หัวข้อ: ประวัติ รถยนต์ฮอนด้า ซิตี้..รถเล็กมาดเฉี่ยว เริ่มหัวข้อโดย: nongtop ที่ เมษายน 21, 2017, 01:52:18 pm หากอ่านบทความไม่พอดีกับจอมือถือ คลิ๊ก!!ดูเนื้อหาเกี่ยวข้อง>www.ubmthai.com เวอร์ชั่นสมาร์ทโฟน >>
https://goo.gl/l5DYQN ![]() ฮอนด้า ซิตี้
Generation ที่ 1 (พ.ศ. 2524 - 2529)ฮอนด้า ซิตี้ รุ่นแรก เริ่มผลิตเป็นรถ hatchback 3 ประตู (ซ้าย ขวา และหลัง) มีจุดเด่นตรงที่รถมีความสูงมาก และมีพื้นที่ภายในที่ดูกว้างขวาง ทั้งๆ ที่ดูภายนอกแล้วรถมีขนาดเล็ก ซิตี้รุ่นแรกนี้ มีกระแสตอบรับมากพอสมควร จนในปีถัดมา (พ.ศ. 2525) ซิตี้ก็เริ่มทำรถแบบ convertible (เปิดประทุนได้) และแบบรถสปอร์ต และอีกปีถัดมา (พ.ศ. 2526) ที่นิวซีแลนด์ ซิตี้ ได้เข้าไปแทนที่รถมินิ ในสายการผลิตของโรงงานผลิตรถยนต์ที่นั่น และในปีเดียวกัน ก็มีการส่งออกรถซิตี้ไปยังประเทศออสเตรเลียเป็นจำนวนมากเช่นกันGeneration ที่ 2 (พ.ศ. 2529 - 2537)โฉมนี้ ซิตี้ ยกเลิกการผลิตรถรุ่นเปิดประทุน โฉมนี้ไม่เป็นที่รู้จักของผู้คนโดยทั่วไป เนื่องจากโฉมนี้ไม่ประสบความสำเร็จมากนัก และได้ยกเลิกการนำเข้ารถซิตี้มาขายในออสเตรเลีย เปลี่ยนไปนำเข้ารถ ฮอนด้า โลโก้ มาจำหน่ายแทน ซิตี้โฉมนี้ หยุดการผลิตลงใน พ.ศ. 2537 และซิตี้หยุดการผลิตไปนานถึง 2 ปี ก่อนจะนำกลับมาผลิตใหม่อีกครั้ง ซึ่ง Generation ถัดจากนี้เป็นต้นไป ซิตี้ ก็เป็นที่รู้จักอย่างกว้างขวางในสังคมไทยGeneration ที่ 3 (พ.ศ. 2539 - 2545)โฉมนี้เป็นโฉมแรกที่บริษัทฮอนด้านำเข้ามาขายในประเทศไทย ในประเทศไทยพ่อค้าเรียกว่าซิตี้รุ่นแรก ซึ่งต่อมาได้เปลี่ยนโฉมเป็น Type Z ซึ่งคล้ายกับ Civic Minorchange มาก ทั้งนี้ ทางฮอนด้า ยกเลิกเป้าหมายที่จะให้ซิตี้เป็นที่นิยมในวงกว้างทั่วโลก เปลี่ยนมาตั้งเป้าหมายให้ซิตี้เป็นที่นิยมในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ จึงได้ออกแบบซิตี้โฉมนี้มาเพื่อคนเอเชียตะวันออกเฉียงใต้โดยเฉพาะ โดยเปลี่ยนมาเน้นการผลิตรถ sedan แทนรถ hatchback และช่วงนี้ ซิตี้เป็นคู่แข่งทางธุรกิจกับ โตโยต้า เทอร์เซล หรืออีกชื่อหนึ่ง โตโยต้า โซลูน่า ในช่วงแรกๆ ซิตี้ในประเทศไทยมีเฉพาะเครื่องยนต์ขนาด 1300 ซีซี แต่ในภายหลังได้ออกเครื่องยนต์ 1500 ซีซีด้วย เครื่อง hyper ซิตี้โฉมนี้ ออกแบบมาเพื่อให้เป็นรถ "ฮอนด้า ซีวิคย่อส่วน" ซึ่งค่อนข้างถูกใจคนเอเชีย ช่วงรุ่นนี้ของซิตี้ ออกแบบมาจากซีวิคโฉมไฟท้าย 2 ชั้น (EF) ซิตี้โฉมนี้เป็นที่นิยมในประเทศอินเดีย, ไทย, มาเลเซีย, อินโดนีเซีย, ฟิลิปปินส์ และ ปากีสถาน ยิ่งโดยเฉพาะโฉมนี้ซึ่งมีฮอนด้า ซิตี้ Type Z ซึ่งเป็นรุ่นพิเศษซึ่งก็เป็นที่นิยมไม่น้อยในไทย โดยมีขายในช่วง พ.ศ. 2542- 2545Generation ที่ 4 (พ.ศ. 2545 - 2551)โฉมนี้ในบางประเทศจะใช้ชื่อว่า "ฮอนด้า ฟิต เอเรีย" (Honda Fit Aria) โฉมนี้ยังคงเป็นที่นิยมในถิ่นเดิม เช่นเดียวกับโฉมที่แล้ว และโฉมนี้ มีรุ่นที่ปรับโฉมเล็กน้อย (ไมเนอร์เชนจ์) คือ ฮอนด้า ซิตี้ ZX ซึ่งเริ่มผลิตขึ้นใน พ.