พิมพ์หน้านี้ - พลิกใจ กับ คุณประยงค์ รณรงค์ ปราชญ์ชาวบ้าน

สารพัดช่าง-แนวทางอาชีพ => ●การเกษตร => ข้อความที่เริ่มโดย: b.chaiyasith ที่ ตุลาคม 10, 2009, 10:12:45 am



หัวข้อ: พลิกใจ กับ คุณประยงค์ รณรงค์ ปราชญ์ชาวบ้าน
เริ่มหัวข้อโดย: b.chaiyasith ที่ ตุลาคม 10, 2009, 10:12:45 am
พลิกใจ กับ คุณประยงค์ รณรงค์

คนส่วนใหญ่ถูกความจำเป็นเฉพาะหน้าดึงความสนใจไปหมดสิ้น เมื่อบรรลุถึงเป้าหมายของความจำเป็นหนึ่งแล้ว ก็มีความจำเป็นใหม่ๆ เข้ามาแทนอีก บางทีเข้ามาพร้อมๆ กันหลายความจำเป็น ชีวิตจึงมัวแต่ขจัดอุปสรรคต่างๆ ที่ทำให้ไม่บรรลุความจำเป็น


บางคนจึงแทบไม่มีเวลาถามตัวเองเลยว่า เรากำลังหาอะไรให้กับชีวิต หรือชิวิตของเรามีเป้าหมายอันใด


อ่านพบความคิดเห็นสั้นๆ ของ คุณประยงค์ รณรงค์ ปราชญ์ชาวบ้านแห่งชุมชนไม้เรียง ในบันทึกตามรอยพ่อ ซึ่งจัดทำโดยสำนักนายกรัฐมนตรี สะกิดใจให้คิดตั้งแต่การพบความหมายของชีวิต และการบรรลุเป้าหมายนั้น คุณประยงค์เล่าว่า เมื่อตนได้รับความรู้จากพระราชดำรัสต่างๆ จึงเริ่มวางแผนชีวิตตนเองจากเป็นที่พึ่งลูก ก็เปลี่ยนเป็นขอพึ่งลูก

“...พึ่งลูก ขอเป็นที่ปรึกษาให้ลูก และเวลาที่เหลือจะขอตอบแทนคุณแผ่นดิน”
(http://www.vcharkarn.com/uploads/171/171447.jpg)

(http://)เมื่อจัดการชีวิตตัวเองและครอบครัวให้เกิดความมั่นคงพออยู่พอกินได้แล้ว ความคิดเพื่อประโยชน์ส่วนตนก็ไม่มี ไม่มีความหวังอะไรเป็นของตนเอง ความตั้งใจที่จะใช้ชีวิตที่เหลืออยู่ เพื่อตอบแทนคุณแผ่นดินจึงปรากฏเป็นความคิดที่พอจับต้องได้ว่า จะทำอะไรที่เกิดประโยชน์แก่คนอื่น ครอบครัวของคนรอบข้าง จะทำอย่างไรให้เขาพออยู่พอกินได้

“...ผมเป็นเพียงชาวบ้านธรรมดา จะไปสอนใครๆ ก็คงยาก...”

เกิดอุปสรรคขึ้นทันที เพียงแค่คิดจะทำ แต่ด้วยเพราะเฝ้าติดตามเรียนรู้จากพระราชภารกิจต่างๆ ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเป็นประจำ คุณประยงค์จึงเห็นว่า ศูนย์ฯ ต่างๆ ของในหลวงนั้น  ให้การศึกษาเรียนรู้แก่ชุมชนเป็นสำคัญ

ความรู้นี้ นำไปสู่การตั้งศูนย์ไม้เรียงขึ้น เอาชาวบ้านเข้ามาร่วมให้ข้อมูล แลกเปลี่ยนประสบการณ์ กำหนดเรื่องที่จะทำร่วมกันของชุมชน กำหนดอะไรเป็นเรื่องหลัก อะไรเป็นเรื่องรอง ทำให้ชาวบ้านรู้ว่าเขาจะแก้ปัญหาด้วยตัวเขาเองอย่างไร

“...เราให้มีความหลากหลายในการแก้ไขปัญหา มันคือภูมิคุ้มกัน คนก็เลยไม่กลัวปัญหา”

เมื่อชาวบ้านพบว่าหนทางในการแก้ไขปัญหาต่างๆ อยู่ในตัวของพวกเขากันเอง มันอยู่ในชุมชนของเขานี่แหละ เมื่อมีเวที มีสถานที่ให้ขุดค้นเอาสิ่งเหล่านี้ขึ้นมาแล้ว มันแก้ไขปัญหาให้เขาได้ด้วย จึงเกิดความเชื่อมั่น ถักทอเป็นถูมิคุ้มกันให้ตนเองได้

(http://www.vcharkarn.com/uploads/171/171448.jpg)

“เมื่อเราเอาหลักเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ ทำให้เราพร้อม มีหลัก มีฐาน เราจัดการทรัพยากรของเราได้ด้วย เรามาตั้งชื่อใหม่ ‘วิสาหกิจชุมชน’ เป็นการร่วมมือกันของชุมชน ร่วมกันแก้ไขปัญหา ร่วมกันพัฒนา เราใช้ทุนในชุมชนทั้งทุนผลิต ทุนสังคม ...อยู่รอดได้"

“...ผมว่า เศรษฐกิจพอเพียง เหมาะกับทุกอาชีพ ต้องไม่มีหนี้สิน จะได้ไม่อ่อนแอ นี่คือ ความเข้าใจของผม”

คุณประยงค์ รณรงค์ ผู้นำชุมชนไม้เรียง อ.ฉวาง จ.นครศรีธรรมราช นำพาชาวบ้านลุกขึ้นจัดการปัญหาตนเอง จนชุมชนไม้เรียงกลายเป็นชุมชนต้นแบบของการพัฒนาแบบพึ่งตนเอง และแก้ปัญหาโดยไม่ใช้เงินนำหน้า


ได้รับยกย่องให้เป็นปราชญ์ชาวบ้าน กระทั่งได้รับรางวัลแมกไซไซ สาขาผู้นำชุมชน เมื่อปี พ.ศ.2547

ขอบคุณข้อมูลภายใต้ความร่วมมือของวารสารจดหมายข่าว รักษ์ป่า สร้างคน 84 ตำบล วิถีพอเพียงและ วิชาการ.คอม
http://www.pttplc.com/TH/Default.aspx