รวมเรื่องรถยนต์ไฟฟ้า ..
ธันวาคม 23, 2024, 02:28:18 am *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
   หน้าแรก   ช่วยเหลือ เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก  
หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: รวมเรื่องรถยนต์ไฟฟ้า ..  (อ่าน 10382 ครั้ง)
ช่างเล็ก(LSV)
Administrator
member
*

คะแนน1346
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 18843


คิดดี ทำดี ชีวิตมีแต่สุข


อีเมล์
« เมื่อ: ธันวาคม 06, 2007, 08:09:03 am »

ค้นคว้ามาจากทุกเว็บไซต์ที่พอหาได้ครับ  Tongue

http://www.parliament.go.th/news/news_detail.php?prid=4953


ทำแล้วรถเก๋งไฟฟ้า กินไฟ กม.ละ 2 สลึง
 


 
 
 

 
 
 

ปัญหาที่คนไทยได้รับจากวิกฤติน้ำมันแพง ข้าวของแพง ค่าโดยสารแพง ค่าครองชีพประจำวันแพง ประเทศชาติต้องสูญเสียเงินนำเข้าน้ำมันเชื้อเพลิง จากต่างประเทศมากมายมหาศาล



ต้นตอหลักไม่ได้มาจากกลไกตลาดโลกอย่างเดียว



นักการเมือง ผู้บริหารประเทศไทย เป็นตัวการหนึ่งที่ทำให้คนไทยต้องเผชิญกรรมยุคข้าวยากหมากแพง



ปรากฏการณ์น้ำมันขึ้นราคาอย่างต่อเนื่อง ไม่ใช่เพิ่งเกิดแค่ในช่วงปีสองปี หากเกิดขึ้นมาเป็นเวลาหลายปี เกือบ 10 ปีเข้าไปแล้ว



แต่นักการเมืองผู้กำหนดนโยบายของประเทศ ไม่เคยมีความจริงใจในการหาพลังงานอย่างอื่น มาทดแทนการใช้น้ำมันได้อย่างเป็นรูปธรรมใดๆ สิ่งที่พอเห็นจับต้องได้ก็มีบ้างแค่แก๊สโซฮอล์ สำหรับรถยนต์เติมเบนซิน...ซึ่งก็ช่วยได้ไม่มาก ได้แค่ 10% เท่านั้น



คนไทยยังต้องพึ่งน้ำมันจากต่างประเทศอีกมาก



ไบโอดีเซลไม่ต้องพูดถึง...นักการเมืองได้แค่พูดสร้างฝันไปวันๆ เรื่องจริงยังไม่ถึงฝั่งฝันในทางปฏิบัติ



ถ้านักการเมืองไทยมีวิสัยทัศน์ มีความจริงใจ การหาพลังงานอื่นมาทดแทนน้ำมันเพื่อบรรเทา ความเดือดร้อนของประเทศไทยนั้น...ไม่ใช่เรื่องยาก เกินความสามารถของคนไทยแต่อย่างใดเลย



เพียงแต่ขอให้นักการเมืองเสียสละ ลดประโยชน์ส่วนตนหันมาสนับสนุนผลประโยชน์ของ ประเทศชาติประชาชนมากขึ้น



วันนี้คนไทยกำลังเดือดร้อนเงินค่าน้ำมันรถยนต์ส่วนตัว คิดเฉลี่ยแล้วเฉียดกิโลเมตรละ 3 บาท



แต่ด้วยความสามารถของคนไทย วันนี้คุณสามารถขับรถยนต์ ส่วนตัว เสียค่าใช้จ่ายพลังงานแค่กิโลเมตรละ 50 สตางค์เท่านั้น



ประหยัดเงินค่าน้ำมันได้ถึง 83 เปอร์เซ็นต์



นี่ไม่ใช่เรื่องเพ้อฝัน แต่เป็นเรื่องจริง พล.อ.ท.มรกต ชาญสำรวจ อดีตเจ้ากรมสรรพาวุธทหารอากาศ ผู้ประดิษฐ์จรวดเห่าฟ้า อันลือลั่นเมื่อปี 2523 ได้คิดประดิษฐ์และผลิตรถยนต์พลังงานไฟฟ้า ที่มีคุณสมบัติ รถวิ่งได้ 1 กม.เสียค่าไฟฟ้า 50 สตางค์



นี่ไม่ใช่เพิ่งคิดประดิษฐ์ได้เมื่อไม่กี่วัน ทำสำเร็จมาตั้งแต่ปี 2546 โน้นแล้ว...



ทำครั้งแรกเพื่อการศึกษาวิจัยให้กับสภาวิจัยแห่งชาติ โดยนำตัวถังของรถยนต์คันเล็กๆ ยี่ห้อไดฮัทสุ รุ่นมิร่า มาทดลองทำเป็นรถยนต์ไฟฟ้า โดยไม่ใช้น้ำมันเชื้อเพลิงแม้แต่หยดเดียว



“ช่วงนั้นน้ำมันแพงแล้ว” พล.อ.ท.มรกตบอก



“หลังความสำเร็จปี 2547 ผมเริ่มผลิตเพื่อจำหน่ายให้กับประชาชนทั่วไป โดยปรับปรุงรูปแบบรถยนต์เสียใหม่ ให้สวยกว่าเดิม ออกมามีหน้าตาเหมือนอย่างรถฝรั่งที่เรียกว่ารถมินิคูเปอร์ ขนาด 2 ที่นั่ง เพื่อให้เหมาะกับสภาพการใช้งานในเมืองหลวงที่การจราจรติดขัด”



แต่เมื่อผลิตออกมาแล้วกลับมีปัญหาเรื่องการขอจดทะเบียนกับกรมการขนส่งทางบก การผลิตรถยนต์ไฟฟ้าของอดีตเจ้ากรมฯ เลยต้องชะงัก



ประเทศไทยยังไม่มีกฎระเบียบเกี่ยวกับมาตรฐานรถยนต์ไฟฟ้า จึงไม่ ยอมอนุญาตให้รถไฟฟ้าวิ่งบนถนน ต้องใช้เวลาศึกษาข้อกฎหมาย



