พิมพ์หน้านี้ - ยากรู้เรื่องเกี่ยวกับการทำงานของเครื่องอุลตร้าโซนิคครับ

LSVคลังสมองออนไลน์ "ปีที่21"

► อิเล็กทรอนิกส์ ► => ►ถาม-ตอบอีเล็กทรอนิกส์ทั่วไป => ข้อความที่เริ่มโดย: biggaaju ที่ มกราคม 08, 2009, 11:56:05 AM



หัวข้อ: ยากรู้เรื่องเกี่ยวกับการทำงานของเครื่องอุลตร้าโซนิคครับ
เริ่มหัวข้อโดย: biggaaju ที่ มกราคม 08, 2009, 11:56:05 AM
หลักการทำงานของเครื่องอุลตร้าโซนิคที่เข้าใช้ไล่นกนะครับ :(


หัวข้อ: Re: ยากรู้เรื่องเกี่ยวกับการทำงานของเครื่องอุลตร้าโซนิคครับ
เริ่มหัวข้อโดย: taoybb ที่ มกราคม 08, 2009, 08:49:58 PM
Ultra Sonic ก็คือคลื่นความถี่สูง ที่มีค่าเฮริต์สูงมากกว่า 20KHz (คนเราได้ยิน 20Hz ถึง 20KHz) หรือหมายถึงว่าเป็นความถี่ที่คนเราไม่ได้ยิน อาจจะได้ยินแค่วี้ดๆนิดๆ  แค่นี้แหละครับผมรู้แค่นี้ ถูกไม่ถูกยังไงขออภัยด้วย


หัวข้อ: Re: ยากรู้เรื่องเกี่ยวกับการทำงานของเครื่องอุลตร้าโซนิคครับ
เริ่มหัวข้อโดย: biggaaju ที่ มกราคม 25, 2009, 11:04:13 AM
ขอบคุณมากเลยพี่ครับ


หัวข้อ: Re: ยากรู้เรื่องเกี่ยวกับการทำงานของเครื่องอุลตร้าโซนิคครับ
เริ่มหัวข้อโดย: taoybb ที่ มกราคม 25, 2009, 10:05:23 PM
ขอบคุณมากเลยพี่ครับ
เอาซะแก่เลย เรียกน้องดีกว่าครับ อิอิ เด๋วจะเป็นการยืดอายุ


หัวข้อ: Re: ยากรู้เรื่องเกี่ยวกับการทำงานของเครื่องอุลตร้าโซนิคครับ
เริ่มหัวข้อโดย: Nattawut-LSV Team ที่ มกราคม 27, 2009, 04:16:58 PM
 smiley4 ระบบอุลตร้าโซนิค (Ultrasonic)  smiley4
หมายถึง คลื่นเสียงที่มีความถี่สูงเกินกว่าที่หูมนุษย์จะได้ยิน โดยทั่วไปแล้วหูของมนุษย์โดยเฉลี่ยจะได้ยินเสียงสูงถึงเพียงแค่ประมาณ 15 KHz เท่านั้น แต่พวกที่อายุยังน้อย ๆ อาจจะได้ยินเสียงที่มีความถี่สูงกว่านี้ได้ ดังนั้นโดยปกติแล้วคำว่าอุลตร้าโซนิคจึงมักจะหมายถึงคลื่นเสียงที่มีความถี่สูงกว่า 20 KHz ขึ้นไป จะสูงขึ้นจนถึงเท่าใดไม่ได้ระบุจำกัดเอาไว้
สาเหตุที่มีการนำเอาคลื่นย่านอุลตร้าโซนิคมาใช้ก็เพราะว่าเป็นคลื่นทีมีทิศทางทำให้เราสามารถเล็งคลื่นเสียงไปยังเป้าหมายที่ต้องการได้โดยเจาะจง เรื่องนี้เป็นคุณสมบัติของคลื่นอย่างหนึ่ง ยิ่งคลื่นมีความถี่สูงขึ้นความยาวคลื่นก็จะยิ่งสั้นลง ถ้าความยาวคลื่นยาวกว่าช่องเปิด ( ที่ให้เสียงนั้นออกมา )ของตัวกำเนิดเสียงความถี่นั้นเช่น คลื่นความถี่ 300 Hz ในอากาศจะมีความยาวถึงประมาณ 1 เมตรเศษ ๆ ซึ่งจะยาวกว่าช่องที่ให้คลื่นเสียงออกมาจากตัวกำเนิดเสียงโดยทั่วไปมากมายคลื่นจะหักเบนที่ขอบด้านนอกของตัวกำเนิดเสียงทำให้เกิดการกระจายทิศทางคลื่นแต่ถ้าความถี่สูงขึ้นมาอยู่ในย่านอุลตร้าโซนิค อย่างเช่น 40 KHz จะมีความยาวคลื่นในอากาศเพียงประมาณ 8 มม. เท่านั้นซึ่งเล็กกว่ารูเปิดของตัวที่ให้กำเนิดเสียงความถี่นี้มากคลื่นเสียงจะไม่มีการเลี้ยวเบนที่ขอบจึงพุ่งออกมาเป็นลำแคบ ๆ หรือที่เราเรียกว่า มีทิศทาง
การมีทิศทางของคลื่นเสียงย่านอุลตร้าโซนิคทำให้เรานำไปใช้งานได้หลายอย่าง เช่น นำไปใช้ในเครื่องควบคุมระยะไกล (Ultrasonic remote control) เครื่องล้างอุปกรณ์ (Ultrasonic cleaner) โดยให้น้ำสั่นที่ความถี่สูง เครื่องวัดความหนาของวัตถุโดยสังเกตระยะเวลาที่คลื่นสะท้อนกลับมา เครื่องวัดความลึกและทำแผนที่ใต้ท้องทะเล ใช้ในเครื่องหาตำแหน่งอวัยวะบางส่วนในร่างกาย ใช้ทดสอบการรั่วไหลของท่อ เป็นต้น โดยความถี่ที่ใช้ขึ้นอยู่กับการใช้งาน เช่น คลื่นเสียงต้องเดินทางผ่านอากาศแล้ว ความถี่ที่ใช้ก็มักจะจำกัดอยู่เพียงไม่เกิน 50 KHz เพราะที่ความถี่สูงขึ้นกว่านี้อากาศจะดูดกลืนคลื่นเสียงเพิ่มขึ้นมาก ทำให้ระดับความแรงของคลื่นเสียงที่ระยะห่างออกไปลดลงอย่างรวดเร็ว ส่วนการใช้งานด้านการแพทย์ซึ่งต้องการรัศมีทำการสั้น ๆ ก็อาจใช้ความถี่ในช่วง 1 MHz ถึง 10 MHz ขณะที่ความถี่เป็น GHz ( 109 Hz ) ก็มีใช้กันในหลาย ๆการใช้งานที่ตัวกลางที่คลื่นเสียงเดินทางผ่านไม่ใช่อากาศ