รู้ลึก Ivermectin ยากำจัดพยาธิ-ปรสิต ที่ดีที่สุด..? +f
ธันวาคม 22, 2024, 12:25:04 pm *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
   หน้าแรก   ช่วยเหลือ เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก  
หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: รู้ลึก Ivermectin ยากำจัดพยาธิ-ปรสิต ที่ดีที่สุด..? +f  (อ่าน 3378 ครั้ง)
ช่างเล็ก(LSV)
Administrator
member
*

คะแนน1346
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 18843


คิดดี ทำดี ชีวิตมีแต่สุข


อีเมล์
« เมื่อ: พฤศจิกายน 24, 2017, 09:22:21 am »

หากอ่านบทความไม่พอดีกับจอมือถือ คลิ๊ก!!ดูเนื้อหาเกี่ยวข้อง> w ww.ubmthai.com เวอร์ชั่นสมาร์ทโฟน >> www.pohchae.com
.
.



         Ivermectin  เป็นผลผลิตที่ได้จากการหมักของเชื้อรา Streptococcus avermitilis ซึ่งถูกค้นพบและพัฒนาโดย Dr. Satochi Omura นักวิทยาศาสตร์ชาวญี่ปุ่น โดยเขาได้พบต้นกำเนิดของเชื้อราสายพันธุ์นี้ในดินแถวสนามกอล์ฟ การค้นพบในครั้งนี้สร้างความแปลกใจให้เขามากเนื่องจากผลผลิตที่ได้จากหมักของเชื้อราตัวนี้สามารถต้านปรสิตชนิดต่างๆ ได้ ซึ่งแตกต่างจากเชื้อราตัวอื่นอย่างสิ้นเชิง.. ผลผลิตที่ได้จากการหมัก Streptomyces avermitilis คือ Avermectins เป็นสารที่สามารถละลายได้ดีในไขมัน (lipophilic substance) จากการศึกษาพบว่าสารนี้เป็นสารที่ไวต่อกรด (acid sensitive) เนื่องจากกรดจะเป็นตัวตัดพันธะแล้วทำให้น้ำตาลตัวแรกที่เป็นองค์ประกอบหลุดออกไป ยิ่งถ้าเจอกรดที่แรงขึ้น ก็จะทำให้น้ำตาลตัวที่ 2 หลุดเกิดสารที่เรียกว่า aglycone นอกจากนี้สารตัวนี้ยังมีความไวต่อด่างอีกด้วย เนื่องจาก มีโปรตอนอยู่ในโครงสร้าง ดังนั้นการใส่ด่างลงไปจะมีผลทำให้สูตรโครงสร้างของสารเคมีตัวนี้เกิดการเปลี่ยนแปลงไป.. ในการหมักแต่ละครั้งเราจะได้ avermectin ทั้งหมด 8 ตัว คือ A1a, A2a,  B1a, B2a, A1b, A2b, B1b, B2b ซึ่งแตกต่างกันตามโครงสร้างของสูตรเคมี เวลาหมักตัวที่ได้เยอะ คือ A2a  B1a B2a แต่ตัวที่มีความสำคัญมากที่สุด คือ B1a เพราะเป็นตัวที่มีฤทธิ์ในการต่อต้านปรสิตทั้งภายในและภายนอกได้มากที่สุด ตัวที่มีประสิทธิภาพมากที่สุด คือ Avermectin B1a ดังนั้นเขาจึงได้นำสารตัวนี้มาเป็นสารตั้งต้นในการสังเคราะห์ 