กรมการขนส่งทางบกตรวจสภาพทดสอบอยู่ปีเศษ กว่าจะจดทะเบียนได้



“เงื่อนไขหนึ่งของกรมการขนส่งทางบก รถที่จะจดทะเบียนจะต้องผลิตได้หลายพันคัน ชิ้นส่วนอะไหล่ต่างๆ ผู้ผลิตต้องทำได้เอง การผลิตรถยนต์แบบมินิคูเปอร์ของเราจึงมีปัญหา เพราะชิ้นส่วนหลายอย่างเราไม่สามารถผลิตได้



เปลี่ยนมาผลิตรูปทรงรถแบบใหม่ รูปทรงเป็นเหลี่ยม แบบเดียวกับรถจี๊ปโฟล์กสวาเกนขนาดเล็ก คล้ายรถที่ใช้ในการตรวจพลสวนสนามในพิธ ีถวายสัตย์ปฏิญาณตนและสวนสนามของหน่วยทหารรักษาพระองค์ รถแบบนี้ชิ้นส่วนเราผลิตได้เอง”



รถยนต์ไฟฟ้าขนาด 4 ที่นั่ง ยี่ห้อ C-FEE รุ่น Super Jaab จึงเป็นรถไฟฟ้าคันแรก ที่สามารถจดทะเบียนกับกรมการขนส่งทางบก... มีป้ายทะเบียนสามารถวิ่งบนถนนได้ เมื่อเดือนสิงหาคมปีที่แล้ว



รถไฟฟ้าคันแรก...นี้ วิ่งได้เร็ว 60 กม.ต่อชั่วโมง ความจริง พล.อ.ท.มรกต สามารถผลิตให้วิ่งเร็วถึง 80 กม.ต่อชั่วโมง แต่ตำรวจขอให้วิ่งแค่ 60 กม.ต่อชั่วโมง เพื่อความปลอดภัยเพราะเป็นรถที่เหมาะกับการขับขี่ในเมือง...วิ่งไปไหนไกลไม่ได้



เสียบปลั๊กชาร์จไฟฟ้า 1 ครั้ง จะวิ่งได้ไกลประมาณ 80 กม. เสียค่าไฟประมาณ 40 บาท



“รถยนต์ไฟฟ้าของไทยวิ่งได้ไกลแค่นี้ไม่ต้องตกใจ วิ่งได้แค่ 80 กม.นั้นเฉพาะในกรณีที่ขับรวดเดียว เหยียบคันเร่งตลอดเวลา ถ้าวิ่งในเมืองจริงๆ อาจวิ่งได้ไกลกว่า 100 กม. เพราะวิ่งในเมือง ตลอดเวลารถต้องวิ่งแล้วหยุด”



การวิ่งแล้วหยุด แบตเตอรี่สามารถฟื้นฟูพลังงานได้ พล.อ.ท.มรกต ยกตัวอย่างเปรียบเทียบการทำงานของแบตเตอรี่รถยนต์ไฟฟ้าว่าเหมือนกับนักฟุตบอล



ถ้าปล่อยให้นักฟุตบอลวิ่งตลอดเวลาไม่ให้หยุด นักฟุตบอลจะวิ่งได้ไม่นานก็จะหมดแรง แต่ถ้าให้วิ่งบ้างเดินบ้างหยุดบ้าง นักฟุตบอลก็จะมีแรงวิ่งได้ครบ 90 นาที



แบตเตอรี่รถยนต์ไฟฟ้าก็เหมือนกัน วิ่งไม่หยุดไม่มีพัก ก็ได้แค่ 80 กม. แต่ถ้าวิ่งแล้วหยุดรอไฟแดง หยุดตอนรถติด รถจะวิ่งไปไกลกว่านั้น...เหมาะกับสภาพการใช้งานของคนเมืองที่ขับไปทำงานแล้วขับกลับบ้าน ระยะทางไปกลับไม่เกิน 100 กม.



นอกจากจะช่วยประหยัดค่าน้ำมันแล้ว ยังช่วยลดมลพิษให้กับสังคมเมืองอีกด้วย



แค่นั้นไม่พอ ความสามารถของคนไทยในเรื่องช่วยชาติลดการพึ่งพาน้ำมัน อย่าง พล.อ.ท.มรกต ล่าสุด ยังได้คิดประดิษฐ์เรือโดยสารขนาด 20 ที่นั่ง โดยไม่ต้องเติมน้ำมันให้กับสภาวิจัยแห่งชาติ



เป็นเรือใช้พลังงานแสงอาทิตย์บวกผสมกับพลังงานไฟฟ้า แบบเดียวกับรถยนต์ เพื่อใบพัดที่ใช้มอเตอร์ไฟฟ้าจะได้ช่วยทำหน้าที่วิ่งตัดคลื่น เร่งความเร็วและเดินหน้าถอยหลังตอนจอด



เป็นเรือที่แล่นแล้วเงียบ ไม่มีเสียงดัง ไร้ควันมลพิษ เพื่อนำไปใช้ในการท่องเที่ยวชมนกชมไม้ ชมหิ่งห้อย ตามแหล่งน้ำธรรมชาติ ไม่สร้างปัญหาเสียงดังจนนกหนูบินหนี ควันเครื่องยนต์รมนักท่องเที่ยวเหมือนเรือทั่วไป



เรือลำนี้แล่นทั้งวันเปลืองค่าชาร์จไฟฟ้าวันละ 70 บาท เพราะได้ ออกแบบให้ท้องเรือมี 2 ท้อง ที่เรียกกันว่า ท้องเรือแบบ CANTAMARAN เพื่อลดแรงเสียดทาน ที่ทำให้เปลืองพลังงาน



ในขณะที่เรือใช้น้ำมันดีเซลขนาดนี้ แล่นทั้งวัน ปีหนึ่งต้องใช้ น้ำมันดีเซล 40,000 ลิตร ราคาน้ำมันตอนนี้ปีหนึ่ง...ก็ล้านกว่าบาท



ผลิตในขั้นการทดลองหมดเงินไป 3 ล้านบาท แต่ถึงตอนนี้ผลิตนำมาใช้งานจริงๆ ราคาเรือจะตกแค่ 1.5 ล้าน นำไปใช้แค่ปีกว่าๆก็คุ้มเงินค่าน้ำมัน



