พิมพ์หน้านี้ - การเลี้ยงปลาสลิดในนาข้าว

LSVคลังสมองออนไลน์ "ปีที่14"

สารพัดช่าง-แนวทางอาชีพ => รวมอาชีพ => ข้อความที่เริ่มโดย: คนเกษตร ที่ กุมภาพันธ์ 20, 2016, 12:44:08 pm



หัวข้อ: การเลี้ยงปลาสลิดในนาข้าว
เริ่มหัวข้อโดย: คนเกษตร ที่ กุมภาพันธ์ 20, 2016, 12:44:08 pm
การเลี้ยงปลาสลิดในนา
  
 การเลี้ยงปลาสลิดนิยมเลี้ยงในนาปลา ซึ่งเริ่มมาจาการเลี้ยงในนาข้าว แต่เนื่องจากผลผลิตของข้าวที่ได้ไม่ดีเท่าปลา ชาวนาจึงเลิกทำนาแล้วหันมาเลี้ยงปลาสลิดในนาเพียงอย่างเดียว โดยเริ่มมีผู้ทำการเลี้ยงปลาสลิดในนาประมาณปี พ.ศ. 2500 ในเขตชลประทานโครงการเชียงราก-คลองด่าน ของโครงการใหญ่ลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา สำหรับบริเวณที่ใช้ทำนำปลาสลิดในขณะนั้นอยู่ระหว่างคลองสำโรงกับถนนสุขุมวิท ในท้องที่จังหวัดสมุทรปราการและฉะเชิงเทรา
 
 
การเลือกทำเลที่เหมาะสม

         นาทุกแปลงมิใช่ว่าจะเหมาะสมในการเลี้ยงปลาในนาเสมอไป ซึ่งการเลี้ยงปลาในนามักจะประสบปัญหาอยู่เสมอ โดยเฉพาะในเรื่องน้ำ เช่น น้ำบางท้องที่อาศัยเฉพาะน้ำฝนหรือไม่สามารถรักษาระดับน้ำในผืนนาไว้ได้ตลอด ระยะเวลาที่ต้องการ ดังนั้นหากนาที่จะเลี้ยงปลาสามารถเก็บกักน้ำไว้ได้มากกว่าปกติเพียงประมาณ 30 เซนติเมตรเป็นอย่างน้อยตลอดฤดูกาลเลี้ยงและสามารถควบคุมปริมาณน้ำโดยไม่ให้ ท่วมผืนนาได้แล้ว นาแปลงนั้นก็สามารถที่จะเลี้ยงปลาได้ผลดี

          ดังนั้นในการเลือกทะเลที่เหมาะสมในการเลี้ยงปลาในนาควรยึดหลักในการเลือกผืน นาดังนี้คือ ควรอยู่ใกล้แหล่งน้ำ เช่น คู คลอง หนอง บึง หรือทางน้ำไหลที่สามารถนำน้ำเข้าแปลงนาได้ ไม่เป็นที่ลุ่มจนน้ำท่วมหรือที่ดอนเกินไปจนไม่สามารถเก็บกักน้ำได้ นอกจากนี้จะต้องสะดวกต่อการดูแลรักษาด้วย

ลักษณะและขนาดของแปลงนา


          นาที่ใช้เลี้ยงปลาสลิดส่วนใหญ่ดัดแปลงมาจากนาข้าว โดยขุดคูรอบผืนนาและนำดินขึ้นมาถมทำเป็นคันดินเพื่อเก็บกักน้ำไว้ใช้เลี้ยง ปลา ขนาดของนาปลาสลิดจะแตกต่างกันมากทั้งนี้ขึ้นอยู่กับขนาดพื้นที่นาของเกษตรกร โดยนาปลาสลิดมีขนาดตั้งแต่ 5 ไร่จนถึงขนาดใหญ่กว่า 50 ไร่ ภายในนาให้ขุดเป็นคูโดยรอบขนานไปกับคันนา คูนาปลาสลิดกว้างประมาณ 3 เมตร ลึกประมาณ 75 เซนติเมตร จุดที่จะนำปลาขึ้นซึ่งอยู่ใกล้กับคลองจะลึกกว่าบริเวณอื่นประมาณ 1 เมตร และทำทางน้ำเข้าออกด้วย ที่มุมหนึ่งของแปลงนาให้สร้างเป็นนาขนาดเล็กมีพื้นที่ 10% ของแปลงนาทั้งหมด ไว้สำหรับใช้เลี้ยงพ่อแม่พันธุ์และปล่อยให้ปลาสลิดผสมพันธุ์วางไข่ หากดินมีสภาพเป็นกรดหรือที่เรียกว่าดินเปรี้ยวก็ให้หว่านปูนขาวช่วยแก้ไขใน ปริมาณ 100 กิโลกรัมต่อไร่ แต่ต้องคอยวัดค่าความเป็นกรดในแปลงนาอยู่เสมอ

