พิมพ์หน้านี้ - มารู้จัก โลจิสติกส์กันหน่อย

นานาสาระ => นานาสาระ => ข้อความที่เริ่มโดย: b.chaiyasith ที่ ตุลาคม 24, 2009, 10:43:42 am



หัวข้อ: มารู้จัก โลจิสติกส์กันหน่อย
เริ่มหัวข้อโดย: b.chaiyasith ที่ ตุลาคม 24, 2009, 10:43:42 am
โลจิสติกส์ : จากต้นทางถึงปลายทางอย่างมีประสิทธิภาพ

(http://)ทุกวันนี้ "โลจิสติกส์ (Logistics)" ไม่ใช่ของใหม่ มัถูกกล่าวถึงอย่างกว้างขวาง หลายคนได้ยินคำว่า โลจิสติกส์ ก็หลับตานึกถึงภาพการเดินทางของสินค้าตั้งแต่ต้นน้ำถึงปลายน้ำ ไม่ผิดที่จะบอกว่าโลจิสติกส์ คือ การขนส่ง เพียงแต่ถูกไม่หมดเท่านั้นเอง

(http://www.vcharkarn.com/uploads/173/174111.jpg)

การขนส่งเป็นเพียงส่วนหนึ่งของกิจกรรมในระบบโลจิสติกส์เท่านั้น เพราะโลจิสติกส์เกี่ยวข้องกับกิจกรรมมากมายหลายด้านกว่านั้น มีขอบเขตของกิจกรรมตั่งแต่  งานด้านการจัดซื้อ การผลิต การจัดเก็บ สินค้าคงคลัง การขนส่ง การกำจัดของเสีย  งานเทคโนโลยีสารสนเทศ ฯลฯ เพื่อการแข่งขันทางธุรกิจ จึงมีการผลักดันให้พัฒนาศักยภาพด้านการจัดการโลจิสติกส์ให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น

(http://www.vcharkarn.com/uploads/173/174112.jpg)

ในอดีตคำว่า โลจิสติกส์ เป็นคำที่มาจากกรีก (Logistikos) ที่หมายถึง "ศิลปะในการคำนวณ" ในแง่ของความสามารถทางการทหาร ในการส่งกำลังบำรุง ทั้งเสบียง อาวุธ กำลังพล จากอีกที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่งให้ถูกสถานที่ทันเวลา เพื่อสนับสนุนการรบหรือกิจกรรมทางการทหาร

          แต่ในปัจจุบันคำว่า  โลจิสติกส์  หมายถึงกระบวนงานหนึ่งในกระบวนงานของโซ่อุปทาน (Supply Chain) ตั้งแต่จุดเริ่ม(Source of Origin) จนถึงมือผู้บริโภค (Final Destination) ครอบคลุมทั้ง การจัดหาวัตถุดิบ ( Raw Material) สินค้า (Goods) และบริการ (Services) การขนส่งสินค้า (Cargoes Carriage) การเก็บรักษาสินค้า (Warehousing) และการกระจายสินค้า (Cargoes Distribution) กระบวนการที่เกี่ยวข้องกับการจัดซื้อ (Procurement) และกระบวนการที่เกี่ยวข้องกับการคาดคะเนของตลาด (Market Predict)

(http://www.vcharkarn.com/uploads/173/174114.jpg)
โดยใช้วิธีการและกระบวนการที่ทำให้เกิดต้นทุนการดำเนินงานที่สามารถแข่งขันได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งมีศาสตร์แขนงต่างๆ ที่เกี่ยวข้องอยู่ 3 ศาสตร์ด้วยกัน คือ

          1 ด้านวิศวกรรมศาตร์ สนใจกิจกรรมในการเคลื่อนย้ายสินค้าเป็นหลัก เพื่อให้การขนส่งสินค้ามีประสิทธิภาพสูงสุด
          2. ด้านบริหารธุรกิจ เป็นเรื่องของการขนส่งระหว่างประเทศ โดยพิจารณาในเรื่องของ ภาษี กฎหมาย ค่าระวาง นโยบาย หรือยุทธศาสตร์ทางด้านโลจิสติกส์ของแต่ละประเทศ และการค้าระหว่างประเทศ
          3. การจัดการสารสนเทศ เป็นการพิจารณาในด้านของ software และ hardware ร่วมรวมกัน เพื่อให้การดำเนินกิจกรรมทางโลจิสติกส์มีความคล่องตัวมากขึ้น