22,23 dihydro avermectin ดังนั้น Ivermectin ที่เราพูดกัน จริงๆแล้วเราก็หมายถึง B1a ตัวเดียวเท่านั้น ข้อควรรู้เกี่ยวกับ ยาไอเวอร์เม็กติน ยาไอเวอร์แมกตินมีชื่อทางการค้าที่รู้จักกันดีจนเรียกติดปากกันว่า ไอโวแมก (Ivomec) ซึ่งผลิตโดยบริษัทเมเรียลเพื่อใช้กับปศุสัตว์เป็นหลัก และได้มีบริษัทอื่นๆผลิตมาขายเป็นจำนวนมาก ยาไอเวอร์แมกตินได้รับความนิยมจากเจ้าของสัตว์ที่พบปัญหาเห็บหมัดรบกวนสัตว์เลี้ยง โดยคิดว่าเป็นวิธีที่สะดวกและง่าย เห็นผลเร็วดี นอกจากจะได้ผลดีในการกำจัดเห็บแล้วยังสามารถกำจัดพยาธิภายในและภายนอกชนิดอื่นๆได้อีกด้วย เช่น พยาธิไส้เดือน พยาธิเส้นด้าย พยาธิปากขอ พยาธิแส้ม้า พยาธิในปอด ไรขี้เรื้อน ไรในหู หมัด เหา ฯลฯ แต่การใช้ในการกำจัดพวกพยาธิต่างๆและเห็บหมัดนั้นจริงๆแล้วในสุนัขและแมวเป็นการใช้นอกเหนือการรับรอง กล่าวคือไม่ได้รับการอนุญาตให้ใช้อย่างเป็นทางการจาก FDA (Food and Drug Administration) หรือองค์การอาหารและยาของประเทศสหรัฐอเมริกา.. สำหรับสุนัขนั้นยาไอเวอร์แมกตินได้รับการรับรองอนุญาตให้ใช้โดย FDA เพื่อใช้ในการป้องกันพยาธิหนอนหัวใจเท่านั้น โดยวิธีการกินเดือนละ 1 ครั้ง ในขนาด 6 ไมโครกรัมต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม ซึ่งเป็นปริมาณที่น้อยมาก แต่ได้มีการนำมาใช้นอกเหนือจากที่ FDA กำหนด เพื่อการรักษาโรคที่เกี่ยวกับพยาธิในสุนัขและแมวหรือสัตว์เลี้ยงอื่นๆหลายโรค เช่น รักษาโรคขี้เรื้อนแห้ง โรคขี้เรื้อนเปียก ฆ่าตัวอ่อนระยะติดต่อของพยาธิหนอนหัวใจ ( microfilariacide) โรคไรในหูของสุนัขและแมว หรือแม้แต่ใช้ในการกำจัดเห็บหมัดในสุนัขและแมว แต่เนื่องจากว่าการใช้ยานี้ในการรักษาโรคต่างๆข้างต้นนั้นจะต้องให้ยาในขนาดที่สูงมากๆหลายเท่ากว่าที่ FDA อนุญาตให้ใช้ในสุนัขเพื่อป้องกันพยาธิหนอนหัวใจ เพราะฉะนั้นการใช้ควรปรึกษาและได้รับการพิจารณาจากสัตวแพทย์เท่านั้น โดยใช้ได้ตามความจำเป็นและเห็นสมควรของสัตวแพทย์ต่อสัตว์เป็นกรณีๆไป เนื่องจากว่าปริมาณยาที่ใช้ในการรักษานั้นสูงมากๆ ตั้งแต่ 50-100 เท่าของขนาดที่ให้ใช้ในการป้องกันพยาธิหนอนหัวใจตามที่ FDA ได้กำหนดไว้ ดังนั้นจึงอาจจะทำให้เกิดอันตรายต่อสัตว์เลี้ยงของท่านได้ถ้าผู้เลี้ยงใช้เองโดยไม่ระมัดระวัง