ผู้สื่อข่าวรายงานในการประชุมสภามหาวิทยาลัยราชภัฎอุดรธานี เมื่อวันที่ 16 สิงหาคม มีการแนะนำนายสุมิตร อิศรางกูร ณ อยุธยา ต่อกรรมการสภาฯ ว่าเป็นผู้ประดิษฐ์อุปกรณ์แยกก๊าซ "ไฮโดรเจน" จากน้ำแล้วนำมาเป็นเชื้อเพลิงกับรถยนต์ โดยมหาวิทยาลัยฯได้แลกเปลี่ยน และสนับสนุนเครื่องมือประกอบชิ้นส่วน และมีแผนถ่ายทอดความรู้ต่อนักศึกษา และบุคคลภายนอก
นายชัยพร รัตนนาคะ อดีต ผวจ.อุดรธานี นายกสภาฯเป็นประธาน ผศ.จรูญ ถาวรจักร อธิการบดี ได้
โดยรถต้นแบบ รถทดสอบ , H2O เทคโนโลยีแห่งอนาคต และ HGV. Hydrogas Vehicle เป็นรถเก๋งนั่ง 4 ประตู ขนาด 2,000 ซีซี. ก่อนที่นายสุมิตร อธิบายสิ่งประดิษฐ์ ตลอดจนขั้นตอนการทำงาน และมีการทดสอบ “ไฮโดรเจน” ที่ได้จากน้ำบริสุทธิ์ ด้วยการนำก๊าซใส่ขวดพลาสติก วางกับพื้นและใช้ไฟทดลองจุด เกิดระเบิดเสียงดัง และขวดกระเด็นไปไกล
นายสุมิตร เปิดเผยว่า สิ่งประดิษฐ์นี้คิดมาเมื่อ 4 ปีก่อน ขณะที่ยังคงทำงานอยู่”นาซ่า” สหรัฐอเมริกา เมื่อ 2 ปีก่อนตัดสินใจซื้อรถคันต้นแบบ เป็นรถใหม่เอี่ยมป้ายแดง โดยได้รับการสนับสนุนงบทั้งหมด จากนายศักดิ์ชัย ตันคงจำรัสกุล นักธุรกิจ จ.อุดรธานี และได้รับความช่วยเหลือเครื่องมือต่างๆ จากมหาวิยาลัยราชภัฎอุดรธานี ซึ่งเคยเรียนอยู่ที่นี่มาก่อน เป็นรถมีเชื้อเพลิง 3 ประเภท คือ น้ำมันเบินซิน , ก๊าซ LPG. และก๊าซไฮโดรเจน มีการทดสอบมาแล้วกว่า 40,000 กม. ยังไม่พบปัญหาใดๆ จึงไปจดสิทธิบัตรไว้เรียบร้อยแล้ว
นายสุมิตร กล่าวต่อว่า รถต้นแบบ “รีแอคเตอร์ 1” เป็นรถที่ใช้พลังผสมระหว่าง เบนซินกับไฮโดรเจน หรือ LPG.กับไฮโดรเจน ในสัดส่วนเบนซินหรือ LPG.40 เปอร์เซ็นต์ กับไฮโดรเจน 60 เปอร์เซ็นต์ ในการทดสอบวิ่งจากกรุงเทพฯมาอุดรธานี 560 กม. ใช้น้ำมันไปเพียง 10 ลิตรเท่านั้น ขณะที่น้ำที่ใช้ผลิตไฮโดรเจนเล็กน้อย อีกราว 3 เดือนอุปกรณ์ชุดนี้ จะเริ่มผลิตออกจำหน่าย ในราคาสูงกว่า LPG. แต่จะต่ำกว่า NGV. ยังไม่รวมค่าติดตั้ง
นายสุมิตรฯ อธิบายถึงอุปกรณ์ว่า จะเริ่มต้นที่น้ำบริสุทธิ์เหมือนน้ำกลั่น(ดีไอโอไนซ์) เติมเข้าไปในเครื่องรีแอคเตอร์ ที่จะแยกไฮโดรเจน และออกซิเจนออกมา เป็น HH-O ผ่านออกมาเซฟตี้วาวล์ ส่งตรงไปที่เครื่องยนต์ หากรถมีหัวฉีดก็ผ่านหัวฉีด ซึ่งทั้งหมดจะควบคุมด้วย คอมพิวเตอร์คอนโทรน ที่ติดตั้งอยู่ภายในตัวรถ เพื่อให้เครื่องผลิตไฮโดรเจน ออกมาเท่าที่เอาไปใช้เท่านั้น จะไม่มีการเก็บรักษาไว้ หากอุณหภูมิ ความดันผิดปกติ ก็จะมีระบบป้องกันตัวเอง
นายสุมิตร กล่าวด้วยว่า ที่ตัดสินใจจดสิทธิบัตรที่ประเทศไทย เพราะต้องการให้เทคโนโลยีนี้ เป็นสมบัติของชาติไทย คนไทยสามารถนำเอามาต่อยอด ในแนวคิดที่หลากหลายมากขึ้น ขณะที่ตนเองก็ต้องพัฒนาด้วยเช่นกัน ซึ่งขณะนี้ก็กำลังพัฒนา “รีแอคเตอร์2” อยู่ แต่หากจดที่สหรัฐอเมริกา จะต้องแจกรายละเอียดทั้งหมด ทำให้สิ่งประดิษฐ์ไม่เป็นความลับ หากมีปัญหาอะไรเกิดขึ้น สิทธิบัตรก็จะเป็นของอเมริกา ไม่ใช่สิทธิบัตรของคนไทย
ผช.จรูญ อธิการบดี ม.ราชภัฎอุดรธานี กล่าวว่า นายสุมิตร เป็นศิษย์เก่าและได้ศึกษาต่อในระดับนานาชาติ ผ่านประสบการณ์มามาก แต่ยังคงแวะเวียนที่ ม.ราชภัฎอยู่ โดยจะแลกเปลี่ยนความรู้กับ อ.วิเชียร จันทะโชติ และมีโอกาสนำเครื่องไม้เครื่องมือ ไปช่วยชิ้นงานประดิษฐ์บ้างเล็กน้อย จนได้เครื่องต้นแบบออกมา นอกจากนี้นายสุมิตรฯยังสนใจ ให้เป็นสถาบันฝึกอบรม บุคลากรติดตั้งเครื่อง รองรับความเครื่องที่จะออกมาจำหน่ายด้วย
ขอขอบคุณเนื้อหาข่าว คุณภาพดี โดย: หนังสือพิมพ์มติชน