หัวข้อ: ถึงคิวช่างซ่อมรถยนต์ ไม่ตายก็เลี้ยงไม่โต เริ่มหัวข้อโดย: P-LSV team ที่ ธันวาคม 29, 2007, 12:15:04 pm โดย นายพัฒนเดช อาสาสรรพกิจ 28 ธันวาคม 2550 . ในขณะที่ภาคส่วนอุตสาหกรรมยานยนต์ด้านบนของระบบ อันประกอบไปด้วยหน่วยงานเอกชนและองค์กรภาครัฐที่เกี่ยวข้องกับการผลิตและการจำหน่าย กำลังพูดถึงจุดหมายปลายทางที่ต้องการก้าวไปไกลถึงการเป็นศูนย์กลางผู้ผลิตรถยนต์แห่งภูมิภาค จนมีการกำหนดนามเรียกขานกันมานานหลายปีแล้วว่า "ดีทรอยท์แห่งเอเซีย" มีการกำหนดเป้าหมายเป็นยุทธศาสตร์ของประเทศ ด้านการผลิตรถยนต์เอาไว้ที่หนึ่งในสิบผู้ผลิตรถยนต์ชั้นนำของโลกเมื่อวัดกันด้วยปริมาณการผลิต แผนการทางด้านการส่งเสริมเพื่อให้บรรลุเป้าหมายดังกล่าว ได้รับการกำหนดให้เป็นแนวทางปฏิบัติอย่างต่อเนื่อง จนดูราวกับว่าสิ่งที่กำลังกระทำกันอยู่นี้ จะบรรลุถึงเป้าหมายได้ภายในเวลาที่กำหนดเอาไว้ และจะเป็นสิ่งที่ทำให้ประเทศไทยได้เชิดหน้าชูตา เท่าเทียมนานาอารยะประเทศที่เจริญเยี่ยงญี่ปุ่น และ เยอรมัน การวางตำแหน่งของเป้าหมายดังกล่าว ถือว่าเป็นสิ่งสำคัญสำหรับประเทศที่มีอุตสาหกรรมยานยนต์เป็นหนึ่งในอุตสาหกรรมหลัก แต่แผนการดำเนินการทั้งหมดต้องรอบคอบจะละเลยส่วนหนึ่งส่วนใดของสังคมของประเทศไม่ได้ มิฉะนั้นช่องว่างระหว่างคนได้รับประโยชน์ กับคนที่เสียโอกาสแห่งประโยชน์ก็จะถ่างออกห่างจากกันมากขึ้น คำกล่าวที่ว่า "บทเรียนแห่งความผิดพลาด สามารถหาได้จากการกระทำที่ผ่านมา" น่าจะเป็นคำกล่าวที่ทันสมัยไม่มีวันเชยตลอดเวลา ดังนั้นบทเรียนของการพัฒนาด้านอุตสาหกรรมยานยนต์ที่ต้องหันมาทบทวนกันก็คือ ภาคส่วนของประชาชนที่เป็นผู้บริโภคและผู้ประกอบการรายย่อยที่เป็นผู้ให้บริการด้านการซ่อมบำรุงทั้งหลาย ภาครัฐต้องวางแผนให้คนเหล่านี้ได้รับข้อมูลและเรียนรู้ เพื่อที่จะอยู่ได้กับสิ่งที่จะเกิดขึ้นในอนาคตของภาคธุรกิจอุตสาหกรรมยานยนต์ ในอดีตเราเรียกร้องกันที่จะให้คนไทยได้ใช้รถยนต์ที่ทันสมัยเท่าเทียมกับผู้คนในประเทศผู้ผลิตอย่างเยอรมันและอเมริกา เราจึงต้องเร่งออกกฎหมายควบคุมมลพิษจากไอเสียของรถยนต์ให้ทัดเทียมประเทศเหล่านั้น ทำให้รถยนต์ที่จำหน่ายในประเทศไทยได้รับการพัฒนาทางเทคโนโลยีอย่างรวดเร็ว สินค้าและอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องเช่นน้ำมันเชื้อเพลิง ก็ถูกพัฒนาตามขึ้นมาเพื่อรองรับค่ามาตรฐานที่กำหนดเอาไว้เหล่านั้นด้วย แต่การพัฒนาในครั้งนั้นเป็นบทเรียนที่เจ็บปวดมาจนถึงทุกวันนี้ เพราะผู้บริโภคไม่ได้รับรู้ด้วยว่าเมื่อสินค้าคือรถยนต์และอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องพัฒนาขึ้นมาแล้ว ผู้บริโภคก็ต้องพัฒนาเรียนรู้วิธีการใช้งานที่ถูกต้อง ต้องเรียนรู้วิธีการใช้งานที่ได้ประโยชน์สูงสุดจากอุปกรณ์ใหม่ๆ และต้องเรียนรู้ที่จะใช้รถยนต์ในยุคใหม่ให้ประหยัดในภาพรวม มิใช่ประหยัดเพียงแค่เชื้อเพลิงเท่านั้น บรรดาช่างซ่อมบำรุงตามอู่ต่างๆมิได้รับการบอกกล่าวให้เตรียมตัวรับมือกับสิ่งที่เกิดขึ้น ทำให้อู่เล็กอู่น้อยที่มีอยู่ทั่วทุกหัวระแหง ซึ่งเคยยังชีพอยู่ได้ด้วยการรับซ่อมบำรุงรถยนต์ทั่วไป ไม่สามารถทำการซ่อมบำรุงรถยนต์ยุคใหม่ ที่มีอุปกรณ์ทันสมัยมากขึ้นได้ หลายอู่ต้องหันไปซ่อมเครื่องจักรกลทางการเกษตรที่นับวันก็จะมีอนาคตที่ตีบตันมากขึ้น ในขณะเดียวกันระบบการศึกษาของประเทศก็ไม่ได้รับการให้ข้อมูลความรู้ทางด้านเทคนิค ที่สามารถผลิตบุคลากรขึ้นมารองรับการพัฒนาของเทคโนโลยีรถยนต์ได้ ตามสถานศึกษาระดับอาชีวะศึกษา เรายังคงใช้บทเรียนด้านเครื่องยนต์กลๆไกแบบเดียว หรือฉบับเดียวกันกับที่เคยใช้เมื่อสามสิบปีที่ผ่านมา เด็กที่เรียนจบออกมาจึงต้องมาศึกษาปรับปรุงความรู้ด้วยตนเองอีกมาก กว่าที่จะสามารถทำการอย่างหนึ่งอย่างใดกับเครื่องยนต์รุ่นใหม่ได้ ผู้บริโภคไม่ได้รับข้อมูลที่ถูกต้องว่า ในรถยนต์ยุคใหม่ถูกผู้ผลิตกำหนดอายุการใช้งานของอุปกรณ์และชิ้นส่วนแต่ละชิ้นเอาไว้ตามระยะ เมื่อถึงกำหนดส่วนใหญ่ต้องทำการเปลี่ยนอุปกรณ์หรือชิ้นส่วนนั้นๆ ไม่สามารถทำการปรับปรุงพอกแต่งหรือต่อเติมได้เหมือนกับชิ้นส่วนกลไกในเครื่องยนต์ระบบดั้งเดิมอีกต่อไป และการผลิตอุปกรณ์ชิ้นส่วนมาเพื่อสนับสนุนการซ่อมบำรุงหลังการขายของรถยนต์ในปัจจุบัน ก็มีกำหนดตัวเลขที่ชัดเจนตามสัดส่วนของรถยนต์ที่ถูกผลิตขึ้นมา ไม่มีการผลิตออกมาจนไม่มีกำหนดหมดอายุเหมือนกับอะหลั่ยรถยนต์ในอดีตอีกแล้ว ดังนั้นเมื่อใช้รถยนต์ไปถึงระยะทางที่กำหนด การเปลี่ยนอุปกรณ์และชิ้นส่วนมีมากขึ้น จนเหลือชิ้นส่วนและอุปกรณ์น้อยลงในท้องตลาด ราคาค่าซ่อมบำรุงก็จะต้องแพงมากขึ้น สวนทางกันกับวิธีการใช้รถยนต์ในยุคเดิม ซึ่งเป็นเครื่องมือบังคับทางอ้อม ให้ผู้บริโภคคิดถึงความคุ้มค่าระหว่างการซ่อมกับการเปลี่ยนรถยนต์คันใหม่ ทั้งหมดนี้คือข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้น เป็นสิ่งที่ภาครัฐในฐานะผู้กำกับดูแลให้ทุกภาคส่วนในสังคมประเทศไทย ต้องก้าวไปพร้อมกันอย่างมีช่องว่างของความได้เปรียบเสียเปรียบน้อยที่สุด