พิมพ์หน้านี้ - กรณีศึกษา

LSVคลังสมองออนไลน์ "ปีที่21"

► อิเล็กทรอนิกส์ ► => ►ถาม-ตอบอีเล็กทรอนิกส์ทั่วไป => ข้อความที่เริ่มโดย: sangkhawong ที่ พฤษภาคม 13, 2008, 03:30:25 PM



หัวข้อ: กรณีศึกษา
เริ่มหัวข้อโดย: sangkhawong ที่ พฤษภาคม 13, 2008, 03:30:25 PM

มาจาก pantip.com ครับ

 ไฟฟ้ากระแสตรง ไม่เข้าใจมันเลยจริงๆ ทำไมมันถึงเพิ่มแรงดันได้เอง 
วันก่อนวัดแรงดันไฟฟ้าเครื่องเชื่อมไฟฟ้า  วัดด้านแรงดันออกที่ผ่านไดโอดให้เป็นกระแสตรงแล้ว

ตามข้อกำหนดความปลอดภัย แรงดันขณะไม่เชื่อม (open circuit) ต้องไม่เกิน 95 โวลต์

วัดแรงดันออกที่ขั้วเปลือยที่ยังไม่ต่อสายสำหรับเชื่อมอ่านได้ 83 โวลต์


แต่พอต่อสาย เพื่อลากไปเชื่อมที่หน้างาน สายยาวประมาณ 5 เมตร

เมื่อวัดที่ขั้วจุดเดิม (open circuit) วัดได้ 101 โวลต์ --> เกินค่าที่มาตรฐานกำหนด !!!!!



--ไม่มี Loop ให้เหนี่ยวนำ แถมวัดแรงดันไฟตรงอีกต่างหาก --

1. ปรากฎการณ์นี้เรียกอะไรครับ มี technical term ที่จะไปค้นต่อไหมครับ ช่วยแนะนำด้วย

2. แรงดันที่เพิ่มมา เพิ่มได้อย่างไร งงมาก ๆ

จากคุณ : =Lord Gary=   - [ 27 ก.พ. 51 11:35:20 ]
 
   
 
 
 
 



 


 ความคิดเห็นที่ 2 

อาการคงคล้ายกับไฟ AC ที่ถูก rectify ด้วย diode ให้เป็นไฟ DC
ถ้ายังไม่ต่อ capacitor filter คร่อมที่ terminal +และ-
จะวัด DC volt ได้น้อยกว่าเมื่อมี capacitor filter

กรณีของคุณ Lord Gary นั้น เมื่อเสียบสายต่อที่ตีคู่กันไปยาวๆ
ตอนนี้สายต่อมันทำตัวเป็น capacitor filter คร่อม terminal
จึงทำให้วัดไฟ DC volt ได้สูงขึ้น

จากคุณ : jounior  - [ 27 ก.พ. 51 12:56:49 ] 
   
 
 

ต่อจากความเห็นที่สอง

-- อาการคงคล้ายกับไฟ AC ที่ถูก rectify ด้วย diode ให้เป็นไฟ DC
ถ้ายังไม่ต่อ capacitor filter คร่อมที่ terminal +และ-
จะวัด DC volt ได้น้อยกว่าเมื่อมี capacitor filter ---

เครื่องเชื่อมไฟฟ้าก็อาศัยหลักการหม้อแปลงไฟฟ้าที่เรียนกันมาตั้งแต่สมัยมัธยม
ลักษณะหม้อแปลงเครื่องเชื่อมนั้น ถ้าต้องการแรงดันออกเป็นไฟฟ้ากระแสตรงจะใช้ไดโอดกำลังเพื่อเรียงกระแส
ข้างในตัวเครื่องเชื่อมจะมี inductive filter ตัวมหึมา หนักเป็นครึ่งหนึ่งของหม้อแปลงหลัก
แต่ไม่มี capacitive filter ภายใน