ยาไอเวอร์แมกตินสามารถดูดซึมได้ดีทั้งจากการฉีดเข้าใต้ผิวหนังและทางเดินอาหารโดยการกิน ลักษณะของตัวยาที่ใช้กันในคลินิกเป็นของเหลวใส ค่อนข้างหนืด มีความเข้มข้นของตัวยาอยู่ 1% เมื่อฉีดเข้าใต้ผิวหนังสัตว์จะรู้สึกปวดแสบปวดร้อน แต่ถ้าให้กินจะมีรสขม เผ็ดร้อน ระคายเคืองต่อเยื่อบุช่องปากเล็กน้อย เมื่อให้สัตว์กินควรผสมกับอาหารหรือทำให้เจือจางก่อน ยาไอเวอร์แมกตินตัวนี้ออกฤทธิ์ทำให้พยาธิตายได้โดยจะมีผลกับระบบประสาทของพยาธิ ทำให้เกิดเป็นอัมพาตและตายในที่สุด ไม่ส่งผลต่อสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม เนื่องจากว่าระบบประสาทที่ยาไอเวอร์แมกตินมีผลนั้น จะมีเฉพาะในระบบประสาทส่วนกลางเท่านั้น ซึ่งเป็นที่ๆยาไอเวอร์แมกตินไม่สามารถซึมผ่านไปได้หรือซึมผ่านไปได้ยาก ความปลอดภัยจึงมีมาก แต่มีข้อยกเว้นคือ ถ้าสัตว์ได้รับยาในปริมาณที่สูงมาก อาจทำให้เกิดความเป็นพิษกับสัตว์ได้เช่นกัน พบได้บ่อยครั้งในลูกสัตว์หรือตัวที่มีน้ำหนักตัวน้อย ซึ่งการให้ยากับสัตว์เหล่านี้มักเสี่ยงต่อการให้ในปริมาณที่เกินขนาดได้ง่าย สำหรับสุนัขบางสายพันธุ์นอกเหนือจากการป้องกันพยาธิหนอนหัวใจโดยการกินเดือนละหนึ่งครั้งแล้ว การใช้ในกรณีอื่นต้องระมัดระวังเป็นอย่างยิ่ง เนื่องจากว่ามีสุนัขบางสายพันธุ์มีความไวต่อความเป็นพิษของยาตัวนี้อย่างสูง สายพันธุ์เหล่านั้นได้แก่ สุนัขพันธุ์คอลลี่ (Collie) พันธุ์เชทแลนด์ ชีพด็อก (Shetland Sheepdog) พันธุ์โอลด์ อิงลิช ชีพด็อก (Old English Sheepdog) และพันธุ์ออสเตรเลียน ชีพด็อก (Australian Sheepdog) รวมทั้งพันธุ์ผสมของสุนัขสายพันธุ์เหล่านี้ ถ้าจำเป็นต้องใช้ผู้ใช้ต้องเป็นสัตวแพทย์และอยู่ภายใต้การดูแลของสัตวแพทย์อย่างใกล้ชิด พิษของยาไอเวอร์แมกตินต่อสัตว์นั้นส่วนมากมักเกิดจากการที่สัตว์ได้รับยาในปริมาณมากเกินขนาด ซึ่งจะแสดงอาการซึม การยืนและการทรงตัวผิดปรกติ เดินโซเซเหมือนคนเมาเหล้า คอตก น้ำลายไหลยืด รูม่านตาขยายถ้ารุนแรงมากจะมีอาการสั่น ชัก หมดสติ และอาจถึงตายในที่สุด สัตว์ที่แสดงอาการพิษบอกได้เลยว่าต้องทำใจ เนื่องจากไม่มีวิธีการรักษาเฉพาะหรือไม่มียาแก้พิษโดยตรง การรักษาเป็นเพียงการรักษาตามอาการเพื่อประคับประคอง อาการ โดยการให้น้ำเกลือ ยาปฏิชีวนะ ยาบำรุง หรืออาจใช้ยา Picrotoxin