แม่เหล็ก นีโอไดเมียมเป็นงัย ครับ
LSVคลังสมองออนไลน์ "ปีที่21"
มิถุนายน 28, 2024, 07:12:05 AM *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
   หน้าแรก   ช่วยเหลือ เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก  
หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: แม่เหล็ก นีโอไดเมียมเป็นงัย ครับ  (อ่าน 12853 ครั้ง)
konton
member
*

คะแนน0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 27


อีเมล์
« เมื่อ: เมษายน 17, 2007, 08:52:18 PM »

ผมอยากจะถามท่านผู้ที่รู้จักแม่เหล็ก  นีโอไดเมียมเป็นยังงัย ครับ    ขอบคุณครับ


บันทึกการเข้า

Nimit( Un )
member
*

คะแนน442
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 3479


« ตอบ #1 เมื่อ: เมษายน 18, 2007, 08:17:26 AM »

 Grin เบื้องต้นครับ
  NEODYMIUM  (นีโอไดเมียม)  คือการนำวัสดุ ที่เกิดจากการผสมของโลหะ 2 ชนิด 
  คือ  1. เหล็ก   (IRON)
        2. โบรอน (BORON)
จึงเรียกแม่เหล็กแบบนี้ว่า  NEODYMIUM
        ซึ่งจะมีขนาดที่เล็ก  แต่จะมีพลังงานได้มากกว่าแม่เหล็กทั่วไป  แม่เหล็มีขนาดที่เล็กลงและกำลังสูง
การรั่วไหลของพลังงานจึงลดลงตาม  ลำโพงจึงสามารถปล่อยพลังเสียงสูงสุด
บันทึกการเข้า
kiatisak
member
*

คะแนน3
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 91


อีเมล์
« ตอบ #2 เมื่อ: เมษายน 18, 2007, 08:59:20 AM »

ตัวแม่เหล็กนีโอ ออกสีเงิน  ผมเคยซื้อมาใส่มอเตอร์รถแดช เห็นเล็กๆแต่แรงกว่าแม่เหล็กดำ ซึ่งดูจะใหญ่กว่า  แต่ว่าแม่เหล็กนีโอ จะราคาสูงกว่า   ถึงราคาจะแพงแต่แรงกว่าครับ   เมื่อก่อนผมก็เคยว่าทำไมเขาไม่เอาแม่เหล็กนีโอ (ตอนนั้นผมเรียกว่าแม่เหล็กขาว)  มาทำลำโพง   ถ้าทำได้คงแรงกว่าลำโพงที่ใช้แม่เหล็กดำ
บันทึกการเข้า
konton
member
*

คะแนน0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 27


อีเมล์
« ตอบ #3 เมื่อ: เมษายน 19, 2007, 08:48:16 AM »

ขอคุณครับ   Cheesy
บันทึกการเข้า
Nimit( Un )
member
*

คะแนน442
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 3479


« ตอบ #4 เมื่อ: เมษายน 20, 2007, 03:21:34 PM »

 ต่อยอด  ว่ากันด้วยเรื่องลำโพงแบบนีโอไดเมี่ยมอนาคตของพลังเสียง

 ความจริงของแม่เหล็กจากเฟอร์ไรต์-นีโอไดเมี่ยม ค.ศ.1930 อุตสาหกรรมโทรศัพท์ได้เปลี่ยนมาใช้เฟอร์ไรต์ แทนที่การใช้วัสดุสารแม่เหล็กนอนอินดักตีฟอย่างอ่อนวงการโทรศัพท์หันมาใช้"แบเรี่ยมเฟอร์ไรต์" ซึ่งมาจากสารผสมของเฟอร์รัสเฟอร์ไรต์กับแบเรี่ยมไอออน ค่า BH ของแบเรี่ยมเฟอร์ไรต์ มีค่าน้อยเพียง 30kJ/m3 แต่มันมีราคาถูกเมื่อเทียบกับวัสดุอื่น เสียงที่ออกลำโพงจึงดังไม่ออก และคุณภาพเสียงพอฟังได้เท่านั้น
 ในช่วงเกิดสงคราม ในประเทศซาอีหรือประเทศแซร์ สตอนเทียมเฟอร์ไรต์ ถูกนำมาใช้เพราะ โคบอลต์มีราคาแพงตัวแม่เหล็กแบบเฟอร์ไรต์จึงมีบทบาทในช่วงนั้น แม้ว่าจะมีค่า B ต่ำมากก็ตามแต่ตลาดกลับตอบรับอย่างกว้างขวางและลำโพงแบบแม่เหล็กใหญ่ก็กระจายไปทุกภูมิภาคของโลก เมื่อลำโพงที่ใช้แม่เหล็กแบบโคบอลต์กลับมาอีกครั้ง ลำโพงแบบเฟอร์ไรต์จึงกลายเป็นลำโพงเกรดล่างที่กินวัตต์ไปโดยปริยาย และมีความร้อนที่คิดเป็นค่าอุณหภูมิคูรี่(Curie temperature) สูงเมื่อขับกำลังมากๆ จึงทำให้ประสิทธิภาพของเครื่องขยายเสียงลดลงด้วย
 ในภูมิภาคเอเชียแบบประเทศไทยเมื่อความนิยมลำโพงแบบเฟอร์ไรต์ยังมีอยู่มาก อันเนื่องจากปัจจัยด้านราคาจึงทำให้เกิดการนำเอาลำโพงแบบกินวัตต์นี้ไปใช้กับเครื่องขยายมอสเฟทกำลังสูงๆ  มาดูความจริงของแม่เหล็กโคบอลต์ทั่วไป มีค่า BH ประมาณ 160kJ/m3 แต่เมื่อดูความจริงของแม่เหล็กนีโอไดเมี่ยม ไอรอน โบรอน(Neodymiumiron boron magnets) ให้ค่า BH ที่ 280kJ/m3 จึงบอกได้ว่าประสิทธิภาพของลำโพงแบบนี้มีประสิทธิภาพสูงสุดในขณะนี้ เพียงแต่ตลาดของลำโพงแบบนี้มีเพียง 10% ของตลาดลำโพงทั้งหมด
 


