พิมพ์หน้านี้ - ประกอบ กาเยาว์...การเรียนรู้วิถีพอเพียงที่ความคิด

LSVคลังสมองออนไลน์ "ปีที่21"

สารพัดช่าง-แนวทางอาชีพ => บุคคลดีเด่นงานเกษตรและแนวคิดพัฒนา => ข้อความที่เริ่มโดย: b.chaiyasith ที่ มกราคม 27, 2010, 09:51:01 AM



หัวข้อ: ประกอบ กาเยาว์...การเรียนรู้วิถีพอเพียงที่ความคิด
เริ่มหัวข้อโดย: b.chaiyasith ที่ มกราคม 27, 2010, 09:51:01 AM
การเปลี่ยนแปลงการดำเนินชีวิตสู่วิถีพอเพียง  เป็นเรื่องที่หลายคนคงมีความคิดว่าแค่คิดทำความเข้าใจก็ยากแล้ว  ไม่รู้จะเริ่มต้นจากจุดไหนหรืออาจต้องรอคอยให้การดำเนินชีวิตถึงทางตัน  ไม่มีหนทางออก  การเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตสู่ความพอเพียงจึงจะได้รับความสนใจและเป็นทางเลือก  แต่ประกอบ กาเยาว์ครัวเรือนอาสาของโครงการรักษ์ป่า สร้างคน 84 ตำบล  วิถีพอเพียง  ตำบลคลองพน อำเภอคลองท่อม  จังหวัดกระบี่  เป็นตัวอย่างที่แตกต่างในการก้าวเดินสู่วิถีพอเพียงได้อย่างชัดเจน
(http://www.vcharkarn.com/uploads/185/185391.jpg)
(http://)ไม่ต้องรอ  หาโอกาสเรียนรู้
         เมื่อตำบลคลองพนมีโอกาสที่ดีในการข้าร่วมโครงการรักษ์ป่า  สร้างคน 84 ตำบล  วิถีพอเพียง  ทำให้ประกอบ  กาเยาว์  เกิดความสนใจอยากรู้จึงเป้าหมายของโครงการฯ  จึงไม่ลังเลในใจการเข้าร่วม  เริ่มต้นการเรียนรู้จากการศึกษาดูงาน “หลังจากการศึกษาดูงาน  มีการประชุม 3 วัน 3 คืน  โดยมีเจ้าหน้าที่ประจำตำบลมาช่วยดูแล  นั่งคุยกันถึงเช้าจนเกิดความเข้าใจจริงๆ  ในที่สุดก็ได้มา 4 แผนงาน  และสิ่งแรกที่ตนเองคิดได้ คือการเริ่มบริหารจัดการตนเองก่อน” ประกอบบอกเล่าถึงจุดเริ่มต้น

โครงการฯ  สร้างการเรียนรู้
        เมื่อต้องบริหารจัดการตนเอง  ประกอบเห็นว่าการนำบัญชีครัวเรือนมาใช้สามารถทำให้คนในครอบครัวตระหนักถึงรายรับรายจ่ายได้ชัดเจนและดี  ที่สุดธุรกิจซ่อมรถและร้านขายข้าวแกงของครอบครัว  เริ่มเห็นความเปลี่ยนแปลง  ทุกคนในครอบครัวเริ่มรู่ตนเองจาก “การทำบัญชีครัวเรือน” เมื่อมีระบบการจัดดารที่ดีประกอบเริ่มมีเวลาว่างให้คิดและศึกษาหาความรู้เพิ่มเติม  และเริ่มเห็นว่าวิธีคิดของตนเองเปลี่ยนไป

คิดให้ต่าง  ต้องง่ายและดีกว่า
          เมื่อความรู้ที่แท้จริงนั้นอยู่ในตัวเรา  เป็นภูมิปัญญาชาวบ้านที่เราอยู่การไปตื่นเต้นกับเทคโนโลยีใหม่ๆ  อาจทำให้หลงลืมสิ่งดีๆ ที่มีอยู่เดิม  ประกอบจึงมีความคิดในการปรับเปลี่ยนวิธีคิด  และวิถีชีวิตสู่ความพอเพียงด้วยการสร้างเอกลักษณ์ของตนเองก่อนลงมือทำ  และต้องทำด้วยความสนุกสนาน  พยายามทำให้รูปแบบและวิธีการตกแต่ง  สร้างความสนใจให้ผู้อื่นได้
(http://www.vcharkarn.com/uploads/185/185393.jpg)