หรือ Physostigmine ร่วมด้วย เคยมีรายงานว่าสามารถช่วยลดความเป็นพิษของไอเวอร์แมกตินลงได้ แต่ต้องใช้ด้วยความระมัดระวังเช่นกัน เพราะว่ายาทั้งสองตัวนี้มีความปลอดภัยในการใช้ต่ำ สำหรับไอเวอร์แมกตินสามารถขจัดออกจากร่างกายของสัตว์เองอย่างช้าๆ ต้องใช้เวลาอย่างน้อย 2 สัปดาห์ขึ้นไป ดังนั้นสัตว์ที่ป่วยจากความเป็นพิษของของยาชนิดนี้ ถ้ามีชีวิตรอดได้เกิน 2 สัปดาห์ขึ้นไป น่าจะมีโอกาสรอดมากขึ้นตามลำดับ ตัวยาไอเวอร์แมกตินนั้นจะไม่สามารถละลายได้ในน้ำ ตัวทำละลายที่ใช้กับตัวยาไอเวอร์แมกตินมีอยู่ 4 ชนิดคือ 1. DMSO (มักใช้ในยาไม่มีทะเบียน) 2. Diethylene glycol 3. Propylene glycol 4. Oil-base (ไม่แสบ) วิธีการให้ยา 1. ชนิดฉีด ให้ฉีดเข้าใต้ผิวหนังเท่านั้น ห้ามฉีดเข้ากล้ามเนื้อ เพราะจะไม่ให้ผลการรักษาในระยะยาว เนื่องจากฉีดเข้าใต้ผิวหนังฤทธิ์ของยาจะอยู่ได้หลายวันมากกว่า เราฉีดโดยการดึงหนังขึ้น (โดยมากใช้บริเวณหลังคอ) แล้วฉีดเข้าใต้ผิวหนัง ตัวอย่างการอ่านฉลากยา
ยาฉีด Ivermectin 1.0% w/v หมายถึง ในน้ำยา 100 ซีซี จะมีปริมาณยาอยู่ 1.0 กรัม (หรือ 1,000 มิลลิกรัม หรือ 1,000,000 ไมโครกรัม) ยาฉีด Ivermectin 2.5% w/v หมายถึง ในน้ำยา 100 ซีซี จะมีปริมาณยาอยู่ 2.5 กรัม (หรือ 2,500 มิลลิกรัม หรือ 2,500,000 ไมโครกรัม)
สาเหตุที่ต้องผลิตมาแบบเจือจาง เพื่อให้ง่ายต่อการคำนวนน้ำยา (ซีซี) ที่ต้องการ ไม่ให้เกิดความผิดพลาด เพราะถ้าผลิตมาแบบเข้มข้นจะต้องใช้ในปริมาณที่น้อยมากๆ ยากต่อการวัด จะทำให้เกิดการใช้ยาเกินขนาดหรือน้อยกว่าขนาดที่ต้องการ ตัวอย่างการคำนวนปริมาณยาฉีด (ซีซี) ยาฉีด Ivermectin 1.0% w/v หมายถึง ในน้ำยา 100 ซีซี จะมีปริมาณยาอยู่ 1.0 กรัม (หรือ 1,000 มิลลิกรัม หรือ 1,000,000 ไมโครกรัม) ดังนั้นในน้ำยา 1 ซีซี จะมีปริมาณยาอยู่ 0.01 กรัม (หรือ 10 มิลลิกรัม หรือ 10,000 ไมโครกรัม)
สมมุติสุนัขหนัก 20 กิโลกรัม จะต้องใช้ยา 1.0% = 450 (ไมโครกรัม/กิโลกรัม) x 20 (กิโลกรัม) / 10,000 (ไมโครกรัม/ซีซี) = 0.9 ซีซี หรือ 1.0 ซีซี สมมุติสุนัขหนัก 78 กิโลกรัม จะต้องใช้ยา 2.5% = 450 (ไมโครกรัม/กิโลกรัม) x 78 (กิโลกรัม) / 25,000 (ไมโครกรัม/ซีซี) = 1.4 ซีซี หรือ 1.5 ซีซี
สรุปสูตรปริมาณยาฉีด
