หัวข้อ: อาการของคนที่ติดเชื้อไข้หวัดใหญ่ 2009 ที่ระบาดในประเทศไทยในตอนนี้.......... เริ่มหัวข้อโดย: Nattawut-LSV Team ที่ กรกฎาคม 09, 2009, 05:09:58 pm สัญญานและอาการของคนที่ติดเชื้อไข้หวัดใหญ่ สายพันธ์ใหม่ ชนิด A 2009 H1N1 ที่ระบาดในประเทศเม็กซิโก และในประเทศไทย
อาการของไข้หวัดหมูในคนนั้นมีอาการคล้ายกันกับอาการของคนที่เป็นหวัดปกติ และมีอาการต่อไปนี้คือ มีไข้ ท้องเสีย เจ็บคอ ปวดเมื่อยตามร่างกาย ปวดศรีษะ หนาว และ ไม่มีเรี่ยวแรง อ่อนล้า ร่วมด้วย ในบางคนมีอาการท้องเสียร่วมกับอาเจียน และในอดีตมีรายงานว่าผู้ป่วยหลายคนมีอาการรุนแรงถึงขั้นเป็นปอดบวม และ ระบบหายใจล้มเหลว และเสียชีวิตในที่สุด เช่นเดียวกันกับหวัด ที่ไข้หวัดหมูอาจจะแย่ลงจนต้องมีสภาพการเรื้อรัง ผู้ที่ติดเชื้อไข้หวัดหมูควรได้รับการพิจารณาถึงศักยภาพในการติดเชื้อ ระยะเวลาความยาวนานของการฟักเชื้อจนมีอาการ และความเป็นไปได้ของอาการป่วยที่ยาวนานถึง 7 วัน เด็กๆ โดยเฉพาะเด็กเล็กอาจได้รับเชื้อเป็นเวลานาน สัญญานเติอนภัยที่จะบ่งบอกถึงการต้องเข้ารับการรักษาอย่างเร่งด่วนที่ต้องสังเกตมีดังนี้ ในเด็ก หากเด็กมีอาการหายใจเร็ว หรือหายใจลำบาก ผิวหนังเป็นจ้ำสีน้ำเงิน ดื่มน้ำน้อยไม่เพียงพอ ปลุกไม่ตื่น หรือไม่มีอาการตอบสนอง มีอาการงอแงไม่ยอมให้อุ้ม มีไข้เฉียบพลัน หรือมีอาหารหวัด ไออย่างรุนแรง หากมีอาการเหล่านี้ไม่ควรนิ่งนอนใจ ต้องรีบเข้ารับการรักษาทันที ในผู้ใหญ่ สัญญานเตือนภัยที่จะต้องรีบรักษาเช่นกันคือ อาการหายใจลำบาก หรือหายใจถี่ เจ็บ แน่นหน้าอกหรือช่องท้อง วิงเวียน หน้ามืด และอาเจียนอย่างรุนแรง หรืออาเจียนเป็นเลือด หากมีอาการเหล่านี้ต้องรีบรักษาอย่างเร่งด่วน โอกาสในการรับเชื้อ การกระจายและการติดเชื้อของเชื้อไข้หวัดหมูมี 2 ทาง คือ ทางแรก เกิดจาการสัมผัสกับหมูที่ติดเชื้อ หรือการอยู่ในสิ่งแวดล้อมที่ปนเปื้อนด้วยเชื้อไวรัสไข้หวัดหมู ทางที่สอง การเกิดจากสัมผัสระหว่างคนกับคนที่ติดเชื้อ การกระจายและติดเชื้อระหว่างคนสู่คนนั้นได้มีการมีบันทึกไว้ และ ถูกคาดการณ์ว่าจะเกิดขึ้นในช่วงฤดูที่มีไข้หวัดระบาด (Seasonal flu) สาเหตุให้ที่จะทำให้เชื้อแพร่กระจายจากคนสู่คนถือการไอ หรือจาม ของผู้ติดเชื้อ จะรักษาอย่างไร? ยาที่จะใช้รักษาอาการไข้หวัดหมูนั้น CDC แนะนำให้ใช้ตัวยา oseltamivir หรือ zanamivir (ทางที่ดีอย่าซื้อกินเอง ควรไปพบแพทย์ค่ะ...