ไร..สัตว์ตัวเล็กที่คนเลี้ยงสัตว์ต้องเจอ..และวิธีกำจัดอย่างปลอดภัย +p
ธันวาคม 22, 2024, 12:18:53 pm *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
   หน้าแรก   ช่วยเหลือ เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก  
หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: ไร..สัตว์ตัวเล็กที่คนเลี้ยงสัตว์ต้องเจอ..และวิธีกำจัดอย่างปลอดภัย +p  (อ่าน 1999 ครั้ง)
nongtop
ผู้ช่วย Admin
member
*****

คะแนน682
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 1433


อีเมล์
« เมื่อ: มกราคม 07, 2018, 11:22:39 am »

หากอ่านบทความไม่พอดีกับจอมือถือ คลิ๊ก!!ดูเนื้อหาเกี่ยวข้อง> w ww.ubmthai.com เวอร์ชั่นสมาร์ทโฟน >> https://goo.gl/FVSv2G
.
.

        อ่านเพิ่มเติมได้ที่: www.ubmthai.com ไรบนสัตว์เลือดอุ่นนี้จะพบในฝุ่นบ้าน บนพื้นห้อง บนเบาะ ผ้าห่ม หมอน ผ้าปูที่นอน หรือตามผิวหนังของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมและนก.. ไรจะกินเศษเนื้อเยื่อผิวหนังที่ตายแล้ว ขี้ไคล และ รังแค พบว่าคนไทยมีการแพ้ฝุ่นบ้าน ค่อนข้างสูง ไรฝุ่นบ้านทำให้เกิดอาการแพ้ เพราะตัวไรฝุ่นที่ตายมีโปรตีนจำนวนมาก เมื่อเราสูดลมหายใจหรือผิวหนังของเราสัมผัสกับตัวไรฝุ่นที่ตาย ร่างกายของเราก็จะสร้างภูมิต้านทาน (antibodies) ขึ้นมา ภูมิต้านทานนี้จะปล่อยสารเคมีที่เรียกว่า ฮีสตามีน ซึ่งทำให้เกิดการบวมและการระคายเคืองของผิวหนัง,ทางเดินหายใจตอนต้น นั่นก็คืออาการของโรคทางเดินหายใจอักเสบและโรคหอบหืด และภูมิแพ้นี้ยังสามารถถ่ายทอดทางพันธุกรรมได้อีกด้วย เช่น หอบหืด เยื่อจมูกอักเสบ ทำให้เกิดอาการทาง ผิวหนังอย่างรุนแรง มีการขุดเจาะผิวหนัง เกิดเป็นตุ่มแดงและหนองบนผิวหนัง
  การป้องกันไรภายในบ้าน
  1. ในห้องนอนลูกหรือห้องนอนของคุณพ่อคุณแม่นั้น ควรมีเฉพาะข้าวของเครื่องใช้ที่จำเป็นเท่านั้น ทั้งนี้ก็เพื่อลดปริมาณฝุ่นที่อาจเกาะอยู่ตามเฟอร์นิเจอร์และสิ่งของอื่น ๆ
