หัวข้อ: ถ่ายรูป-อัดคลิปติดคนอื่น = ผิดกฎหมาย? ประกาศใช้ 1 มิ.ย.นี้ เริ่มหัวข้อโดย: eskimo_bkk-LSV team♥ ที่ พฤษภาคม 31, 2022, 08:48:48 am เตือน!! กฎหมายใหม่ ถ่ายรูป-อัดคลิปติดคนอื่น = ผิด ระวัง นักฟ้อง-เรียกเงินล้าน!?
พ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล ที่จะประกาศใช้ 1 มิ.ย.นี้ จะมีบทบาทสำคัญในการคุ้มครองและให้สิทธิ กับเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลของเราเอง รวมถึงได้สร้างมาตรฐานใหม่ให้เกิดขึ้น กับบุคคลหรือนิติบุคคลในการเก็บข้อมูล รวมถึงการใช้ข้อมูล เพื่อการเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคล หากผู้ใดหรือองค์กรใดไม่ปฏิบัติตามนั้น มีโทษทั้งทางแพ่ง โทษทางอาญา และโทษทางปกครอง สำหรับ ข้อมูลส่วนบุคคล ตาม PDPA หมายถึง ข้อมูลที่เกี่ยวกับบุคคลที่ทำให้ระบุตัวบุคคลได้ ทั้งทางตรงและทางอ้อม เช่น เลขประจำตัวประชาชน ชื่อ-นามสกุล, ที่อยู่, เบอร์โทรศัพท์, ข้อมูลทางการเงิน, เชื้อชาติ, ศาสนา, พฤติกรรมทางเพศ, ประวัติอาชญากรรม, ข้อมูลสุขภาพ โค๊ด: Cr: https://mgronline.com/live/detail/9650000051475 หัวข้อ: Re: ถ่ายรูป-อัดคลิปติดคนอื่น = ผิดกฎหมาย? ประกาศใช้ 1 มิ.ย.นี้ เริ่มหัวข้อโดย: eskimo_bkk-LSV team♥ ที่ พฤษภาคม 31, 2022, 09:05:10 am กำลังมาแรง กระต่ายตื่นตูม กัน
4 เรื่องไม่จริงเกี่ยวกับ PDPA 1. การถ่ายรูป-ถ่ายคลิป ติดภาพคนอื่นโดยเจ้าตัวไม่ยินยอมจะผิด PDPA ตอบ กรณีการถ่ายรูป-ถ่ายคลิปโดยติดบุคคลอื่นโดยผู้ถ่ายรูป-ถ่ายคลิปไม่เจตนา และการถ่ายรูปถ่ายคลิปดังกล่าวไม่ได้ก่อให้เกิดความเสียหายกับผู้ถูกถ่าย สามารถทำได้ หากเป็นการใช้เพื่อวัตถุประสงค์ส่วนตัว 2. ถ้านำคลิปหรือรูปถ่ายที่ติดคนอื่นไปโพสต์ในโซเชียลมีเดียโดยบุคคลอื่นไม่ยินยอมจะผิด PDPA ตอบ สามารถโพสท์ได้ หากใช้เพื่อวัตถุประสงค์ส่วนตัว ไม่ใช้แสวงหากำไรทางการค้าและไม่ก่อให้เกิด ความเสียหายต่อเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล 3. ติดกล้องวงจรปิดแล้วไม่มีป้ายแจ้งเตือนผิด PDPA ตอบ การติดกล้องวงจรปิด ภายในบ้าน ไม่จำเป็นต้องมีป้ายแจ้งเตือน หากเพื่อป้องกันอาชญากรรม และรักษาความปลอดภัยกับตัวเจ้าของบ้าน 4. เจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลต้องให้ความยินยอมทุกครั้งก่อนนำข้อมูลไปใช้ ตอบ ไม่จำเป็น ต้องขอความยินยอม หากการใช้ข้อมูลดังกล่าว (1) เป็นการทำตามสัญญา (2) เป็นการใช้ที่มีกฎหมายให้อำนาจ (3) เป็นการใช้เพื่อรักษาชีวิตและ/หรือ ร่างกายของบุคคล (4) เป็นการใช้เพื่อการค้นคว้าวิจัยทางสถิติ (5) เป็นการใช้เพื่อประโยชน์สาธารณะ (6) เป็นการใช้เพื่อปกป้องผลประโยชน์ หรือสิทธิของตนเอง ทั้งนี้ หลักการข้างต้น อาจเปลี่ยนแปลงตามข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นเป็นกรณีๆไป PDPA = พรบ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล มาตรา 4(1) การเก็บรวบรวม ใช้ หรือเปิดเผยข้อมูล ส่วนบุคคลที่ทำการเก็บข้อมูลเพื่อประโยชน์ส่วนตน หรือเพื่อกิจกรรมในครอบครัวของบุคคลนั้นเท่านั้น |