จำนวนยาที่ใช้ฉีด (ซีซี) =  450 (ไมโครกรัม/กิโลกรัม) x น้ำหนักตัว (กิโลกรัม) ------------------------------------- ความเข้มข้น (%) x 10,000 (ไมโครกรัม/ซีซี)
 
ขนาดของ "ไอเวอร์แมกติน" ที่ใช้กันในทางสัตวแพทย์นั้น แตกต่างกันตามแต่วัตถุประสงค์ในการใช้ดังนี้คือ
  • 6 ไมโครกรัม / กิโลกรัม / เดือน ใช้สำหรับป้องกันพยาธิหนอนหัวใจ โดยสามารถเริ่มป้องกันได้ตั้งแต่สุนัขมีอายุ 2 เดือน
  • 200 ไมโครกรัม / กิโลกรัม / ครั้ง ใช้สำหรับฆ่าพยาธิตัวอ่อนระยะติดต่อในกระแสเลือด (microfilariacide) ใช้กำจัดพยาธิภายใน (endoparasite) เช่น พยาธิตัวกลม พยาธิปากขอ พยาธิไส้เดือน พยาธิแส้ม้า เป็นต้น
  • 300-600 ไมโครกรัม / กิโลกรัม / วัน ใช้สำหรับกำจัดพยาธิภายนอก (miticide) หรือกำจัดเห็บ หมัด ไร เหาชนิดต่างๆ
    • ถ้าเป็นยากิน ให้กิน 5 - 10 วันติดต่อกัน ขึ้นอยู่กับความรุนแรงของโรค หลังจากนั้นให้กินป้องกันทุกเดือนเป็นเวลา 5 วัน
    • ถ้าเป็นยาฉีด ใช้ประมาณ 1 cc / 20 กิโลกรัม / 15 วัน จนกว่าอาการจะดีขึ้น หลังจากนั้นให้ฉีด 1 cc / 20 กิโลกรัม / 30 วัน เพื่อป้องกัน
  • 600 ไมโครกรัม / กิโลกรัม / วัน ใช้กำจัดไรขึ้เรื้อนสุนัขชนิดแห้ง
    • ถ้าเป็นยากิน ให้กิน 20 - 30 วันติดต่อกัน ขึ้นอยู่กับความรุนแรงของโรค
    • ถ้าเป็นยาฉีด ใช้ประมาณ 1 cc / 20 กิโลกรัม / 10 วัน จนกว่าอาการจะดีขึ้น ซึ่งอาการจะดีขึ้นภายใน 30 วัน
  • 600-900 ไมโครกรัม / กิโลกรัม / วัน ใช้กำจัดไรขึ้เรื้อนสุนัขชนิดเปียก
    • ถ้าเป็นยากิน ให้กิน 20 - 30 วันติดต่อกัน ขึ้นอยู่กับความรุนแรงของโรค
    • ถ้าเป็นยาฉีด ใช้ประมาณ 1 cc / 20 กิโลกรัม / 10 วัน จนกว่าอาการจะดีขึ้น ซึ่งอาการจะดีขึ้นภายใน 30 วัน
  2. ชนิดกิน เป็นผงผสมในอาหาร   การให้ยาฉีดไอเวอร์เม็กติน ทางอาหาร ตัวยาไอเวอร์เม็กตินสามารถถูกดูดซึมได้ทางระบบทางเดินอาหารได้ด้วย เราจึงสามารถให้ยาไปพร้อมกับอาหารได้โดยใช้สูตรคำนวนปริมาณยาเช่นเดียวกับวิธีฉีด คือ สำหรับยาฉีดความเข้มข้น 1% จะใช้ 1 มิลลิลิตร (ซีซี) ต่อน้ำหนักตัวสุนัข 20 กิโลกรัม ให้ทดลองดูว่า สุนัขของท่านชอบขนมชนิดใด จากนั้นจึงฉีดไอเวอร์เม็กตินเข้าไปในขนม แล้วให้สุนัขรับประทาน วิธีนี้สะดวกมากสำหรับสุนัขจรจัดและสุนัขที่มีนิสัยดุร้าย ทั้งนี้ควรเปลี่ยนเข็มใหม่ทุกครั้งที่ดูดยา