วัยทอง คืออะไร
มกราคม 09, 2025, 10:27:44 pm *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
   หน้าแรก   ช่วยเหลือ เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก  
หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: วัยทอง คืออะไร  (อ่าน 10335 ครั้ง)
แวมไพร์-LSVteam♥
.กลุ่มผู้มีน้ำใจงาม.
member
*

คะแนน912
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 3712


..เรียนให้รู้เป็นครูเขา.Learning by doing


« เมื่อ: พฤษภาคม 19, 2008, 01:45:07 pm »

วัยทอง คืออะไร

วัยทอง เป็นช่วงต่อระหว่างวัยผู้ใหญ่ตอนต้นและวัยสูงอายุ ประชากรชายและหญิงในช่วงอายุ 40 หรือ 45 ปีขึ้นไป ร่างกายจะมีการเปลี่ยนแปลงโดยเฉพาะมีการผลิตฮอร์โมนเพศลดลง ทำให้เกิดผลกระทบต่อการดำเนินชีวิตประจำวันของบุคคลในวัยนี้ ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อบุคคลอื่นในครอบครัวและสังคมได้ ในผู้ชายวัยทอง การเปลี่ยนแปลงของร่างกายจะเป็นแบบค่อยเป็นค่อยไป เนื่องจากการลดลงของฮอร์โมนเพศชาย (Testosterone) ไม่ได้ลดลงอย่างเฉียบพลัน ผู้ชายบางคนก็อาจมี หรือหยุดทันทีเหมือนผู้หญิง ในทางตรงกันข้าม วัยทองหรือวัยหมดประจำเดือนของผู้หญิงเป็นช่วงเวลาที่สิ้นสุดการมีประจำเดือนแล้ว เนื่องจากรังไข่หยุดทำงาน ทำให้ฮอร์โมนเอสโตรเจนลดลง เกิดอาการต่างๆ ส่งผลกระทบต่อสุขภาพในระยะยาว กลุ่มอาการหมดประจำเดือน (Menopausal Symptom) ได้แก่ มีอาการร้อนวูบวาบ เหงื่อออกในเวลากลางคืน นอนไม่หลับหรือหลับยาก อารมณ์แปรปรวน หงุดหงิดง่าย หลงลืมง่าย บางคนมีปัสสาวะบ่อย แสบ เวลาไอจามอาจมีปัสสาวะเล็ด ช่องคลอดแห้ง เจ็บเวลามีเพศสัมพันธ์ สำหรับผลกระทบต่อสุขภาพในระยะยาวที่พบ ได้แก่ โรคกระดูกพรุน โรคหัวใจและหลอดเลือดจากการมีระดับไขมันในเลือดสูงโดยเฉพาะระดับโคเลสเตอรอล บางรายอาจเกิดโรคอัลไซเมอร์เมื่ออายุมากขึ้น

ภาวะหมดประจำเดือนคืออะไร

ผู้หญิงที่มีอายุมากกว่า 30 ปี ร่างกายจะมีการผลิตฮอร์โมนเอสโตรเจนและโปรเจสเตอโรนลดลง ช่วงเวลาที่ประจำเดือนเริ่มมาในเวลาที่ไม่แน่นอน ถี่บ้างห่างบ้างตามกระแสขึ้นลงของฮอร์โมนเพศ เราเรียกระยะนี้ว่า ระยะก่อนหมดประจำเดือน (Premenopause) ทำให้ผู้หญิงบางคนเริ่มมีอาการตามมาหลายอย่าง เช่น ประจำเดือนมาไม่เป็นเวลา นอนไม่ค่อยหลับ อารมณ์แปรปรวน ร้อนวูบวาบ ในทางการแพทย์ ผู้หญิงจะเข้าวัยหมดประจำเดือนจริงๆเมื่อประจำเดือนหยุดมาอย่างสิ้นเชิงอย่างน้อย 1 ปี ซึ่งอาจเกิดได้ระหว่างอายุ 45 - 55 ปี ขึ้นกับสุขภาพและกรรมพันธุ์ของแต่ละคน เช่น บางคนหมดประจำเดือนตั้งแต่อายุ 40 ปี หรือน้อยกว่า อายุโดยเฉลี่ยของผู้หญิงไทยที่หมดประจำเดือนเท่ากับ 51 ปี ผู้หญิงที่เคยสูบบุหรี่หรือยังสูบบุหรี่อยู่มักจะเข้าวัยหมดประจำเดือนเร็วกว่าผู้หญิงทั่วไป การรักษาโรคบางอย่างที่ทำให้ต้องตัดรังไข่ออกหรือฉายรังสีที่ไข่ การให้เคมีบำบัดและยาบางชนิดอาจทำให้ประจำเดือนหยุดมาได้ แต่การตัดมดลูกโดยไม่ตัดรังไข่ไม่ถือว่าเป็นภาวะหมดประจำเดือน ท่านสามารถบอกตัวเองได้ว่ากำลังจะหมดประจำเดือนโดยสังเกตุการเปลี่ยนแปลงของร่างกาย เช่น

