พิมพ์หน้านี้ - ข้อปฏิบัติและมารยาทในการใช้วิทยุสื่อสาร

สายอากาศ-เครื่องส่ง => คู่มือการใช้งานวิทยุสื่อสาร => ข้อความที่เริ่มโดย: Nattawut-LSV Team ที่ พฤษภาคม 27, 2013, 02:53:26 pm



หัวข้อ: ข้อปฏิบัติและมารยาทในการใช้วิทยุสื่อสาร
เริ่มหัวข้อโดย: Nattawut-LSV Team ที่ พฤษภาคม 27, 2013, 02:53:26 pm
ข้อปฏิบัติและมารยาทในการใช้วิทยุสื่อสาร
     1.ใช้ข้อความสั้น ๆ กะทัดรัดได้ใจความ ไม่ใช้ข้อความเกินความจำเป็นและไม่ควรเปลี่ยนแปลง โค้ด ว. ไปลักษณะเชิงพูดเล่น เช่น ว.4 ทางน้ำ
     2.ต้องใช้ภาษาราชการหรือภาษาไทยกลางเท่านั้น ไม่ใช้ภาษาท้องถิ่นถึงแม้คู่สถานี (ผู้ที่เรากำลังติดต่อทางวิทยุด้วย) จะเป็นคนท้องถิ่นเดียวกันและเพราะผู้ฟังอื่นไม่เข้าใจได้ทั้งหมดเป็นการแบ่งพรรคแบ่งพวก แบ่งเชื้อชาติเป็นทางให้เกิดความแตกแยกสามัคคี
     3.ต้องใช้เฉพาะความถี่ที่ที่หน่วยงานของตนได้รับอนุญาตเท่านั้นเพราะการออกนอกความถี่อาจไปรบกวนความถี่ต่างข่ายงานทำให้เกิดความเสียหายแก่หน่วยงานอื่น ๆ ได้ (ข้อนี้เป็นการผ่อนผันระหว่างฝ่ายปกครองกับข่ายตำรวจ สภ.อ.พาน เพื่อการประสานงานร่วมกัน )
     4. ต้องขออนุญาตสถานีควบคุมข่ายก่อนเมื่อจะติดต่อสื่อสารกันโดยตรง การติดต่อโดยตรงระหว่างลูกข่าย ต้องแจ้งแม่ข่ายทราย ไม่สมควรเรียกเข้าต่างข่ายงานด้วยตนเอง (ยกเว้นกรณีฉุกเฉินรอไม่ได้) เพราะนามเรียกขานอาจซ้ำกับลูกข่ายนั้นฯ
     5. ต้องไม่ใช้ช่องสื่อสารในขณะที่ยังมีการรับ ส่งข่าวสารกันอยู่ ไม่ควรเรียกแทรกเข้าไปในขณะที่การรับส่งข่าวสารในความถี่นั้นฯ ยังไม่เสร็จสิ้นเพราะอาจทำให้เสียหายต่อทางราชการ (ยกเว้นการแจ้งเหตุซึ่งสามารถกระทำได้ทันทีจะได้กล่าวถึงในช่วงต่อไป) ผมถึงบอกว่าก่อนที่จะติดต่อทางวิทยุให้ยกขึ้นมาแนบหูฟังดูก่อนว่าคลื่นความถี่ของคู่สถานีที่เราต้องติดต่อนั้นว่างหรือไม่
     6. ต้องไม่ส่งเสียงเพลง เสียงดนตรี หรือรายการโฆษณา ประชาสัมพันธ์ หรือเสียงแปลกประหลาดออกอากาศ หรือชอบทำคีย์ค้างบ่อย ๆ เป็นประจำ คงเป็นการจงใจให้ค้างเป็นแน่ ๆ การประชาพันธ์บนความถี่ทำได้เฉพาะสถานีควบคุมข่าย และโดยพนักงานวิทยุที่ปฏิบัติหน้าที่เท่านั้น
     7. ต้องไม่วิจารณ์ บุคคล การเมือง การค้า ศาสนา หรือส่งข้อความที่เป็นการละเมิดกฎหมายบ้านเมือง การวิจารณ์ย่อมเกิดข้อขัดแย้ง การพูดหรือวิจารณ์ในส่วนที่มีผลประโยชน์ผู้เสียผลประโยชน์เกิดความแค้น อาจก่อให้เกิดการรบกวนช่องความถี่สื่อสารโดยการจงใจ
     8. ต้องไม่แอบอ้าง หรือใช้นามเรียกขานของคนอื่น และไม่ให้ผู้อื่นนำนามเรียกขานของตนเองไปใช้ ( ข้อนี้ยังมีตำรวจบางนายซึ่งไม่ทราบข้อปฏิบัติและมารยาทในการใช้วิทยุสื่อสารการะทำอยู่ ซึ่งไม่ควรเอาอย่าง)
     9. ต้องไม่ให้ผู้อื่นหยิบยืมเครื่องมือสื่อสารของตนเองไปใช้ ยกเว้นการนำเครื่องกองกลางไป
ปฏิบัติงานชั่วคราว โดยได้ดำเนินการเป็นลายลักษณ์อักษรแล้วเท่านั้น
     10. ต้องพกพาวิทยุสื่อสารในลักษณะเหมาะสม เปิดเครื่องได้ก็ควรกระทำ และอีกสาถนการณ์หนึ่งหากตัวเราเข้าไปอยู่ในบริเวณที่กลุ่มมิจฉาชีพ หรือญาติของผู้ที่ประกอบการผิดกฎหมายและเราเปิดวิทยุเสียงดังแล้วคนร้ายย่อมได้ยินและรับรู้ข้อมูลข่าวสารต่าง ๆ ได้
     ท่านที่มีและใช้วิทยุอยู่พึงระลึกอยู่เสมอว่าไม่มีความลับบนความถี่จะกดคีย์ให้คิดก่อน เพราะว่าหากท่าน ว. ส่งข้อความไปแล้วทุกคนที่มี ว. และเปิดในย่านความถี่นั้นฯ ก็สามารถรับฟังข้อความของท่านได้ เพราะฉะนั้นก่อนที่ส่งข้อความออกไปทาง ว. ให้คิดก่อนว่าต้องการพูดกับใคร เรื่องอะไร อยู่ในย่านความถี่ใด มีอยู่บ่อย ๆ ว.เปิดย่านความถี่ตำรวจพาน แต่ส่ง ว. เป็นว่า ขออนุญาต ไชยา .. เรียกอยู่นั่นแหละเป็น สิบกว่าครั้ง ก็มันต่างคลื่นความถี่ จะ ว. 2 ได้ยังไง ( หวังว่าต่อไปกรณีนี้ในส่วนของตำบลม่วงคำคงจะไม่มีให้ได้ยินอีกนะครับ) การแจ้งเหตุสามารถแจ้งได้ทันทีโดยทำได้ดังนี้ ขออนุญาตแจ้งเหตุ พาน จาก ม่วงคำ .. ว. 2 เมื่อ พานตอบ ว.2 แล้วก็แจ้งเหตุเป็นข้อความ (ว.8 ) เข้าไป แต่ต้องเป็นเหตุด่วน เหตุร้าย เหตุเร่งด่วนจริง ๆ ถ้าหากไม่เป็นกรณีเร่งด่วนให้ย่านความถี่ว่างก่อนค่อยเรียกเข้าไปในย่านความถี่นั้น ๆ ก่อนแจ้งเหตุต้องดูให้ดี รู้ให้จริงชัดเจนว่า ใคร ทำอะไร ที่ไหน อย่างไร ถ้าจะให้แน่นอนไปดูที่เกิดเหตุด้วยตนเองก่อนให้ชัดแล้วค่อยแจ้งทาง ว. ยกเว้นกรณีฉุกเฉิน หรือเหตุเร่งด่วน จริง ๆ เพราะว่าหากเป็นเหตุเล็กๆ น้อยๆ ไม่รุนแรงสามารถตกลงรอมชอมกันได้ หรือไม่มีเหตุเกิดขึ้นจริง จะได้ไม่เสียเวลา และเกิดความเสียงหายต่อทางราชการได้) เช่นเดียวกันการแจ้งเหตุทาง ว. ให้ใช้ข้อความสั้น ๆ ฟังแล้วเข้าใจง่าย ใช้ขอความสั้น ๆ กะทัดรัดได้ใจความ หรือจะใช้รหัส ว. แทนก็ได้   