ตอนนี้ผมเข้าใจว่าขณะไม่มีโหลด ตัว inductive filter ยังไม่สำแดงเดช เพราะกระแสขาออกยังไม่ไหล
แรงดันที่วัดได้จึงเป็นการวัดแรงดันลูกคลื่นซีกบวก ซึ่งเพิ่งผ่าน diode rectifier มา  และยังไม่ได้ถูกปรับให้เรียบเลย
การวัดแรงดันจึงเป็นแบบเฉลี่ยระหว่างศูนย์ถึงพีค


เมื่อต่อ capacitor ในที่นี้คือสายตัวนำคู่   
ค่า capacitance ในคู่สายจะทำให้การวัดแรงดันไม่ได้เฉลี่ยจากศูนย์ถึงพีคอีกต่อไป
แต่จะเฉลี่ยจากแรงดันที่ค้างใน capacitance ของสาย ถึง แรงดันพีค

แรงดันที่ค้างใน capacitor จะสูงได้มากน้อยแค่ไหน  ขึ้นกับค่าคงตัว RLC ในการคายประจุแบบเอกซ์โพเนนเชียล

ในเครื่องเชื่อมนี้ค่า R ภายในจะน้อยมาก อยู่ในระดับไม่กี่สิบมิลลิโอห์ม แต่ค่า R อีกตัวที่ต้านการคายประจุให้กับอากาศจะสูงมาก
ค่า C แม้จะน้อยมาก แต่ผลคูณก็มากได้


ตัว inductor เดิมทีมันอยู่เฉยๆ แต่ตอนนี้มีกระแสจากการคายประจุไหลแล้ว มันจึงทำหน้าที่ต้านการเปลี่ยนแปลงของกระแส
(ต้านกระแสทั้งตอนอัดและตอนคาย)
มันเข้ามาช่วยลดอัตราการคายประจุอีกแรง ผลลัพธ์ที่ได้คือ capacitor คายประจุได้ไม่เท่าไหร่ ลูกคลืนซีกบวกอันต่อมาก็มาอัดประจุใหม่อีกรอบซะแล้ว
แรงดันที่ขั้วจึงไม่ตกลงไปถึงศูนย์เหมือนกรณีแรก

ผลการวัดแรงดันตอนไม่ต่อสายกับต่อสายจึงต่างกันดังฉะนี้
แก้ไขเมื่อ 28 ก.พ. 51 16:48:52

จากคุณ : =Lord Gary=   - [ 27 ก.พ. 51 18:52:52 ]
 
   
 
 
 


 ความคิดเห็นที่ 10 

เครื่องเชื่อมไฟฟ้า กระแสออกเป็น DC เหรอครับ
ผมเข้าใจว่าเป็น AC ซะอีก เพราะไม่เคยเห็น Diode เลย

จากคุณ : น้าพร  - [ 28 ก.พ. 51 08:24:41 ] 
   
 
 
 


 ความคิดเห็นที่ 11 

ุ^
^
    มีแบบกระแสตรงครับใช้ไดโอดแปลงเป็นกระแสตรงครับ   ที่ไม่ค่อยเห็นใช้กันเพราะมันแพง
นิยมใช้เชื่อมอลูมิเนียม   เครื่องธรรมดาเป็น AC ครับ

จากคุณ : ตาเป๋า  - [ 28 ก.พ. 51 09:54:35 ] 
   
 
 
 


 ความคิดเห็นที่ 12 

^
ใช่ครับ
การเชื่อมแบบ TIG (tungsten inert gas) นิยมใช้แบบ dc เพราะรอยเชื่อมจะเรียบเนียนกว่ากันเยอะ หรือไม่ก็ใช้แบบความถี่สูงแทนก็ได้แผลก็สวยเหมือนกัน เห็นเขาว่างั้นนะ

จากคุณ : =Lord Gary=   - [ 28 ก.พ. 51 16:43:17 ] 
   
 
 
 


 ความคิดเห็นที่ 13 

.....

จากคุณ : DR บ๊อง  - [ 28 ก.พ. 51 22:48:14 ]