การปรับเปลี่ยนวิถีชีวิตสู่ความพอเพียง  เราต้องคิดถึงวัตถุดิบที่เรามีอยู่  ต้องมีการบริหารจัดการเรื่องวัตถุดิบก่อน  และพยายามใช้วัตถุดิบที่มีให้เกิดประโยชน์สูงสุด  ส่วนงบประมาณที่โครงการให้มาแท้จริงเพื่อเป็นการนำมาสร้างกระบวนการเรียนรู้  ไม่ใช่ให้เอามาซื้อวัสดุอุปกรณ์  ฉะนั้นการเรียนรู้มันไม่สามารถออกมาเป็นผลให้เห็นเป็นตัวตนได้” ฉะนั้นการเรียนรู้ที่ประกอบได้แลกเปลี่ยนได้อย่างน่าสนใจจากการเข้าร่วมโครงการฯ

เบื้องหลังของความคิด
          จากเบื้องหลังความคิดที่ได้รับจากต้นแบบที่ดี คือก๋งประภาส  กาเยาว์  ปราชญ์ชาวบ้านที่ได้สร้างกระบวนการคิดให้ประกอบได้ต่อยอดอยู่เสมอ  กระบวนการคิดของประกอบจะเริ่มจากการคิด การสังเกต  ประกอบกับความใฝ่รู้  การไม่เชื่อสิ่งใดโดยง่ายต้องค้นคว้าข้อมูล  เพื่อค้นหาคำตอบ  สร้างความเข้าใจ  และเรเรียนรู้สู่การทดลองทำ คือ กระบวนกาคิดของประกอบในทุกเรื่อง

        “การคิดเปรียบทเยบอย่างรอบด้าน  ไม่มองเฉพาะจุดทำให้เรามีสติแล้วเข้าใจเรื่องต่างๆ  ได้อย่างแทจริง เช่น การเปรียบเทียบการทำงานของรัฐบาล  จากราคายางกิโลกรัมละ 28 บาท น้ำมันโซลาลิตรละ 8 บาท ข้าวสารกิโลกรัมละ 8 บาท น้ำตาลกิโลกรัมละ 6 บาท ไข่ฟองละ 1 บาท อีกรัฐบาลราคายางกิโลกรัมละ 80 บาท น้ำมันโซลาลิตรละ 30 บาท ข้าวสารกิโลกรัมละ 30 บาท ไข่ฟองละ 0 บาท เมื่อนำมาคิดจริงๆ แล้ว  รัฐบาลแรกยังมีเงินเก็บมากด้วย  อีกรัฐบาลแถมยังมีหนี้  ไม่มีเงินเก็บเราต้องคิดให้รอบด้าน” ประกอบยกตัวอย่างให้เห็นชัดเจนถึงเรื่องรายได้ที่ไม่สำคัญเท่าเงินที่เหลือเก็บ

          ...วิถีพอเพียงที่พี่ประกอบ  กาเยาว์  ได้นำมาใช้ในการดำเนินชีวิต  เกิดขึ้นจากการคิด  การหาเหตุผล  เพื่ออธิบายเรื่องต่างๆ ซึ่งความคิดนั้นทำให้ประกอบมีความเข้มแข็งในการใช้ชีวิตเพราะทำให้เกิดสติ  รู้เท่าทันความคิดตนเอง  และเท่าทันความเปลี่ยนแปลงขิงสถานการณ์ปัจจุบัน  ความยั่งยืนจึงเป็นผลพลอยได้ที่ตามา  วิถีชีวิตที่พอเพียงของประกอบจึงเกิดขึ้นอย่างมีหลักคิดและเกิดความยั่งยืนได้ไม่ยาก จากพื้นฐานการบ่มเพาะที่ดี...

ขอบคุณข้อมูลภายใต้ความร่วมมือของวารสารจดหมายข่าว รักษ์ป่า สร้างคน 84 ตำบล วิถีพอเพียงและ วิชาการ.คอม
http://www.pttplc.com/TH/Default.aspx