  2. ในห้องนอนไม่ควรปูพรม เพราะพรมคือสิ่งที่จะอมฝุ่นเอาไว้ได้มากที่สุด ดังนั้น ห้องนอนของเราควรเป็นพื้นไม้หรือกระเบื้องยางจะดีที่สุด
  3. เตียงนอนควรใช้แบบไม่มีขาเตียง (ถ้าเลือกได้) ควรเลือกเตียงที่แนบสนิทกับพื้นห้อง เพื่อป้องกันไม่ให้ฝุ่นนั้นขังอยู่ใต้เตียง
  4. สำหรับที่นอนยาง ฟองน้ำหรือแบบสปริง ควรห่อหุ้มด้วยพลาสสติกหรือไวนิลที่มีซิปปิดมิดชิดก่อน หลังจากนั้นจึงค่อยปูทับผ้าด้วยผ้าปูที่นอนที่ทำจากผ้าฝ้ายอีกครั้ง
  5. การทำความสะอาดเครื่องนอน ปลอกหมอนและผ้าคลุมเตียงนั้น ควรซักด้วยน้ำร้อนที่มีอุณหภูมิมากกว่า 60 องศาเซลเซียส และให้รีดผ้าปูที่นอนซ้ำอีกครั้ง เพื่อป้องกันไรฝุ่น
  6. พยายามหลีกเลี่ยงการใช้ผ้าหรืออุปกรณ์ที่ทำจากผ้าขนสัตว์ ผ้าสักหลาด หรือผ้าสำลีที่มีขนปุกปุย เพื่อลดไรฝุ่น
  7. หลีกเลี่ยงการใช้หมอนนุ่นและหมอนขนสัตว์ เพราะจะเป็นที่สะสมฝุ่นและเชื้อรา ควรใช้หมอนที่ทำจากใยสังเคราะห์ที่สามารถถอดซักทำความสะอาดได้ง่ายมากกว่า 8. เปลี่ยนจากการใช้ผ้าม่านมาเป็นมู่ลี่ที่ทำด้วยพลาสติกหรือไม้แทน ทั้งนี้ถึงเวลาจะได้ถอดมาทำความสะอาดได้ง่ายนั่นเอง 9. เสื้อผ้าทุกชิ้นควรจะต้องใส่ไว้ในตู้หรือลิ้นชักที่ปิดสนิทมิดชิดเสมอ 10. ไม่ควรนำตุ๊กตาไว้ในห้องนอน โดยเฉพาะตุ๊กตาที่มีขนปุย 11. ควรปัดฝุ่นและเช็ดทำความสะอาดภายในตู้และลิ้นชักอย่างน้อยเดือนละครั้ง 12. ผู้ที่เป็นโรคภูมิแพ้ไม่ควรเลี้ยงสัตว์ภายในบ้าน แม้ว่าจะยังไม่แพ้สัตว์ชนิดนั้นก็ตาม เพื่อลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคภูมิแพ้ 13. ควรกวาดบ้านและทำความสะอาดห้องนอนอย่างน้อยวันละครั้ง และเช็ดพื้นด้วยผ้าเปียกทุกวัน 14. การใช้เครื่องฟอกอากาศภายในห้องนอนหรือภายในบ้าน ควรหมั่นตรวจเช็คและทำความสะอาดแผงกรองอากาศทุกเดือน
 
