พิมพ์หน้านี้ - เทคนิคการเลื่อกใช้ไมค์

LSVคลังสมองออนไลน์ "ปีที่21"

เครื่องเสียงบ้าน,กลางแจ้ง - แสงสี => ♫ถาม-ตอบ เครื่องเสียง => ข้อความที่เริ่มโดย: หลง สุรินทร์ ที่ กรกฎาคม 24, 2007, 12:48:52 AM



หัวข้อ: เทคนิคการเลื่อกใช้ไมค์
เริ่มหัวข้อโดย: หลง สุรินทร์ ที่ กรกฎาคม 24, 2007, 12:48:52 AM
 ชนิดและการเลือกใช้ ไมโครโฟน

ชนิดของไมโครโฟน
ไมโครโฟนที่เราเห็นกันทั่วไปตามท้องตลาดนั้นมีมากมาย หลายรูปแบบซึ่งมีการออกแบบที่แตกต่างกันออกไป ไม่ว่าจะเป็นสี ขนาด น้ำหนัก ความคงทน และรวมถึงราคาด้วย ก่อนที่เราจะเลือกไมโครโฟนได้ถูกต้องกับการใช้งานของ เรา เราคงต้องมาเริ่มต้นดูกันที่ชนิดของไมโครโฟนตามการแป ลงสัญญาณหรือตามการออกแบบ (Method of Transducer or Design Type)ก่อนว่ามีอะไรบ้าง และชนิดใดเหมาะกับงานของเรา เราสามารถแบ่งชนิดของไมโครโฟนเป็น 6 ชนิดด้วยกัน คือ

1.Dynamic Microphone (ไดนามิก ไมโครโฟน )

2.Condenser Microphone (คอนเดนเซอร์ ไมโครโฟน)

3.Electret Condenser Microphone (อีเลคเตรด คอนเดนเซอร์ ไมโครโฟน)

4.Ribbon Microphone (ริบบอน ไมโครโฟน)

5.Carbon Microphone (คาร์บอน ไมโครโฟน)

6.Piezo- Electric Microphone ( เพียโซ- อีเลคทริก ไมโครโฟน)

Dynamic Microphone (ไดนามิก ไมโครโฟน )
ไดนามิก ไมโครโฟน (Dynamic Microphone) หรือ มูฟวิ่งคอยล์ ไมโครโฟน (Moving Coil Microphone)เป็นไมโครโฟนที่ใช้กันทั่วไปในงานระบบเสี ยงปัจจุบันนี้ มีลักษณะการทำงานกลับกับการทำงานของลำโพง รูปต่อไปนี้ที่แสดงถึงโครงสร้างและการทำงานของไดนามิ ก ไมโครโฟน



เมื่อมีเสียงมากระทบที่ไดอะแฟรม (Diaphragm) ทำให้เกิดการสั่นและเคลื่อนไหวเข้าออกของมูฟวิ่งคอยล ์ที่พันอยู่รอบๆ กรวยไดอะแฟรมจึงเกิดการตัดกันของสนามแม่เหล็ก และเกิดการเหนียวนำกลายเป็นกระแสไฟฟ้าขนาดเล็กส่งออก มาตามขดลวด ขนาดความแรงของสัญญาณไฟฟ้าและทิศทางขึ้นอยู่กับการเค ลื่อนไหวของขดลวด

ไดนามิก ไมโครโฟนมีความแข็งแรงทนทานสูง ราคาไม่แพงและเป็นที่นิยมใช้ทั่วไป ด้วยเหตุผลนี้เองทำให้มีการใช้ไดนามิก ไมโครโฟนกันมากในระบบเสียงงานเวที หรือในงานระบบเสียงที่มีการเปลี่ยนแปลงทางพลังงานอคู สติกสูงและบ่อยครั้ง ไดนามิก ไมโครโฟนยังมีความคงทนต่อองค์ประกอบของสภาพแวดล้อมที ่เปลี่ยนแปลงไป เช่นอุณหภูมิ และสภาพแสงแดดได้อย่างดี

Condenser Microphone (คอนเดนเซอร์ ไมโครโฟน)
คอนเดนเซอร์หรือ คาร์ปาซิเตอร์ไมโครโฟนเป็นไมโครโฟนอีกประเภทหนึ่งที่ นิยมใช้พอๆกับไดนามิกไมโครโฟน โครงสร้างของคอนเดนเซอร์ ไมโครโฟนแสดงไว้ดังรูป



คอนเดนเซอร์ ไมโครโฟนต้องมีไฟเลี้ยงจ่ายให้อยู่ตลอดเวลาที่มีการใ ช้งานซึ่งอยู่ระหว่าง 9-48 โวลท์ที่มาจากแบตเตอรรี่ที่บรรจุเข้าไปในตัวไมโครโฟน หรือจาก มิกเซอร์โดยผ่านทางสายไมโครโฟน หลัการทำงานคือเมื่อมีการเคลื่อนไหวเข้าใกล้และห่างอ อกจากกันระหว่างไดอะแฟรมกับแบคเพรท (Back plate) โดยแบคเพรทจะอยู่กับที่และส่วนที่เป็นไดอะแฟรมจะเคลื ่อนไหวตามเสียงที่เข้ามา จึงทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางคุณสมบัติทางประจุไฟฟ้ าและทำให้เกิดกระแสไฟฟ้าขึ้นซึ่งมีขนาดเล็กมาก ซึ่งจะถูกนำไปขยายโดยภาคขยายเล็กๆ ซึ่งซ่อนอยู่เพื่อขยายสัญญาณและเพื่อแยกค่าอิมพีเด้น ของไมโครโฟนออกจากค่าอิมพีเด้นที่ต่ำที่ตัวไมโครโฟนต ่ออยู่

