การทำกระถินหมักแบบต่างๆและผลการวิเคราะห์ +f
มกราคม 22, 2025, 07:41:52 am *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
   หน้าแรก   ช่วยเหลือ เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก  
หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: การทำกระถินหมักแบบต่างๆและผลการวิเคราะห์ +f  (อ่าน 1904 ครั้ง)
ช่างเล็ก(LSV)
Administrator
member
*

คะแนน1346
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 18848


คิดดี ทำดี ชีวิตมีแต่สุข


อีเมล์
« เมื่อ: พฤศจิกายน 25, 2017, 10:50:35 am »

หากอ่านบทความไม่พอดีกับจอมือถือ คลิ๊ก!!ดูเนื้อหาเกี่ยวข้อง> w ww.ubmthai.com เวอร์ชั่นสมาร์ทโฟน >> www.pohchae.com
.

.
         สำราญ วิจิตรพันธ์ วิทยา สุมามาลย์ อุดม ชัยนนท์

บทนำ การใช้ใบกระถินเลี้ยงสัตว์นิยมทำในรูปใบสดและตากแห้ง โดยใช้ใบกระถินเป็นแหล่งของวัตถุดิบ โปรตีน และวิตามิน โดยเฉพาะวิตามิน A และ E นอกจากนี้ใบกระถินยังเป็นแหล่งของแร่ธาตุหลายชนิด..