การจัดการเรื่อง " ไร " บนสัตว์ปีก หรือสัตว์เลือดอุ่นทุกชนิด ..ไรส่วนใหญ่ช่วงกลางวันจะลงไปหลบตามวัสดุรองพื้น และตามซอกมุมต่างๆ ในโรงเรือน และจะขึ้นมาดูดกินเลือดใช่วงเวลากลางคืน หากพบบนตัวสัตว์ในเวลากลางวัน แสดงว่ามีปริมาณมากแล้ว   มูลแพะใต้คอก เป็นแหล่งอาศัยที่อยู่ถาวรของไร ..ควรฉีดยากำจัดบ่อยๆ แหล่งที่มาของไร ลองตรวจสอบดู ว่ามาจากไหนได้บ้าง.. 1.มากับตัวสัตว์เลี้ยงเอง โดยเฉพาะ ไก่สาว หรือเป็ดสาวพร้อมไข่ ส่วนที่มากับลูกเจี๊ยบคงไม่มี ( เพราะถ้ามีแสดงว่าการ จัดการที่โรงฟักคงไม่ผ่านมาตรฐาน) ต้องตรวจสอบ ขณะรับด้วย 2.วัสดุรองพื้นต่างๆที่นำมาใช้ เช่น แกลบ ฟาง หรือขี้เลื่อยเป็นต้น ในการตรวจรับสินค้าหรือการไปนำมาใช้ให้ตรวจสอบก่อน ว่ามีมาด้วยหรือไม่ 3.มากับสัตว์พาหะต่างๆ เช่น นกป่า หนู หรือแมลงต่างๆ ที่สามารถเข้ามาในโรงเรือนได้ เช่น แมลงสาบ ฯ เราต้องป้องกัน สัตว์เหล่านี้ไม่ให้เข้าไปในโรงเรือน เพราะนอกจากไร อาจจะมีเชื้อโรคอื่นๆ อาศัยมาด้วย 5.อุปกรณ์ต่างๆ ที่มีการนำเข้ามาใช้งานในฟาร์ม หรือโรงเรือน เช่น เข่งใส่แกลบ เป็นต้น จะต้องมีการฉีดพ่นยาฆ่าไรก่อนนำเข้า ไปใช้งาน การป้องกันและการเฝ้าระวังในโรงเรือนใหม่ที่เลี้ยงสัตว์ปีก หรือสัตว์เลือดอุ่นทุกชนิด 1.หลังการล้างทำความสะอาด เตรียมอุปกรณ์การเลี้ยงต่างๆ เสร็จแล้ว ก็ให้ฉีดยาฆ่าไร อย่างน้อย 2 ครั้ง 2.หากเป็นไก่เนื้อหรือเป็ดเนื้อ ขณะที่เลี้ยงจะไม่มีการฉีดพ่นอีก เพราะจะเกี่ยวเนื่องไปถึงการตกค้างของสารเคมีในเนื้อ 3.หากเป็นไก่ไข่ หรือเป็ดไข่ ขณะ ที่เลี้ยงต้องมีการตรวจสอบเป็นระยะๆ โดยการเข้าไปในโรงเรือน ช่วงเช้าๆ อากาศเย็นๆ สังเกตที่พื้น โดยการกวาดวัดสดุรองพื้นออก ให้เห็นพื้น และสังเกตตัวไร อาจจะสีขาวหรือแดง ที่พื้นดู หากพบ แสดงว่า เริ่มมีไรในโรงเรือนแล้ว ซึ่งจะต้องมีการตรวจสอบทุกครั้งที่เข้าไปในโรงเรือน และสังเกตที่บริเวณอุปกรณ์ ในโรงเรือนต่างๆ เช่น ไม้ หรือกำแพง ผนัง เป็นต้น โดยสังเกตตำแหน่งสูงสุด หากพบตัวไรวิ่งอยู่ก็แสดงว่ามีแล้วหละ ไม่ต้องรอให้ขึ้นคนหรอก 4.