สิ่งเหล่านี้ล้วนเป็นส่วนหนึ่ง ที่ชี้ให้เห็นว่า คนไทยนั้นมีฝีมือ มีความสามารถที่จะประดิษฐ์คิดค้น หาพลังงานอย่างอื่นมาทดแทนน้ำมันเชื้อเพลิงได้



เพียงแต่ภาครัฐ นักการเมืองผู้กำหนดนโยบายมีวิสัยทัศน์ มีความจริงใจ ส่งเสริมให้เป็นจริงในทางปฏิบัติอย่างแพร่หลายเท่านั้นเอง



ไม่ต้องอะไรมาก แค่อดีตท่านเจ้ากรมผลิตรถยนต์ไฟฟ้า ราคา 4 แสนบาท ที่ช่วยให้ประเทศชาติลดการพึ่งพาน้ำมันได้ แทนที่จะมีการสนับสนุนให้มีการผลิตเป็นอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ เพื่อช่วยประเทศชาติลดการนำเข้าน้ำมัน และลดมลพิษทั้งทางเสียงและอากาศ



แต่กลับมีปัญหา มีเสียงกระซิบว่า...ผลิตรถยนต์ไฟฟ้าออกมาอย่างนี้ ไม่เกรงจะไปกระทบกับอุตสาหกรรมผลิตรถยนต์ของต่างชาติ ที่นักการเมืองไทยมีผลประโยชน์อยู่หรือ



นี่แหละอีกหนึ่งปัญหาสำคัญ...ที่ทำให้คนไทยต้องเดือดร้อนเพราะน้ำมันแพง.
 
 


บันทึกการเข้า

ช่างเล็ก(LSV)
Administrator
member
*

คะแนน1346
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 18843


คิดดี ทำดี ชีวิตมีแต่สุข


อีเมล์
« ตอบ #1 เมื่อ: ธันวาคม 06, 2007, 08:10:37 am »

รถยนต์เสียบปลั๊ก

โตโยต้ามอเตอร์ได้แถลงข่าวการทดสอบรถยนต์ไฮบริดทีมีระบบการเติมไฟฟ้าด้วยการเสียบปลั๊กกับเต้าเสียบธรรมดาตามบ้านเรือนทั่วไป ซึ่งเทคโนโลยีที่คล้ายคลึงกันนี้กำลังอยู่ระหว่าง การพัฒนาเช่นกันที่บริษัทเจอเนรัลมอเตอร์ เจ้าของแบรนด์ดัง เช่น Chevrolet และฟอร์ดมอเตอร์

เทคโนโลยีดังกล่าวมีหลักการใช้แบตเตอรี่ให้กำลังไฟในการหมุนมอเตอร์ ควบคู่ไปกับการใช้เครื่องยนต์เชื่อเพลิงปกติเมื่อแบตเตอร์รี่กำลังอ่อน ซึ่งสามารถชาร์จไฟเข้าแบตเตอรี่ดังกล่าว ได้โดยการเสียบปลั๊กเข้ากับเต้าเสียบธรรมดาตามบ้านเรือนทั่วไป

โตโยต้ามอเตอร์ เป็นบริษัทรถยนต์รายแรกที่ได้รับการอนุมัติจากรัฐบาลญี่ปุ่นให้สามารถทำการทดลองรถยนต์เสียบปลั๊กบนท้องถนน
ของประเทศญี่ปุ่น เพื่อเก็บข้อมูลสมรรถนะ การปล่อยมลพิษ และอัตราการประหยัดน้ำมัน

รถยนต์เสียบปลั๊กที่นำมาแสดง พัฒนาบน รถโตโยต้ารุ่น PRIUS โดยเรียกโมเดลว่า Toyota Plug-in HV ซึ่งใช้แบตเตอรี่นิกเกิลแมทเทอร์ไฮดราย์ (Nickel Metal Hydride) ซึ่งวิ่งไปได้ระยะทางประมาณ 8 ไมล์ด้วยไฟฟ้า ความเร็วสูงสุดที่ Plug-in HV ทำได้คือ 100 กิโลเมตรต่อชั่วโมงด้วยมอเตอร์ไฟฟ้า ต้องใช้เวลาในการชาร์จแบตเตอรี่ประมาณ 1.5 ชั่วโมงที่ 200 โวลต์ และ 3 – 4 ชั่วโมงที่ 100 โวลต์

ในการทดลองขับ พบว่าเครื่องยนต์เดินเงียบมากในโหมดใช้กระแสไฟฟ้าหากไม่ได้มีการเร่งความเร็วอย่างกระทันหัน และการเปลี่ยนโหมดการขับ จากการใช้กระแสไฟฟ้า มาเป็นเครื่องยนต์เชื้อเพลิงก็เปลี่ยนได้อย่างง่ายดาย ไม่ติดขัด

สำหรับการผลิตในเชิงพาณิชย์ ยังมีปัญหาอยู่ โดยเฉพาะในเรื่องของราคาและเทคโนโลยีของแบตเตอรี่ซึ่งเป็นตัวจำกัดระยะทางในการเดินทาง

สำหรับรถยนต์ไฮบริดในปัจจุบัน ใช้เทคโนโลยีมอเตอร์ไฟฟ้าควบคุมไปกับเครื่องยนต์เชื้อเพลิง โดยไม่ต้องมีการเสียบปลั๊ก เพราะเวลาที่ รถไฮบริดวิ่งด้วยเครื่องยนต์เชื้อเพลิง มอเตอร์จะทำการหมุน และทำให้เกิดกระแสไฟฟ้าและกักเก็บไว้ และสามารถจ่ายกระแสไฟฟ้า ไปหมุนมอเตอร์เมื่อเปลี่ยนโหมดใช้เครื่องยนต์ไฟฟ้า ซึ่งสามารถเดินทางได้ประมาณ 3 ไมล์สำหรับโหมดเครื่องยนต์ไฟฟ้า ซึ่งรถยนต์ที่ใช้เทคโนโลยีนี้ที่ขายดีที่สุดในโลก ก็คือ รถยนต์ Toyota Prius ซึ่งได้มีการส่งมอบรถรุ่นนี้คันที่ 1 ล้านไปเมื่อเดือนมิถุนายน 2550