กระถินในประเทศไทยที่พบโดยทั่วไป คือ กระถินพื้นเมือง ซึ่งมีลำต้นและทรงพุ่มเล็ก และกระถินยักษ์เป็นไม้ยืนต้นที่แพร่ขยายพันธุ์ได้ง่าย เติบโตเร็วกว่ากระถินพื้นเมือง กรมป่าไม้ได้ใช้กระถินยักษ์เป็นพืชหลักในการปลูกในหลายท้องที่ เพราะเป็นไม้โตเร็ว สามารถขึ้นได้บนดินที่มีคุณภาพต่ำ ปัจจุบันกระถินยักษ์ได้แพร่ขยายไปทั่วทุกท้องที่ เพราะเจริญเติบโตง่ายและทนทานต่อเพลี้ยไก่ฟ้าซึ่งเป็นศัตรูสำคัญ และเป็นไม้เอนกประสงค์เพราะมีลำต้นใหญ่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ในด้านอื่นได้ การใช้ใบกระถินเลี้ยงโค - กระบือ สามารถปล่อยโค-กระบือเข้าแทะเล็ม หรือให้กินเป็นอาหารเสริมในคอก ซึ่งรูปแบบการใช้ที่ปฏิบัติกันมากในประเทศไทย คือ ตัดกิ่งและใบมาตากแห้ง บดให้ละเอียดเพื่อผสมอาหารข้น และมักใช้ทั้งกิ่ง ก้าน และใบบดรวมกัน ทำให้มีคุณค่าทางอาหารต่ำ ดังนั้นจึงควรหาแนวทางการนำกระถินเฉพาะส่วนใบที่มีคุณภาพสูงมาใช้เลี้ยงสัตว์ให้เกิดประโยชน์มากขึ้น กระถินยักษ์เจริญเติบโตได้ดีในฤดูฝน และมีปริมาณมากพอที่จะนำมาถนอมเอาไว้ในฤดูที่ขาดแคลน แต่การถนอมในรูปตากแห้งในช่วงฤดูฝนทำได้ไม่สะดวก เพราะจะเสียและขึ้นราได้ง่าย จึงควรใช้วิธีการหมักเพื่อเป็นการเก็บสำรองเสบียงสัตว์ในรูปที่ใกล้เคียงกับสดได้เป็นเวลานาน กระถินเป็นพืชตระกูลถั่ว มีโปรตีนประมาณ 17.4% ซึ่งสูงกว่าหญ้า มีความชื้นประมาณ 63% .. แม้ไม่มีปัญหาเรื่องความชื้น แต่จัดเป็นพืชที่หมักยาก เพราะมีค่า Buffering capacity สูง อย่างไรก็ตามการเติมสารช่วยหมักที่เป็นแหล่งของแป้ง เช่น รำละเอียด มันสำปะหลัง หรือแหล่งของน้ำตาล เช่น กากน้ำตาล พร้อมทั้งดูดอากาศออกให้มากที่สุด ใช้ได้ดีกับการหมักพืชอาหารสัตว์หลายชนิด จึงน่าจะนำใบกระถินมาทำการหมักร่วมกับรำละเอียด ซึ่งมีแป้งและโปรตีนในระดับที่พอเหมาะ .. หรือผสมกับกากน้ำตาลที่เป็นแหล่งของน้ำตาลจะทำให้ได้อาหารหยาบคุณภาพดีและมีคุณค่าทางอาหารใกล้เคียงกับอาหารข้น ซึ่งอาจจะใช้ทดแทนหรือลดอาหารบางส่วนได้ และยังสามารถเก็บไว้ใช้ฤดูแล้งซึ่งเป็นช่วงที่ขาดแคลนอาหารหยาบคุณภาพดีเป็นอย่างมากโดยเฉพาะผู้เลี้ยงแพะ หรือโคนม ดังนั้น เพื่อศึกษาและสาธิตการทำกระถินหมักแบบต่าง ๆ จึงเป็นการพัฒนาเทคโนโลยีที่สามารถนำไปเผยแพร่และแนะนำแก่เกษตรผู้เลี้ยงแพะ-โค - กระบือต่อไป   อุปกรณ์และวิธีการ ดำเนินการสาธิตที่ศูนย์วิจัยและพัฒนาอาหารสัตว์ขอนแก่น ระหว่างกันยายน 2546 – มีนาคม 2546 โดยการตัดต้นกระถินตามริมถนนมิตรภาพระหว่าง ต.