พิมพ์หน้านี้ - ชุมพรเมืองต้นแบบ'ไบโอเทคโนโลยี

LSVคลังสมองออนไลน์ "ปีที่21"

สารพัดช่าง-แนวทางอาชีพ => ●ปาล์มน้ำมัน => ข้อความที่เริ่มโดย: b.chaiyasith ที่ มิถุนายน 23, 2010, 10:02:35 AM



หัวข้อ: ชุมพรเมืองต้นแบบ'ไบโอเทคโนโลยี
เริ่มหัวข้อโดย: b.chaiyasith ที่ มิถุนายน 23, 2010, 10:02:35 AM
วท.ผุดแนวคิดผลักดัน "ชุมพร" เป็นเมืองไบโอเทคโนโลยีต้นแบบแห่งแรกของประเทศไทย ลงพื้นที่โครงการพระราชดำริหนองใหญ่เป็นต้นแบบ พร้อมนำความรู้เทคโนโลยีชีวภาพถ่ายทอดให้เกษตรกร สกัดน้ำมันปาล์มมาใช้จริงในชีวิต

ประจำวัน รู้จักประหยัดพลังงานและรักษาสิ่งแวดล้อม ตั้งเป้าทำสำเร็จภายในปีงบประมาณ 53
     รศ.ดร.ศักรินทร์ ภูมิรัตน ผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ หรือ สวทช. กระทรวงวิทยา

ศาสตร์และเทคโนโลยี (วท.) เปิดเผยว่า ในวันที่ 23 มิถุนายนนี้ นายวีระชัย วีระเมธีกุล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์

และเทคโนโลยี พร้อมคณะผู้บริหารหน่วยงานภายใต้สังกัด ได้ลงพื้นที่สำรวจความก้าวหน้าการดำเนินงาน โครงการนำร่อง

จังหวัดชุมพรด้านไบโอเทคโนโลยีพร้อมเยี่ยมชมนิทรรศการศูนย์บริการด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี นวัตกรรมและดารา

ศาสตร์ โครงการพระราชดำริพื้นที่หนองใหญ่ อำเภอเมือง จังหวัดชุมพร เนื่องจากกระทรวงวิทยาศาสตร์ฯ ได้กำหนด

โครงการนำร่องพัฒนาจังหวัดชุมพร ให้เป็นเมืองไบโอเทคโนโลยีและพลังงานทางเลือก โดยจะดำเนินการในปีงบประมาณ 2553
     "รมว.วท.ได้มอบหมายให้ สวทช.รับผิดชอบการผลักดันจังหวัดชุมพรให้เป็นเมืองไบโอเทคโนโลยี โดยจะนำองค์ความรู้

วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีชีวภาพไปประยุกต์ให้สอดคล้องกับภูมิปัญญาท้องถิ่น เพื่อให้ประชาชนสามารถนำไปใช้ประโยชน์

ได้จริงและเป็นส่วนหนึ่งในชีวิตประจำวัน  และเป็นต้นแบบของการนำความรู้ทางวิทยาศาสตร์ด้านเทคโนโลยีชีวภาพในเชิง

พื้นที่ต่อไป" ผอ.สวทช.กล่าว
     รศ.ดร.ศักรินทร์ระบุว่า ขั้นตอนแรกได้เริ่มลงพื้นที่สำรวจปัญหาและความสนใจของชาวบ้าน เกษตรกรและผู้ประกอบการ

ทั้งในระดับครัวเรือนและโรงงานอุตสาหกรรม ในเบื้องต้นได้สนับสนุนเทคโนโลยีด้านการเกษตรและการแปรรูป โดยถ่ายทอด

เทคโนโลยีระบบสกัดน้ำมันปาล์มแบบไม่ใช้ไอน้ำขนาด 1 ตัน ซึ่งได้นำความสำเร็จจากโรงงานผลิตไบโอดีเซลสำหรับชุมชน

แบบครบวงจรเฉลิมพระเกียรติ 60 ปีที่จังหวัดสระบุรีเป็นต้นแบบ
     ส่วนการผลิตไบโอดีเซลจะใช้เทคโนโลยีแผงโซลาร์หรือเซลล์แสงอาทิตย์ มาเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการผลิตระบบไฟฟ้า

และน้ำร้อน โดยไฟฟ้าจะนำไปใช้กับเครื่องผลิตไบโอดีเซล ส่วนน้ำร้อนจะนำไปใช้อุ่นถังปฏิกิริยาการผลิตไบโอดีเซล รวมทั้ง