คอนเดนเซอร์ ไมโครโฟนมีคุณสมบัติทางเสียงที่ดีเหมือนธรรมชาติ ใช้กับงานที่ต้องการการตอบสนองทาง Transient เช่น เครื่องดนตรีที่เป็นพวก Percussion และนิยมใช้กันมากในห้องบันทึกเสียง และงานทั่วไป ความทนทานจะสู้ไดนามิกไมโครโฟนไม่ได้ ไวต่อการเสียหายเมือมีการกระแทกของเสียง การกระทบกระเทือนอย่างแรง และสภาพแวดล้อม เช่นความชื้น ราคาจะสูงกว่าไดนามิกไมโครโฟน

Electret Condenser Microphone (อีเลคเตรด คอนเดนเซอร์ ไมโครโฟน)
Electret Condenser Microphone (อีเลคเตรด คอนเดนเซอร์ ไมโครโฟน)เป็น คอนเดนเซอร์ ไมโครโฟนชนิดพิเศษที่มีไดอะแฟรมเป็นพลาสติก และต้องอาศัยภาคขยายและไฟเลี้ยง 1.5 – 9 โวลท์ในการทำงาน ซึ่งภาคขยายและแหล่งจ่ายไฟอาจจะอยู่ในตัวไมโครโฟนหรื อเป็นกล่องซึ่งมีสายต่อไปที่ตัวไมโครโฟนก็ได้

อีเลคเตรด คอนเดนเซอร์ ไมโครโฟนนี้มีใช้กันในห้องบันทึกเสียง และในระบบเสียงทั่วไปและด้วยคุณสมบัติที่สามารถทำให้ เล็กและเทคโนโลยี่ที่ไม่แพงจึงทำให้ไมโครโฟนชนิดนี้ม ีอยู่ในสินค้าอุปโภคทั่วไป

Ribbon Microphone (ริบบอน ไมโครโฟน)
การทำงานของริบบอน ไมโครโฟนใช้หลักการเหนี่ยวนำเหมือนกับไดนามิกไมโครโฟ น



เมื่อมีเสียงมากระทบที่ริบบอนซึงทำด้วยแผ่นอลูมิเนีย มบางๆ ทำให้เกิดการสั่นและเคลื่อนไหวเข้าออกจึงเกิดการตัดก ันของสนามแม่เหล็ก และเปลี่ยนเป็นกระแสไฟฟ้า แต่เนื่องจากกระแสไฟฟ้ามีขนาดเล็กมากและมีค่าอิมพีเด ้นต่ำจึงทำให้ต้องมีหม้อแปลงอยู่ภายใน โดยหม้อแปลงนี้ทำหน้าที่ 2 อย่างคือ ขยายสัญญาณ และ แยกค่าอิมพีแด้นของริบบอนกับภาค อินพุทที่ไมโครโฟนต่ออยู่

ในยุดแรกๆ ริบบอน ไมโครโฟนเปราะบางมาก และในปัจจุบันไม่ค่อยมีการผลิตมากนักจะพบอยู่ในห้องบ ันทึกเสียงเป็นส่วนใหญ่ ด้วยคุณสมบัติที่ตอบสนองความถี่สูงได้ดีและให้คุณภาพ เสียงที่ยอดเยี่ยม
การรบกวนที่ต่ำ การตอบสนองต่อ Tra


หัวข้อ: Re: เทคนิคการเลื่อกใช้ไมค์
เริ่มหัวข้อโดย: Nimit( Un ) ที่ กรกฎาคม 24, 2007, 10:14:36 AM
 :-X ;) :-X
 :D


หัวข้อ: Re: เทคนิคการเลื่อกใช้ไมค์
เริ่มหัวข้อโดย: FIR2029 ที่ กรกฎาคม 30, 2007, 02:30:33 PM
ถ้าเอาไมค์คอนเดนเซอร์มาไว้ร้องเพลงบนเวทีหละครับพี่  จะเป็นไงน้อ


หัวข้อ: Re: เทคนิคการเลื่อกใช้ไมค์
เริ่มหัวข้อโดย: หลง สุรินทร์ ที่ กรกฎาคม 30, 2007, 02:44:16 PM
ไฟรั่วเมื่อไหร่ก็  ........5555 เดี้ยงเหมือนกันนะ 48V.


หัวข้อ: Re: เทคนิคการเลื่อกใช้ไมค์
เริ่มหัวข้อโดย: samanick ที่ สิงหาคม 01, 2007, 04:08:12 PM
ท่านหลง แนะนำ วอยค์ ไมค์ให้หน่อย npe ดีไหม ทรานฟอร์เมอร์แมตชิ่งเขามีขายรึเปล่า ใครมีชัวร์ของแท้แกะแบบดูก็ดีนะ