ท่าพระ และตัวเมืองขอนแก่น แล้วริดกิ่งที่มีใบให้เหลือกิ่งที่มีขนาดไม่เกินแท่งดินสอดำ นำมาแยกเป็น 2 ส่วน ส่วนที่หนึ่งแยกเอาเฉพาะก้านใบและยอดกระถิน อีกส่วนหนึ่งนำกิ่งขนาดเล็กที่มีใบและยอดกระถินมาสับด้วยเครื่องสับให้มีขนาด 3-5 เซนติเมตร จากนั้นจึงนำกระถินที่ได้มาแบ่งออกเป็น 6 กองๆ ละ 150 กิโลกรัม เพื่อทำกระถินหมักแบบต่างๆ ดังนี้ T 1 คือ ก้านใบและยอดกระถินไม่สับ หมักอย่างเดียว T 2 คือ กิ่ง, ก้านใบและยอดกระถินสับ หมักอย่างเดียว T 3 คือ กิ่ง, ก้านใบและยอดกระถินสับ หมักร่วมกับกากน้ำตาล 1% (w/w) T 4 คือ กิ่ง, ก้านใบและยอดกระถินสับ หมักร่วมกับกากน้ำตาล 3% (w/w) T 5 คือ กิ่ง, ก้านใบและยอดกระถินสับ หมักร่วมกับรำละเอียด 10% (w/w) T 6 คือ กิ่ง, ก้านใบและยอดกระถินสับ หมักร่วมกับรำละเอียด 20% (w/w) นำวัตถุที่ใช้ทำกระถินของแต่ละกอง ผสมคลุกเคล้ากันให้ทั่ว สุ่มตัวอย่างประมาณ 500 กรัม ส่งวิเคราะห์หาน้ำหนักแห้งและส่วนประกอบเคมี ส่วนที่ ทำการบรรจุในถุงพลาสติกดำขนาด 35 x 50 นิ้ว ซ้อน 2 ชั้น อัดให้แน่น ดูดอากาศออก แล้วมัดปากถุงให้แน่น เพื่อไม่ให้อากาศเข้าได้อีก ตรวจดูสภาพภายนอกถุงไม่ให้มีรูรั่ว หลังจากนั้นเก็บเป็นเวลา 1 เดือน ทำการเปิดถุงหมักแบบละ 2 ถุง เพื่อตรวจสอบลักษณะทางกายภาพและคุณสมบัติทางเคมีของกระถินหมักแต่ละแบบ โดยชั่งน้ำหนักสูญเสียตรวจสอบ สี กลิ่น รส ของพืชหมัก และสุ่มตัวอย่างพืชหมักเพื่อหาน้ำหนักแห้ง โปรตีนหยาบ ประเมินค่า VBN วัด pH ของพืชหมัก และทดสอบความชอบกินของโคที่มีต่อกระถินหมักรูปแบบต่างๆ และตรวจสอบคุณภาพของกระถินหมักซ้ำอีกครั้งเมื่อหมักได้นานประมาณ 3 เดือน ซึ่งอยู่ในช่วงฤดูแล้ง ผลการทดสอบ ลักษณะทางกายภาพและคุณสมบัติทางเคมีของกระถินก่อนหมัก จากการสังเกตกิ่ง ก้านและใบกระถินก่อนหมักมีลักษณะค่อนข้างแห้ง ส่วนพวกที่สับจะมีสีคล้ำค่อนข้างดำเล็กน้อย เมื่อเติมสารช่วยหมักลงไปไม่ได้ทำให้ลักษณะของกระถินก่อนหมักเปลี่ยนไปมากนักส่วนสมบัติทางเคมีของกระถินก่อนหมักแสดงไว้ในตารางที่ 1 ตารางที่ 1 คุณสมบัติทางเคมีของกระถินรูปแบบต่างๆ ก่อนหมัก ทรีตเมนต์ รูปแบบของกระถินก่อนหมัก DM(%) CP (%) % Ash T1 ก้านใบและยอดกระถินไม่สับ 32.39 22.54 8.24 T2 กิ่ง,ก้านใบและยอดกระถินสับ 31.15 21.94 7.89 T3 กิ่ง, ก้านใบและยอดกระถินสับ + กากน้ำตาล 1% 32.40 21.32 7.69 T4 กิ่ง,ก้านใบและยอดกระถินสับ + กากน้ำตาล 3% 31.05 21.25 7.28 T5 กิ่ง, ก้านใบและยอดกระถินสับ + รำละเอียด 10% 36.41 19.93 8.34 T6 กิ่ง, ก้านใบและยอดกระถินสับ + รำละเอียด 20% 41.44 19.64 8.37 จากตารางที่ 1 พบว่าน้ำหนักแห้งของกระถินรูปแบบต่าง ๆ ก่อนหมัก มีค่าอยู่ระหว่าง 31.05 – 41.44% แสดงว่ามีลักษณะที่ค่อนข้างเหมาะสมในการที่จะทำพืชหมัก (25 – 35% DM) ส่วนโปรตีนมีค่าอยู่ระหว่าง 19.64 – 22.54% ซึ่งค่อนข้างสูง แม้ว่าจะมีการเติมสารช่วยหมักไปแล้วก็ตาม