พิมพ์หน้านี้ - โตนเลสาบ (Tonle Sap) จุดหยุดพักของสายน้ำโขง

นานาสาระ => นานาสาระ => ข้อความที่เริ่มโดย: b.chaiyasith ที่ กรกฎาคม 01, 2009, 06:36:55 pm



หัวข้อ: โตนเลสาบ (Tonle Sap) จุดหยุดพักของสายน้ำโขง
เริ่มหัวข้อโดย: b.chaiyasith ที่ กรกฎาคม 01, 2009, 06:36:55 pm
สายน้ำโขงที่ไหลหลากเรื่อยมาจากดินแดนหลังคาโลก นำความอุดมสมบูรณ์มาสู่โตนเลสาบ ลุ่มน้ำอันเปรียบดั่ง อู่ข้าวอู่น้ำ ที่หล่อเลี้ยงชีวิตของชาวกัมพูชา ทะเลสาบน้ำจืดที่มีความลึกเฉลี่ยเพียง 10 เมตรเท่านั้น แต่ทว่ากลับกว้างใหญ่ที่สุดในเอเชีย

http://www.vcharkarn.com/varticle/38887 (http://www.vcharkarn.com/varticle/38887)

หากนั่งเครื่องบินผ่านน่านฟ้ากัมพูชา แล้วมองลงมา ณ เบื้องล่าง แทบจะไม่น่าเชื่อเลยว่าทะเลสาบแห่งอาณาจักรขอม จะกว้างใหญ่จนมองเห็นเด่นชัด เป็นภาพสีน้ำเงินแทรกตัวอยู่ท่ามกลางผืนแผ่นดินเช่นนี้

โตนเลสาบ (Tonle Sap) หรือ ทะเลสาบเขมร คำว่า “โตนเล” ในภาษาเขมร หมายถึง แม่น้ำ สาบ หมายถึง จืด  ทะเลสาบน้ำจืดที่ใหญ่ที่สุดในเอเชียแห่งนี้  ตั้งอยู่บริเวณตอนกลางค่อนไปทางตะวันตกเฉียงเหนือของกัมพูชา ล้อมรอบด้วยพื้นที่จังหวัดเสียมเรียบพระตะบอง โพธิสัต กัมปงชนัง กัมปงธม


พื้นที่ประมาณ 2700 ตารางกิโลเมตรในยามปกติ แต่ถ้าในช่วงที่มีน้ำมากพื้นที่ของทะเลสาบจะกว้างใหญ่ถึง 16000 ตารางกิโลเมตร เมื่อเทียบกับบึงบอระเพ็ด ในจังหวัดนครสวรรค์ ทะเลสาบน้ำจืดที่ใหญ่ที่สุดของประเทศ มีพื้นทีเพียง 212 ตารางกิโลเมตรเท่านั้น อาณาบริเวณของโตนเลสาป ครอบคลุมพื้นที่ 5 จังหวัด ได้แก่ กำปงธม กำปงซะนัง โพธิสัตว์ พระตะบอง และเสียมเรียบ  ส่วนกลางทะเลสาบจะลึกประมาณ 5-6 เมตร แต่ถ้าหากเป็นฤดูน้ำหลากก็จะเพิ่มสูงอีกราว 5-6 เมตร มีส่วนที่ลึกที่สุดของแม่น้ำคือ 15 เมตร ส่วน ที่ตื้นที่สุด 5 เมตร หรือมีความลึกเฉลี่ยเพียง 10 เมตร เท่านั้น

ที่ปลายทะเลสาบด้านตะวันออกเฉียงใต้ทางด้านจังหวัดกัมปงชนัง แม่น้ำโตนเลสาบ (Tonle Sap River) ซึ่งไหลเชื่อมโยงกับแม่น้ำโขงและแม่น้ำบาสัก (Basac River) ห่างออกไปถึง 100 กิโลเมตร ที่กรุงพนมเปญ เกิดเป็นจุด จัตุรมุข ที่แม่น้ำ 3 สายได้มาบรรจบกัน คือ แม่น้ำโตนเลสาป แม่น้ำบาสัก และแม่น้ำโขง ที่บริเวณนี้กระแสน้ำของแม่น้ำโตนเลสาบจะสลับทิศทางการไหลตามฤดูกาล หรือที่เรียกว่า River with Return

