไรมหาศาลจากปิโตรเลียมของไทย เป็นหลายแสนล้าน
 
4. สหรัฐนำเข้า น้ำมันดิบจากไทย แต่ขายถูกกว่าไทยลิตรละ 10 บาท
คนไทยใช้น้ำมันเบนซิน ดีเซลเพียง 73-75 ล้านลิตร ซึ่งเป็นอัตราคงที่มากว่า 8 ปีแล้ว ไทยส่งออกน้ำมันดิบชั้นดี มีมลภาวะต่ำ ไปขายสหรัฐ  มีข้อมูลในเวบของ Census Bureau (http://www.census.gov) ซึ่งเป็นหน่วยงานของกระทรวงพาณิชย์ สหรัฐ ระบุชัดเจนว่า สหรัฐนำเข้าน้ำมันดิบจากไทยมานานแล้ว
 
ปี 2551 ไทยส่งออกปิโตรเลียม (น้ำมันสำเร็จรูป น้ำมันดิบ ก๊าซธรรมชาติเหลว) รวมเกือบ 300,000 ล้านบาทหรือประมาณ 9,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งเป็นมูลค่าที่มากกว่าข้าวและยางพารา
 
ต้นเดือน มกราคมปี 2555 ไทยส่งออกน้ำมันดิบไปสหรัฐมาถึง 1.2 ล้านบาร์เรล แต่ราคาน้ำมันเบนซินหน้าปั้มของสหรัฐ กลับมีราคาถูกกว่าน้ำมันเบนซินที่ขายในไทยถึงลิตรละ 10-14 บาท ทั้งๆที่สหรัฐเป็นประเทศการค้าเสรี ที่บริษัทพลังงานไม่อุดหนุนราคาน้ำมัน ดังนั้นแม้สหรัฐจะขายในราคานี้ สหรัฐก็ยังมีกำไรแน่นอน

5. ประเทศไทยให้สัมปทานขุดน้ำมันถูกที่สุดแต่ราคาน้ำมัน กลับแพงที่สุดในอาเซียน
นอกจากนี้ ประเทศไทย ยังส่งน้ำมันดิบไปขายให้แก่ประเทศเกาหลีใต้และสิงคโปร์อีกด้วย  ปรากฏว่าประเทศไทยเป็นประเทศที่ให้สัมปทานน้ำมันถูกที่สุด แต่ราคาน้ำมันที่คนไทยซื้อกลับแพงที่สุด
 ประเทศ
 ราคาน้ำมันเบนซิน 95
 ไทย
 44.86  บาท (แพงที่สุด)
มาเลเซีย
 19 บาท
 อินโดนีเซีย
 31.10 บาท
 พม่า
 24 บาท
 แต่ผลประโยชน์จากปิโตรเลียมที่ไทยเก็บได้ เป็นเพียงร้อยละ 30 ของมูลค่าที่แท้จริง   ซึ่งเป็นอัตราที่ต่ำที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งเป็นราคาที่ต่ำมากเมื่อเทียบกับความเป็นแหล่งปิโตรเลียม ที่ติดอันดับโลกของไทย ดังตาราง
 
 
 
 ประเทศ
ลำดับในการเป็นแหล่งผลิตก๊าซธรรมชาติของโลก
 ส่วนแบ่งที่เจ้าของประเทศได้
ผลประโยชน์จากแหล่งน้ำมันของตนเอง
 ไทย
 ลำดับที่  24  ของโลก
 ร้อยละ 30
 โบลิเวีย
 ลำดับที่ 33 ของโลก
 ร้อยละ 82
 พม่า
 ลำดับที่ 36 ของโลก
 ร้อยละ 80-90
 คาซัคสถาน
 ลำดับที่ 42 ของโลก
 ร้อยละ 80
 
 
6. ผลประโยชน์จากแผ่นดินต้องกลับคืนสู่มือประชาชน มิใช่นายทุน
ในประเทศที่เขามีทรัพยากรมากมายแบบประเทศไทยขนาดนี้ เขาจะเอาเงินมาพัฒนาประเทศ ทำให้ประชากรของเขาอยู่ดี กินดี  เรียนฟรี มีการรักษพยาบาลฟรี
แต่เป็นที่น่าเศร้าสำหรับประเทศไทย ที่คนไทยกลับมีชีวิตที่ยากเข็ญ ประชากรส่วนใหญ่มีหนี้สิน อดมื้อกินมื้อ ทำงานหนัก หาเช้ากินค่ำ