ลักษณะทางกายภาพและคุณสมบัติทางเคมีกระถินหมักหลังจากหมักนาน 30 วัน จากการทดสอบทำกระถินหมักทั้ง 6 แบบ โดยหมักนาน 30 วัน จึงได้ทำการเปิดถุงหมักเพื่อตรวจสอบลักษณะทางกายภาพและคุณสมบัติทางเคมีของกระถินหมักรูปแบบต่างๆ ซึ่งพบว่า.. กระถินหมักรูปแบบที่ 1 ที่นำก้านใบและยอดกระถินมาหมัก เมื่อเปิดพบว่าลักษณะพืชหมักไม่ค่อยแน่น ถุงมีรอยรั่วทำให้เกิดเชื้อราสูญเสียประมาณ 6% สีของพืชหมักเป็นสีเขียวอมน้ำตาล มีกลิ่นเปรี้ยวปานกลาง พืชหมักมีน้ำหนักวัตถุแห้ง 28.16% โปรตีน 19.77% ค่า VBN 7.63% (NH3 /total N.) pH 5.53 รูปแบบที่ 3 เป็นกิ่งกระถินขนาดเล็กสับผสมกากน้ำตาล 1% (โดยน้ำหนัก) พบว่าพืชหมักมีลักษณะแน่นดี มีสีเขียวขี้ม้ามีกลิ่นเปรี้ยวฉุน มีน้ำหนักวัตถุแห้ง 29.80% โปรตีน 21.34% ค่า VBN 4.36 (NH3 /total N.) pH 4.66 รูปแบบที่ 4 ที่ใช้กระถินร่วมกับกากน้ำตาล 3% พืชหมักมีลักษณะเป็นเมือกลื่นเนื่องจากมีรูรั่ว มีสีเขียวขี้ม้า มีกลิ่นเหม็นฉุน มีน้ำหนักวัตถุแห้ง 29.69% โปรตีน 20.04 % ค่า VBN 8.81% (NH3 /total N.) pH 4.51 รูปแบบที่ 5 ใช้กระถินสับร่วมกับรำละเอียด 10% พืชลักษณะแน่นดี มีสีเขียว กลิ่นเปรี้ยวผสมกลิ่นรำ มีน้ำหนักวัตถุแห้ง 35.67% โปรตีน 20.40% ค่า VBN 16.49% (NH3 /total N.) pH 4.53 รูปแบบที่ 6 ใช้กระถินสับร่วมกับรำละเอียด 20% พืชหมักมีลักษณะแน่นดี กลิ่นเปรี้ยวมาก มีน้ำหนักวัตถุแห้ง 40.21 โปรตีน 18.92% ค่า VBN 16.80% ( NH3 /total N.) pH 4.35 จากการทดสอบจะเห็นได้ว่า การที่ไม่สับกระถินให้มีชิ้นขนาดเล็ก จะมีปัญหาเรื่องอัดให้แน่นได้ยากกว่าและอาจแทงถุงรั่วได้ คุณภาพพืชหมักจึงไม่ค่อยดี ส่วนกระถินที่สับก่อนหมัก จะทำให้อัดได้แน่นดีกว่า แต่ถ้ามีการเสริมกากน้ำตาลในระดับ 1 - 3% จะทำให้ได้กระถินหมักที่มีคุณภาพดี ส่วนการเสริม รำละเอียดในระดับ 10 และ 20% ก็สามารถช่วยในการทำกระถินหมักได้ แต่เนื่องจากมีค่าน้ำหนักวัตถุแห้งสูงและค่า VBN ค่อนข้างสูงจึงจัดเป็นพืชหมักที่คุณภาพไม่ค่อยดีนัก (สูงกว่า 10%) ลักษณะทางกายภาพและคุณสมบัติทางเคมีกระถินหมักหลังจากหมักนาน 105 วัน ทำการเปิดถุงกระถินหมักซึ่งหมักนาน 105 วัน ทั้ง 6 รูปแบบ พบว่า กระถินหมักทุกรูปแบบมีลักษณะของพืชหมักเป็นเช่นเดียวกันกับกระถินหมักรูปแบบเดียวกันที่อายุการหมัก 30 วัน ส่วนคุณสมบัติทางเคมีมีการเปลี่ยนแปลงดังนี้คือ.. รูปแบบที่ 1 พืชหมักมีน้ำหนักวัตถุแห้ง 28.21% โปรตีน 23.41 % ค่า VBN 4.35 (NH3 /total N.) pH 5.53 รูปแบบที่ 2 มีน้ำหนักวัตถุแห้ง 28.16% โปรตีนหยาบ 19.77% ค่า VBN 7.63% (NH3 /total N.) pH 5.36 รูปแบบที่ 3 มีน้ำหนักวัตถุแห้ง 29.80% โปรตีน 21.34% ค่า VBN 4.36% (NH3 /total N.) pH 4.66 