ในช่วงเดือนพฤษภาคม ถึงพฤศจิกายน น้ำในแม่น้ำโขงไหลหลากมาจากทางเหนือเป็นจำนวนมาก จนหนุนน้ำในแม่น้ำให้กลับทิศทางการไหลย้อนกลับขึ้นไปที่โตนเลสาบทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือ พร้อมทั้งพัดพาตะกอนและแร่ธาตุต่าง ๆ มาทับถมบริเวณโดยรอบทะเลสาบจนทำให้ในช่วงนี้เกิดพื้นที่ที่อุดมสมบูรณ์เหมาะแก่การเพาะปลูก และปริมาณน้ำก็เอ่อล้นแผ่ขยายวงกว้างราว 4-5 เท่า ตามปริมาณน้ำที่ไหลบ่ามาจนมีอิทธิพลถึงพื้นที่ลุ่มน้ำโตนเลสาบในประเทศไทย โดยในระยะที่ระดับน้ำในโตนเลสาบนิ่งนั้นจะนิ่งสงบใส เหมาะแก่การเที่ยวชมความงามของผืนน้ำ และจะค่อยๆลดลงในฤดูแล้งราวเดือนธันวาคม-เมษายน ทิศทางการไหลของแม่น้ำโตนเลสาปก็จะกลับทิศทางกลับลงมาทางตะวันออกเฉียงใต้สู่แม่น้ำโขงและแม่น้ำบาสัก ตามกระแสน้ำในแม่น้ำโขงจากทางเหนือที่ลดลง คราวนี้ตะกอนดินอันอุดมสมบูรณ์ก็จะถูกนำไปทับถมในบริเวณที่มีการเพาะปลูกอีกด้านหนึ่ง

โตนเลสาบ เป็นเสมือนแก้มลิง คอยเก็บกักน้ำจากแม่น้ำหลายสายในช่วงฤดูน้ำหลาก ราวกับเป็นปราการที่ธรรมชาติสร้างไว้ป้องกันน้ำท่วมในบริเวณลุ่มแม่น้ำโขงตอนใต้ แม่น้ำหลายสายที่ได้ไหลมารวมกันเป็นทะเลสาบน้ำจืดแห่งนี้ มีปริมาณน้ำเฉลี่ยรายปี 6,266.20 ล้านลูกบาศก์เมตร โดยประมาณร้อยละ 60 เป็นน้ำที่ไหลมาจากแม่น้ำโขง ที่มีจุดเริ่มต้น จากเทือกเขาหิมาลัย จนไหลลงสู่ทะเลจีนใต้มีความยาวทั้งหมด 4,880 กิโลเมตร โดยช่วงที่ไหลผ่านกัมพูชามีระยะทางเกือบ 500 กิโลเมตร ก่อนที่จะไหลต่อไปยังเวียดนามลงสู่ทะเลจีนใต้
นอกจากจะเป็น “อู่ข้าว อู่น้ำ”ของชาวเขมรแล้ว ด้วยความกว้างใหญ่ครอบครองพื้นที่หลายจังหวัดของประเทศ โตนเลสาบจึงถือเป็นเส้นทางคมนาคมทางน้ำที่สำคัญ
 
ความหลากหลายทางชีวภาพที่สำคัญต่อระบบนิเวศน์

โตนเลสาป เป็นทะเลสาบน้ำจืดที่ได้รับการยกย่องว่ามีความอุดมสมบูรณ์ของทรัพยากรธรรมชาติอย่างสูง เป็นแหล่งเพาะพันธุ์ปลาน้ำจืดใหญ่ที่สุดแห่งหนึ่งของโลกมีพันธุ์ปลามากถึงกว่า 300 ชนิด สาเหตุที่ทำให้ปลาชุกชุมมาจากการไหลของกระแสน้ำที่มีลักษณะเฉพาะ และระบบนิเวศน์ที่มีความอุดมสมบูรณ์ สามมารถพบปลาน้ำจืดสายพันธ์ที่หายาก โดยเฉพาะปลาบึก [Gian Cat Fish] ซึ่งเป็นพันธุ์ปลาซึ่งเป็นปลาน้ำจืดที่ใหญ่ที่สุดในโลก ที่มีถิ่นอาศัยเพียงแห่งเดียวในโลกคือในแม่น้ำโขง จะอาศัยทะเลสาบโตนเลเป็นที่วางไข่ แล้วว่ายทวนน้ำจากโตนเลสาบขึ้นสู่ประเทศไทย-ลาว ก่อนไปผสมพันธุ์ที่จีนซึ่งเป็นต้นแม่น้ำโขง