ต้องเร่งลงมือกระทำในทุกๆด้าน มิใช่เอาแต่พร่ำบ่นท่องมนต์ "ดีทรอยท์ ออฟ เอเชีย" อยู่เพียงบทเดียวเท่านั้น เพราะขืนทำอย่างนั้นผู้บริโภคและผู้ประกอบการรายเล็กก็มีแต่ตายหรือไม่ก็เลี้ยงไม่โต ซึ่งหมายถึงประเทศไทยโดยรวมก็ตายหรือไม่โตไปด้วยแน่นอนครับ หัวข้อ: Re: ถึงคิวช่างซ่อมรถยนต์ ไม่ตายก็เลี้ยงไม่โต เริ่มหัวข้อโดย: prom jantapho ที่ มกราคม 08, 2008, 02:43:35 pm เป็นช่างซ่อมรถยนตร์หรือว่าอู่ซ่อมเครื่องยนตร์ ก็ต้องเพิ่มพูนความรู้กันบ้างซิครับไม่ใช่ว่ามุดแต่ใต้ท้องวรถอย่างเดียว
เพราะว่ารถในอนาคต ผมคิดว่าน่าจะประกอบไปด้วยอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์มากมายกว่าที่เป็นปัจจุบัน ดังนั้นสมควรที่จะเติมเต็ม และหาประสบการณ์ใหม่ๆใส่ใกบช่างซ่อมรถยนตร์ ไม่เช่นนั้นก็ตายอย่างที่ว่านั้นแหละครับ หัวข้อ: Re: ถึงคิวช่างซ่อมรถยนต์ ไม่ตายก็เลี้ยงไม่โต เริ่มหัวข้อโดย: mbsamart ที่ มกราคม 08, 2008, 03:24:30 pm ที่นี่ประเทศไทย รถญี่ปุ่นทิ้งพี่ไทยยังเอามาใช้ได้อีกหลายสิบปี แถวบ้านผมรถสองแถวที่ผมนั่งไปตลาดกับย่าตอนเด็กๆ ยังวิ่งอยู่เลย จักรยานยนต์ญี่ปุ่นทำมา 2 ล้อบ้านเราต่อเป็น 3 ล้อพ่วงบรรทุกกระหน่ำจนรถยนต์อายก็มีเยอะ ผมนั่งคุยกับพรรคพวกอู่รถยนต์ต่างจังหวัดคงอีกหลายปีกว่าจะถึงยุคข่าวนี้
;D หัวข้อ: Re: ถึงคิวช่างซ่อมรถยนต์ ไม่ตายก็เลี้ยงไม่โต เริ่มหัวข้อโดย: bombon ที่ มกราคม 17, 2008, 08:03:58 pm ผมว่าเจ้าของรถครับอ่วมเหมือนกัน เพื่อนผมบอกว่าชิบไงก็เป็บชิบครับมีโอกาส
เจ๊งง่ายครับ เพื่อนเป็นคนเขียนโปรแกรมควบคุมชิบเคยพูดไว้ครับ แต่เป็นชิบควบคุมอย่างอื่นนาครับผม หัวข้อ: Re: ถึงคิวช่างซ่อมรถยนต์ ไม่ตายก็เลี้ยงไม่โต เริ่มหัวข้อโดย: tuu ที่ พฤษภาคม 30, 2008, 11:59:36 am เศร้า
:( หัวข้อ: Re: ถึงคิวช่างซ่อมรถยนต์ ไม่ตายก็เลี้ยงไม่โต เริ่มหัวข้อโดย: ถาวร-LSVteam ที่ พฤษภาคม 30, 2008, 12:57:39 pm 1 โปรแกรมในการตรวจเช็คเครื่องยนยต์รุ่นใหม่ หายากราคาสูง (แถมภาษาอังกฤษ)
2 ต้องใช้คอมพิวเตอร์เป็นในระดับที่ดี(ไม่ใช่งูๆปลาๆ 3 การใช้งานโปรแกรม ต้องได้รับการอบรม (แต่ละบริษัทมันหวงข้อมูลจะตาย) ไม่ต่างจากช่างอิเล็กฯเราเท่าไรหรอกครับ ที่เป็นอุปศัค ผมถามหน่อยในเว็บนี้มีคนลงเฟิร์มแวร์ได้กี่คน และมีใครมั่งที่มีโปรแกรมลงเฟืร์มแวร์ของทีวี ทั้งที่เรื่องนี้รู้กันมาตั้งนานแล้ว ยังไม่พูดถึงซอฟแวร์ที่จะใช้ลงในแต่ละยี่ห้อแต่ละรุ่น แค่เรื่องอีพรอมยังไม่ถึง50%เลยครับ |