รูปแบบที่ 4 มีน้ำหนักวัตถุแห้ง 29.69% โปรตีน 20.04% ค่า VBN 8.81% (NH3 /total N.) pH 4.51 รูปแบบที่ 5 มีน้ำหนักวัตถุแห้ง 35.67% โปรตีนหยาบ 20.40% ค่า VBN 16.49% (NH3 /total N.) pH 4.53 รูปแบบที่ 6 มีน้ำหนักวัตถุแห้ง 40.21 โปรตีน 18.92% ค่า VBN 16.80% (NH3 /total N.) pH 4.35 ซึ่งลักษณะทางกายภาพ และลักษณะทางกายภาพทางเคมีดังกล่าวพบในกระถินหมักทั้ง 6 รูปแบบ จะเห็นว่าเมื่อเก็บกระถินหมักให้นานขึ้นจาก 30 วัน เป็น 105 วันกระถินหมักจะแสดงคุณสมบัติของพืชหมักได้ดีขึ้น โดยเฉพาะการเติมสารเสริมจะทำให้กระถินหมักมีคุณภาพดีกว่าไม่เติม โดยดูจากค่า VBN และค่า pH ของรูปแบบที่เติมสารเสริมอยู่ในเกณฑ์ที่ดีมาก ความชอบกินของแพะ-โค จากการทดสอบความชอบกินแพะ-โค โดยวิธีการแบบ Cafeteria feeding โดยเปรียบเทียบความชอบกินของโคทีละคู่ โดยใช้โคบราห์มันเพศเมีย จำนวน 3 ตัว พบว่าแพะ-โคชอบกินกระถินหมักที่เติมสารเสริมทั้งกากน้ำตาลที่ระดับ 1 และ 3% และรำละเอียดที่ระดับ 10 และ 20% มากกว่ากระถินหมักที่ไม่เติมสารเสริม โดยแพะ-โคชอบกินกระถินหมักที่ผสมรำ 10% มากที่สุด จากการทดสอบความชอบกินโค โดยวิธีการแบบ Cafeteria feeding โดยเปรียบเทียบความชอบกินของโคทีละคู่ โดยใช้โคบราห์มันเพศเมีย จำนวน 3 ตัว พบว่าโคชอบกินกระถินหมักที่เติมสารเสริมทั้งกากน้ำตาลที่ระดับ 1 และ 3% และรำละเอียดที่ระดับ 10 และ 20% มากกว่ากระถินหมักที่ไม่เติมสารเสริม โดยโคชอบกินกระถินหมักที่ผสมรำ 10% มากที่สุด สรุปผลการทดลอง เทคโนโลยีที่ได้จากการทดสอบการทำกระถินหมัก 6 รูปแบบ พบว่าการสับกระถินขนาดเล็กเหมาะสมกว่าการริดเฉพาะส่วนใบและยอดกระถินมาหมัก เพราะจะทำให้อัดได้แน่นกว่าและได้กระถินหมักที่คุณภาพดีกว่า ส่วนการผสมกากน้ำตาลในระดับ 1 และ 3% โดยน้ำหนักช่วยทำให้ได้กระถินหมักที่มีคุณภาพดี แพะ-โคชอบกิน สำหรับการผสมรำละเอียดในระดับ 10 และ 20% โดยน้ำหนักก็ช่วยทำให้ได้กระถินหมักที่มีคุณภาพค่อนข้างดี แพะ-โคชอบกินมากกว่า นอกจากนั้น สามารถผสมเกลือเม็ด เพื่อป้องกันเชื้อรา และเป็นการเสริมธาตุเกลือแร่ในอาหารหมักได้อีกทางหนึ่ง   เอกสารอ้างอิง เรณู เทพประการ. 2542. การศึกษาการประเมินราคาใบกระถินยักษ์สด. เชียงใหม่ : สถาบันราชภัฏเชียงใหม่ เรณู เทพประการ, สมคิด พรหมมา และ กัลยา ธรรมพงษา. 2545. การพัฒนาอาหารข้นพื้นบ้านโดยนำใบกระถินยักษ์มาหมักเพื่อใช้เลี้ยงสัตว์โคนมของเกษตรกร. สัตวบาล. 12 : 58


บันทึกการเข้า

หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by MySQL Powered by PHP Powered by SMF 1.1 RC2 | SMF © 2001-2006, Lewis Media

lsv2555Please follow the new website at https://www.pohchae.com

Valid CSS!