ในเป็ดไข่ หรือไก่ไข่ สามารถฉีดพ่นที่พื้นโรงเรือนได้ 1 ครั้งต่อเดือน หากพบว่ามีแนวโน้มจะพบ การแก้ปัญหาเร่งด่วน โดยการฉีดพ่นสารฆ่าแมลงกลุ่มไซเปอร์เมทริน ( ซึ่งเป็นตัวยาที่มีการใช้ในสารกำจัดยุง และแมลงบิน ตามบ้านเรือน และที่อยู่อาศัย ซึ่งส่วนใหญ่ก็เป็นยี่ห้อที่มีขายตามท้องตลาด ซึ่งจะปลอดภัย ) ส่วนที่มีการใช้ในวงการปศุสัตว์ ตัวยาหรือสารออกฤทธิ์ก็กลุ่มเดียวกัน ลองสอบถามตามร้านขายเคมีเกษตร หรือร้านขายยาสัตว์ดู ว่ามีหรือเปล่า ให้เน้นที่มีสารออกฤทธิ์ เป็นกลุ่ม กลุ่มไซเปอร์เมทริน เท่านั้น หากเป็นกลุ่มอื่นจะเป็นอันตรายต่อสัตว์ ส่วนชื่อการค้า เช่น ไซพลัส 250 ( 10-30 % ) เอ็กโตมิน หรือ เครมไดร์ฟ เป็นต้น สำหรับการใช้งาน ก็ตามฉลาก รายละเอียด..
ผลิตภัณฑ์ หรือยาในกลุ่มสาร ไพรีทรอยด์สังเคราะห์ ซึ่ง ตัวยาหรือสารออกฤทธิ์คือ Cypermethrin เป็นผลิตภัณฑ์ ในกลุ่มของ อย. เพื่อสาธารณสุข มิใช่ทางการเกษตร ซึ่ง ผลิตภัณฑ์ กำจัดแมลง ยุง แมลงบิน แมลงวัน แมลงหวี่ แมลงสาบ รวมถึงแมลงคลานเช่น ไร เห็บ หมัด มด และแมลงคลานชนิดอื่น ซึ่งตัวยาที่มีสารออกฤทธิ์ ไซเพอร์เมทริน Cypermethrin หรือบางท่านอาจเรียกติดปากว่า ยาไซเปอร์ ก็คือยาตัวเดียวกัน ซึ่ง ในประเทศเราจะมีหลายยี่ห้อ อย่างเช่น ฟอลโร่ ไบเทค100 ฟาเดล ไซเพอร์การ์ด 10 อีซี เป็นต้น แต่ทุกแบรน หรือทุกยี่ห้อ ก็คือมียา ตัวเดียวกันคือ ไซเพอร์เมทริน ข้อดี 1 เหมาะสำหรับการฉีดพ่น ละอองฝอย เพราะมีปริมาณสารออกฤทธิ์เข้มข้น 2 เหมาะสำหรับพื้นที่ ภายนอก บริเวณกว้าง เพราะสามารถพ่นได้หลายไร่ 3 สามารถกำจัดแมลงได้หลากหลาย แล้วยาตัวนี้ไปทำปฏิกิริยาอะไรต่อแมลง เรามาทำความรู้จักกัน เดิมทีสารในกลุ่มนี้ จะมีอยู่ในดอกพืชในตระกูล เบญจมาศ แต่เมื่อสกัดออกมาได้พบว่าสารไม่ทนต่อแสง จึงได้ มีการ ผลิตสารไพรีทรอยด์สังเคราะห์ขึ้นมาแทน เพื่อทนทานต่อแสงได้นานกว่า สารกลุ่มนี้ออกฤทธิ์ในการกำจัดแมลง โดยเกิดพิษที่ระบบประสาทของแมลงทำให้การทำงานภายในร่างกายของแมลงผลิตปกติ ทำให้แมลงตายในที่สุด แต่สำหรับมนุษย์ และสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม พบว่าเมื่อร่างกายได้รับสารพิษจะถูกเปลี่ยนแปลงและถูกขับออกมา ไม่สะสมในเนื้อเยื่อต่างๆ จึงไม่เป็นอันตราย และไม่เป็นพิษต่อสิ่งแวดล้อม นอกจากนั้นยังมีวิธีกำจัดไรในโรงเรือนอีกหลายวิธีตามภูมิปัญญาชาวบ้าน เช่น ผง+น้ำขมิ้น ใบยูคาลิปตัส ลูกเหม็น กำมะถัน ใบกะเพรา ใบสาบเสือ ใบหนอนตายอยาก ใบสะเดา ใบแมงลัก ใบน้อยหน่า ใบตะไคร้หอม ฯ