การสนับสนุนชุดทดสอบไบโอดีเซลแบบง่าย เพื่อใช้ทดสอบมาตรฐานของน้ำมันที่ผลิตได้ในชุมชนด้วย
     รศ.ดร.ศักรินทร์กล่าวว่า จังหวัดชุมพรมีจุดแข็งในด้านการปลูกพืชโดยเฉพาะต้นปาล์ม เราจะนำความรู้ทางเทคโนโลยี

ชีวภาพ ไปช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของเกษตรกรทั้งรายย่อยและรายใหญ่ ช่วยเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน

สร้างมูลค่าเพิ่มผลผลิตทางการเกษตรที่เกินจากความต้องการของตลาด และพัฒนาคุณภาพมาตรฐานสินค้า ผลิตภัณฑ์และ

บริการของจังหวัดชุมพรสู่มาตรฐานสากล รวมทั้งพัฒนาชุมชนและกลุ่มผู้ประกอบการ ให้ใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสมในภาคการ

ผลิต
     นอกจากนี้ยังมีมาตรการสนับสนุนการแปรรูปผลิตภัณฑ์ทางการเกษตร ยกตัวอย่างการแปรรูปมังคุดให้เป็นผลิตภัณฑ์ใหม่

เพื่อเพิ่มมูลค่า เช่น มังคุดแช่เยือกแข็งแบบแยกชิ้น ผลิตภัณฑ์เนื้อมังคุดในน้ำเชื่อมบรรจุกระป๋อง และผลิตภัณฑ์มังคุดกึ่งแห้ง

เป็นต้น โดย สวทช.ประสานงานความร่วมมือกับสมาคมชาวสวนมังคุด ในการสร้างโรงงานผลิตให้มีมาตรฐานสากล ทั้งนี้

สวทช.จะให้คำปรึกษาและส่งผู้เชี่ยวชาญเข้าช่วยเหลือด้านกระบวนการผลิตให้มีประสิทธิภาพ
     ส่วนในเรื่องของการลดการใช้พลังงานของเตาอบยางแผ่นรมควันนั้น ขณะนี้ สวทช.ได้ประสานงานเครือข่ายโครงการสนับ

สนุนการพัฒนาเทคโนโลยีอุตสาหกรรม (iTAP) มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ เพื่อนำผู้เชี่ยวชาญให้คำปรึกษาแก่บริษัทที่เกี่ยวข้อง

เพื่อปรับปรุงเตาอบที่มีอยู่ให้ประหยัดพลังงานมากขึ้นและไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม
     ด้านนายวริสร รักษ์พันธุ์ ผู้ประกอบการธุรกิจรีสอร์ต ชุมพรคาบาน่า จังหวัดชุมพร เจ้าของรางวัลอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม โลกสี

เขียว ปี 2549 ให้ความเห็นถึงนโยบายผลักดันจังหวัดชุมพรเป็นเมืองไบโอเทคโนโลยีว่า เห็นด้วย เพราะชุมพรเป็นเมืองที่มี

ศักยภาพอยู่แล้วทั้งด้านผลผลิต และความเข้มแข็งของชุมชน ภาคประชาชนมีการรวมตัวเป็นเครือข่ายอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม

และสนับสนุนเรื่องเศรษฐกิจพอเพียง ทั้งนี้ การผลักดันชุมพรให้เป็นเมืองไบโอเทคโนโลยี จะต้องขับเคลื่อนงานให้ถูกต้อง โดย

เน้นไปที่ระดับชุมชน โรงเรียน เทศบาล และผู้ประกอบการขนาดย่อมต้องมีการนำน้ำมันปาล์มมาใช้จริงๆ
     "จุดแข็งของจังหวัดชุมพรคือ มีความพร้อมตั้งแต่ต้นน้ำถึงปลายน้ำ ผลผลิตและคนต้องการใช้มีเยอะ แต่ยังขาดองค์ความรู้

ในการจัดการ ซึ่งกระทรวงวิทยาศาสตร์ฯ ต้องจัดตั้งศูนย์ถ่ายทอดความรู้ครบวงจรเล็กๆ เช่น กระบวนการผลิตน้ำมันปาล์ม

ตั้งแต่การปลูกไปจนถึงการใช้น้ำมันปาล์มในระดับท้องถิ่น ผมคิดว่ามาถูกทางแล้ว แต่ต้องตอบโจทย์ให้ถูก ก็จะทำสำเร็จ"
ที่มาไทยโพสต์