ทรัพยากรธรรมชาติประเภทอื่นๆ ในโตนเลสาบ ยังมีทั้งพืชพรรณต่าง ๆกว่า 200 ชนิด สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมกว่า 46 สายพันธุ์ รวมทั้งสัตว์ปีกอย่างนกอีกกว่า 225 สายพันธุ์ สัตว์บางชนิดที่พบเห็นได้เฉพาะบริเวณโตนเลสาบเท่านั้น และยังมีจำนวนไม่น้อยที่เป็นสัตว์ปีกอนุรักษ์ของโลก

ทรัพยากรทางธรรมชาติที่ได้จากผืนน้ำโตนเลสาบ คือ สิ่งที่หล่อเลี้ยงชนชาวกัมพูชา แต่ละปีมีการจับปลาในปริมาณมาก เช่นปลาแดดเดียว ปลาเนื้ออ่อน และการทำปลาร้าที่ขึ้นชื่อ แต่ในระยะหลังทั้งผลกระทบที่เกิดจากการสร้างเขื่อนขนาดใหญ่ที่อยู่ทางตอนเหนือของแม่น้ำโขง มีผลต่อปริมาณน้ำจากแม่น้ำโขงที่หล่อเลี้ยงโตนเลสาบลดลงอย่างน่าเป็นห่วง และการจับปลาในปริมาณที่มากเกินสมดุลธรรมชาติทำให้ในระยะหลัง ปลาซึ่งจับได้มีปริมาณลดลง แม้แต่ปลาบึกเองที่เคยพบได้ทั่วไปในแม่น้ำโตนเลสาปกับลำน้ำโขง รวมทั้งในบริเวณใกล้กับกรุงพนมเปญแทบจะหายไปจากลุ่มน้ำแห่งนี้ กระทั่งองค์การพัฒนาภาคเอกชนอนุรักษ์สภาพแวดล้อม  ได้เรียกร้องให้คณะกรรมาธิการแม่น้ำโขง (Mekong River Commission) ให้เอาใจใส่ต่อสภาพนิเวศน์ในลำน้ำโขงที่กำลังถูกบั่นทอนจากการสร้างเขื่อน ขนาดใหญ่กั้นลำน้ำ

นอกจากนี้ยังพบว่าเมื่อปลาลดลง ชาวบ้านได้หันมาจับงูน้ำทดแทนทั้งเพื่อนำไปจำหน่ายเพื่อการบริโภค และนำมาเลี้ยงจระเข้ในฟาร์มท้องถิ่นแทนปลา ปัจจุบันชาวบ้านได้หันมาเลี้ยงจระเข้เพราะมันสามารถทำเงินให้ได้ดีกว่าอาชีพหาปลามากทีเดียวไบรอัน สจวร์ต นักวิจัยสมาคมอนุรักษ์สัตว์ป่ากล่าวว่า ช่วงฤดูฝนปี 1999 และ 2000 ชาวบ้านจับงูน้ำถึงวันละกว่า 8,500 ตัว ซึ่งถ้ายังจับกันในอัตราสูงขนาดนี้ คงมีงูจับอีกไม่นานนัก

นอกจากความหลากหลายของสิ่งมีชีวิตแล้ว บริเวณลุ่มน้ำโตนเลสาบก็ยังมีทรัพยากรป่าไม้ที่สำคัญ ทั้งป่าชายเลนและป่าไม้ในพื้นที่ชุ่มน้ำ อย่างไรก็ตามพื้นที่ป่าไม้ของกัมพูชาได้เริ่มลดลงอย่างน่าเป็นห่วงจากอัตรา การตัดไม้ทำลายป่าทั้งเพื่อการค้าและนำมาเป็นเชื้อเพลิงในครัวเรือน สูงถึง 300,000 เฮกตาร์ต่อปี
     
‘ชาวน้ำ’ประชากรของโตนเลสาบ

บริเวณโตนเลสาบและพื้นที่โดยรอบมีประชากรอาศัยอยู่ราวร้อยละ 10 ของประชากรกัมพูชาทั้งประเทศ คนเหล่านี้เรียกตัวเองว่า ‘ชาวน้ำ’ โดยใช้ชีวิตบนน้ำด้วยการอาศัยอยู่บนเรือ ดังที่สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพทรงตั้งข้อสังเกตว่า“…ราวกับจะตั้งเมืองอยู่ในทะเลสาบ” ประชากรที่นี่ส่วนใหญ่เป็นคนยากจน การอยู่อาศัยจึงไม่แตกต่างจากสลัมที่เราเคยเห็น