7. ประเทศไทยให้สัมปทานขุดน้ำมันถูกที่สุดแต่ราคาน้ำมันกลับแพงที่สุดในอาเซียน
 จะเห็นได้ว่า ระบบสัมปทานน้ำมันดิบและก๊าซปิโตรเลียม ทำให้บริษัทเจ้าของสัมปทานรวย ในขณะที่ประชาชนเจ้าของประเทศ เจ้าของทรัพยากร กลับต้องปากกัดตีนถีบ
กระทรวงพลังงาน เคยชี้แจงต่อคณะกรรมการศึกษาตรวจสอบเรื่องการทุจริต วุฒิสภา โดยกระทรวงพลังงานขอให้เห็นใจบริษัทผู้รับสัมปทานว่า การขุดเจาะและสำรวจพลังงานเป็นเรื่องยากและได้กำไรน้อย ทั้งๆที่ในปัจจุบันความจริงปรากฏว่า บริษัทผู้รับสัมปทาน ได้กำไร หลายแสนล้านบาท
 
คงต้องเป็นหน้าที่ของคนไทยทั้งแผ่นดินแล้วว่า ควรออกมาทวงสิทธิของตนเอง

http://thai-energy.blogspot.com/2013/02/blog-post.html
บันทึกการเข้า

"CHIAB"
มนุษย์เราแต่ละคน  ต่างไม่รู้ว่ามาจากไหน  ไม่มีใครรู้จักกันมาก่อนเลย  แล้ววันหนึ่งก็มาพบหน้ากัน  สมมุติเป็นพ่อ  เป็นแม่  เป็นเมีย  เป็นสามี  เป็นลูก  อยู่ร่วมกัน  ใช้ชีวิตร่วมกัน และแล้ววันหนึ่ง  ก็แยกย้ายด้วยการ  "ตายจาก"  กันไปสู่  ณ  ที่ซึ่งไม่มีใครได้ตามพบ  คืนสู่ความเป็นผู้ไม่รู้ว่ามาจากไหน  ไปไหน  และคืนสู่ความเป็น  "คนแปลกหน้า"  ซึ่งกันและกันอนันกาลอีกครั้งหนึ่ง...และอีกครั้งหนึ่ง!?
ขอขอบคุณ คุณเปลว สีเงิน ที่ให้ข้อคิดดีๆ
ช่างเล็ก(LSV)
Administrator
member
*

คะแนน1346
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 18846


คิดดี ทำดี ชีวิตมีแต่สุข


อีเมล์
« ตอบ #2 เมื่อ: มีนาคม 01, 2013, 12:47:39 pm »

  Cheesy
บันทึกการเข้า
TongTang-LSV team♥
.กลุ่มผู้มีน้ำใจงาม..
member
*

คะแนน985
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 3404



« ตอบ #3 เมื่อ: มีนาคม 03, 2013, 01:56:52 pm »




บันทึกการเข้า
Nattawut-LSV Team
E23IUY
.กลุ่มผู้มีน้ำใจงาม.
member
*

คะแนน808
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 3581


อีเมล์
« ตอบ #4 เมื่อ: มีนาคม 09, 2013, 05:00:01 pm »

วันนี้ผมไปเติมน้ำมัน รถมอเตอร์ไซค์
ผมเติม เบนซิน ออกเทน 95 (ULG 95 RON) ราคาลิตรละ 48.25 บาท
ผมเติมไป 50 บาท (ผมบอกว่าเติม 50 บาทครับ)  แต่เค๊ากดให้แค่ 49 บาท อีก 1 บาท ไปไหนหว่า ทำไมไม่กดเติมให้ 50 บาท 

  
บันทึกการเข้า
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by MySQL Powered by PHP Powered by SMF 1.1 RC2 | SMF © 2001-2006, Lewis Media

lsv2555Please follow the new website at https://www.pohchae.com

Valid CSS!