          บนพื้นที่นาจะปล่อยให้หญ้าขึ้นหนาแน่นเพื่อให้เป็นที่ก่อหวอดและวางไข่ของ ปลาสลิด และรักษาระดับน้ำให้ท่วมพื้นนาสูงประมาณ 30-50 เซนติเมตรตลอดระยะการเลี้ยง หญ้ามีความสำคัญต่อการทำนาปลาสลิดมากเพราะว่าเป็นที่กำบังลมและฝนของหวอดไข่ ปลา เป็นที่หลบภัยของลูกปลาวัยอ่อนจากศัตรู เป็นปุ๋ยสำหรับก่อให้เกิดอาหารธรรมชาติของพวกแพลงค์ตอนและสัตว์หน้าดิน เป็นกำบังป้องกันไม่ให้อุณหภูมิบนแปลงนาร้อนจนเกินไปเมื่อมีแสงแดดจัด และการหมักหญ้าในนาก่อนเพาะฟักประมาณ 2-3 สัปดาห์จะช่วยแก้ปัญหาความเป็นกรดของน้ำได้

          การปล่อยปลาลงเลี้ยง ปลูกปลาสลิดที่นำมาเลี้ยงในนานั้นส่วนใหญ่ได้จากเกษตรกรเพาะพันธุ์เอง ซึ่งแปลงเพาะพันธุ์จะอยู่ติดกับแปลงนาทั้งนี้เพื่อความสะดวกในการถ่ายเทลูก ปลา หลังจากทำการเพาะพันธุ์แล้วก็จะทำการอนุบาลลูกปลาไว้ในแปลงเพาะพันธุ์ต่อไป อีกประมาณ 2 เดือน แล้วจึงเปิดประตูให้ลูกปลาเข้าไปในแปลงนาต่อไป

          การเลี้ยงปลาสลิดในนาเกษตรกรจะทำการคัดเลือกพันธุ์และคัดเลือกเพศปลาสลิดไป เลี้ยงไว้ในแปลงเพาะพันธุ์ซึ่งอยู่ติดกับแปลงนาส่วนขนาดของแปลงเพาะพันธุ์ นั้นขึ้นอยู่กับขนาดของแปลงนาใหญ่ที่ใช้เลี้ยง ถ้าแปลงนาใหญ่มีเนื้อที่ 20 ไร่แปลงเพาะพันธุ์ควรมีขนาด 1.5- 2 ไร่ และขนาดของแปลงเพาะพันธุ์จะเพิ่มขึ้นตามสัดส่วนของขนาดแปลงนา แต่ไม่ควรเกิน 5 ไร่เพราะดูแลรักษายาก การปล่อยพ่อแม่พันธุ์ปลาสลิดเพื่อทำการเพาะขยายพันธุ์ควรปล่อยในอัตราประมาณ 160 คู่/ไร่ การเพาะพันธุ์ปลาสลิดกระทำโดยการเพิ่มระดับน้ำให้ท่วมแปลงเพาะพันธุ์ เมื่อระดับน้ำเพิ่มขึ้นพ่อแม่พันธุ์จะขึ้นไปวางไข่บนแปลงนาพร้อม ๆ กันภายใน 1 สัปดาห์ทำให้ได้ลูกปลาสลิดที่มีขนาดเดียวกันมาเลี้ยง หลังจากอนุบาลลูกปลาสลิดอยู่ประมาณ 2 เดือนจึงทำการเปิดประตูให้ลูกปลาออกสู่แปลงนาใหญ่ อัตราการปล่อยลูกปลาสลิดลงเลี้ยงในแปลงนาใหญ่คือไม่ควรเกิน 5,000 ตัว/ไร่ สำหรับวิธีการล่อให้ลูกปลาสลิดออกสู่แปลงนาใหญ่นั้นทำได้โดยการสูบน้ำเข้า แปลงนาใหญ่และเปิดให้ไหลลงสู่แปลงเพาะพันธุ์ ลูกปลาสลิดก็จะว่ายทวนน้ำออกไปสู่แปลงนาใหญ่ต่อไป

การให้อาหาร

          ตามธรรมชาติแล้วปลาสลิดมีนิสัยชอบกินอาหารที่มีชีวิต จึงนิยมเลี้ยงในที่กว้าง ๆ อย่างแปลงนาซึ่งมีสภาพเหมาะสมสำหรับการเตรียมอาหารธรรมชาติ แปลงนาที่ดีควรมีพืชน้ำประเภทหญ้า เช่น หญ้าทรงกระเทียม หญ้าชันกาด หญ้าไทร และหญ้าแพรกขึ้นอย่างหนาแน่น