นี่จะมีชุมชนเรือนแพอยู่อาศัยเรียงรายกันอยู่อย่างค่อนข้างแออัด ด้วยความที่ระดับน้ำที่ขึ้นลงตามฤดูกาล หน้าน้ำจะมีปริมาณน้ำท่วมขึ้นสูง คนที่นี่จะปลูกสร้างบ้านกันอย่างง่ายๆ เพราะต้องเคลื่อนย้ายไปอยู่ที่สูงตามระดับน้ำที่ขึ้นลง  เราจึงพบเห็นบ้านเรือนที่ต้องปลูกสร้างเป็นแบบเรือนแพ ให้ลอยไปมาและสามารถลากจูงไปไหนมาไหนได้ บ้านเรือนแพของแต่ละครอบครัว บ้างก็ทำเป็นกระชังเล็กๆติดกับแพเพื่อเลี้ยงจระเข้ และสัตว์เลื้อยคลาน บ้างก็ทำเป็นคอกไม้ใผ่อยู่ใต้ถุนแพเพื่อเป็นกระชังเลี้ยงปลา

ประชากรเหล่านี้ส่วนใหญ่แล้ว เป็นชาวกัมพูชาเชื้อสายเวียดนามหรือญวนที่เข้ามาตั้งรกรากตั้งแต่สมัยสงครามเวียดนาม เมื่อครั้งเข้ามาบุกยึดกรุงพนมเปญเมื่อราวปี 2522 เมื่อสงครามจบก็ไม่ได้อพยพกลับไป แต่ลงหลักปักษ์ฐานอยู่กินและมีครอบครัวกับชาวเขมรจนกลายเป็นกลุ่มคนกลุ่มใหญ่ในดินแดนแห่งนี้

ประชากรส่วนใหญ่ประกอบอาชีพประมง รอบๆทะเลสาบเป็นหลัก และแปรรูปผลผลิตประมงโดยเฉพาะปลาร้า และปลากรอบ ปลาน้ำจืดซึ่งเป็นสินค้าอาหารสำคัญอันดับ 2 ของกัมพูชา รองจากข้าว กัมพูชาเป็นแหล่งประมงน้ำจืดขนาดใหญ่อันดับ 4 ของโลก รองจากจีน อินเดีย และบังคลาเทศ แต่การทำประมงของพวกเขาจะใช้เครื่องมือที่เรียบง่ายตามแบบฉบับภูมิปัญญาดั้งเดิม เราจึงพบเห็นการจับปลาด้วยแห อวน เบ็ด มิใช่อุปกรณ์ทันสมัยใหญ่โตอะไร นี่อาจเป็นเหตุผลหนึ่งที่ทำให้สัตว์น้ำในทะเลสาบแห่งนี้ ไม่ลดลงไวเกินไปนัก

สำหรับการทำเกษตรกรรมบริเวณโตนเลสาบ จะมีการปลูกข้าวในลักษณะ Deep water หรือ Floating rice โดยจะทำการเพาะปลูกในช่วงน้ำลดมีเพียงร้อยละ 4 ของพื้นที่ปลูกข้าวทั้งหมด แต่ให้ผลผลิตมากถึงร้อยละ 12 ของผลผลิตข้าวทั้งหมด นอกจากข้าวแล้ว ยังมีพืชเศรษฐกิจสำคัญที่นิยมปลูกรอบบริเวณโตนเลสาบ ได้แก่ ยางพารา และพริกไทย





ภาพ ; Houses are on stilts to stay high and dry in wet season
ที่มา ; www.asiaexplorers.c om

วิถีชีวิตภายโตนเลสาบ มิได้จะมีแค่เรือนแพของชาวประมงพื้นบ้าน  แต่ยังมีบ้านพัก ร้านอาหาร และร้านของฝากนักท่องเที่ยว ชาวบ้านได้มีการนำมาดัดแปลงเพื่อให้เป็นเรือท่องเที่ยว ล่องเรือชมวิถีชีวิตของชุมชนตามริมน้ำ และชมบรรยากาศพระอาทิตย์ขึ้น และบรรยากาศก่อนตะวันลับฟ้าที่โตนเลสาปแห่งนี้


เครดิต vchakarn.com