เพื่อป้องกันมิให้เชื้อโรคเข้าไปในขวดยา ยาฉีดไอเวอร์เม็กตินแต่ละยี่ห้อจะมีรสขมไม่เท่ากัน เวลาฉีดบางยี่ห้อก็แสบมากแสบน้อยแตกต่างกันไป ยาฉีด Ivermectin สามารถถูกดูดซึมได้ที่ทางเดินอาหารด้วย จึงสามารถให้สุนัขทานได้ ปริมาณยาที่ใช้สำหรับกำจัดพยาธิภายนอก (miticide) หรือกำจัดเห็บ หมัด ไร เหาชนิดต่างๆ คือ
300 - 600 ไมโครกรัม ต่อ น้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม ต่อ เดือน
ข้อควรระวังในการซื้อยาไอเวอร์แมกตินสำหรับสุนัขและแมว เนื่องจากยาไอเวอร์แมกตินทั้งหมดจะผลิตมาเพื่อใช้ในปศุสัตว์เป็นหลัก ดังนั้นจึงมียาบางรุ่นเป็นยาสูตรผสม เพิ่มสรรพคุณฆ่าพยาธิใบไม้ในตับ  เหมาะสำหรับใช้กับสัตว์เคี้ยวเอื้องที่กินหญ้าและน้ำตามแหล่งสาธาณะหนองบึง  โดยบางบริษัท ได้พัฒนาตัวยา ที่มีตัวย่อว่า F ตามท้าย เช่น IVERMEC-F จะสามารถถ่ายพยาธิใบไม้บางตัวได้อีกด้วย (ต่อย่อ F = Fluke แปลว่าพยาธิใบไม้) แต่ยา IVERMEC-F นี้จะมีผลเสียต่อสุขภาพของสุนัข คือสุนัขจะเป็นโรคลำใส้อักแสบได้ ดังนั้นจึงห้ามซื้อยาสูตรผสมมาใช้กับสุนัขและแมวอย่างเด็ดขาด ตัวอย่างเช่น Ivomec (ธรรมดา) ประกอบไปด้วยตัวยา Ivermectin 1.0 w/v Ivomec-F ประกอบไปด้วยตัวยา Ivermectin 1.5 w/v + Clorsulon 15 w/v ตัวยาที่ 1 คือ Ivermectin เพื่อกำจัดพยาธิต่างๆ ตัวยาที่ 2 คือ Clorsulon สรรพคุณฆ่าพยาธิใบไม้ในตับ มีผลเสียต่อสุนัขทำให้ลำใส้อักแสบ  

Ivermectin - ผลข้างเคียง

  • อัตราการเต้นหัวใจเพิ่มขึ้น
  • ผิวแห้ง
  • ไอ
  • อาการคัน
  • เจ็บคอ
  • ความเมื่อยล้า
ยาไอเวอร์เมคติน โทษของมันคือ ถ้าใช้เกินขนาด จะทำให้สัตว์เกิดอาการเป็นพิษทางระบบประสาท (เหมือนพยาธินั่นเอง) ก็คือ สัตว์จะมีโอกาสเป็นอัมพาต ขาอ่อนแรง ล้มลงนอน บางตัวตาเป็นฝ้า จนถึงตาบอด และห้ามใช้ในสัตว์เด็ก ที่อายุต่ำกว่า 1.5 เดือน มีพิษต่อตับสูง   จากการใช้งานจริง หลายฟาร์มจะพบปัญหาว่าเมื่อฉีดในแพะที่กำลังท้องในระยะแรก มีผลทำให้แท้ง หรือลูกที่คลอดออกมาไม่สมบูรณ์ ..