          ในการเตรียมอาหารโดยทั่วไปเกษตรกรจะตัดหญ้าส่วนที่อยู่เหนือน้ำในแปลงนาเป็น แนวเว้นแนวทั่วแปลงนา เมื่อแนวหญ้าที่ตัดเจริญโผล่ขึ้นเหนือน้ำจึงตัดหญ้าในแนวที่ยังไม่ได้ตัดอีก ทำเช่นนี้สลับกันไปเรื่อย ๆ ตลอดระยะเวลาการเลี้ยง แล้วกรายหญ้าที่ตัดไว้บนแปลงนา หมักหญ้าที่ตัดไว้ในแปลงนาจนเน่าเปื่อยจนก่อให้เกิดอาหารธรรมชาติต่อเนื่อง กันเป็นลูกโซ่ โดยเริ่มจากจุลินทรีย์เป็นตัวทำให้หญ้าเปื่อยสลายจนกระทั่งเกิดแพลงค์ตอน กุ้งปูขนาดเล็ก และตัวอ่อนของแมลงที่ปลาสามารถใช้เป็นอาหารได้ในที่สุด

          เนื่องจากการเตรียมอาหารจากปุ๋ยพืชสดโดยการตัดหญ้าจะให้ผลล่าช้า คือจะต้องเวลานากว่า 7 วัน จึงแนะนำให้ใส่ปุ๋ยคอกควบคู่ไปกับการตัดหญ้าด้วย โดยใส่ปุ๋ยทุกวัน ๆ ละ 2.5 กิโลกรัม/ไร่ วิธีนี้จะช่วยให้เกิดอาหารในปริมาณมากและเร็วขึ้น โดยใช้เวลาเพียง 3 วัน ผลผลิตที่ได้ก็สูงกว่าการเลี้ยงแบบไม่ใส่ปุ๋ย นอกจากนี้แนะนำให้เพิ่มผลผลิตปลาสลิดด้วยการให้อาหารสมทบประเภทเม็ดร่วมกับ การใส่ปุ๋ยด้วย โดยให้อาหาร 3 เปอร์เซ็นต์ของน้ำหนักปลาต่อวัน

          สำหรับความสมบูรณ์ของอาหารธรรมชาติในนาปลานั้น ให้สังเกตดูน้ำว่าเป็นสีเขียวขุ่นโดยจุ่มมือลงไปประมาณแค่ข้อศอก ถ้ายังเห็ดมืออยู่ในน้ำก็แสดงว่ายังใช้ไม่ได้ กล่าวคือ มีอาหารตามธรรมชาติไม่เพียงพอก็ให้เพิ่มการตัดหญ้าหรือใส่ปุ๋ยลงไปอีก แต่ถ้ามองเห็ดลาง ๆ ก็แสดงว่ามีความสมบูรณ์สูง

การจับปลาสลิด

          เมื่อมีความจำเป็นจะต้องจับปลาสลิดในวัยอ่อนเพื่อแยกไปเพาะเลี้ยง ควรใช้กระชอนตักแล้วใช้ขันหรือถังตักลูกปลาโดยให้ติดทั้งน้ำและตัวปลาขึ้นมา พร้อมกัน เพื่อมิให้ปลาบอบช้ำ ถ้าเป็นลูกปลาที่โตแล้วควรใช้สวิงตาถี่ แล้วจึงใช้ขันตักขึ้นจากสวิงอีกชั้นหนึ่ง

          การจับปลาเพื่อใช้เป็นอาหารประจำวันจะต้องจับปลาที่มีขนาดยาวตั้งแต่ 10 เซนติเมตรขึ้นไป ควรใช้ลอบยืนไปวางไว้ตามมุมบ่อ เพราะถ้าใช้แหทอดหรือจ้องใช้สวิงตักตรงแป้นอาหาร ปลาก็จะกลัวไม่กล้ามากินอาหารตามบริเวณนั้นอีกหลายวัน

          ส่วนการจับปลาให้หมดทั้งบ่อเพื่อจำหน่ายนั้นควรจับในเดือนมีนาคม เพราะเป็นฤดูที่ปลาไม่ได้วางไข่ โดยการสูบน้ำในแปลงนาให้ลดระดับลงทีละน้อย เพื่อให้ปลารู้ตัวและหนีลงไปอยู่ในคูที่ขุดไว้ตั้งแต่การขุดบ่อครั้งแรกแล้ว และเอาอวนเปลวางไว้ในคูตรงจุดที่ลึกที่สุด ปลาที่หนีลงคูซึ่งยังมีน้ำลึกอยู่ก็จะไปรวมกันอยู่ในคูที่มีอวนรองรับอยู่ ข้างใต้ เมื่อน้ำลดระดับลงไปจนเห็นก้นบ่อแล้วก็ต้องเดินตรวจดูบนแปลงนาว่ายังมีปลาตก ค้างอยู่บนแปลงนานั้นอีกหรือไม่ ถ้ามีก็ให้เอาสวิงช้อนเก็บมา และเมื่อสูบน้ำออกจนพื้นแปลงนาแห้งแล้วจึงรวบหูอวนขึ้น ปลาก็จะติดอยู่ในอวน แล้วทำการคัดเลือกปลาเก็บไว้เป็นพ่อแม่พันธุ์เพื่อการเพาะเลี้ยงในรุ่นต่อไป ส่วนที่เหลือนำไปจำหน่ายหรือแปรรูป