1. ประจำเดือนมาไม่แน่นอน บางทีมาถี่ๆแล้วทิ้งช่วงหายไปหลายเดือนแล้วกลับมามีอีก มีเลือดประจำเดือนออกแบบมากกว่าปกติหรือมาทุก 2-3 สัปดาห์

2. อาการร้อนวูบวาบ (Hot Flash) ประมาณ 3 ใน 4 ของผู้หญิงวัยหมดประจำเดือนจะเคยมีอาการร้อนวูบวาบเกิดขึ้นบางครั้งมีอาการเหงื่อออกมากกว่าปกติทั้งที่อากาศเย็น หรือมีเหงื่อออกตอนกลางคืนหรือขณะหลับอยู่ อาการเหล่านี้มักเกิดบ่อยในช่วง 2-3 ปีแรกที่ประจำเดือนหมด โดยความรุนแรงจะไม่เท่ากันในผู้หญิงแต่ละคน

3. มีอาการนอนไม่หลับหรือหลับยาก บางคนตื่นบ่อยๆ กลางดึกหรือตื่นเช้ากว่าปกติ

4. มีอารมณ์แปรปรวน หงุดหงิดง่าย บางคนมีอาการเศร้าซึม

5. ปัญหาของช่องคลอด ระดับเอสโตรเจนที่ลดลงทำให้เนื้อเยื่อของช่องคลอดบางลง ความยืดหยุ่นและความหล่อลื่นลดลง ทำให้เกิดอาการเจ็บเวลาร่วมเพศ หรือมีอาการแสบ คัน

6. ปัญหาของระบบทางเดินปัสสาวะ ระดับเอสโตรเจนที่ลดลงทำให้เนื้อเยื่อบริเวณเยื่อบุท่อปัสสาวะบางลง และมีความแข็งแรงของกระเพาะปัสสาวะลดลง ผู้หญิงวัยทองมักมีอาการปัสสาวะแล้วแสบ กลั้นปัสสาวะไม่ค่อยได้หรือไม่นาน ปัสสาวะเล็ดหรือราดเวลาไอจามหรือยกของหนัก

7. ความเต่งตึงและชุ่มชื้นของผิวหนังลดลงเพราะร่างกายสร้างสารคอลลาเจนลดลง ผิวหนังแห้งง่าย มักมีอาการคัน ควรหาโลชั่นหรือครีมทาจะช่วยให้หายคันได้

8. การเจริญพันธุ์ลดลง เนื่องจากเวลาตกไข่ไม่แน่นอน แต่สามารถตั้งครรภ์ได้เสมอจนกว่าประจำเดือนจะหยุดมาเป็นเวลา 1 ปีเต็ม


การให้ฮอร์โมนทดแทน (Hormone Replacement Therapy; HRT)

ผู้หญิงในวัยใกล้หมดประจำเดือนและหลังหมดประจำเดือนจะมีภาวะที่มีฮอร์โมนบกพร่องและไม่สมดุลย์ ทำให้เกิดกลุ่มอาการหมดประจำเดือน การให้ฮอร์โมนทดแทนสามารถลดอาการร้อนวูบวาบ เหงื่อออกในเวลากลางคืน อารมณ์แปรปรวน และช่วยลดอาการทางระบบสืบพันธุ์และปัสสาวะ ทำให้ผู้หญิงในกลุ่มนี้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น รวมทั้งมีผลป้องกันกระดูกหักจากโรคกระดูกพรุนได้ แต่การให้ฮอร์โมนทดแทนในปัจจุบันยังมีข้อขัดแย้งถึงผลดีผลเสียที่เกิดจากการใช้ เช่น จากการศึกษาของกลุ่มผู้หญิงในสหรัฐอเมริกา (Women’s Health Initiative) พบว่า การให้ฮอร์โมนทดแทนเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งเต้านมและโรคหัวใจและหลอดเลือด ดังนั้นการให้ฮอร์โมนทดแทนจึงต้องพิจารณาเลือกให้เหมาะสมต่อผู้หญิงแต่ละคน โดยอยู่ในความดูแลของแพทย์อย่างใกล้ชิด ด้วยความกลัวต่อโรคมะเร็งทำให้ผู้หญิงจำนวนมากยอมทนอาการไม่สุขสบายต่างๆโดยไม่ยอมรับการใช้ฮอร์โมนทดแทนและมองหาการรักษาแบบแพทย์ทางเลือกโดยใช้สารประกอบจากธรรมชาติ เช่น ไฟโตเอสโตรเจน