ผู้เขียน) สำหรับการบำบัดรักษา การป้องกันเป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่จะไม่ทำให้เกิดการติดเชื้อไวรัสนี้ ยาต้านไวรัส (Antivirus drug) ตามคำสั่งยาของแพทย์ไม่ว่าจะเป็นยาเม็ด ยาน้ำ หรือ ยาชนิดสูดดม ที่มีฤทธิ์ต้านหวัดช่วยได้โดยการป้องกันการเจริญและพิ่มจำนวนในร่างกาย (ยังคงมีไวสหลงเหลือในร่างกาย) ถ้าหากมีอาการป่วย ยาต้านไวรัสเหล่านี้สามารถทำให้อาการป่วยลดลงและสามารถทำให้รู้สึกดีขึ้นเร็วขึ้น และอาจใช้ป้องกันอาการหวัดที่รุนแรงได้ สำหรับการรักษานั้นยาต้านไวรัสทำงานได้ดีที่สุดถ้าใช้ตั้งแต่เริ่มมีอาการป่วย โดยเฉพาะในช่วงประมาณ 2 วันแรกที่มีอาการเหมือนเชื้อหวัด..ไม่มีวัคซีนในการรักษา อย่างไรก็ตามหากการกระทำใดๆในชีวิตประจำวันที่ผู้คนสามารถใช้ช่วยป้องกันการแพร่กระจายของเชื้อจุลินทรีย์ซึ่งเป็นสาเหตุของโรคระบบทางเดินหายใจได้ก็สามารถนำมาใช้ป้องกันเชื้อไขหวัดหมูนี้ได้ ข้อแนะนำตามขั้นตอนพึงปฏิบัติเป็นประจำทุกวันเพื่อปกป้องสุขภาพของตัวคุณเอง ดังต่อไปนี้ 1. ใช้กระดาษทิชชูปิดจมูกและปากของคุณเมื่อไอ หรือจาม และทิ้งกระดาษทิชชูที่ใช้แล้วลงในถังขยะที่มีฝาปิดหลังการใช้ทันที 2. ล้างมือให้สะอาดด้วยน้ำและสบู่ หรือล้างด้วยผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนผสมแอลกอฮอล์ (เช่นเจลล้างมือ) บ่อยๆ โดยเฉพาะหลังการไอ หรือ จาม 3. พยายามหลีกเลี่ยงการพบปะ และสัมผัสกับผู้ป่วย ถ้าหากป่วยเป็นหวัดควรหยุดพักอยู่บ้าน เพื่อจำกัดการพบปะผู้อื่น เพื่อป้องกันการแพร่เชื้อไปสู่ผู้อื่น 4. หลีกเลี่ยงการสัมผัสตา จมูก หรือ ปาก เพราะเชื้อโรคสามารถเข้าสู่ร่างกายทางอวัยวะเหล่านี้ได้ ประชาชนยังไม่จำเป็นต้องเป็นกังวลกับการจัดเตรียมและรับประทานเนื้อหมู เช้อไวรัสไข้หวัดหมูนี้ไม่สามารถแพร่กระจายได้ทางอาหาร อนึ่งการรับประทานเนื้อหมูที่ผ่านการเตรียมที่ดีและผ่านการปรุงสุกจะช่วยให้มีความปลอดภัยจากเชื้อโรคนี้ ขอบคุณที่มา www.oknation.net/blog สุขภาพและความงาม หัวข้อ: Re: 'ข้อแนะนำสำหรับผู้ป่วยโรคไข้หวัดใหญ่ 2009' เริ่มหัวข้อโดย: Nattawut-LSV Team ที่ กรกฎาคม 19, 2009, 08:04:34 am คำแนะนำสำหรับผู้ที่ป่วยด้วยโรคไข้หวัดใหญ่ 2009
