หัวข้อ: การเลี้ยงไก่ 3 สายเลือด เริ่มหัวข้อโดย: nongtop ที่ เมษายน 21, 2014, 10:34:46 am มีหลายท่านนะครับที่อยากเลี้ยงไก่ 3 สายพันธุ์ หรือ ไก่ 3 สายเลือด แต่ยังไม่ทราบว่าจะดูแลอย่างไร
ก็เลยเอาเกร็ดความรู้นี้มาฝากครับ HAPPY2!! หัวข้อ: ที่มาของ 3 สายพัธุ์ เริ่มหัวข้อโดย: nongtop ที่ เมษายน 21, 2014, 10:37:20 am ไก่สามสายเลือดได้มาอย่างนี้ครับ ;D
(http://www.rakbankerd.com/kaset/Animal/162_1.gif) หัวข้อ: การเลี้ยงไก่เล็ก อายุ 1-6 สัปดาห์ เริ่มหัวข้อโดย: nongtop ที่ เมษายน 21, 2014, 10:56:58 am การเลี้ยงไก่เล็ก อายุ 1-6 สัปดาห์ :o
(http://www.bestchum.com/sitebuilder/images/SRB7A-494x284.jpg) ลูกไก่ที่จะเลี้ยงขุนขายเนื้อส่งตลาด หรือพวกที่เลี้ยงไว้ทำพันธุ์ในอนาคตนั้น จำเป็นจะต้องมีการดูแลเลี้ยงดูอย่างดี เริ่มจากลูกไก่ออกจากตู้ฟักให้ทำ - การตัดปากบนลูกไก่ 1 ใน 3 แล้วนำไปกกด้วยเครื่องกกลูกไก่ เพื่อให้อบอุ่นด้วย - อุณหภูมิกก 95 องศาF ในสัปดาห์ที่ 1 แล้วลดอุณหภูมิลงสัปดาห์ละ 5 องศาF - กกลูกไก่เป็นเวลา 3-4 สัปดาห์ ลูกไก่ 1 ตัว ต้องการพื้นที่ในห้องกกลูกไก่ 0.5 ตารางฟุต หรือเท่ากับ 22 ตัว/ตารางเมตร การกกลูกไก่ให้ดูแลอย่างใกล้ชิด ;D (http://www.kaidam.com/images/wbans_1317966799/DSC02212%20(Small).JPG) - ถ้าหากอากาศร้อนเกินไปให้ดับไฟกก เช่น - กลางวันใกล้เที่ยงและบ่ายๆ ส่วนกลางคืนจะต้องให้ไฟกกตลอดคืน - ในระหว่างกกจะต้องมีน้ำสะอดาดให้กินตลอดเวลา - และวางอยู่ใกล้รางอาหาร ทำความสะอาดภาชนะใส่น้ำวันละ 2 ครั้ง คือ เช้าและบ่าย ลูกไก่ 100 ตัว ต้องการรางอาหารที่กินได้ทั้งสองข้างยาว 6 ฟุต และขวดน้ำขนาด 1 แกลลอน จำนวน 3 อัน ทำวัคซีนป้องกันโรคนิวคาสเซิลทั้ง 3 ชนิด พร้อมๆ กัน จากนั้นก็หยอดวัคซีนป้องกันโรคนิวคาสเซิลซ้ำอีกเมื่ออายุ 21 วัน การให้อาหารลูกไก่ระยะะกก (1-14 วันแรก) ควรให้อาหารบ่อยครั้งใน 1 วัน ;D - อาจแบ่งเป็นตอนเช้า 2 ครั้ง - ตอนบ่าย 2 ครั้ง และตอนค่ำอีก 1 ครั้ง การให้อาหารบ่อยครั้งจะช่วยกระตุ้นให้ไก่กินอาหารดีขึ้นอีกทั้งอาหารจะใหม่สดเสมอ จำนวนอาหารที่ให้ต้องไม่มากจนเหลือค้างราง หรือล้นราง ซึ่งจะทำให้อาหารตกหล่น ปริมาณอาหารที่ให้ในแต่ละสัปาดาห์ และน้ำหนักไก่โดยเฉลี่ยดังแสดงไว้ในตารางที่ 1 ตารางที่ 1 ;D (http://www.rakbankerd.com/kaset/Animal/166_3.gif) หัวข้อ: ในกรณีที่เกษตรกรต้องการเลี้ยงไก่สามสายพันธุ์ไว้เป็นพ่อแม่พันธุ์ เริ่มหัวข้อโดย: nongtop ที่ เมษายน 21, 2014, 11:04:23 am ในกรณีที่เกษตรกรต้องการเลี้ยงไก่สามสายพันธุ์ไว้เป็นพ่อแม่พันธุ์ ;D
(http://upic.me/i/pg/05052011078medium.jpg) - การให้อาหารในแต่ละสัปดาห์จะต้องมีความสัมพันธ์กับน้ำหนักลูกไก่ถ้าหากไก่หนักกว่ามาตรฐานที่กำหนด - จะต้องลดจำนวนอาหารที่ให้ลงไป หรือถ้าน้ำหนักเบากว่ามาตรฐาน ก็ต้องเพิ่มอาหารให้มากกว่าที่กำหนด ดังนั้น - ผู้เลี้ยงจะต้องทำการสุ่มชั่งน้ำหนักของลูกไก่ทุกๆ สัปดาห์ แล้วเปรียบเทียบกับมาตรฐานพร้อมทั้งบันทึกข้อมูลในแบบฟอร์มเดียวกับตารางที่ 1 - ส่วนการเลี้ยงเพื่อขุนขายให้กินอาหารเต็มที่โดยไม่ต้องควบคุมน้ำหนักไก่ ่หรือจำกัดอาหาร อาหารผสมที่ให้ในระยะ 0-6 สัปดาห์นี้ :o - มีโปรตีน 18% - พลังงานใช้ประโยชน์ได้ 2,900 กิโลแคลอรี่/กก. - แคลเซี่ยม0.8% ฟอสฟอรัส 0.40% เกลือ 0.5% และมีส่วนประกอบของกรมอะมิดนครบตามความต้องการ (ตารางที่ 2) สำหรับไวตามินและแร่ธาตุปลีกย่อย (พรีมิกซ์) ที่ใช้ผสมในอาหาร 0.25% หรือ 250 กรัม ต่อ อาหาร 100 กก. นั้น เป็นไวตามิน - แร่ธาตุที่ผู้ผลิตผสมในปริมาณ ตามความต้องการของลูกไก่อายุ 0-6 สัปดาห์ และหาซื้อได้จากร้านขายอาหารสัตว์ทั่วไป ตารางที่ 2 ;D (http://www.rakbankerd.com/kaset/Animal/166_4.gif) หมายเหตุ :o 1. ข้าวโพด ข้าวฟ่าง และปลายข้าวใช้แทนกันได้ 2. ถั่วพุ่ม ถั่วเขียว ถั่วเหลือง ก่อนใช้แช่น้ำเดือดนาน 15-20 นาที ตากแดด และบดผสมอาหารต่อไป หัวข้อ: การเลี้ยงลูกไก่ระยะเจริญเติบโต อายุ 7-14 สัปดาห์ เริ่มหัวข้อโดย: nongtop ที่ เมษายน 21, 2014, 11:11:07 am การเลี้ยงลูกไก่ระยะเจริญเติบโต อายุ 7-14 สัปดาห์
การเลี้ยงไก่ระยะเจริญเติบโตระหว่าง 7-14 สัปดาห์ เป็นการเลี้ยงบนพื้นดินปล่อยฝูงๆ ละ 100-200 ตัว - ในอัตราส่วนไก่ 1 ตัว ต่อ พื้นที่ 1.2 ตารางฟุต หรือไก่ 9 ตัว ต่อตารางเมตร - พื้นคอกรองด้วยแกลบหรือวัสดุดูดซับความชื้นได้ดี - การเลี้ยงไก่ระยะนี้ไม่ต้องแยกไก่ตัวผู้ออกจากไก่ตัวเมีย - สามารถเลี้ยงปนได้ เพื่อขายเป็นไก่เนื้อพื้นเมือง โดยจะต้องเลี้ยงแบบให้อาหารกินเต็มที่ - มีอาหารในถังหรือรางอาหารตลอดเวลา เพื่อเร่งการเจริญเติบโตให้น้ำหนักตามที่ตลาดต้องการ - แต่การเลี้ยงไว้เพื่อขยายพันธุ์ เป็นพ่อแม่พันธุ์จะต้องเลี้ยงแบบจำกัดอาหารให้ไก่กินโดยจะปรับจำนวนอาหารที่ให้ทุกๆ สัปดาห์ (http://www.dld.go.th/service/chicken%203%20type/image/manage3.jpg) ตามตารางที่ 3 และจะต้องปรับเพิ่มหรือลด โดยดูจากน้ำหนักของไก่โดยเฉลี่ยเป็นเครื่องชี้แนะให้น้ำสะอาดกินตลอดเวลา ทำความสะอาดขวดน้ำวันละ 2 ครั้ง คือเช้าและบ่าย ลูกไก่ระยะนี้ต้องการรางอาหารที่มีลักษณะยาวที่กินได้ทั้งสองข้าง ยาว 4 นิ้วต่อไก่ 1 ตัว หรือรางอาหารชนิดถังที่ใช้แขวนจำนวน 3 ถังต่อไก่ 100 ตัว ต้องการรางน้ำอัตโนมัติยาว 4 ฟุต และน้ำ 24-32 ลิตรต่อไก่ 100 ตัว ฉีดวัคซีนป้องกันโรคนิวคาสเซิล :o - ตัวล ะ 0.10 ซีซี. - เมื่ออายุ 10 สัปดาห์ ฉีดเข้ากล้ามเนื้อที่หน้าอกหรือโคนขา - โดยวัคซีนที่ฉีดเป็นชนิดเชื้อเป็นเรียกว่าวัคซีนป้องกันดรคนิวคาสเซิล เอ็ม พี - ซึ่งวัคซีน 1 หลอดผสมน้ำกลั่น 10 ซีซี. แล้วแบ่งฉีด ดังนั้นจึงฉีดไก่ได้ 100 ตัว - การฉีดให้ผลดีกว่าการแทงปีกและสามารถคุ้มกันโรคได้นานกว่า 1 ปี - ในวันเดียวกันนี้ให้ฉีดวัคซีนป้องกันโรคอหิวาต์ไก่ตัวละ 2 ซีซี.ด้วย หลังจากฉีดวัคซีน เอ็ม พี แล้ว - ให้หยอดวัคซีนป้องกันโรคหลอดลมอักเสบซ้ำอีกครั้งหนึ่งโดยการหยอดจมูก ตารางที่ 3 แสดงน้ำหนักมีชีวิตและจำนวนอาหารที่จำกัดให้ไก่รุ่นเพศเมียอายุ 7-14 สัปดาห์ กินในแต่ละสัปดาห์ ;D (http://www.rakbankerd.com/kaset/Animal/167_2.jpg) การให้อาหารจะต้องจำกัดให้กิน อาหารมีปริมาณและคุณค่าทางโภชนะดังตารางที่ 3 และ 4 ถ้าไก่น้ำหนักเบากว่ามาตรฐานที่กำหนด ก็ให้อาหารเพิ่มขึ้น ดังนั้น จึงจำเป็นจะต้องชั่งน้ำหนักไก่ทุกๆ สัปดาห์โดยการสุ่มชั่ง 10% ของไก่ทั้งฝูง แล้วหาค่าเฉลี่ย นำไปเปรียบเทียบกับค่ามาตรฐานกำหนด ตารางที่ 4 แสดงส่วนประกอบของอาหารสำหรับไก่รุ่นเพศผู้และเพศเมียอายุ 7-14 สัปดาห์ ;D (http://www.rakbankerd.com/kaset/Animal/167_3.jpg) หัวข้อ: การเลี้ยงไก่พ่อแม่พันธุ์อายุ 21-72 สัปดาห์ เริ่มหัวข้อโดย: nongtop ที่ เมษายน 21, 2014, 12:28:13 pm การเลี้ยงไก่พ่อแม่พันธุ์อายุ 21-72 สัปดาห์ :o