http://www.108kaset.com/




การเลี้ยงปลาสลิด อ.บางบ่อ จ.สมุทรปราการ

               ปลาสลิดเป็นปลาน้ำจืดในภาคพื้นเอเชีย พบมากแถบประเทศไทย เขมร เวียดนาม มลายู อินโดนีเชีย และฟิลิปปินส์ สำหรับ
ประเทศไทยมีชุกชุมและนิยมเลี้ยงกันมากในแถบบริเวณภาคกลางประเทศ และนิยมเลี้ยงในนาข้าวเป็นส่วนมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่ง แหล่ง
ปลา สลิดที่มีชื่อเสียงที่รู้จักกันมากที่สุดอยู่ที่ อ.บางบ่อ จ.สมุทรปราการ ประชากรในจังหวัดส่วนใหญ่มีอาชีพทำนาปลาสลิดเป็นส่วนใหญ่ เพราะว่า
ปลาสลิดเค็มเป็นที่นิยมรับประทานกันมาก เป็นที่ต้องการของตลาดและทั้งยังเป็นสินค้าออกที่ทำรายได้สูง
                    ในปัจุบันจังหวัดสมุทรปราการได้มีการพัฒนาทางด้านอุตสาหกรรม การเลี้ยงปลาสลิดจึงลดน้อยลง เพื่อเป็นการส่งเสริมให้ประชาชน
นิยมเลี้ยงปลาสลิดมากขึ้นจึงได้จัดทำสารคดีชุดนี้ขึ้น โดยหวังว่าสารคดีชุดนี้จะเป็นประโยชน์ต่อผู้เลี้ยงปลาสลิดต่อไป
                    ปลาสลิดหรือปลาใบไม้เป็นปลาน้ำจืด ซึ่งเป็นปลาพื้นบ้านของประเทศไทยที่มีแหล่งกำเนิดอยู่ในที่ลุ่มภาคกลาง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า
Trichogaster pecteralis และนิยมเลี้ยงกันมากบริเวณภาคกลาง ส่วนที่พบในประเทศเพื่อนบ้าน เช่น กัมพูชา เวียดนาม มาเลเซีย อินเดีย ปากีสถาน
ศรีลังกา และฟิลิปปินส์ นั้น เป็นพันธุ์ปลาที่ส่งจากเมืองไทย เมื่อประมาณ 80-90 ปี ที่ผ่านมา และเรียกว่า สยาม หรือเซียม สำหรับแหล่งปลาสลิดที่ม
ีชื่อเสียงเป็นที่ รู้จักว่ามีรสชาติดีเนื้ออร่อย คือ ปลาสลิดบางบ่อ จังหวัดสมุทรปราการ แต่ปัจจุบันโรงงานอุตสาหกรรมได้ขยายตัวอย่างแพร่หลาย ทำให
น้ำธรรมชาติ ที่จะระบายลงสู่บ่อเลี้ยงปลาสลิดมีคุณสมบัติไม่เหมาะสม ส่วนพื้นที่ดินพรุทางภาคใต้ในเขตจังหวัดนราธิวาส ซึ่งเป็นดินเปรี้ยวก็สามารถ
ใช้เป็นที่เลี้ยงปลาสลิดได้ เพราะปลาสลิดเป็นปลาที่เลี้ยงง่าย อดทนต่อความเป็นกรด และน้ำมีปริมาณออกซิเจนน้อยได้ดี มีห่วงโซ่อาหารสั้น คือ
กินแพลงก์ตอน เป็นอาหารต้นทุกการผลิตต่ำ โดยจะเลี้ยงอยู่ในนา คนเลี้ยงปลาสลิดเรียกว่า ชาวนาปลาสลิดและบ่อเลี้ยงปลาสลิดเรียกแปลงนาปลา
สลิด หรือล้อมปลาสลิด (จากสภาพภื้นที่เลี้ยงปลาสลิดเล็กลง) กรมประมงจึงได้ส่งเสริมให้เลี้ยงปลาสลิดในพื้นที่จังหวัดอื่น เช่น จังหวัดสมุทรปราการ
เพื่อเพิ่มผลผลิตให้มีปริมาณเพียงพอต่อการบริโภค และส่งเป็นสินค้าออกในรูปผลิตภัณฑ์ปลาสลิดเค็มตากแห้ง
อุปนิสัย
                    ปลาสลิดชอบอยู่ในบริเวณที่มีน้ำนิ่ง เช่นตามหนองและบึง มักชอบอาศัยอยู่ตามบริเวณที่มีพันธุ์ไม้น้ำ เช่น ผักและสาหร่าย เพื่อใช้เป็น
