บทความในกระทู้นี้ ขอยกความดีให้กับคุณปู่ประสงค์ครับ
น้ำมันเครื่อง
ก่อนที่จะรู้จักน้ำมันเครื่อง ที่จะใช้กับ เครื่องยนต์ ก็น่าที่จะต้องรู้จักเครื่องยนต์การทำงานของเครื่องยนต์ เพื่อการใช้น้ำมันเครื่องให้ถูกต้อง
เครื่องยนต์ มีหน้าที่ ผลิตกำลังงาน เป็น เครื่องยนต์ต้นกำลัง ใช้ฉุดลากรถให้เคลื่อนที่ เครื่องยนต์ แบ่ง ออกตามลักษณะการใช้เชื้อเพลิง ดังนี้
เครื่องยนต์เบนซิน ใช้น้ำมันเบนซิน เป็นน้ำมันเชื้อเพลิง
เครื่องยนต์ดีเซล ใช้น้ำมันโซล่า เป็นน้ำมันเชื้อเพลิง
เครื่องยนต์ มีจังหวะการทำงานแบ่งออกเป็น 2 แบบ มีแบบ 2 จังหวะ ในการทำงาน 1 วัฎจักร และ 4 จังหวะ ในการทำงาน 1 วัฎจักร
เครื่องยนต์ 4 จังหวะ เริ่ม จังหวะ ดูด จังหวะอัด จังหวะระเบิด จังหวะคาย
เครื่องยนต์เบนซิน จังหวะดูด เริ่มจากลูกสูบ อยู่บนสุด เคลื่อนตัวลงพร้อมกับ วาล์วไอดี เริ่มเปิด ดูด อากาศที่ผสมเชื้อเพลิง ผ่านปากวาล์ว ไอดี ลูกสูบเคลื่อนตัวลงมาก วาล์วไอดี เปิดมากตามไปด้วยและจะค่อยๆปิด เมื่อลูกสูบเคลื่อนตัวลงจนต่ำสุด วาล์วไอดีก็จะปิดสนิท เป็นอันว่าเป็นการสิ้นสุด จังหวะดูด
จังหวะอัด ต่อจากจังหวะดูด เริ่มจากเมื่อ ลูกสูบเคลื่อนตัวขึ้น อัดอากาศที่ผสมเชื้อเพลิง สมมุติ ส่วนผสมอากาศมี 10 ส่วน เมื่อลูกสูบอยู่ต่ำสุด เมื่อลูกสูบเคลื่อนขึ้นสูงสุด อัด 10 ส่วน จนเหลือเพียง 1 ส่วน จะเรียกว่าอัตราส่วน 101 ในจังหวะอัดนี้ วาล์วไอดี วาล์วไอเสีย จะปิดสนิท ลูกสูบขึ้นสุด เป็นอันว่าสิ้นสุดของจังหวะอัด
จังหวะระเบิด ต่อเนื่องจากจังหวะอัด ไฟแรงสูงจาก คอยล์ ทำให้หัวเทียน เกิดประกายไฟที่เขี้ยว ทำให้เกิดการเผาไหม้ ส่วนผสมเชื้อเพลิงกับอากาศ เกิดการขยายตัวของแก็สอย่างรุนแรง แรงอัด จะผลักดันให้ลูกสูบเคลื่อนตัวลง เกิดเป็นพลังงานกล
ทำให้ข้อเหวี่ยงหมุน เพื่อไปขับเคลื่อน ล้อ เมื่อลูกสูบเคลื่อนตัวลงจนสุด เป็นอันสิ้นสุดจังหวะระเบิด
จังหวะคาย ต่อเนื่องจากจังหวะ ระเบิด เริ่มจากลูกสูบเคลื่อนตัวขึ้นพร้อมวาล์ว ไอเสียเริ่มเปิด เพื่อไล่ แก็สไอเสียออกจากกระบอกสูบ วาล์ว ไอเสีย เปิดสุด และจะปิด เมื่อลูกสูบเคลื่อนขึ้นสูงสุด