1.เรื่องความปลอดภัยส่วนบุคคล ในเรื่องของการแต่งกาย สวมใส่เสื้อผ้าให้รัดกุม สวมบู๊ท ถุงมือ แว่นตา และหน้ากาก ป้องกันสารพิษ ( แม้สารเคมีที่ใช้จะปลอดภัยมากต่อสิ่งมีชีวิตก็ตาม ) 2.ก่อนการฉีดพ่น เก็บอุปกรณ์ ให้อาหารให้หมด หรือนำออกนอกโรงเรือน 3.ฉีดพ่นไปที่พื้นโรงเรือน ผนัง และหลังคา ให้เปียกชุ่ม ส่วนตัวไก่ อาจจะนำมาจุ่มทีละตัวได้ แต่เสียเวลามาก แนะนำให้ เน้นฉีดที่พื้นให้เปียกชุ่มแทน ( ให้ดที่ฉลากด้วย เพราะยาบางยี่ห้อไม่แนะนำให้ฉีดพ่นตัวสัตว์โดยตรง แต่บางยี่ห้อ สามารถจุ่มตัวสัตว์ได้ ) เพราะเมื่อไรกินเลือดอิ่มแล้วก็จะกลับลงสู่พื้น จะสัมผัสกับยาฆ่าไรก็จะตาย หากมีมากๆ ความถี่ อาจจะ 1 ครั้งต่อสับดาห์ เมื่อปริมาณ น้อยลง ก็ 1 ครั้งต่อเดือนได้ 4.หลังจากฉีดพ่นแล้ว ให้ล้างทำความสะอาดอุปกรณ์ให้ น้ำ อาหาร ก่อนใช้งาน 5.หลังจากการฉีดพ่นแล้ว ให้ลองสังเกตปริมาณไร ทั้งบนตัวสัตว์ และที่พื้นโรงเรือนดู ว่ามีปริมาณลดลงหรือเปล่า ( ทั่วไปจะค่อยๆลดลง ภายใน 2 สัปดาห์ ) 6.ส่วนสำคัญ สารกลุ่มไซเปอร์เมทริน เป็นสารที่มีการตรวจสอบปริมาณคงเหลือในเนื้อ หรือในไข่ จะต้องมีระยะหยุดการ ใช้ก่อนจับส่งโรงงาน สารในกลุ่มนี้ทั่วๆไปก็ประมาณ 3-4 สัปดาห์ 7.สมมติว่าเป็นไก่เนื้อ คงไม่สามารถฉีดพ่นได้ ( คงใกล้ปลดแล้ว ) ส่วนในไก่ไข่ สามารถฉีดพ่นได้ แต่ไข่ที่ได้ไม่แนะ นำให้นำไปบริโภค 8.หลังจากปลดไก่แล้ว แนะนำให้ฉีดพ่นยาที่วัสดุรองพื้นทันที เพื่อป้องกันการกระจาย ( อพยพ ) ไปนอกโรงเรือน หลัง จากนั้น อีก 3 วันจึงสามารถนำวัสดุรองพื้นเก่าออกได้ ล้างทำความสะอาดโรงเรือน อุปกรณ์ต่างๆ และกลับเข้ารอบการ เตรียมโรงเรือนในรุ่นต่อไป 9.เนื่องจากไก่จะเกิดความเครียด จากการถูกไรรบกวน การพักผ่อนไม่เพียงพอ จะทำให้ไก่ป่วยได้ แนะนำให้วิตามินละลาย น้ำ และอาจจะให้ยาปฏิชีว ป้องกันได้ เมื่อปัญหาเรื่องไรหมดไปก็เน้นที่การป้องกัน 10.การฉีดพ่นหลังจากฉีดพ่นในโรงเรือนแล้ว ก็อย่าลืมฉีดพ่นรอบโรงเรือนด้วย ทั้งในช่วงเตรียม โรงเรือน และการแก้ไข เร่งด่วน  


บันทึกการเข้า

..กำลังหาเพื่อนร่วมเรียน+ปรึกษา..pre degreeนิติศาสตร์รามปี2ครับ


หาเงินหลักหมื่น/เดือนได้ไม่ยาก หากท่านชอบถ่ายภาพ..สนใจสมัครที่ shutterstockได้เลย..คลิ๊ก!!ครับ. Huh?
 

หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by MySQL Powered by PHP Powered by SMF 1.1 RC2 | SMF © 2001-2006, Lewis Media

lsv2555Please follow the new website at https://www.pohchae.com

Valid CSS!