ที่พักอาศัยกำบังตัว และก่อหวอดวางไข่ เนื่องจากปลาชนิดนี้โตเร็วในแหล่งน้ำธรรมชาติที่มีอาหารพวกพืช ซึ่งได้แก่สาหร่ายตลอดจนพืชและสัตว์เล็ก ๆ
จึงสามารถที่จะนำปลาสลิดมาเลี้ยงในบ่อและในนาข้าวได้เป็นอย่างดี
รูปร่างลักษณะ
                    ปลาสลิดมีรูปร่างลักษณะคล้ายปลากระดีหม้อ แต่ขนาดโตกว่า มีลำตัวแบนข้าง มีครีบท้องยาวครีบเดียว สีของลำตัวมีสีเขียวออกเทาหรือ
มี สีคล้ำเป็นพื้น และมีริ้วดำพาดขวางตามลำตัวจากหัวถึง โคนหาง มีเกล็ดบนเส้นข้างตัวประมาณ 42-47 เกล็ด ปากเล็กยืดหดได้ ปลาสลิดที่มีขนาดใหญ่
เต็มที่จะมีความยาวประมาณ 20 เซนติเมตร
การสืบพันธุ์
                    1. ลักษณะเพศ ปลาสลิดตัวผู้และตัวเมียมีความแตกต่างกัน ซึ่งสามารถสังเกตความแตกต่างอย่างเห็นได้ชัดคือ ปลาตัวผู้มีลำตัวยาวเรียว
สันหลัง และสันท้อง เกือบเป็นเส้นตรงขนานกัน มีครีบหลังยาวจรดหรือเลยโคนหาง มีสีลำตัวเข้มและสวยกว่าตัวเมีย ส่วนตัวเมียมีสันท้องยาวมนไม
ขนานกับสัน ท้องและครีบหลังมนไม่ยาวจนถึงโคนหาง สีตัวจางกว่าตัวผู้ ในฤดูวางไข่ท้องจะอูมเป่งออกมา ทั้งสองข้าง อัตราการปล่อยพ่อแม่พันธุ์ปลาสลิด
1 ต่อ 1 เป็นปลาขนาดกลางน้ำหนัก 10-12 ตัวต่อกิโลกรัม ดีที่สุด
                    2. การเพาะพันธุ์ปลา ปลาสลิดสามารถผสมพันธุ์และวางไข่ได้เมื่ออายุ 7 เดือน ขนาดโตเต็มที่โดยเฉลี่ยจะมีขนาดตัวยาวประมาณ 6-7 นิ้ว
หนัก 130-400 กรัม ฤดูวางไข่นั้นจะแตกต่างกันออกไปแล้วแต่แหล่งที่เลี้ยงปลา ปลาสลิดจะเริ่มวางไข่ตั้งแต่เดือนเมษายนถึงเดือนสิงหาคม หรือใน
ฤดูฝน แม่ปลาตัวหนึ่ง ๆ จะสามารถวางไข่ได้หลายครั้ง แต่ละครั้งจะได้ปริมาณไข่ประมาณ 4000-10000 ฟอง ในฤดูวางไข่ ท้องแม่ปลาจะอูมเป่งออกมา
ทั้งสองข้าง ลักษณะของไข่ปลาสลิดมีสีเหลือง ทั้งนี้ควรจัดที่ให้ปลาสลิดวางไข่ภายในเดือนมีนาคม โดยหลังจากที่ได้กำจัดศัตรู ระบายน้ำเข้า และปล่อย
พันธุ์ปลาลงบ่อแล้ว ควรปลูกผักบุ้งรอบบริเวณชานบ่อ น้ำลึกประมาณ 20-30 เซนติเมตร ปลาสลิดจะเข้าไปก่อหวอดวางไข่ และลูกปลาวัยอ่อนจะสามารถ
เลี้ยง ตัวหลบหลีกศัตรูตามบริเวณชานบ่อนี้ได้
                    3. การวางไข่ ก่อนปลาสลิดจะวางไข่ ปลาตัวผู้จะเป็นฝ่ายเตรียมการเลือกสถานที่ และก่อหวอดซึ่งเป็นฟองน้ำลายไว้ในระหว่างต้นผักบุ้ง
โปร่งไม่หนาทึบเกิน ไปเช่นเดียวกับปลากัด ปลากริมและปลากระดี่ ปกติปลาสลิดตัวเมียจะชอบวางไข่ในที่ร่มมากกว่ากลางแจ้งเมื่อเตรียมวอดเสร็จ
แล้ว ปลาก็จะเริ่มผสมพันธุ์กันโดยตัวผู้จะเริ่มไล่ต้อนตัวเมียเข้าใต้บริเวณหวอด และรัดท้องตัวเมียให้ไข่ออกแล้วปล่อยน้ำเชื้อเข้าผสมกับไข่ จากนั้น
ปลาตัวผู้จะอมไข่เข้าใต้หวอด นอกจากการเพาะพันธุ์ปลาสลิดในบ่อแล้ว ยังเพาะในภาชนะได้อีกด้วย คือ ใช้ถังทรงกลมปากกว้าง 1.50 เมตร ยาว