การดูแลรักษาตนเองที่บ้าน ผู้ป่วยที่มีสุขภาพแข็งแรงเมื่อติดเชื้อไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ จะมีอาการเหมือนไข้หวัดใหญ่ที่พบตามปกติ เช่น ไข้สูง ปวดศีรษะ ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ ไอ เจ็บคอ แต่ ผู้ป่วยส่วนใหญ่ร้อยละ 95 มีอาการไม่รุนแรง สามารถหายป่วยได้เอง โดยมีการดูแลตนเอง ดังนี้ 1. การดูแลรักษาตนเองที่บ้าน 1) การปฏิบัติตัว * พักผ่อนให้เพียงพอ (คืนละ 6-8 ชั่วโมง) ไม่นอนดึก * ดื่มน้ำมาก ๆ * รับประทานยาพาราเซตามอลเพื่อลดไข้และยาลดน้ำมูก หากมีอาการคัดจมูกและมีน้ำมูก * ห้ามกินยาแอสไพริน 2) การสังเกตอาการตนเอง ให้มาพบแพทย์เมื่อมีอาการ ดังต่อไปนี้ * อาการดังกล่าว ไม่ดีขึ้นภายใน 3 วัน * ไข้สูง ซึม นอนซม * อาเจียนมาก รับประทานอาหารไม่ได้ * ไอมาก * รู้สึกเหนื่อย หายใจลำบาก หอบ * เจ็บหน้าอกเวลาไอ หรือหายใจทุกครั้ง หมายเหตุ อาการ ต่าง ๆ เป็นเครื่องบ่งชี้ว่าอาจเกิดปอดบวมขึ้น ซึ่งเป็นโรคแทรกซ้อนที่พบได้ในผู้ป่วยที่เป็นไข้หวัดใหญ่ (ทั้งไข้หวัดใหญ่ตามฤดูกาล และไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่) จำเป็นต้องได้รับการประเมินโดยแพทย์ใหม่อีกครั้ง 2. การป้องกันการติดเชื้อสำหรับสมาชิกในครอบครัวและผู้อื่น 1) ผู้ป่วยต้องใส่หน้ากากอนามัยเมื่อต้องอยู่ร่วมกับผู้อื่น เป็นเวลา 7 วัน (นับจากวันที่เริ่มมีอาการไข้) 2) ล้างมือด้วยน้ำและสบู่ หรือใช้แอลกอฮอล์เจลถูมือบ่อย ๆ 3) หยุดเรียนหรือหยุดทำงาน และพักอยู่ที่บ้านจนหายป่วย (ประมาณ 3-7 วัน) 4) ใช้กระดาษทิซชูปิดปากและจมูก ทุกครั้งที่ไอ หรือจาม และทิ้งในถังขยะที่มีฝาปิด 3. วิธีการใส่หน้ากากอนามัย ที่ถูกต้อง 1) ล้างมือก่อนใส่และหลังถอดหน้ากากอนามัยทุกครั้ง 2) สวมหน้ากากอนามัยให้คลุมทั้งจมูกและปาก โดย * เอาด้านที่มีขอบลวดอยู่ด้านบน เอาด้านที่มีสีเข้ม (หรือมีลักษณะมันวาวและลื่น) ออกด้านนอก เมื่อสวมเสร็จแล้วให้กดแกนลวดด้านบนแนบกับดั้งจมูกและใบหน้า ข้อมูลจาก นายแพทย์สมบัติ ลีลาสุภาศรี อายุรแพทย์โรคติดเชื้อ โรงพยาบาลพญาไท 2. นายแพทย์สุรพงศ์ อำพันวงษ์ |