หัวข้อ: กินพืชผักเดี่ยวนี้ระวังตายผ่อนส่ง....!!! เริ่มหัวข้อโดย: ช่างเล็ก(LSV) ที่ พฤศจิกายน 13, 2009, 10:44:41 am ชาวเกษตรหลายแห่ง ใช้ยาฟูราดาน โรยใต้ต้นไม้-พืชผัก เพื่อป้องกันปลวกและแมลง ที่อันตรายอย่างยิ่งก็คือตัวยาฟูราดานจะแทรกซึมไปตามใบ-ผล ทำให้แมลงไม่กัดกิน แต่มีฤทธิ์ตกค้างถึง2เดือน ...
(http://udomsukshop.com/img/p/31-84-home.jpg) เมื่อ50ปีที่ผ่านมา นักเคมีได้คิดยาฆ่าแมลงชนิดดูดซึมจากรากต้นพืช ขึ้นมาสู่ต้นใบดอกผล แล้วมีฤทธิ์อยู่ในดินนานเป็นเดือน ดูเหมือนว่า ชื่อทิมเม็ก เขาเอาไปใช้กับไม้ดอกไม้ประดับ เท่านั้นเขามีตัวหนังสือแดง เลยว่าห้ามใช้กับพืชที่นำมาเป็นอาหาร ด้วยความสดวกในการใช้และฤทธิ์ที่คงทนอยู่นานจึงได้มีการนำมาใช้กับ พืชที่ใช้กินมานานกว่า40ปีแล้ว แต่จะใช้กับนาข้าว โดยมีชื่อทางการค้าว่า ฟูราดาน โดยทำเป็นเม็ดคล้ายทรายหยาบ มีพิษตกค้างอยู่ในดินนาน ถึง60วัน แต่ชาวนาใช้ ฟูราดานในช่วงที่ข้าวยังเล็กและเมื่อถึงเวลา เกี่ยวข้าวก็เกิน60วัน ฤทธิ์ยาหมดพอดี แต่หากใช้ยาล่าใส่แล้วเวลา เหลือไม่ถึง 60วัน พิษยายังตกค้างบนต้นข้าว คนงานที่แบกข้าวเคย ล้มลงกลางนาส่งโรงพยาบาลไม่ทันเสียชีวิตเลยก็เคยมีข่าว ต่อมาเมื่อชาวสวนเห็นชาวนาใช้ฟูราดานได้ผลดีก็เลยใช้กับไม้ผล พืชผัก สวนครัว แตงโมแตงกวา โดยใช้ทั้งรองก้นหลุมและโรยบนดินเมื่อมี ปัญหา ทั้งนี้เพราะรู้เท่าไม่ถึงการณ์ว่า ยาตัวนี้มีพิษสูง มาก และตกค้างใน ดินนาน แต่เดี๋ยวนี้มีคนรู้กันมากแล้วว่า ฟูราดานมีพิษมากและตก ค้างนานก็ยังใช้ยานี้อีกเพราะเขาถือว่าปลูกขายให้คนอื่นกินไม่เป็นไร ผลออกมาคือหลายคนท้องเสียเมื่อกินแตงโมเลยไปถึงว่าเป็นโรคจู๋ วัวนมล้มเมื่อกินต้นข้าวโพดอ่อนที่ใช้ฟูราดานหยอดใส่ในฝักกันหนอน สรุปว่า ยานี้มีอันตรายถ้าใช้ไม่เป็น และไม่เหมาะกับผู้ไม่รับผิดชอบสังคม ฟูราดาน เป็นยาฆ่าแมลงชนิด คาร์บาเมท ชื่อสามัญ คาโบฟูราน มีพิษตกค้างนานถึง60วัน เป็นอันตรายต่อปลา ผึ้ง สัตว์ป่า วัวควายและมนุษย์ ทดลองให้หนูกินเพียง 8มิลลิกรัมต่อน้ำหนักตัวหนู 1กิโลกรัม หนูจะตาย เกินครึ่งเขาเรียกว่าค่า LD50=8 ถือว่ามีพิษสูงมาก ค่านี่ตัวเลขน้อยถือ ว่ามีพิษมาก (http://www.rd1677.com/backoffice/PicUpdate/44335.jpg) เล่าให้ฟังแบบชาวบ้านนะ ถ้าจะปลูกผัก เตรียมดินให้ดีต้นไม้มีสัตรูน้อย แล้วหาต้นไม้ที่แมลงไม่กินมาบดหมักใช้เป็นยาฆ่าแมลงแทน ฟูราดาน บางยี่ห้อ ชื่อ ฟูราแคร์ ฯลฯ ...เตือนภัยเพื่อนๆLSV...ด้วยความห่วงใยครับ http://www.rakbankerd.com หัวข้อ: Re: กินพืชผักเดี่ยวนี้ระวังตายผ่อนส่ง....!!! เริ่มหัวข้อโดย: SIWA03 ที่ พฤศจิกายน 13, 2009, 10:56:17 am น่ากลัวๆๆ olleyes2 olleyes2