ที่ผ่านมาเจอเนรัล มอเตอร์ กำลังพัฒนา รถยนต์เสียบปลั๊ก Chevrolet Volt Plug-in Hybrid และคาดว่าจะผลิตในเชิงพาณิชย์ได้ในปี 2553

Specifications of Toyota Plug-in HV (from GCC article)
 
Vehicle
 Length/Width/Height
 4,445/1,725/1,490 mm
 
Weight
 1,360 kg
 
Seating capacity
 5 persons
 
All-electric performance
 Cruising range
 13 km in 10-15 cycle
 
Max. speed
 100 km/h
 
Engine
 Displacement
 1,496cc
 
Max. output
 56 kW (75 hp) @ 5,000rpm
 
Max. torque
 110 Nm (81 lb-ft) @ 4,000 rpm
 
Motor
 Type
 AC synchronous
 
Max. output
 50 kW (67 hp) @ 1,200 - 1,540rpm
 
Max. torque
 400 Nm (295 lb-ft) @ 0-1,200 rpm
 
Secondary battery
 Type
 NiMH
 
Capacity
 13 Ah (6.5 Ah x 2)
 
Rated voltage
 202V
 
Overall System
 Maximum Output
 100 kW (134 hp)
 
Voltage
 202 - 500V
 
Battery charging
 Power source
 Household electrical power
 
Charging time
 1 - 1.5 hrs (200V); 3 - 4 hrs (100V)
 
บันทึกการเข้า
ช่างเล็ก(LSV)
Administrator
member
*

คะแนน1346
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 18843


คิดดี ทำดี ชีวิตมีแต่สุข


อีเมล์
« ตอบ #2 เมื่อ: ธันวาคม 06, 2007, 08:12:48 am »

รถยนต์ไฟฟ้าไทยรับมือโลกร้อน
 
เอ็มเทคผนึกผู้ผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ พัฒนารถยนต์ไฟฟ้ามุ่งคุณสมบัติลดการปล่อยก๊าซโลกร้อนสูงกว่ารถไฟฟ้าทั่วไป คาดยลโฉมต้นแบบ เม.ย. 51 ราคาไม่เกิน 2 แสน

กรุงเทพธุรกิจออนไลน์ : ดร.กิตตินันท์ อันนานนท์ หัวหน้าโครงการพัฒนารถยนต์ไฟฟ้าต้นแบบที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ (เอ็มเทค/สวทช.) กล่าวว่า ทีมวิจัยออกแบบรถไฟฟ้าต้นแบบ โดยเพิ่มประสิทธิภาพลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ซึ่งเป็นสาเหตุโลกร้อนให้ได้มากกว่า 60% ขณะที่รถไฟฟ้าทั่วไปลดการปล่อยก๊าซได้ 40% โดยออกแบบโครงสร้างทำจากอะลูมิเนียมที่ย่อยสลายได้ รวมทั้งเลือกใช้วัสดุที่สามารถนำกลับมาใช้ใหม่ ออกแบบให้ปรับเปลี่ยนชิ้นส่วนได้ง่าย เพื่อยืดอายุชิ้นส่วน

การออกแบบข้างต้นต้องไม่ส่งผลกระทบต่อประสิทธิภาพเครื่องยนต์ จึงต้องมีระบบวิเคราะห์ที่แม่นยำ ก่อนส่งต่อให้เอกชนทำหน้าที่ผลิตรถต้นแบบ ขณะที่สมรรถนะของรถต้นแบบจะเทียบเท่ารถยนต์เล็ก 1,300 ซีซี ขนาด 2-4 ที่นั่ง น้ำหนัก 300-600 กิโลกรัม วิ่งด้วยความเร็ว 80 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ชาร์จแบตเตอรี่ 12 ชั่วโมง วิ่งได้ระยะทาง 100 กิโลเมตร ทั้งนี้ เอ็มเทคจะพัฒนาระบบชาร์จของรถต้นแบบให้เป็นแบบรวดเร็ว หรือลดจาก 12 ชั่วโมงเหลือเพียง 30 นาที ได้กำลังไฟ 80% 

“การพัฒนารถยนต์ต้นแบบให้ได้มาตรฐานสากล ต้องคำนึงถึงความปลอดภัยเป็นหลัก เนื่องจากใช้พลังงานไฟฟ้า จึงต้องมีระบบป้องกันไฟฟ้ารั่ว โดยรถต้นแบบต้องวิ่งผ่านน้ำ หรือขับขี่กลางสายฝนได้ ถือเป็นโจทย์ที่ทีมวิจัยต้องให้ความสำคัญ”

หัวหน้าโครงการ กล่าวภายหลังพิธีลงนามสัญญาร่วมวิจัยและพัฒนารถยนต์ไฟฟ้าต้นแบบที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ระหว่างเอ็มเทคกับบริษัท ซีแทป โฮลดิ้ง (ประเทศไทย) จำกัด ผู้ผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ เมื่อวานนี้ (24 ก.ค.) ความร่วมมือดังกล่าว เพื่อเพิ่มศักยภาพการแข่งขันให้ภาคอุตสาหกรรม โดยอาศัยผลิตภัณฑ์เพื่อสิ่งแวดล้อม เพื่อหลีกเลี่ยงช่องทางกีดกันทางการค้า

 นายสามารถ ดีพิจารณ์ กรรมการผู้จัดการบริษัทซีแทป และประธานกลุ่มคลัสเตอร์ผู้ผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ กล่าวว่า ผู้ประกอบการในประเทศไทยมีศักยภาพผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ในลักษณะรับจ้างผลิต ปัจจุบันผลิตให้ลูกค้า 150 ประเทศ เช่น แคนนาดา นอร์เวย์และอังกฤษ กำลังการผลิตประมาณ 100 คันต่อเดือน แต่ยังไม่มีการประกอบโครงสร้างตัวรถทั้งคัน