3 เมตร ลึก 60 เซนติเมตร น้ำลึกประมาณ 40 เซนติเมตร วางไว้กลางแจ้ง โดยทำเป็นเพิงคลุมถังประมาณ 2 ใน 4 ของถังเพื่อกำบังแดด ใช้ผักบุ้งลอย
ไว้ 3 ใน 4 ของถัง แล้วปล่อยแม่ปลาที่กำลังมีไข่แก่ 10 ตัว ตัวผู้ 10 ตัว หลังจากปล่อยพ่อแม่พันธุ์ปลาเพียง 4-6 วัน ปลาสลิดจะเริ่มก่อหวอดวางไข่
ไข่ ปลาจะฟักเป็นตัวแล้วเติบโตเช่นเดียวกับการเพาะฟักในบ่อดิน จากนั้นให้ช้อนพ่อแม่ปลาออกแล้วเลี้ยงลูกปลาไปก่อนโดยให้ไข่ผงหรือไรน้ำเป็น
อาหาร 2 สัปดาห์ จึงให้รำผงละเอียดจนกว่าลูกปลาจะมีขนาดยาว 2 เซนติเมตร เพื่อปล่อยลงบ่อเลี้ยงต่อไป หรือจะนำหวอดไข่จากบ่อเพาะพันธุ์เลี้ยงมา
ยัง ในถังกลมก็จะช่วยให้ลูกปลาสลิดมีชีวิตรอดเป็นจำนวนมากกว่าที่จะปล่อยให้ เจริญพันธุ์ในบ่อเพาะเลี้ยงเอง เพราะในบ่อมักมีศัตรูปลาสลิดอยู่ เช่น
แมลงในน้ำ กบ งู ปลากินเนื้อ ซึ่งจะคอยทำลายไข่และลูกปลา อันตรลูกปลาจะรอดน้อยกว่าการนำพ่อแม่พันธุ์มาเพาะในภาชนะ
การฟักไข่
                    ไข่ปลาสลิดจะเริ่มฟักตัวภายในเวลา 24 ชั่วโมง และทยอยฟักเป็นตัวภายในเวลา 48 ชั่วโมง ไข่ที่ไม่ได้รับการผสมจะเป็นราสีขาว ไม่ออก
เป็นตัว ลูกปลาที่ออกจากไข่ปลาใหม่ ๆ จะมีถงอาหารติดอยู่ที่ท้อง และยังไม่กินอาหารโดยจะไม่กินประมาณ 7 วัน เมื่อถุงอาหารยุบหมดลูกปลาจึงเริ่มกิน
อาหาร ซึ่งจะสังเกตเป็นลูกปลา ขึ้นเหนือน้ำในตอนเช้าตรู่ ลักษณะฝนตกลงน้ำหยิม ๆ
การให้อาหาร
                    อาหารที่ปลาสลิดชอบกินคือ ตะไคร่น้ำ รำละเอียด หรือปลายข้าวต้ม ปนกับผักบุ้งที่หั่นแล้ว แหนสด และปลวก อาหารของลูกปลาวัยอ่อน
ซึ่งมีอายุ 7-12 วัน ให้ตะไคร่น้ำและไร่น้ำเป็นอาหาร เมื่อลูกปลามีอายุ 21 วัน 1 เดือน ให้ลำข้าวละเอียดต้มปนกับผักบุ้งที่หั่นละเอียด แหนสดและปลวกบ้าง
(ผัก 1 ส่วน รำ 2 ส่วน) ทั้งนี้ต้มผักให้สุกเสียก่อน แล้วจึงนำลำลงไปเคล้าปั้นเป็นก้อนให้กินวันละ 2 ครั้ง ในเวลาเช้าระหว่าง 7.00-8.00 น. และเย็นประมาณ
3-5 % โดยใส่อาหารบนแป้น ซึ่งอยู่ใต้ระดับน้ำ 1 คืบอย่างให้อาหารเหลือข้ามวันจะทำให้น้ำเน่าเสียได้ ควรดีดน้ำให้เป็นเสียงสัญญาณ ปลาจะได้เคยชิน
และเชื่องด้วยการเพิ่มอาหาร ธรรมชาติ โดยการใส่ปุ๋ย ได้แก่ ปุ๋ยคอก ปุ๋ยขี้วัว ปุ๋ยขี้ไก่ ฯลฯ ต้องใส่ปุ๋ยก่อนปล่อยปลาอย่างน้อย 3 วัน ในอัตรา 2 ปีบต่อไร่ต่อ
7 วัน โดยตัดหญ้าบนแปลงในระดับ ยอดหญ้าที่โผล่น้ำ แล้วทิ้งกระจายไว้บนแปลงนา ตัดเพียงครึ่งหนึ่งของแปลง ครบ 15 วัน ตัดอีกครั้งหนึ่งสลับไปมาและ
รักษา ระดับน้ำให้ท่วมหญ้าบนนาประมาณครึ่งเข่าตลอดเวลา หลังจากใส่ปุ๋ยคอก 4-5 ครั้ง แล้วตัดหญ้าแต่เพียงอย่างเดียว แต่ถ้าน้ำในแปลงมีสีใสมาก ให้
ใส่ปุ๋ยคอกต่อ
การเจริญเติบโต
                    ไข่ปลาสลิดจะเริ่มฟักเป็นตัวภายในระยะเวลา 24 ชั่วโมง โดยทยอยออกเป็นตัวเรื่อย ๆ ไข่จะออกเป็นตัวหมดภายใน 48 ชั่วโมง แต่ไข่บางฟอง