ขอบคุณครับ wav!! หัวข้อ: Re: กินพืชผักเดี่ยวนี้ระวังตายผ่อนส่ง....!!! เริ่มหัวข้อโดย: ช่างเล็ก(LSV) ที่ พฤศจิกายน 14, 2009, 04:04:26 pm -ปูดองที่นำมาใส่กับส้มตำ บางคนจับมาโดยวิธีโรยยาเบื่อ เคมีประเภทฟูราดานเช่นกัน olleyes2
-ผักกินใบหลายชนิด ถ้าไม่ใส่เคมีประเภทฟูราดาน จะมีแมลงมากัดกินใบ ขายแทบไม่มีคนซื้อ ดังนั้นเกษตรกรบางคน จึงไม่มีทางเลือกหันมาใช้สารเคมีชนิดนี้ olleyes2 -วิธีหลอกขายผัก ว่าเป็นผักไร้สารพิษ ทำได้ง่ายๆ ก่อนเก็บไปขายประมาณ7วัน ใช้ทรายคั่วให้ร้อน แล้วสาดลงแปลงผัก ใบผักจะมีรูคล้ายๆแมลงกัดกิน ... olleyes2 ... ปลูกผักกินเอง ปลอดภัยที่สุดครับ ping! หัวข้อ: Re: กินพืชผักเดี่ยวนี้ระวังตายผ่อนส่ง....!!! เริ่มหัวข้อโดย: eskimo_bkk-LSV team♥ ที่ พฤศจิกายน 14, 2009, 04:23:05 pm อันนี้ ชัวร์ ครับ ปุ๋ยอินทรีย์ http://www.youtube.com/v/hZ6Pyz2hJh0&hl=en_US&fs=1& wav!! หัวข้อ: Re: กินพืชผักเดี่ยวนี้ระวังตายผ่อนส่ง....!!! เริ่มหัวข้อโดย: b.chaiyasith ที่ พฤศจิกายน 14, 2009, 06:58:01 pm ตัวนี้ก็กินกันเกือบทุกวัน
ฟอร์มาลีน-ฟอร์มัลดีไฮด์ ทั้งสองตัวนี้ในทางเคมีคือสารตัวเดียวกัน เพียงแต่ว่าเมื่ออยู่ในรูปของสารละลายจะเรียกว่า ฟอร์มาลีน ซึ่งเป็นชื่อที่เราคุ้น ๆ กันดีก็คือน้ำยาดองศพนั่นเอง ส่วน ฟอร์มัลดีไฮด์ มีสถานะเป็นก๊าซที่อุณหะภูมิปกติ มีกลิ่นฉุนแสบจมูก ส่วนมากที่จำหน่ายกันอยู่ทั่วไปอยู่ในรูปของสารละลายน้ำภายใต้ชื่อน้ำยาฟอร์มาลีน โดยปกติสารละลายนี้จะไม่เสถียรเมื่อเก็บไว้นานโดยเฉพาะที่อุณหภูมิสูง จะกลายเป็นกรดฟอร์มิก จึงมีการเติมสารยับยั้งหรือที่เรียกว่าสารที่ทำหน้าที่เป็นตัวสเตบิไลเซอร์ เช่นเมทานอล 5-15 เปอร์เซ็นต์ หรือมีขายในรูปของพาราฟอร์มัลดีไฮด์ มีประโยชน์ในฐานะที่เป็นสารตั้งต้นสำหรับผลิตภัณฑ์อื่นอีกมากมาย ที่ใช้มากคือนำไปทำเม็ดพลาสติกชนิดต่าง ๆ ที่มีชื่อเรียกกันว่า ยูเรีย-ฟอร์มัลดีไฮด์ หรือ ฟีนอล-ฟอร์มัลดีไฮด์ ที่ใช้เป็นกาวสำหรับเฟอร์นิเจอร์ไม้ ใช้ทำโฟมเพื่อเป็นฉนวน เป็นต้น สำหรับในวงการแพทย์ใช้ประโยชน์มากมาย อย่างเช่นการดองศพ ใช้ในเวชภัณฑ์ เช่นยาอม ใช้ฆ่าเชื้อโรค และฟอกหนัง เป็นต้น ไอของฟอร์มัลดีไฮด์จะระคายตา จมูก และผิวหนัง ทำให้เป็นแผลหรือถึงขั้นตาบอด ถ้าสูดดมเข้าไปมาก ๆ จะทำให้น้ำท่วมปอด