“หากมีการยกระดับความสามารถของผู้ประกอบการผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ไทย ที่มีอยู่ประมาณ 3,000 โรงงานทั่วประเทศ จะเพิ่มศักยภาพการผลิตและแข่งขันเพื่อส่งออกไปยังประเทศในยุโรป ซึ่งเป็นกลุ่มลูกค้าเดิมของประเทศไทย คาดว่ารถไฟฟ้าต้นแบบจากโครงการนี้จะแล้วเสร็จราวเดือน เม.ย.51 ราคาขายไม่เกิน 2 แสนบาท” ประธานกลุ่มคลัสเตอร์ กล่าว

ดร.กิตตินันท์ กล่าวทิ้งท้ายว่า ด้วยศักยภาพของภาพเอกชน คาดว่าในปีแรกจะสามารถผลิตรถไฟฟ้า 100-500 คัน และใช้เวลาอีก 2-5 ปีในการก้าวสู่อุตสาหกรรมขนาดใหญ่ โดยนอกจากรถไฟฟ้าแล้ว ทีมวิจัยยังสนใจที่จะพัฒนารถเชื้อเพลิงเอทานอล รถพลังงานลูกผสม (ไฮบริด) รวมถึงรถที่ขับเคลื่อนด้วยเชื้อเพลิงไฮโดรเจน (เซลล์เชื้อเพลิง) ต่อไปในอนาคต

จุฑารัตน์ ทิพย์นำภา
 
 
บันทึกการเข้า
ช่างเล็ก(LSV)
Administrator
member
*

คะแนน1346
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 18843


คิดดี ทำดี ชีวิตมีแต่สุข


อีเมล์
« ตอบ #3 เมื่อ: ธันวาคม 06, 2007, 08:13:52 am »

จากภาวะเศรษฐกิจในปัจจุบัน น้ำมันมีราคาแพงขึ้น อีกทั้งปริมาณเริ่มลดลง ดังนั้นจึงควรเปลี่ยนมาใช้พลังงานอื่นทดแทน พลังงานแสงอาทิตย์เป็นแหล่งพลังงานอย่างหนึ่งซึ่งมีอยู่ตามธรรมชาติ จึงเป็นทางเลือกหนึ่งที่จะนำพลังงานแสงอาทิตย์มาประยุกต์ใช้ทดแทนน้ำมัน ซึ่งกำลังจะหมดสิ้นไป รถยนต์ไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ เป็นรถไฟฟ้าขนาดเล็กที่ช่วยลดการใช้น้ำมันและไฟฟ้า เนื่องจากรับพลังงานจากแสงอาทิตย์ โดยนำพลังงานแสงอาทิตย์มาแปลงเป็นพลังงานไฟฟ้าเก็บสะสมไว้ในแบตเตอรี่ และนำพลังงานไฟฟ้าจากแบตเตอรี่มาขับเคลื่อนมอเตอร์ไฟฟ้ากระแสตรง ด้วยวิธีการของการผสมสัญญาณตามความกว้างพัลส์ (PWM) ซึ่งเป็นสัญญาณทริกให้กับเพาเวอร์มอสเฟต เป็นผลให้มอเตอร์มีความเร็วที่แตกต่างกันออกไป ดังนั้นเราจึงสามารถปรับความเร็วที่แตกต่างกันออกไป ดังนั้นเราจึงสามารถปรับความเร็วของมอเตอร์ไฟฟ้ากระแสตรงได้ โดยการปรับความเร็วของมอเตอร์ไฟฟ้ากระแสตรงได้ โดยการปรับความกว้างของสัญญาณพัลส์เพื่อควบคุมความเร็วของรถ

จากผลการทดสอบพบว่า ค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นขณะใช้งานรถยนต์ไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ กับรถยนต์ที่ใช้น้ำมัน โดยถ้าใช้งานวันละ 5 กิโลเมตร จะเสียค่าใช้จ่ายสำหรับรถยนต์ไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ 4.55 บาท ส่วนการใช้น้ำมันเสียค่าใชย้จ่าย 10 บาท และถ้าใช้งานถึงวันละ 20 กิโลเมตร รถยนต์ไฟฟ้าร่วมกับพลังงานแสงอาทิตย์ต้องเสียค่าใช้จ่าย 4.60 บาท ส่วนการใช้น้ำมันเสียค่าใช้จ่าย 40 บาท จะเห็นว่าการใช้รถยนต์ไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ สามารถประหยัดเงินค่าน้ำมันได้ถึงร้อยละ 45.5 และ 88.5 ตามลำดับ นอกจากจะช่วยประหยัดค่าน้ำมันแล้วยังเป็นการช่วยลดมลพิษทางอากาศได้อีกทางหนึ่งด้วย



เจ้าของ/ผู้ประดิษฐ์

นายชิติสรรค์ วิชิโต

มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน จังหวัดนครราชสีมา

744 ถนนสุรนารายณ์ ตำบลในเมือง อำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา 30000

โทรศัพท์ 08-1264-8239

โทรสาร 0-4424-2217

e-mail : ch_wichit@yahoo.com



ข้อมูลจากหนังสือ Techno Mart 2006

ข้อมูลเพิ่มเติมโทร : 02-354 4466 ต่อ 621


ที่มา : สำนักส่งเสริมและถ่ายทอดเทคโนโลยี

------------------------------------------------------------------------------


 เผยโฉมรถใช้พลังงานไฟฟ้าฝีมือคนไทย รับสถานการณ์ราคาน้ำมันแพง แถมลดมลพิษทางอากาศและเสียง แจงใช้ชิ้นส่วน-อุปกรณ์ภายในประเทศทั้งหมด วิ่งได้ 100-120 ก.ม./ชั่วโมง

เก๋ง"มินิอีอี" ยอดจองพุ่ง 4 แสนคัน เล็งส่งออกออสซี่-มาเลย์-ฮ่องกง

เผยโฉมรถใช้พลังงานไฟฟ้าฝีมือคนไทย รับสถานการณ์ราคาน้ำมันแพง แถมลดมลพิษทางอากาศและเสียง แจงใช้ชิ้นส่วน-อุปกรณ์ภายในประเทศทั้งหมด วิ่งได้ 100-120 ก.ม./ชั่วโมง ผลิตออกมาแล้วหลายแบบ ยอดจองเก๋งมินิ(อีอี) พุ่ง 4 แสนคัน ตั้งเป้าส่งออกไปออสเตรเลีย-มาเลเซีย-ฮ่องกง คนใช้รถเก่าสนใจมาดัดแปลงได้

