หัวข้อ: ปุ๋ยหมักชีวภาพจาก "มะละกอ" ดินไม่เป็นกรด-ผลผลิตข้าวเพิ่ม เริ่มหัวข้อโดย: แวมไพร์-LSVteam♥ ที่ พฤษภาคม 27, 2008, 06:14:16 am (http://www.komchadluek.net/images2007/komchadluk_r1_c3.jpg)
(http://www.komchadluek.net/2008/05/27/images/thumbFilename2_pui1.jpg) ภาวะเศรษฐกิจที่บีบรัด สิ่งอุปโภคบริโภคต่างขยับราคาขึ้นกันเป็นทิวแถว ส่งผลกระทบต่อวิถีการดำเนินชีวิตของประชาชน อย่างยิ่งชาวรากหญ้า ไม่เว้นแม้แต่เกษตรกร ซึ่งโดนพิษราคาปุ๋ยขยับสูงขึ้น ทำให้หลายคนต้องหันพึ่งภูมิปัญญาชาวบ้านในการผลิตปุ๋ยขึ้นใช้เอง อย่าง สมศักดิ์ ทองใส เกษตรกรแห่งบ้านควนกุฏ ต.ควนมะพร้าว อ.เมือง จ.พัทลุง ได้คิดค้นและรวมกลุ่มชาวบ้าน นำผลมะละกอวัตถุดิบที่หาได้ง่ายในท้องถิ่น ทำเป็นปุ๋ยหมักชีวภาพ ที่นอกจากทำให้ดินไม่เป็นกรดแล้ว ยังทำให้ผลผลิตข้าวเพิ่มขึ้น สมศักดิ์เล่าว่า สืบเนื่องจากช่วง 2-3 ปี ที่ผ่านมา ราคาปุ๋ยเคมีปรับราคาสูงขึ้น และช่วงเดือนที่ผ่านมาก็ปรับตัวอีกระลอกจากภาวะน้ำมันโลกที่ดีดตัวสูงขึ้น ทำให้ชาวนาในพื้นที่ต้องทนรับภาระราคาปุ๋ยเคมีที่แพง ซึ่งก็ไม่รู้ว่าจะสามารถยืนหยัดประกอบอาชีพทำนาไปได้อีกนานเพียงใด หากราคาปุ๋ยยังพ่งสูงเช่นนี้ จึงได้จัดตั้งกลุ่มผลิตปุ๋ยหมักชีวภาพเพื่อใช้ในนาข้าว โดยมีเป้าหมายเพื่อลดต้นทุนการผลิต (http://www.komchadluek.net/2008/05/27/images/thumbFilename2_pui2.jpg) สมศักดิ์บอกว่า โดยทั่วไปในการทำปุ๋ยหมักชีวภาพนั้น วัตถุดิบมีหลายอย่าง ส่วนใหญ่จะเน้นวัตถุดิบที่หาง่ายในพื้นที่ ไม่ว่าจะเป็นพืช หรือซากสัตว์ที่ตายแล้ว สามารถน้ำมาทำได้ทั้งหมด แต่สำหรับปุ๋ยหมักของกลุ่มบ้านควนกุฏนี้ จะใช้มะละกอเป็นวัตถุดิบสำคัญ เพราะหาได้ง่ายในพื้นที่ ขณะเดียวกันสมาชิกกลุ่มที่บ้านปลูกมะละกอ เหลือจากกินแล้วก็จะนำมาให้โดยไม่ต้องซื้อหา "อีกอย่างนอกจากหาได้ง่ายในพื้นที่แล้ว จากที่ผมได้เข้ารับฟังการบรรยายของกรมที่ดิน จากเกษตรอำเภอ และจากการอ่านจากตำรา ทำให้รู้ว่าคุณสมบัติพิเศษของมะละกอนั้นมีหลายอย่าง อย่างหนึ่งก็คือการนำมาทำปุ๋ยหมัก ขั้นตอนนั้นเริ่มจากนำมะละกอสุกหั่นเป็นชิ้นเล็กๆ หมักด้วยกากน้ำตาลอีเอ็ม และสารเร่ง พด.1 พด.2 เพื่อเร่งการย่อยสลาย จากนั้นทิ้งไว้ประมาณ 1 เดือน ก็สามารถน้ำไปฉีดพ่นในนาข้าวได้เลย" สมศักดิ์บอก สมศักดิ์อธิบายว่า หลังจากการทดลองใช้ปุ๋ยชีวภาพในปีแรกบนพื้นที่นา 1 ไร่ โดยใส่ 100-200 กิโลกรัม คิดเป็นต้นทุน 300-400 บาท ผลผลิตข้าวต่อไร่ได้ 480 กิโลกรัม เช่นเดียวกัน หากใช้ปุ๋ยเคมีบนพื้นที่นา 1 ไร่ ต้นทุนการใช้ปุ๋ยจะสูงถึง 2 เท่า หรือคิดเป็นต้นทุน 600-800 บาท ผลผลิตข้าวที่ได้ประมาณ 520 กิโลกรัม จากนั้นปีที่ 2 ผลผลิตข้าวเพิ่มเป็น 500 กิโลกรัม ผลผลิตข้าวต่อไร่เพิ่มขึ้น พื้นที่นาข้าวมีความสมบูรณ์มากขึ้น ดินเริ่มร่วนซุย ไม่แข็งกระด้าง ต้นข้าวเจริญเติบโตดีขึ้น สมศักดิ์กล่าวอีกว่า การใช้ปุ๋ยชีวภาพนั้นจะให้ผลดีในระยะยาว จากการทดลองใช้ปุ๋ยน้ำหมักในปีแรกให้ผลดี ทำให้ปัจจุบันมีสมาชิกกลุ่มผลิตปุ๋ยหมักชีวภาพเพิ่มขึ้นเป็น 70 ครัวเรือน ที่ใช้ปุ๋ยน้ำหมักชีวภาพ เพราะสามารถลดต้นทุนการผลิตและดินยังปรับสภาพดินดีขึ้น โดยที่ดินไม่เป็นกรด ที่สำคัญทำให้ผลผลิตข้าวในนาฤดูกาลต่อๆ มาเพิ่มขึ้นถึงเกือบเท่าตัว นอกจากนี้กลุ่มยังผลิตปุ๋ยหมักแห้งที่ทำจากวัสดุในพื้นที่ ไม่ว่าจะเป็นมูลสัตว์ แกลบดำ แกลบขาว รำข้าว นำมาผสมกับปุ๋ยน้ำหมักก็จะได้ปุ๋ยหมักแห้งใช้ได้กับพื้นที่ไร่นา สวนผลไม้ได้อีกด้วย หากเกษตรกรคนใดจะสอบถามข้อมูลวิธีการผลิตน้ำหมักชีวภาพจากมะละกอ สมศักดิ์บอกยินดีให้รายละเอียดแก่ทุกคน สามารถสอบถามได้ที่เบอร์ 08-1608-9416 |