ที่ได้รับการผสม จะมีลักษณะขุ่นเป็นราสีขาวไม่ออกเป็นตัว ลูกปลาที่ออกจากไข่ใหม่ ๆ มีถุงอาหารต่าง ๆ และเมื่ออายุได้ 7 เดือน จะมีความยาวตั้งแต่ 10
เซนติเมตรขึ้นไป ซึ่งนับเป็นขนาดที่พร้อมจะสืบพันธุ์ได้ต่อไปอีก
โรค
                    ปลาสลิดไม่ค่อยจะเป็นโรคร้ายแรง หากน้ำในบ่อเสียจะสังเกตเห็นปลาขึ้นมาหายใจบนผิวน้ำ เพราะออกซิเจนที่ละลายน้ำไม่เพียงพอ วิธีแก้ไข
ก็คือต้องถ่ายน้ำออกและ ระบายน้ำใหม่เข้าหรือย้ายปลาไปไว้ที่อื่น โดยเฉพามักจะเกิดเห็บปลา ซึ่งมีลักษณะตัวแบน สีน้ำตาลใส่เกาะติดตามตัวปลามาดูดเลือด
ของปลากิน ความเจริญเติบโตปลาจะชะงักลง ทำให้ปลาผอม การกำจัดโดยระบายน้ำสะอาดเข้าไปในบ่อให้มาก ๆ ตัวเห็บก็จะหายไปได้ การป้องกันโรคระบาด
อีกประการ หนึ่งก็คือ ปลาที่จะนำมาเป็นพ่อแม่พันธุ์ ถ้าปรากฎว่ามีบาดแผล ไม่ควรนำลงไปเลี้ยงรวมกันในบ่อเพราะปลาที่เป็นแผลจะเป็นโรครา และติดต่อไป
ถึงปลาตัวอื่นได้
การป้องกันกำจัดศัตรู
                 ศัตรูของปลาสลิดมีหลายประการ
                            1. สัตว์ดูดเลือดด้วยนม เช่น นาก
                            2. นกกินปลา เช่น นกกระเต็น นกยาง นกกาน้ำ และเหยี่ยว
                            3. สัตว์เลื้อยคลาน เช่น งู เต่า ตะพานน้ำ
                            4. กบ เขียด
                            5. ปลากินเนื้อ เช่น ปลาช่อน ปลาชะโด ปลาไหล จะกินปลาสลิดขนาดเล็กและขนาดใหญ่ ส่วนปลากริม ปลากัด ปลาหัวตะกั่ว ปลาหมอ
มวน วน แมงดาสวน จะกินไข่ปลาสลิดและลูกปลาในวัยอ่อนตามธรรมชาติของปลาสลิดย่อมจะรู้จักหลบ หลีกศัตรูได้ดี แต่เมื่อนำมาเลี้ยงไว้ในบ่อปลาสลิด
ยาก ที่จะหาทางหลบหลีกศัตรูได้ จึงจำเป็นต้องช่วยโดยการป้องกันและกำจัด การป้องกันและกำจัดพวกสัตว์ดูดนม สัตว์เลื้อยคลาน โดยทำรั่วล้อมรอบก็
เป็น การป้องกันที่ดี ส่วนสัตว์จำพวกนกต้องทำเพิงคลุมแป้นอาหาร เพื่อป้องกันนกโฉบปลาในขณะที่ปลากินอาหารอยู่เป็นกลุ่ม สำหรับปลากินเนื้อชนิด
ต่าง ๆ นั้น ต้องระวังผักที่จะเก็นมาปลูกในบ่อเพราะอาจจะมีไข่ปลาติดมาด้วย โดยเฉพาะท่อระบายน้ำเข้าต้องพยายามใช้ลวดตาข่ายที่มีช่องตาขนาดเล็ก
กรองน้ำที่จะผ่านลงในบ่อ และหมั่นตรวจตะแกงถ้าชำรุดควรรีบเปลี่ยนใหม่
การจับ
                เมื่อมีความต้องการจะจับลูกปลาสลิดวัยอ่อนไปแยกเลี้ยง ควรใช้กระชอนผ้าช้อนตักและใช้ขันหรือถังตักลูกปลาทั้งน้ำและตัวปลาเพื่อมิ ให้
ปลาช้ำ ถ้าเป็นปลาที่โตแล้วโดยสวิงตาถี่ช้อน แล้วใช้ขันตักสวิงอีกชั้นหนึ่ง หรือลดระดับน้ำลงที่ละน้อยเพื่อให้ปลารู้สึกตัว และหนีลงไปอยู่ในคู โดยเดิน