(http://winwonstop.files.wordpress.com/2014/02/2013_04_25_131519_0_akoknqse.jpg) ;D 1. ไก่สาวจะเริ่มไข่ฟองแรกเมื่ออายุ ประมาณ 150 วัน หรือ 5-5.5 เดือน เมื่อไก่เริ่มไข่ให้เปลี่ยนสูตรอาหารใหม่ ใีห้มีโภชนะอาหารเพิ่มขึ้น เพื่อไก่นำไปสร้างไข่ รวมทั้งเพิ่มแร่ธาตุแคลเซี่ยม จากเดิม 0.60% เป็น 3.36% ฟอสฟอรัส 0.3% เป็น 0.35% เพื่อนำไปสร้างเปลือกไข่ (ตารางที่ 9) ส่วนไก่พ่อพันธุ์นั้นให้อาหารเช่นเดียวกับแม่ไก่ แต่มีธาตุแคลเซี่ยมต่ำกว่า คือ 0.60% และฟอสฟอรัส 0.3% เท่าๆ กับในอาหารไก่รุ่นหนุ่มสาว ทั้งนี้เพราะไก่พ่อพันธุ์ไม่ไข่ จึงไม่จำเป็นต้องให้ธาตุแคลเซี่ยมสูงเช่นเดียวกับแม่ไก่พันธุ์หรือให้อาหารสูตรเดียวกับ ไก่แม่พันธุ์นั้น มีการค้นคว้าและวิจัยพบว่า ทำให้การผสมพันธุ์ของพ่อไก่ไม่ดี มีน้ำเชื้อน้อย และผสมไม่ค่อยจะติด ดังนั้นการจัดการที่ดีจึงควรแยกสูตรอาหารให้ไก่พ่อแม่พันธุ์กิน จำนวนอาหารที่ให้แม่ไก่ กินขึ้นอยู่กับอัตรการไข่ของแม่ไก่ แม่ไก่ไข่มากก็ให้กินมาก ไข่น้อยก็ให้กินอาหารลดลงตามส่วน ดังตารางที่ 8 (http://images.thaiza.com/31/31_20110906120233..jpg) :o 2. สิ่งที่ต้องการปรบอันดับที่สองนอกเหนือจากเรื่องอาหาร คือ เรื่องของแสงสว่างเพราะแสงสว่างจะมีผลกระทบโดยตรงกับอัตราการไข่ การให้แสงสว่างต่อวันไม่เพียงพอแม่ไก่จะไข่ลดลง แม้ว่าเราจะให้อาหารครบทุกหมู่ และการจัดการเรื่องอื่นๆ อย่างดี แสงเกี่ยวข้องกับการสร้างฮอร์โมนที่ใช้ในขบวนการผลิตไข่ของแม่ไก่ แสงสว่าที่พอเพียงควรมีความเข้ม 1 ฟุตแคลเดิ้ลในระดับตัวไก่ และต้องให้แสงสว่างวันละ 14-15 ชั่วโมงติดต่อกัน การให้แสงสว่างมากไม่ดี เพราะทำให้ไก่ไข่ไม่เป็นเวลา บางครั้งไข่กลางคืนเป็นต้น ไก่จะจิกกันมาก ตื่นตกใจง่าย และมดลูกทะลักออกมาข้างนอก การจัดแสงสว่างให้เป็นระบบต่อเนื่องกันวันละ 14-15 ชั่วโมง แม่ไก่จะไข่ก่อนเวลา 14 .00 น.