รหัสการแจ้งเหตุทางวิทยุ

เหตุ 100 ประทุษร้ายทรัพย์
เหตุ 111 ลักทรัพย์
เหตุ 121 วิ่งราวทรัพย์
เหตุ 131 ชิงทรัพย์
เหตุ 141 ปล้นทรัพย์
เหตุ 200 ประทุษร้ายต่อร่างกาย
เหตุ 211 ทำร้ายร่างกายไม่ได้รับบาดเจ็บ
เหตุ 231 ทำร้ายร่างกายได้รับบาดเจ็บสาหัส
เหตุ 241 ฆ่าคนตาย
เหตุ 300 การพนันเป็นบ่อน
เหตุ 510 วัตถุต้องสงสัยเกี่ยวกับระเบิด
เหตุ 511 ได้เกิดระเบิดขึ้นแล้ว
เหตุ 512 วัตถุระเบิดได้ตรวจสอบแล้วไม่ระเบิด
เหตุ 600 นักเรียนจะก่อเหตุทะเลาะวิวาท
เหตุ 601 นักเรียนรวมกลุ่มมีสิ่งบอกเหตุเชื่อว่าจะก่อเหตุ
เหตุ 602 นักเรียนก่อเหตุหลบหนีไปแล้ว
เหตุ 603 นักเรียนก่อเหตุยกพวกทำร้ายซึ่งกันและกัน
เหตุ 604 นักเรียนก่อเหตุยกพวกทำร้ายซึ่งกันและกันถึงตาย
เหตุ 605 นักเรียนก่อเหตุยกพวกทำร้ายซึ่งกันและกันมีวัตถุระเบิด