พล.อ.ท.มรกต ชาญสำรวจ ประธานกรรมการ บริษัท คลีนฟูเอล เอ็นนอร์ยี เอ็นเตอร์ไพร์ส จำกัด ผู้วิจัยและผู้ผลิตรถยนต์ใช้พลังงานไฟฟ้า เปิดเผยว่า ปัจจุบันโลกกำลังประสบปัญหาการขาดแคลนพลังงาน ปัญหาด้านมลภาวะทางอากาศ และราคาน้ำมันที่แพงขึ้นทุกขณะ ด้วยเหตุนี้จึงทำการวิจัยและประดิษฐ์รถยนต์นั่งขนาดเล็กใช้พลังงานไฟฟ้า ซึ่งใช้ชิ้นส่วนและอุปกรณ์ทั้งหมดในประเทศ โดยได้รับทุนสนับสนุนการวิจัยจากสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ(วช.)


"รถยนต์ไฟฟ้านี้ นอกจากจะช่วยลดการใช้น้ำมันแล้ว ยังแก้ปัญหามลภาวะทางอากาศและทางเสียงอย่างสิ้นเชิง เนื่องจากไม่มีการปล่อยมลสารและไม่มีเสียงดังขณะขับเคลื่อน และรถยังมีขนาดเล็ก เหมาะสมกับการจราจรในเมืองที่การจราจรคับคั่ง"

พล.อ.ท.มรกตกล่าวว่า รถยนต์ไฟฟ้านี้ได้รับการยอมรับให้วิ่งบนถนนสาธารณะได้อย่างปลอดภัย และภายในรถยนต์จะมีเครื่องปรับอากาศ เครื่องเสียง และระบบไฟฟ้าส่องสว่าง ระบบขับเคลื่อนรถยนต์ไฟฟ้านี้ประกอบด้วยอุปกรณ์ที่สำคัญคือ แบตเตอรี่ คันโยกมือ หรือ F-R Switch คันเร่ง และ V-Glide หรือ Wiper Switch มอเตอร์ ชุดควบคุมความเร็ว และโซลินอยด์

ส่วนแบตเตอรี่ที่เป็นแหล่งจ่ายพลังงานไฟฟ้า ใช้แบตเตอรี่ของประเทศไทยชนิด Deep Cycle ขนาด 8 V จำนวน 6 ลูก ต่ออนุกรมเพื่อให้แรงดันรวม 48 V และกระแสไฟฟ้า 150 AH เพื่อจ่ายไฟฟ้าให้กับระบบขับเคลื่อน เมื่อมีการใช้งานจนหมดไฟสามารถอัดประจุไฟฟ้าเข้าไปใหม่ได้โดยการใช้เครื่องชาร์จ ซึ่งมีทั้งระบบ Manual และ Auto และเครื่องจะหยุดทำงานเมื่อไฟเต็มเองโดยอัตโนมัติ ซึ่งใช้เวลาประมาณ 8 ชั่วโมง

พล.อ.ท.มรกตกล่าวว่า รถยนต์ไฟฟ้านี้มีการเลือกใช้ระบบไฟฟ้าที่เหมาะสมมีสภาพทนทาน ง่ายต่อการใช้งานสามารถวิ่งด้วยความเร็ว 100-120 กิโลเมตร/ชั่วโมง และราคาถูกกว่ารถนำเข้าจากต่างประเทศ 300,000-400,000บาท/คัน

"จากผลการวิจัยที่ใช้เวลากว่า 5 ปี พบว่ารถยนต์ที่ใช้น้ำมันเชื้อเพลิงมีความสิ้นเปลืองน้ำมันและและค่าบำรุงรักษาคิดเป็น 260,000บาท/5 ปี ขณะที่รถยนต์จากการวิจัยนี้มีค่าไฟฟ้าและบำรุงรักษาเป็นเงิน 95,500บาท/5 ปี"

พล.อ.ท.มรกตกล่าวว่า รถยนต์ไฟฟ้าจากการวิจัยที่จะนำออกมาใช้บนท้องถนน อาทิ รถ Carry All มี 4 ตอน 12 ที่นั่ง, รถ Tuk Tuk Arun Sawasdi มี 2 ตอน 3 ที่นั่ง, รถช็อปเปอร์ Blowing Storm หรือพายุพัด, รถ Sea-Lion มี 2 ตอน 4 ที่นั่ง พร้อมกระบะบรรทุก และรถเก๋ง Mini( E.E.) Car มี 2 ที่นั่ง (ดูรูปประกอบ) และรถไฟฟ้าของสภาวิจัยแห่งชาติที่มียอดจองแล้ว 50 คัน

"ปัจจุบันรถยนต์ไฟฟ้ามีกำลังการผลิตเฉพาะในเขตกรุงเทพฯ 10,000-20,000 คัน ส่วนรถยนต์รุ่น Mini(E.E.) Car มียอดจองถึง 400,000 คัน และอนาคตคาดว่าจะเปิดตลาดที่ประเทศออสเตรเลีย ฮ่องกง และมาเลเซีย" พล.อ.ท.มรกตกล่าว และว่า สำหรับประชาชนที่สนใจจะใช้รถยนต์ไฟฟ้าสามารถนำรถเก่าที่มีขนาดเล็กมาดัดแปลง และขอข้อมูลจากศูนย์การวิจัยได้

บันทึกการเข้า
ช่างเล็ก(LSV)
Administrator
member
*

คะแนน1346
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 18843


คิดดี ทำดี ชีวิตมีแต่สุข


อีเมล์
« ตอบ #4 เมื่อ: ธันวาคม 06, 2007, 08:21:19 am »