ทุกๆ วัน จากการเลี้ยงไก่หนุ่มสาวอายุ 15-20 สัปดาห์ เราจำกัดเวลาการให้แสงสว่างวันละไม่เกิน 11-12 ชั่วโมง แต่พอแม่ไก่เริ่มไข่เราจะต้องเพิ่มเวลาให้แสงสว่างเพิ่มขึ้นสัปดาห์ละ 1ชั่วโมงจนถึงสุดท้ายวันละ 14-15 ชั่วโมง แล้วหยุดเพิ่มและรักษาระดับนี้ตลอดไปจนกว่าแม่ไก่จะหยุดไข่และปลดระวาง การให้แสง ด้วยหลอดนีออนให้ผลดีกว่าหลอดไฟที่มีไส้ทังสะเตนที่ใช้กันในบ้านเรือนทั่วไป เพราะใช้งานได้ทนกว่าและประหยัดไฟกว่าไม่สิ้นเปลืองค่าไฟฟ้ามากเท่ากับหลอดที่มีไส้ดังกล่าว สำหรับสีของแสงควรให้เป็นสีขาวเพราะหาได้ง่ายราคาถูกและ ผลดีกว่าสีอื่นๆ การคำนวณความเข้มของแสงเท่ากับ 1-2 ฟุตแคนเดิ้ล (Foot Candle) ในระดับกรงไก่หรือตัวไก่ คำนวณได้จากสูตรดังนี้ ;D ความเข้มของแสง = แรงเทียนของหลอดไฟ X ระยะทางเป็นฟุตจากหลอดไฟถึงระดับหัวไก่ (เป็นฟุตแคนเดิ้ล) โดยสรุปใช้หลอดไฟนีออน 40 วัตต์ ต่อพื้นที่ 200 ตารางฟุต ติดหลอดไฟสูงจากพื้นระดับเพดานคอก และวางหลอดไฟห่างกันเป็นระยะๆ ละ 10-14 ฟตุ และเปิดไฟเสริมจนถึงเวลา 21.00 น. ของทุกคืน เพื่อให้ได้แสงสว่างติดต่อกัน 14-15 ชั่วโมง 3. บันทึกจำนวนไข่และน้ำหนักไข่ในสมุดประจำตัวแม่ไก่โดยบันทึกไข่ทุกๆ วัน ส่วนน้ำหนักไข่ให้ชั่งน้ำหนักทุกๆ สัปดาห์ๆ ละ 3 วัน แล้วหาค่าเฉลี่ยน้ำหนักไข่ต่อ สัปดาห์และต่อเดือนต่อไป ข้อมูลที่ได้จากการบันทึกอัตราการไข่แต่ละเดือน ให้จัดทำเป็นกราฟแสดงไว้บนกระดานดำ แสดงสถิติและข้อมูลอื่นของไก่ที่อยู่ในคอกไก่นั้นๆ การคำนวณอัตราการไข่ให้คิดเป็นเปอร์เซนต์ของไก่ที่ให้ไข่ต่อระยะเวลาที่กำหนด (Hen-day Egg production) (http://www.dld.go.th/service/chicken%203%20type/image/egg1.jpg) (http://www.dld.go.th/service/chicken%203%20type/image/egg2.jpg) นำข้อมูลมาทำกราฟให้แกนนอนเป็นเดือนที่ไข่ แกนตั้งเป็นเปอร์เซนต์ไข่ แล้วเปรียบเทียบกับกราฟมาตรฐานดังภาพที่ 1 และ ตารางที่ 8 (http://www.dld.go.th/service/chicken%203%20type/image/egg3.jpg) รูปที่ 1 กราฟมาตรฐานการไข่ของไก่แม่พันธุ์สามสายพันธุ์ :o ตารางที่ 8 แสดงมาตรฐานปริมาณอาหารที่กินต่อวัน และอัตราการไข่ของแม่ไก่ที่อายุต่างๆ กัน เริ่มจากแม่ไก่ไข่ฟองแรกของไก่พันธุ์สามสาย ;D (http://www.rakbankerd.com/kaset/Animal/3128_5.jpg) ตารางที่ 9 สูตรอาหารแม่ไก่ช่วงผสมพันธุ์ ;D (http://www.rakbankerd.com/kaset/Animal/3128_6.jpg) หมายเหตุ : อาหารไก่พ่อพันธุ์ให้ลดเปลือกหอยลงเหลือ 1.0 กก. และเพิ่มข้าวโพดขึ้นทดแทน นอกนั้นคงเดิม blogspot.com |