ในจังหวะคายสิ้นสุด ต่อด้วยจังหวะดูด หัวลูกสูบอยู่สูงสุด เมื่อหมุนเครื่องเดินหน้า วาล์วไอดีเปิด หมุนเครื่องถอยหลัง วาล์วไอเสียเปิด จังหวะนี้เรียกกันว่า โอเวอร์แล็พ ( Overlap )
เครื่องยนต์ 4 จังหวะ ลูกสูบขึ้นสูงสุด 2 ครั้ง ลงต่ำสุด 2 ครั้ง เพลาข้อเหวี่ยงหมุน 2 รอบ กำลังงานที่ได้เพียง ครึ่งรอบ ได้ในจังหวะระเบิด ที่ลูกสูบถูกผลักลงด้วยแรง ระเบิด
ความแตกต่างระหว่าง เครื่องยนต์ ดีเซล กับเครื่องยนต์เบนซิน
จังหวะดูด การทำงานเหมือนกันกับเครื่องยนต์ เบนซิน แต่เครื่องยนต์ ดีเซล จะดูด แต่อากาศที่ไม่มีเชื้อเพลิงผสมเข้าไปด้วย
จังหวะอัด ทำงานเหมือนกับ เครื่องยนต์เบนซิน แต่เครื่องยนต์ ดีเซล อัดแต่อากาศ ที่ไม่มีเชื้อเพลิง อัตราส่วนกำลังอัด จะแตกต่าง มีตั้งแต่ 191 ถึง 211
จังหวะระเบิด เครื่องยนต์ เบนซิน จุดระเบิด ด้วยหัวเทียนเกิดประกายไฟ แต่เครื่องยนต์ ดีเซล จุดระเบิด ด้วยการฉีดเชื้อเพลิงที่เป็นฝอย เข้าไปในอากาศที่ถูกอัดจนร้อนเป็นไฟ จึงเกิดการลุกไหม้ ทำให้เป็นจังหวะระเบิด
จังหวะคาย ทั้งเครื่องยนต์ เบนซิน และ เครื่องยนต์ ดีเซล จะมีหน้าที่ เหมือนกัน คือ การไล่แก็สไอเสียออกจากกระบอกสูบ เมื่อสิ้นสุด จังหวะคาย หัวลูกสูบ จะอยู่สูงสุด จบการทำงาน 1 ครั้ง ของ 4 จังหวะ และจะเริ่มทำงานใหม่ด้วย จังหวะดูด
หมายเหตุ ในจังหวะอัด เครื่องยนต์ ดีเซล อัดแต่อากาศ เมื่อกำลังอัด รั่วผ่านแหวน สวนทางกับลูกสูบเคลื่อนตัวขึ้น เป็นเพียงอากาศรั่วลงไปในอ่างน้ำมันเครื่อง
และจะออกพร้อมไอน้ำมันเครื่องทาง รูหายใจฝาครอบวาล์ว เข้าท่อไอดี ถูกดูด ผ่านปาก วาล์วไอดี จึงไม่มีผลกระทบ ให้เกิดความเสียหายกับน้ำมันเครื่อง
ในจังหวะอัด เครื่องยนต์ เบนซิน อัดอากาศ พร้อม เชื้อเพลิง เมื่อกำลังอัด รั่วผ่านแหวนลูกสูบ อากาศที่มีเชื้อเพลิงผสม ส่วนหนึ่งของ เชื้อเพลิง จะเข้าไปปะปนกับน้ำมันเครื่อง เป็นเหตุให้ปริมาณ น้ำมันเครื่อง เพิ่ม จะเกิดรั่วมากเมื่อรอบเครื่องยนต์ต่ำ เดินเบา ในขณะรถติดเป็นเวลานาน เมื่อเครื่องยนต์รอบสูง กำลังอัด จะรั่วไหลน้อยลง