กิจกรรมที่สำคัญของโลจิสติกส์ประกอบด้วยกิจกรรมต่าง ๆ 2 ลักษณะ คือ
 
1. กิจกรรมหลัก คือ กิจกรรมที่มีความสำคัญและมีผลกระทบต่อต้นทุนและการให้บริการของสินค้ามากที่สุด ได้แก่
          - การขนส่ง
          - การสินค้าคงคลัง
          - กระบวนการสั่งซื้อ

2. กิจกรรมสนับสนุน คือ กิจกรรมที่มีส่วนในกระบวนการกระจายสินค้า เป็นกิจกรรมที่สนับสนุนให้งานของกิจกรรมหลักดำเนินไปได้สะดวก ได้แก่
          - การบริหารจัดการคลังสินค้า
          - การยกขน
          - การหีบห่อ และบรรจุภัณฑ์
          - การจัดซื้อจัดหาวัตถุดิบ
          - การจัดตารางผลิตภัณฑ์
          - การจัดการข้อมูลข่าวสารและเอกสารที่เกี่ยวข้องกับงานโลจิสติกส์

(http://www.vcharkarn.com/uploads/173/174116.jpg)

ป้าหมายของการจัดการโลจิสติกส์ คือ
          - ความรวดเร็วในการส่งมอบสินค้า (Speed Delivery)
          - การไหลลื่นของสินค้า (Physical Flow)
          - การไหลลื่นของข้อมูลข่าวสาร (Information Flow)
          - การสร้างมูลค่าเพิ่ม (Value Added)
          - การลดต้นทุนการดำเนินการเกี่ยวกับสินค้า การดูแลและขนส่งสินค้า (Cargo Handling & Carriage Cost)

          จากความสำคัญของโลจิสติกส์ จึงทำให้สถาบันการศึกษาเปิดหลักสูตรผลิตบัณฑิตสนองความต้องการของตลาดที่ยังขาดแคลนบุคลากรด้านโลจิสติกส์ ทั้งการอบรมระยะสั้น ระดับอาชีวะศึกษา ระดับปริญญาตรีถึงปริญญาเอก

(http://www.vcharkarn.com/uploads/173/174117.jpg)

แต่ด้วยความที่โลจิสติกส์เป็นเรื่องที่กว้างมาก ทั้งมิติทางด้านวิศวกรรมศาสตร์ มิติทางด้านบริหาร มิติทางด้านสิ่งแวดล้อมและความรับผิดชอบต่อสังคม ซึ่งการกำหนดหลักสูตรมาตรฐานเพื่อใช้ในทุกสถาบันจึงเป็นเรื่องที่เป็นไปได้ยาก จึงทำเพียงกำหนดวิชาหลัก เพื่อให้นักศึกษารู้ว่าหลักๆแล้วควรมีความรู้ด้านระบบการขนส่ง รู้เรื่องศูนย์กระจายสินค้า เข้าใจรู้วิธีการบริหารจัดการทำอย่างไรให้มีต้นทุนต่ำ ภายใต้เงื่อนไขที่สินค้าต้องมีคุณภาพดีที่สุด พร้อมทั้งมีความรู้เกี่ยวกับการบรรจุภัณฑ์ และมีความรู้ด้านการตลาดบ้าง จากนั้นแต่ละสถาบันจึงตัดสินใจเปิดหลักสูตรที่เป็นจุดแข็งของตนเอง เช่น

          หลักสูตรโลจิสติกส์ในเชิงวิศวกรรมศาสตร์  จะเน้นความรู้ในการจัดการกระบวนการผลิต กระบวนการเคลื่อนย้ายภายในการจัดการเครื่องมือ การทำให้สินค้าตั้งแต่ต้นทางถึงปลายทางผลิตได้เร็วขึ้น สามารถจัดการแบบ Just in Time โรงงาน มีทักษะในในการคำนวณ การวางแผนทางการขนส่งต่างๆ ให้มีประสิทธิภาพ และประหยัดต้นทุนมากที่สุด โดยใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเข้ามาบริหารจัดการ"