ตรวจ บนแปลงนาว่าหนีลงไปอยู่ในคูและในอวนจึงรวบหูอวนขึ้น ปลาจะติดอยู่ในอวนในกรณีที่ต้องการจับปลาให้หมดทั้งบ่อ เพื่อจำหน่ายคือ เดือนมีนาคม
เพราะเป็นฤดูที่ปลาไม่วางไข่ โดยใช้เฝือกล้อมและสวิงตักออกจากเฝือกที่ล้อมนั้น แล้วคัดปลาเป็นพ่อแม่พันธุ์ เพื่อการเพาะเลี้ยงรุ่นต่อไป โดยใช้สูตร
อาหารสปช. 12 วันละ 2 % ของน้ำหนักปลาเป็นเวลาอย่างน้อย 1 เดือน ก่อนเพาะฟักวันละ 2 เวลา เช้า-เย็น
สูตรอาหารพ่อแม่ปลาสลิด (สปช. 12)
                ปลาป่น 56 กิโลกรัม
                รำละเอียด 12 กิโลกรัม
                กากถั่ว 2 กิโลกรัม
                แป้งผงหรือปลายข้าวต้ม 14 กิโลกรัม
                น้ำมันปลาสลิด 4 กิโลกรัม
                วิตามิน แร่ธาตุ 100 กิโลกรัม
หมาย เหตุ ถ้าใช้แป้งจะได้อาหารในลักษณะเป็นผง แต่ถ้าใช้ปลายข้าวต้ม ก็จะได้อาหารเปียกต้องตากแดดจึงจะเก็บไว้ได้นานหากไม่ต้องการใช้แป้ง
หรือปลายข้าวให้เพิ่มรำเป็น 26 กิโลกรัม
การแปรรูป
                การทำปลาสลิดเค็มเป็นการแปรรูปอย่างหนึ่งซึ่งช่วยถนอมปลาสลิดให้สามารถเก็บ ไว้บริโภคได้เป็นเวลานานมากขึ้น และได้รับความนิยม
อย่างแพร่หลายทั่วทุกภูมิภาค ทั้งยังส่งเป็นสินค้าออกด้วย
วิธีทำ
                ถอดเกล็ดโดยใช้มีดหรือช้อนสังกะสีบากเป็นฟันเลื่อย ตัวหัว ควักไส้ แยกหัวและไส้ไปบดสับเป็นอาหารเป็ดหรือไก่ (สำหรับไส้ถ้าเป็นฤดู
ที่ มีมันมากให้เก็บเคี่ยวน้ำมัน น้ำมันปลาสลิดมีราคาดี) เพราะนำไปใช้ในอุตสาหกรรมหลายอย่าง เช่น อุตสาหกรรมฟอกหนัง สี และอาหารสัตว์ เคล้า
ปลาที่ทำเสร็จแล้วกับเกลือในอัตรส่วน 3 ต่อ 1 คือ ปลา 3 ต่อ เกลือ 1 หมักไว้ 1 คืน ในถังไม้ โอ่งเคลือบ กะละมัง หรือเข่ง รุ่งเช้าก่อนพระอาทิตย์ขึ้น
ล้างปลาให้สะอาดเรียงปลาแผ่ครีบให้สวยงามบนตะแกรงไม้โปร่งหรือบนสังกะสี
                ระยะเวลาตากแห้ง ตั้งแต่แดดเริ่มขึ้นถึงเวลาประมาณ 11.00 น. ให้กลับข้างจนถึงเวลาประมาณ 15.00 น. จึงเก็บปลาลงเข่งเรียงให้ดี ลักษณะ
นี้ เรียกว่า ปลาแดดเดียว ซึ่งเนื้อจะนุ่ม ถ้าต้องการปลาแห้งเร็วกว่านี้ ตากจนถึงเย็น แล้วใช้พลาสติกคลุมไว้ตลอดคืน รุ่งเช้าเอาผ้าพลาสติกออก
ตาก ต่อจนถึงเย็นโดยกลับปลาในตอนกลางวันเช่นเดิม ปลาชนิดนี้เรียกว่า ปลาสองแดด เนื้อจะเเห้งเข็ง เวลาทอดจะกรอบเคี้ยวได้เกือบหมดทั้งตัว
 
วิธีการรับประทานปลาสลิด
                การทอด ถ้าจะให้ดีขึ้นควรนึ่งเสียก่อน ค่อย ๆ แซะก้างใหญ่ตรงกลางออก ประกบไว้เหมือนเดิม แล้วทอดจะได้ปลาสลิดไม่มีก้างกินอร่อย
หรือทอดอย่าให้สุก ทุบตรงสันหลังปลาเบา ๆ อย่าให้หนังฉีกนำลงทอดใหม่เนื้อปลาจะฟู อร่อย ถ้าจะให้อร่อยยิ่งขึ้นให้ทอดกรอบแกะเอาแต่เนื้อมายำ
กับมะม่วง ใส่พริกขี้หนู หอม กระเทียม ใบสะระแหน่ และมะม่วงสับ ชิมรสตามชอบ

(http://upic.me/i/r6/salid.jpg)