 Grin Grin Grinปัญหาของลำโพงแบบเฟอร์ไรต์ ก็คือการรั่วไหลของสนามแม่เหล็ก ดังแสดงภาพเอาไว้ใน รูปที่ 10 เมื่อดูรูปที่ 10ก ลำโพงเป็นชนิดที่ใช้วอยซ์คอยล์กลมในทางปฎิบัติมันจะให้สนามแม่เหล็กออกมาเป็นรูปวงกลมทอรอยด์ มีแม่เหล็กถาวรอยู่กลาง สังเกตว่าสนามของทอรอยด์ไม่ได้วิ่งเข้าจุดตรงกลาง ต้องขยับฟลักซ์แม่เข้าใกล้กัน ในขณะที่ลำโพงเฟอร์ไรต์เดิมๆนั้นมีฟลักซ์เหมือนอย่าง รูปที่10 ข. ทำให้ฟลักซ์จำนวนมากไหลหนีออกจากจุดกลางกลายเป็นการรั่วของสนามแม่เหล็ก(Leakage) การแก้ปัญหาคือเพิ่มขนาดของวอยซ์คอยล์ให้มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางใหญ่ขึ้น ดังวิธีการในรูปที่ 10ค. ใส่วอยซ์คอยล์ เอาไว้ด้านนอกตัวแม่เหล็ก สร้างขั้วโพลพีซนำฟลักซ์ให้มีทิศทางกระทำโดยตรงต่อสนามไฟฟ้าของวอยซ์คอยล์ เพื่อลดการรั่วของสนามแม่เหล็กลงไปจำนวนหนึ่ง
 แต่หากนำไปเปรียบเทียบกับนีโอไดเมี่ยม ความแตกต่างในเรื่องพลังงานแม่เหล็กมีความเด่นชัดมาก แม่เหล็กพลังสูง (High-energy magnetic materials) ของ Neodymium iron boron ทำให้แม่เหล็กแบบนี้มีขนาดเล็กกว่าทำให้ใช้กับวอยซ์คอยล์ขนาดเล็กได้ ให้ค่าการรั่วไหลของแม่เหล็กน้อยกว่า เพียงแต่ราคาแพงกว่าเท่านั้น
 รูปที่ 11 เป็นการแสดงวงจร แม่เหล็กที่ใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ซิมมูเลตออกมา เมื่อนำเอาแม่เหล็กนีโอไดเมี่ยมมาสอดเข้าไปในวอยซ์คอยล์ อ้างอิงจากการทดสอบของจอห์น บอร์วิกค์ ที่ทำการทดสอบกับลำโพงวูฟเฟอร์ขนาด200มิลลิเมตร(ลำโพง 8 นิ้ว) แสดงให้เห็นถึงการรั่วไหลของสนามแม่เหล็กน้อยมากในขณะที่พลังงานสูงมากไม่น้อยกว่า 20 เท่าของเฟอร์ไรต์

 Grinลำโพงแบบนีโอไดเมี่ยมอนาคตของพลังเสียง   Grin       
บันทึกการเข้า
konton
member
*

คะแนน0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 27


อีเมล์
« ตอบ #5 เมื่อ: พฤษภาคม 04, 2007, 09:17:51 AM »

 Cheesy Cheesy Cheesy Grin  ขอบคุณครับ
บันทึกการเข้า
was
member
*

คะแนน5
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 72


was


« ตอบ #6 เมื่อ: กรกฎาคม 21, 2008, 03:51:33 PM »

ขอความรู้อีกหน่อย ลองเอาแม่เหล็กนีโอ มาลนไฟแล้วปรากฏว่าร้อนจนถึงจุดหนึง มันหมดสภาพกลายเป็นเหล็กธรรมดาไปเลย
ถามว่าจะไห้มันเป็นแม่เหล็กเหมือนเดิมทำไงดี เศร้าจัง
บันทึกการเข้า
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by MySQL Powered by PHP Powered by SMF 1.1 RC2 | SMF © 2001-2006, Lewis Media

lsv2555Please follow the new website at https://www.pohchae.com

Valid CSS!