จนหายใจไม่ออก แน่นหน้าอก และตายในที่สุด อาการเหล่านี้อาจเกิดขึ้นหลายชั่วโมงหลังจากได้รับสารโดยไม่มีอาการเจ็บปวดเลยก็ได้ หากได้รับปริมาณน้อยเป็นเวลานาน จะมีอาการไอและหายใจติดขัดเพราะหลอดลมอักเสบ เป็นต้น สารเคมีมีประโยชน์ถ้าใช้อย่างถูกต้อง เมื่อทราบพิษภัยของมันแล้ว จงอย่าคิดนำฟอร์มาลีนไปล้างผักอย่างที่พ่อค้าแม่ค้าหลายคนกระทำกันอยู่ และเป็นข่าวอยู่เสมอ สิ่งตกค้างย่อมเป็นอันตรายได้เมื่อกินเข้าไป โดยเฉพาะฟอร์มัลดีไฮด์นี้มีข้อพิสูจน์ที่พอจะเชื่อได้ว่าเป็นสาร ก่อมะเร็ง [url]http://www.chemtrack.org/News-Detail.asp?TID=1&ID=43#] (http://[/url)ฟอร์มาลีน-ฟอร์มัลดีไฮด์ ทั้งสองตัวนี้ในทางเคมีคือสารตัวเดียวกัน เพียงแต่ว่าเมื่ออยู่ในรูปของสารละลายจะเรียกว่า ฟอร์มาลีน ซึ่งเป็นชื่อที่เราคุ้น ๆ กันดีก็คือน้ำยาดองศพนั่นเอง ส่วน ฟอร์มัลดีไฮด์ มีสถานะเป็นก๊าซที่อุณหะภูมิปกติ มีกลิ่นฉุนแสบจมูก ส่วนมากที่จำหน่ายกันอยู่ทั่วไปอยู่ในรูปของสารละลายน้ำภายใต้ชื่อน้ำยาฟอร์มาลีน โดยปกติสารละลายนี้จะไม่เสถียรเมื่อเก็บไว้นานโดยเฉพาะที่อุณหภูมิสูง จะกลายเป็นกรดฟอร์มิก จึงมีการเติมสารยับยั้งหรือที่เรียกว่าสารที่ทำหน้าที่เป็นตัวสเตบิไลเซอร์ เช่นเมทานอล 5-15 เปอร์เซ็นต์ หรือมีขายในรูปของพาราฟอร์มัลดีไฮด์ มีประโยชน์ในฐานะที่เป็นสารตั้งต้นสำหรับผลิตภัณฑ์อื่นอีกมากมาย ที่ใช้มากคือนำไปทำเม็ดพลาสติกชนิดต่าง ๆ ที่มีชื่อเรียกกันว่า ยูเรีย-ฟอร์มัลดีไฮด์ หรือ ฟีนอล-ฟอร์มัลดีไฮด์ ที่ใช้เป็นกาวสำหรับเฟอร์นิเจอร์ไม้ ใช้ทำโฟมเพื่อเป็นฉนวน เป็นต้น สำหรับในวงการแพทย์ใช้ประโยชน์มากมาย อย่างเช่นการดองศพ ใช้ในเวชภัณฑ์ เช่นยาอม ใช้ฆ่าเชื้อโรค และฟอกหนัง เป็นต้น ไอของฟอร์มัลดีไฮด์จะระคายตา จมูก และผิวหนัง ทำให้เป็นแผลหรือถึงขั้นตาบอด ถ้าสูดดมเข้าไปมาก ๆ จะทำให้น้ำท่วมปอด จนหายใจไม่ออก แน่นหน้าอก และตายในที่สุด อาการเหล่านี้อาจเกิดขึ้นหลายชั่วโมงหลังจากได้รับสารโดยไม่มีอาการเจ็บปวดเลยก็ได้ หากได้รับปริมาณน้อยเป็นเวลานาน จะมีอาการไอและหายใจติดขัดเพราะหลอดลมอักเสบ เป็นต้น สารเคมีมีประโยชน์ถ้าใช้อย่างถูกต้อง เมื่อทราบพิษภัยของมันแล้ว จงอย่าคิดนำฟอร์มาลีนไปล้างผักอย่างที่พ่อค้าแม่ค้าหลายคนกระทำกันอยู่ และเป็นข่าวอยู่เสมอ สิ่งตกค้างย่อมเป็นอันตรายได้เมื่อกินเข้าไป โดยเฉพาะฟอร์มัลดีไฮด์นี้มีข้อพิสูจน์ที่พอจะเชื่อได้ว่าเป็นสาร ก่อมะเร็ง http://www.chemtrack.org/News-Detail.asp?TID=1&ID=43# |