รหัส ว.
ว.0 ขอรับคำสั่ง ต้องการทราบ ให้บอกด้วย
ว.00 คอยก่อน
ว.1 ขอทราบที่อยู่
ว.2 ได้ยินหรือไม่
ว.3 ให้ทวนข้อความซ้ำอีก
ว.4 ออกไปปฏิบัติการตามปกติ
ว.5 ปฏิบัติการลับ
ว.6 ขออนุญาตติดต่อทางวิทยุ
ว.7 ขอความช่วยเหลือ
ว.8 มีข่าว ข้อความยาวที่จะส่งทางวิทยุ
ว.9 มีเหตุฉุกเฉิน เหตุด่วนสำคัญ ให้ทุกสถานีคอยรับคำสั่งจากศูนย์ รถวิทยุมีเหตุฉุกเฉินเหตุด่วนขออนุญาตใช้ไฟแดงและไซเรน
ว.10 หยุดรถปฏิบัติงาน สังเกตการณ์ติดต่อทาง ว. ได้
ว.11 หยุดรถไม่เกี่ยวกับหน้าที่ แต่ติดต่อทาง ว. ได้
ว.12 หยุดรถ ปิดเครื่องวิทยุ
ว.13 ให้ติดต่อทางโทรศัพท์
ว.14 เลิกตรวจ เลิกปฏิบัติการ
ว.15 ให้ไปพบ
ว.16 ทดลองเครื่องรับ – ส่ง วิทยุ
ว.16 – 1 ฟังไม่รู้เรื่อง มีเสียงรบกวนมาก
ว.16 – 2 รับฟังไม่ชัดเจน
ว.16 – 3 รับฟังชัดเจนพอใช้ได้
ว.16 – 4 รับฟังชัดเจนดี
ว.16 – 5 รับฟังชัดเจนดีมาก
ว.17 จุดอันตราย ห้ามผ่าน (บอกสถานที่)
ว.18 นำรถออกทดลองเครื่องยนต์
ว.19 สถานีวิทยุอยู่ในภาวะคับขัน ถูกยึดหรือถูกโจมตี ไม่สามารถป้องกันตนเองได้
ว.20 ตรวจค้น
ว.21 ออกจาก
ว.22 ถึง
ว.23 ผ่าน
ว.24 เทียบเวลา แจ้งเวลา
ว.25 จะไปที่ใด ที่หมายใด
ว.26 ให้ติดต่อทางวิทยุให้น้อยที่สุด
ว.27 ติดต่อทางโทรพิมพ์
ว.28 ประชุม
ว.29 มีราชการอะไร
ว.30 ขอทราบจำนวน (คน สิ่งของ อาวุธ)
ว.31 ความถี่วิทยุช่อง 1
ว.32 ความถี่วิทยุช่อง 2
ว.33 ความถี่วิทยุช่อง 3
ว.34 ความถี่วิทยุช่อง 4
ว.35 เตรียมพร้อมออกปฏิบัติงาน
ว.36 เตรียมพร้อมเต็มอัตรา
ว.37 เตรียมพร้อมครึ่งอัตรา
ว.38 เตรียมพร้อมหนึ่งในสาม
ว.39 การจราจรคับคั่ง
ว.40 มีอุบัติเหตุทางรถ
ว.41 มีสัญญาณไฟจราจรเสีย
ว.42 ขอให้จัดยานพาหนะนำขบวน
ว.43 จุดตรวจ ด่านตรวจยานพาหนะ (บอกสถานที่)
ว.44 ติดต่อทางโทรสาร
ว.45 ตรวจสอบบุคคล
61 ควรใช้คำว่า ขอบคุณ
62 ควรใช้คำว่า เสบียง หรือสิ่งของ (ให้ระบุชื่อสิ่งของนั้นฯ)
63 ควรใช้คำว่า บ้านพัก หรือ 02
64 ควรใช้คำว่า ภารกิจส่วนตัว
51 หรือ 605 ควรใช้คำว่า รับประทานอาหาร
100 ควรใช้คำว่า ภารกิจส่วนตัว
28 (สองแปด) ควรใช้คำว่า ว.สอง ว.แปด
ว.10 (ว.หนึ่งศูนย์) ควรใช้ ว.10 (ว.สิบ)
ว.21 (ว.ยี่สิบเอ็ด) ควรใช้ ว.21 (ว.ยี่สิบหนึ่ง)
ว.40 (ว.สี่ศูนย์) ควรใช้ ว.40 (ว.สี่สิบ)
กำลังโมบาย ควรใช้คำว่า 03 หรือยังอยู่ในรถ , กำลังขับรถ , ทำหน้าที่พลขับ
ล้อหมุน ควรใช้คำว่า 21 (ว. ยี่สิบหนึ่ง) หรือ เคลื่อนที่
ไม่มีความลับในความถี่ จะกดคีย์ให้คิดก่อน

ที่มา : ruammahasorn