พิมพ์หน้านี้ - CEOบ.โตโยต้าไม่สนรถEV แต่ซุ่มพัฒนาเครื่องยนต์พลังงานแอมโมเนีย

LSVคลังสมองออนไลน์ "ปีที่21"

สารพัดช่าง-แนวทางอาชีพ => ●EV รถพลังงานไฟฟ้า => ข้อความที่เริ่มโดย: ช่างเล็ก(LSV) ที่ มีนาคม 16, 2024, 06:50:52 PM



หัวข้อ: CEOบ.โตโยต้าไม่สนรถEV แต่ซุ่มพัฒนาเครื่องยนต์พลังงานแอมโมเนีย
เริ่มหัวข้อโดย: ช่างเล็ก(LSV) ที่ มีนาคม 16, 2024, 06:50:52 PM
https://www.thaimotocar.com/2024/03/16/ammonia-powered-motor/
CEOบ.โตโยต้าไม่สนรถEV แต่ซุ่มพัฒนาเครื่องยนต์พลังงานแอมโมเนีย
#CEO  #โตโยต้า  #รถEV  #เครื่องยนต์   #พลังงานแอมโมเนีย
---------
(https://www.thaimotocar.com/wp-content/uploads/2024/03/%E0%B9%80%E0%B8%84%E0%B8%A3%E0%B8%B7%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%A2%E0%B8%99%E0%B8%95%E0%B9%8C%E0%B8%9E%E0%B8%A5%E0%B8%B1%E0%B8%87%E0%B8%87%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B9%81%E0%B8%AD%E0%B8%A1%E0%B9%82%E0%B8%A1%E0%B9%80%E0%B8%99%E0%B8%B5%E0%B8%A2.jpg)
ตามข้อมูลของ GAC ได้ระบุสเปคว่าใช้เครื่องยนต์ 4 สูบ ขนาด 2.0 ลิตร ผลิตกำลังได้ 120 กิโลวัตต์ และมีกำลังสูงสุด 161 แรงม้า โดยใช้แอมโมเนียในการเผาไหม้ มันช่วยลดการปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์ลงได้ถึง 90% เมื่อเทียบกับการใช้น้ำมันเชื้อเพลิงปกติ

เชื้อเพลิงแอมโมเนียมเหลวจะสามารถให้พลังงานกับเครื่องยนต์ได้เพียงครึ่งเดียวเท่านั้น ในปริมาณการใช้งานที่เท่าๆกัน ทว่าในทางกลับกันด้วยการปลดปล่อยคาร์บอนสู่สภาพแวดล้อมที่น้อยกว่า จึงทำให้มันอาจกลายเป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่น่าสนใจ..

สำหรับผู้ผลิตที่ยังอยากให้ขุมกำลังชนิดนี้ได้เดินต่อไปในภายภาคหน้าอย่างเช่น Toyota แต่นอกจากความหนาแน่นเชิงพลังงานจะต่ำกว่าแล้ว เชื้อเพลิงแอมโมเนียมเหลว ยังมีข้อด้อย หรือที่จริงคือความเสี่ยง เนื่องจากความเป็นพิษของตัวมันเองที่มีต่อมนุษย์อยู่ไม่น้อย จนอาจถึงขั้นเสียชีวิตได้เลย..
 ดังนั้นจึงไม่น่าแปลกใจเท่าไหร่นัก ที่ในช่วงแรกของโปรเจ็กท์การพัฒนาเชื้อเพลิงชนิดนี้ จะต้องถูกจัดการในเรื่องการรั่วไหลให้ดีที่สุดเท่าที่จะทำได้ นอกจากนี้ ด้วยความที่มันเป็นเชื้อเพลิงซึ่งมีความเข้มข้นของก๊าซไนโตรเจนค่อนข้างสูง จึงทำให้มันอาจจุดระเบิดได้ยาก หากเครื่องยนต์ไม่มีการอัดอากาศเข้ามาสู่ห้องเผาไหม้มากพอ หรือมีอัตราส่วนกำลังอัดไม่มากพอ..

ทั้งนี้ ทาง GAC และ Toyota ยังไม่ได้มีการเปิดเผยข้อมูลเพิ่มเติมว่า พวกเขาจะนำเครื่องยนต์แบบใหม่นี้ มาใส่ในรถยนต์สำหรับการใช้งานทั่วไปในอนาคตหรือไม่ ? เพราะมีความเป็นไปได้ว่า ตอนนี้มันอาจเป็นโปรเจ็กท์ที่อยู่ในขั้นเริ่มต้นเท่านั้น จึงทำให้อาจต้องใช้เวลาในการพัฒนาต่อไปอีกสักพักใหญ่ จึงจะสามารถนำมาใช้งานได้จริง และปลอดภัยกับผู้ใช้ทั่วไปจริงๆ

แต่ถึงกระนั้น ผลงานการพัฒนาของ GAC Toyota ในครั้งนี้ก็ถือเป็นความพยายามในการลดคาร์บอนไดออกไซด์ในภาคอุตสาหกรรมยานยนต์นอกเหนือจากการหันไปใช้รถยนต์พลังงานไฟฟ้า (BEV) เพียงอย่างเดียว.