ดังนั้นเกษตรกรที่ใช้ยาตัวนี้ควรระมัดระวังการใช้ยาในเรื่องนี้ด้วย บริษัทผู้นำยา มาจำหน่ายภายใต้ชื่อยี่ห้อต่างๆกัน แต่ตัวยาหลักชนิดเดียวกัน.. VIRBAMEC - 1F 25/2541 บริษัท เวอร์แบค (ประเทศไทย) จำกัด IVERTIN - 1F 65/2541 บริษัท ไบโอเท็ค แอ็กกริ-บิซเน็ส จำกัด CEVAMEC - 1F 26/2542 บริษัท ซาโนฟี่-ซินเตลาโบ (ประเทศไทย) จำกัด ECOMECTIN - 1F 40/2542 บริษัท ไบโอเท็ค แอ็กกริ-บิซเน็ส จำกัด IVOMEC - 1F 86/2543 บริษัท เมเรียล (ประเทศไทย) จำกัด IVOMEC - 1F 87/2543 บริษัท เมเรียล (ประเทศไทย) จำกัด VIRBAMEC LA - 1F 93/2543 บริษัท เวอร์แบค (ประเทศไทย) จำกัด - Vet Agritech Co., Ltd. - ไม่แสบ FENOMAX LA - 1F 25/2544 บริษัท อินเตอร์เว็ท (ประเทศไทย) จำกัด - Intervet (Thailand) Co., Ltd. (www.intervet.co.th) - ไม่แสบ EUVECTIN - 1F 73/2544 บริษัท พีวีจี เทรดดิ้ง จำกัด BOMECTIN - 1F 51/2545 บริษัท อโกรเมด จำกัด BIMECTIN - 1F 94/2545 บริษัท พีคพ้อยท์ เพอร์มาเน้นท์ จำกัด CEVAMEC - 1F 108/2545 บริษัท ซีวา แอนิมัล เฮลธ์ (ประเทศไทย) จำกัด - (www.ceva.com) IVERIPRA-I - 1F 12/2546 บริษัท ไบโอเท็ค แอ็กกริ-บิซเน็ส จำกัด IVERVET - 1F 60/2546 บริษัท พีวีจี เทรดดิ้ง จำกัด IVERTIN - 1F 64/2546 บริษัท ไบโอเท็ค แอ็กกริ-บิซเน็ส จำกัด ECOMECTIN - 1F 65/2546 บริษัท ไบโอเท็ค แอ็กกริ-บิซเน็ส จำกัด - Ecovet Co., Ltd. (www.ecovett.com) NOROMECTIN - 1F 33/2547 บริษัท ฟิลลิปส์อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด - (www.norbrook.com) - อาจเลิกผลิต IVERMECTIN - 1F 35/2547 บริษัท เอ็ม.จี ฟาร์มา จำกัด PROMECTINE - 1F 1/2548 บริษัท ปีเตอร์ แฮนด์ (ประเทศไทย) จำกัด PANDEX - 1F 13/2549 บริษัท อินเตอร์เว็ท (ประเทศไทย) จำกัด OVERTIN - 1F 34/2549 บริษัท ยูเนียน อกรีฟาร์ จำกัด PANDEX - 1F 20/2551 บริษัท ฮูเวฟาร์มา (ประเทศไทย) จำกัด BAYMEC - 1F 61/2551 บริษัทไบเออร์ไทย จำกัด IVERMEC-KOS - 1F 76/2551 บริษัท คอส อินโทรเท็ค จำกัด IVOMEC - 1F 25/2552 บริษัท เมเรียล (ประเทศไทย) จำกัด - Merial (Thailand) Co., Ltd. (th.merial.com) - แสบมาก IVOTAN LA - 1F 32/2552 บริษัท เชอริ่ง-พลาว แอนิมัล เฮ็ลธ จำกัด - น่าจะไม่แสบ VERMAX - 1D 15/2541 บริษัท สามัคคีเภสัช จำกัด IVOTIC - 1D 55/2541 บริษัท โรงงานเภสัชกรรม แอตแลนติค จำกัด IVERSAT - 1D 72/2546 ห้างหุ้นส่วนจำกัด แอล.บี.