ศ. 2548 โฉมนี้เป็นที่รู้จักกันดีคือจะใช้ระบบเกียร์แบบใหม่ CVT 7 สปีด ควบคู่เกียร์อัตโนมัติธรรมดา โดยที่เกียร์ธรรมดา (เกียร์กระปุก) ก็ยังมีขาย และใช้เครื่องยนต์หัวฉีด i-DSI หรือ VTEC โฉมนี้ เป็นโฉมที่ซิตี้ เริ่มแข่งขันทางการตลาดกับโตโยต้า วีออส ซึ่งแข่งมาถึงปัจจุบัน ซึ่งโดยรวมแล้ว ถือว่า ซิตี้ได้เปรียบวีออสในเรื่องของการประหยัดเชื้อเพลิง (โดยเฉพาะรุ่นเครื่องยนต์ i-DSI) แต่เสียเปรียบวีออสในเรื่องการโฆษณาประชาสัมพันธ์ ความเป็นที่นิยมของรถ (ก่อนที่จะมีซิตี้ ZX นั้น ซิตี้รุ่นนี้ขายดีน้อยกว่าพอสมควร) สมรรถนะของรถ และความดูทันสมัยในรถ (เช่น วีออส ใช้หน้าปัดดิจิตอลแสดงความเร็วรถ แต่ซิตี้ยังเป็นเข็ม) สำหรับคุณภาพของตัวรถนั้นถือว่าใกล้เคียงกันGeneration ที่ 5 (พ.ศ. 2551 - พ.ศ. 2557 )โฉมนี้ เปิดตัวในประเทศไทยเมื่อวันที่ 10 กันยายน พ.ศ. 2551 โดยจะมี 3 รุ่นให้เลือกในประเทศไทย คือ รุ่น S , V และ SV ซึ่งรุ่น S จะมีราคาที่ถูกสุด และ SV จะมีราคาแพงที่สุด ราคาที่จำหน่าย Honda City 5th Gen. Pre-facelift
Generation ที่ 6 (พ.ศ. 2557 - ปัจจุบัน )โฉมนี้ เปิดตัวในประเทศไทยในรอบสื่อมวลชนเมื่อวันที่ 23 มกราคม พ.ศ. 2557 ที่ไบเทค บางนา โดยจะมี 5 รุ่นให้เลือกในประเทศไทย คือ รุ่น S (เกียร์ธรรมดา), V , V+ , SV และ SV+ สำหรับเครื่องยนต์ก็ยังใช้เครื่องยนต์ตัวเดิม ขนาด 1.5 ลิตร แต่พละกำลังถูกลดลงเล็กน้อยลงเหลือ 117 แรงม้าที่ 6,000 รอบ/นาที แรงบิดสูงสุดเพิ่มขึ้นเล็กน้อยที่ 146 นิวตัว-เมตรที่ 4,700 รอบ/นาที ส่งกำลังด้วยเกียร์ CVT พร้อมระบบ Paddle Shift 7 สปีด และมีเกียร์ธรรมดา 5 สปีดในรุ่นล่างสุด รองรับน้ำมันเชื้อเพลิง E85 ในทุกรุ่นย่อย พร้อมกับระบบ Econ Assist ที่ช่วยให้การขับขี่ประหยัดน้ำมันมากขึ้น พร้อมทั้งยังมีโครงสร้างนิรภัย G-CON ระบบป้องกันการล็อกล้อ ABS ระบบควบคุมการทรงตัว VSA ระบบช่วยออกตัวในทางชัน HSA (ยกเว้นรุ่นเกียร์ธรรมดา) และไฟเตือนการเบรกกระทันหัน ESS เป็นอุปกรณ์เพื่อความปลอดภัยมาตรฐานในทุกรุ่นย่อย และตั้งแต่รุ่น V+ ขึ้นไปจะมีเสาครีบฉลาม (Shark Fin) และหน้าจอระบบสัมผัสขนาด 7 นิ้วรุ่นปรับโฉมรุ่นปรับโฉมของฮอนด้า ซิตี้ ได้เผยโฉมเมื่อเดือนมกราคม พ.ศ. 2560 โดยมีการเปลี่ยนแปลงภายนอกคือ กระจังหน้าแบบใหม่ที่มีลักษณะใกล้เคียงกับฮอนด้า ซีวิค และได้ใช้ไฟหน้าและไฟตัดหมอกแบบ LED ในรุ่น SV และ SV+ ส่วนไฟส่องสว่างในเวลากลางวันแบบ LED มีมาให้ในทุกรุ่นย่อย ภายในมีการปรับปรุงบริเวณหน้าจออินโฟนเทนเมนต์เล็กน้อยและมาตรวัดแบบใหม่ ส่วนระบบความปลอดภัยได้มี ABS, VSA, HSA, ESS ในทุกรุ่นย่อย กล้องมองหลังเวลาถอยจอดปรับมุมมองได้ 3 ระดับ (เฉพาะรุ่น V+, SV, SV+) และถุงลมนิรภัย 6 ตำแหน่งสำหรับรุ่น SV+ เท่านั้น ส่วนรุ่นที่เหลือได้ถุงลมนิรภัยคู่หน้า 2 ตำแหน่ง ซึ่งเหมือนเดิมทุกอย่างเมื่อเทียบกับรุ่นก่อนปรับโฉม.. |