          หลักสูตรโลจิสติกส์ทางด้านการจัดระบบโลจิสติกส์ระหว่างประเทศ  เน้นในเรื่องการบริหารระหว่างประเทศ การจัดระบบโลจิสติกส์ระหว่างประเทศ  การจัดทำ Global Supply chain ที่เป็นจุดแข็งและจุดเด่น 

          สาขาวิชาวิทยาการเดินเรือ ซึ่งสำหรับสาขานี้ จะต้องมีการฝึกภาคทะเล และฝึกประสบการณ์บนเรือเดินทะเล ซึ่งมหาวิทยาลัยต้องใช้เรือของทางราชการยังไม่พร้อมที่จะรับเพศหญิงเข้ารับการฝึก จึงระบุว่ารับเฉพาะเพศชายเท่านั้น
          สาขาวิชาการจัดการการขนส่งและโลจิสติกส์
          สาขาวิชาธุรกิจพาณิชยนาวี
          สาขาวิชาการจัดการอุตสาหกรรมพาณิชยนาวี

          หลักสูตรการประยุกต์ Logistics and Supply Chain ในองค์กร
          หลักสูตรฟังก์ชันการบริหารงานด้านโลจิสติกส์
          หลักสูตรโลจิสติกส์และและโซ่อุปทานสำหรับผู้บริหาร
          หลักสูตรออกแบบสำหรับผู้บริหารระดับต้นและระดับกลางที่กำลังทำงานทางด้านโลจิสติกส์และการจัดการซัพพลายเชน
          หลักสูตรระยะสั้นการจัดการการขนส่งทางอากาศ
          หลักสูตรระยะสั้นการออกแบบและการวางแผนการปฎิบัติการคลังสินค้า

          แนวทางการประกอบอาชีพของผู้สำเร็จการศึกษาสาขานี้ สามารถทำงานในองค์กรของรัฐ หรือเอกชน เช่น บริษัททั่วไปที่มีแผนกนำเข้าและส่งออก บริษัทตัวแทนขนส่งสินค้าทางทะเลหรือทางอากาศ การท่าเรือแห่งประเทศไทย ท่าเรือหรือท่าเทียบเรือของเอกชน บริษัทท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) ผู้ประกอบการสถานีพักสินค้า กรมการขนส่งทางน้ำและพาณิชยนาวี กรมประมง กรมการขนส่งทางอากาศ กรมศุลกากร เป็นต้น ในตำแหน่งต่างๆ เช่น

          นักวิเคราะห์ด้านโลจิสติกส์และโซ่อุปทาน
          นักวางแผนวัตถุดิบการผลิต หรือการกระจายสินค้า
          นักวิเคราะห์กระบวนการทางธุรกิจ
          Customs Broker(จัดทำเอกสารการนำเข้า-ส่งออก)
          Air Freight for warder
          Customs Broker(ตรวจปล่อยสินค้า)
          Sea Freight for warder
          Customs Broker(ฝ่ายสิทธิประโยชน์ทางภาษีอากร)
          Other Freight for warder
          ฝ่ายจัดการคลังสินค้า
          ฝ่ายขนส่งสินค้า
          ฝ่ายผลิตสินค้า 

(http://www.vcharkarn.com/uploads/173/174118.jpg)

ภาพ Customs Broker ทำการเคลียร์สินค้าออก จากท่า แล้วนำส่งที่คลังสินค้าของ Consignee หลังจากนั้น Consignee ก็กระจายสินค้าไปตาม Shop ต่างๆ
ที่มา blog.trekkingthai.c om


          "โลจิสติกส์" มีความกว้างขว้างทางหลักสูตรมาก จึงพร้อมให้คุณเลือกศึกษาได้ตามความสนใจ ถ้ายังตัดสินใจไม่อาจ อาจลองศึกษาหาความรู้จากการอบรมหรือหลักสูตรระยะสั้นๆ เพื่อทดลองชิม ก่อนเอาจริงก็ไม่สาย

ที่มาวิชาการดอดคอม