รถยนต์ไฟฟ้าขนาดเล็ก พลังงานแสงอาทิตย์


จากภาวะเศรษฐกิจในปัจจุบัน น้ำมันมีราคาแพงขึ้น อีกทั้งปริมาณเริ่มลดลง จึงควรเปลี่ยนมาใช้พลังงานอื่นทดแทน "พลังงานแสงอาทิตย์" เป็นแหล่งพลังงานอย่างหนึ่งซึ่งมีอยู่ตามธรรมชาติ จึงเป็นทางเลือกหนึ่งที่จะนำพลังงานแสงอาทิตย์มาประยุกต์ใช้ทดแทนน้ำมันซึ่งกำลังจะหมดสิ้นไป

รถยนต์ไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ เป็นรถไฟฟ้าขนาดเล็กที่ช่วยลดการใช้น้ำมันและไฟฟ้า เนื่องจากรับพลังงานจากแสงอาทิตย์ โดยนำพลังงานแสงอาทิตย์มาแปลงเป็นพลังงานไฟฟ้าเก็บสะสมไว้ในแบตเตอรี่ และนำพลังงานไฟฟ้าจากแบตเตอรี่มาขับเคลื่อนมอเตอร์ไฟฟ้ากระแสตรง ด้วยวิธีการของการผสมสัญญาณตามความกว้างพัลส์ (PWM) ซึ่งเป็นสัญญาณทริกให้กับพาวเวอร์มอสเฟต เป็นผลให้มอเตอร์มีความเร็วที่แตกต่างกันออกไป

นั่นทำให้เราสามารถปรับความเร็วของมอเตอร์ไฟฟ้ากระแสตรงได้ โดยการปรับความกว้างของสัญญาณพัลส์เพื่อควบคุมความเร็วของรถ

จากผลการทดลองพบว่า ค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นขณะใช้งานรถยนต์ไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ กับรถยนต์ที่ใช้น้ำมัน เปรียบเทียบกับการใช้งานวันละ 5 กิโลเมตร จะเสียค่าใช้จ่ายสำหรับรถยนต์ไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ 4.55 บาท ส่วนการใช้น้ำมันเสียค่าใช้จ่าย 10 บาท

ถ้าใช้งานถึงวันละ 20 กิโลเมตร รถยนต์ไฟฟ้าร่วมกับพลังงานแสงอาทิตย์ต้องเสียค่าใช้จ่าย 4.60 บาท ส่วนการใช้น้ำมันเสียค่าใช้จ่าย 40 บาท จะเห็นว่าการใช้รถยนต์ไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ สามารถประหยัดเงินค่าน้ำมันได้ถึง 45.5 และ 88.5 เปอร์เซ็นต์ ตามลำดับ นอกจากจะช่วยประหยัดค่าน้ำมันแล้ว ยังเป็นการช่วยลดมลพิษทางอากาศได้อีกทางหนึ่งด้วย

รถยนต์ไฟฟ้าขนาดเล็กพลังงานแสงอาทิตย์ (Mini Electric Vehicle) ซึ่งเป็นผลงานของคณะอาจารย์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โดย นายชิติสรรค์ วิชิโต อาจารย์แผนกเทคนิคคอมพิวเตอร์ เป็นหัวหน้าโครงการ ร่วมกับคณะประดิษฐ์ขึ้น เพื่อเป็นรถไฟฟ้าขนาดเล็กจากการใช้พลังงานจากแสงอาทิตย์ ซึ่งเป็นแหล่งพลังงานทดแทนที่ใช้แล้วไม่หมดสิ้น โดยสามารถหมุนวนกลับมาใช้ได้อีก เป็นพลังงานสะอาด ไม่สร้างมลภาวะขณะใช้งาน ไม่ทำลายสภาพแวดล้อม

โดยวิธีการทำงานของรถยนต์ไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์นี้ จากการใช้มอเตอร์ไฟฟ้ากระแสตรงและแบตเตอรี่ 24 โวลต์ โดยติดตั้งแผงเซลล์แสงอาทิตย์ขนาด 50 วัตต์ จำนวน 2 แผง เพื่อจะทำให้สามารถผลิตไฟฟ้ากระแสงตรงได้เพียงพอในการประจุให้กับแบตเตอรี่ ซึ่งแรงดันและกระแสไฟฟ้าที่ได้จากแผงเซลล์แสงอาทิตย์จะเปลี่ยนแปลงตามความเข้มของแสงอาทิตย์ หากในวันที่แสงอาทิตย์ไม่เพียงพอ ก็สามารถใช้ไฟฟ้าจากบ้านเรือนในการชาร์จประจุให้กับแบตเตอรี่ได้อีกทางหนึ่ง

พลังงานไฟฟ้าจากแบตเตอรี่จะนำไปใช้เป็นพลังงานในการขับเคลื่อนตัวรถ โดยวงจรพัลส์วิดมอดูเลเตอร์ (Pulse Width Modualtor) รับสัญญาณแรงดันจากการเหยียบคันเร่งมาควบคุมความกว้างพัลส์ (duty cycle) ที่จะนำไปส่งให้กับวงจรขับมอเตอร์เพื่อทำการปรับความเร็วของมอเตอร์

วงจรขับมอเตอร์เป็นแบบโซลิทสเตท มีกำลังงานสูญเสียต่ำ และสามารถกลับทิศทางของมอเตอร์ได้ สามารถทนกระแสได้ 100 แอมแปร์ ซึ่งเพียงพอกับมอเตอร์กระแสตรงขนาด 24 โวลต์ 500 วัตต์ จำนวน 2 ตัว ที่เป็นตัวต้นกำลังของรถไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ ซึ่งมีความทนทาน ราคาถูกและหาได้ง่าย

จากความคิดสร้างสรรค์นี้เอง จากการเดินทางระยะสั้น 1-2 กม. ถ้าใช้รถจักรยานยนต์ หรือรถยนต์ก็ต้องสิ้นเปลืองน้ำมันเชื้อเพลง หรือทำให้มีค่าใช้จ่ายในการเดินทางเกิดขึ้น การค้นหาและประดิษฐ์พาหนะที่ใช้ในการเดินทางโดยไม่ต้องใช้น้ำมัน ใช้งบประมาณน้อยที่สุด จึงได้นำเอาล้อรถจักรยานขนาด 16 นิ้วและมอเตอร์ 25,800 วัตต์ 2 ตัว มาสร้างเป็นรถไฟฟ้าขนาดเล็กสองที่นั่ง วิ่งได้ความเร็วสูงสุด 20 กม./ชม. รับน้ำหนักได้ประมาณ 100 กก. ใช้แผงเซลล์แสงอาทิตย์ 50 วัตต์ จำนวน 2 แผง และแบตเตอรี่ขนาด 7 แอมแปร์ 4 ลุค