ประโยชน์ของไฟโตเอสโตรเจน

การศึกษาทางระบาดวิทยาพบว่า คนตะวันตกเป็นมะเร็งของเต้านม มะเร็งของลำไส้ใหญ่และมะเร็งของต่อมลูกหมากสูงกว่าคนเอเชีย โดยมีทฤษฎีว่า อาหารของคนเอเชีย เช่น คนญี่ปุ่น คนจีน น่าจะมีผลต่อการสร้างฮอร์โมนหรือกระบวนการชีวเคมีในเซลล์ของคน โดยมีหลักฐานแสดงว่า สารประกอบที่มีสูตรโครงสร้างคล้ายฮอร์โมนเอสโตรเจน เรียก ไฟโตเอสโตรเจน (Phytoestrogen) ซึ่งพบมากในถั่วเหลือง เมล็ดธัญพืชหลายชนิด และผลเบอรี่ มีฤทธิ์ป้องกันมะเร็งได้ โดยมีผลต่อการสร้างฮอร์โมนเพศ ขบวนการเมตาบอลิสม การทำงานของเอนไซม์ การสร้างโปรตีน การทำงานของ Growth Factor การเพิ่มจำนวนและการเปลี่ยนสภาพของเซลล์มะเร็ง การเจริญเติบโตของเส้นโลหิต การรับประทานอาหารที่มีไฟโตเอสโตรเจนอาจช่วยส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคบางอย่างได้ เช่น โรคหัวใจขาดเลือด โรคมะเร็งของเนื้อเยื่อระบบสืบพันธุ์ และโรคกระดูกพรุน

ไฟโตเอสโตรเจนคืออะไร

ไฟโตเอสโตรเจน (Phytoestrogen) เป็นสารประกอบเอสโตรเจนที่พบได้ในพืชมากกว่า 300 ชนิดแต่มีมากที่สุดในถั่วเหลือง ไฟโตเอสโตรเจนออกฤทธิ์แบบเอสโตรเจนได้ต่ำกว่าฮอร์โมนเอสโตรเจนของคน (อยู่ในช่วงระหว่าง 1/500 ถึง 1/1000 เท่าของฤทธิ์ของ Estradiol) นอกจากนี้ไฟโตเอสโตรเจนยังสามารถแสดงฤทธิ์แบบยับยั้งฤทธิ์ของเอสโตรเจนในร่างกาย (Antiestrogenic Effect) ได้ พบว่าที่ความเข้มข้นของ ไฟโตเอสโตรเจนขนาด 100 – 1,000 เท่าของเอสโตรเจนในร่างกายซึ่งเป็นระดับไฟโตเอสโตรเจนในเลือดที่พบได้หลังการรับประทานอาหารที่มีไฟโตเอสโตรเจนในปริมาณปกติ ไฟโตเอสโตรเจนจะแย่งจับ Estrogen Receptor กับฮอร์โมนเอสโตรเจนในร่างกาย และช่วยป้องกันการเติบโตของเซลล์ที่ถูกกระตุ้นด้วยได้ด้วยฮอร์โมนเอสโตรเจน ดังนั้นไฟโตเอสโตรเจนจึงอาจจะลดหรือยับยั้งฤทธิ์ของเอสโตรเจนที่มีต่อเซลล์หรือเนื้อเยื่อที่ตอบสนองต่อเอสโตรเจน เช่น เนื้อเยื่อเต้านม เป็นต้น ซึ่งทำให้ไฟโตเอสโตรเจนช่วยลดความเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งเต้านมได้ เราสามารถแบ่งไฟโตเอสโตรเจนออกเป็น 3 ชนิด ได้แก่ ไอโซฟลาโวน (Isoflavone) คูมิสแตน (Coumestans) และลิกแนน (Lignan) ไฟโตเอสโตรเจนที่พบมากในอาหารของคนคือ ไอโซฟลาโวนและลิกแนน ไอโซฟลาโวนซึ่งมีฤทธิ์เหมือนเอสโตรเจนมีในถั่วหลายชนิดโดยเฉพาะในถั่วเหลืองซึ่งเป็นแหล่งอาหารที่สำคัญของคน ส่วนลิกแนนนั้นพบในธัญพืช ผักและผลไม้ ในถั่วเหลืองมีไอโซฟลาโวนที่สำคัญคือ เดดซีน (Daidzein) และ จีนีสทีน (Genistein) ในปัจจุบันการวิจัยมากมายมุ่งเน้นความสนใจมาที่ “ไอโซฟลาโวน”

ขอบคุณ...healthdd

ศึกษาเพิ่มเติมได้ที่...กดเลยครับ


บันทึกการเข้า

ช่างเล็ก(LSV)
Administrator
member
*

คะแนน1346
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 18847


คิดดี ทำดี ชีวิตมีแต่สุข


อีเมล์
« ตอบ #1 เมื่อ: พฤษภาคม 19, 2008, 02:11:25 pm »

เขาบอกว่าให้กินหอยแครงบ่อยๆช่วยได้นะ  Sad Shocked
บันทึกการเข้า
watchareeya
member
*

คะแนน175
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 495



อีเมล์
« ตอบ #2 เมื่อ: พฤษภาคม 19, 2008, 11:31:22 pm »

    แวมไพร์อีกหลายปีกว่าจะทอง ส่วนครูอ้อยกะคุณเล็กกำลังชิงทองกันอยู่ อิๆๆๆๆ
บันทึกการเข้า
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by MySQL Powered by PHP Powered by SMF 1.1 RC2 | SMF © 2001-2006, Lewis Media

lsv2555Please follow the new website at https://www.pohchae.com

Valid CSS!