ขณะนี้ทดลองใช้งานส่งเอกสารของคณะไฟฟ้า ภายในมหาวิทยลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน จ.นครราชสีมา วันละ 60-10 กม. เป็นเวลา 18 เดือน โดยมีการชาร์จไฟจากระบบไฟฟ้า 220 โวลต์ ประมาณ 20 ครั้งเท่านั้น

จากนั้นจึงมีความคิดในการออกแบบและสร้างขึ้นใหม่ เป็นรุ่นที่ 2 ให้มีความสวยงามและแข็งแรงขึ้น เพื่อใช้งานภายในมหาวิทยาลัย อีก 4 คัน โดยงบประมาณการจัดสร้างคันละ 65,000 บาท

รถไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์รุ่นใหม่ ซึ่งออกแบบให้มีความต้องการชิ้นส่วนน้อย แต่แข็งแรง ง่ายในการสร้าง มีขนาดกะทัดรัด ราคาถูก และคุ้มค่าในการใช้งาน จึงได้เลือกระบบไฟฟ้า 24 โวลต์ แบตเตอรี่ของรถยนต์ชนิดตะกั่ว-กรด ขนาด 12 โวลต์ 35 แอมแปร์ แผงเซลล์แสงอาทิตย์ขนาด 50 วัตต์ และมอเตอร์กระแสตรงขนาด 500 วัตต์ 24 โวลต์ ในส่วนของวงจรควบคุมได้ทำการออกแบบและทดลองใช้งานจากอุปกรณ์ทุกชิ้นที่สามารถหาซื้อง่าย

ตั้งแต่โครงสร้างของรถที่ออกแบบให้สร้างได้ง่าย โดยได้ใช้รูปแบบเป็นรูปใบไม้เพื่อให้ทำงานได้ง่าย ไม่ต้องมีแชสซิส ทำให้มีน้ำหนักเบา มีส่วนประกอบน้ำ ในส่วนของข้อต่อต่างๆ เลือกชิบุชล เพลา, ตลับลูกปืน, โช้คอัพ, ดิสก์เบรก และกระทะล้อของรถจักรยานยนต์ ทำให้หาอะไหล่ได้ง่ายและมีราคาถูก

ในขั้นแรกทำการทดลองสร้างรถต้นแบบรุ่นที่ 2 ขึ้นทดลองวิ่ง เพื่อทดสอบการทำงานของระบบต่างๆ ก่อนจะทำการสร้างจริง ตั้งแต่เดือนธันวาคม 2548 จนถึงปัจจุบัน รถยนต์ไฟฟ้าต้นแบบพลังงานแสงอาทิตย์นี้ ทำงานวันละ 6-10 กม. แต่ละวันมีเวลาในการชาร์จประจุให้กับแบตเตอรี่ประมาณ 8-10 ชั่วโมง จากเวลาประมาณ 07.00-17.00 น. ที่ต้องทำการชาร์จไฟจากระบบไฟฟ้า 220 โวลต์ แต่อย่างใด

เพียงแต่นำรถไปจอดไว้กลางแดดเท่านั้น ทำให้ไม่มีค่าใช้จ่ายในการใช้งานและบำรุงรักษา

จากสภาพภูมิอากาศของไทย 3 ฤดู ปกติจะมีแสงแดดเกือบตลอดทั้งวัน แต่ในช่วงฤดูฝน อาจจะมีอุปสรรคในการรับแสงจากดวงอาทิตย์ หากใน 1 ปี 365 วัน เป็นช่วงฤดูฝน 4 เดือน ที่ไม่มีแสงอาทิตย์ ทำให้ไม่สามารถชาร์จไฟฟ้าจากแสงอาทิตย์ได้ประมาณ 120 วัน เราสามารถชาร์จไฟให้กับแบตเตอรี่จากระบบไฟฟ้า 220 โวลต์ ได้โดยใช้ไฟฟ้าครั้งละประมาณ 1 หน่วย หรือ 100 วัตต์ นาน 8-10 ชั่วโมง คิดค่าไฟฟ้าหน่วยละ 3 บาท จะมีค่าใช้จ่ายต่อการชาร์จครั้งละ 3 บาท หรือประมาณปีละ 360 บาท

เทียบกับรถยนต์ส่วนบุคคลทั่วไปจะมีความสิ้นเปลืองในการใช้น้ำมันโดยเฉลี่ย 15 กิโลเมตรต่อลิตร ถ้าราคาน้ำมันไต่ไปถึงลิตรละ 30 บาท ต้องเสียค่าน้ำมันอย่างน้อยไม่ต่ำกว่ากิโลเมตรละ 2 บาท

ผลงานจากสถาบันการศึกษาเช่นนี้ จึงเป็นสิ่งที่ควรผลักดันให้มีการทดสอบ ต่อยอด และขยายวงให้กว้างขึ้น

หากมีของดีๆ เราก็อย่าปล่อยให้วางไว้แค่อยู่บนหิ้ง....อย่างที่เป็นอยู่ !!

บันทึกการเข้า
e21fnw-LSV team♥
.กลุ่มผู้มีน้ำใจงาม..
member
*

คะแนน863
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 2225


สนับสนุนคนดีให้ปกครองบ้านเมือง


อีเมล์
« ตอบ #5 เมื่อ: ธันวาคม 06, 2007, 06:12:22 pm »

นึกได้เคยดูทางโทรทัศน์ 

อันนี้ผลิตในไทยครับ ได้รับมาตรฐาน ส่งนอกด้วย

http://www.c-fee.com/our_product.html
บันทึกการเข้า

สมาธิมี  ปัญญาเกิด
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by MySQL Powered by PHP Powered by SMF 1.1 RC2 | SMF © 2001-2006, Lewis Media

lsv2555Please follow the new website at https://www.pohchae.com

Valid CSS!