เอส. แลบบอเรตอรี่ - Unovet Network Co., Ltd. (www.unovetgroup.com) IMAC - 1D 238/2546 บริษัท สามัคคีเภสัช จำกัด DEVECTIN - 1D 40/2547 บริษัท ไทยนาโอกะ ฟาร์มาซูติคอล จำกัด IVERCIN - 1D 41/2547 บริษัท ไทยนาโอกะ ฟาร์มาซูติคอล จำกัด IDECTIN - 1D 42/2547 บริษัท ไทยนาโอกะ ฟาร์มาซูติคอล จำกัด B-MECTIN - 1D 137/2547 - บริษัท บุคคโล เทรดดิ้ง จำกัด IVERMECTIN - 1D 138/2547 - บริษัท บุคคโล เทรดดิ้ง จำกัด B-VERMEC - 1D 139/2547 - บริษัท บุคคโล เทรดดิ้ง จำกัด MERVECTIN - 1D 14/2548 - ห้างหุ้นส่วนจำกัด แอล.บี.เอส. แลบบอเรตอรี่ VESCOMEC - 1D 198/2549 - ห้างหุ้นส่วนจำกัด เวสโก ฟาร์มาซูติคอล IVERPAC - 1D 199/2549 - ห้างหุ้นส่วนจำกัด เวสโก ฟาร์มาซูติคอล IVERMECTIN - 1D 228/2549 ห้างหุ้นส่วนจำกัด เวสโก ฟาร์มาซูติคอล ECOMECTIN - 1D 229/2549 ห้างหุ้นส่วนจำกัด เวสโก ฟาร์มาซูติคอล - Ecovet Co., Ltd. (www.ecovett.com) NOVAMECTIN - 1D 66/2550 บริษัท โนวา เมดิซีน จำกัด V-OMEC - 1D 94/2550 บริษัท โนวา เมดิซีน จำกัด - Vet Inter Product Co.,Ltd. IVERMECTIN - 1D 186/2550 บริษัท โนวา เมดิซีน จำกัด VERSOL - 1D 14/2551 บริษัท ที.พี. ดรัก แลบบอราทอรี่ส์ (1969) จำกัด - T.P. Drug Laboratories (1969) Co., Ltd. (www.tpdrug.com) BEVERMEC - 1D 102/2551 ห้างหุ้นส่วนจำกัด แอล.บี.เอส. แลบบอเรตอรี่ BETMECTIN - 1D 112/2551 ห้างหุ้นส่วนจำกัด แอล.บี.เอส. แลบบอเรตอรี่ ZOOTAMEC - 1D 117/2551 บริษัท โนวา เมดิซีน จำกัด DECTOMAX (ตัวยา doramectin) - 1F 10/2547 บริษัท ไฟเซอร์ (ประเทศไทย) จำกัด - ไม่แสบ   1A ขึ้นทะเบียนยาเป็นยาแผนปัจจุบันสำหรับมนุษย์ผลิตในประเทศ (ยาเดี่ยว) 1B ขึ้นทะเบียนยาเป็นยาแผนปัจจุบันสำหรับมนุษย์แบ่งบรรจุ (ยาเดี่ยว) 1C ขึ้นทะเบียนยาเป็นยาแผนปัจจุบันสำหรับมนุษย์นำหรือสั่งเข้าฯ (ยาเดี่ยว) 1D ขึ้นทะเบียนยาเป็นยาแผนปัจจุบันสำหรับสัตว์ผลิตในประเทศ (ยาเดี่ยว) 1E ขึ้นทะเบียนยาเป็นยาแผนปัจจุบันสำหรับสัตว์แบ่งบรรจุ (ยาเดี่ยว) 1F ขึ้นทะเบียนยาเป็นยาแผนปัจจุบันสำหรับสัตว์นำเข้าฯ (ยาเดี่ยว) 2A ขึ้นทะเบียนยาเป็นยาแผนปัจจุบันสำหรับมนุษย์ผลิตในประเทศ (ยาผสม) 2B ขึ้นทะเบียนยาเป็นยาแผนปัจจุบันสำหรับมนุษย์แบ่งบรรจุ (ยาผสม) 2C ขึ้นทะเบียนยาเป็นยาแผนปัจจุบันสำหรับมนุษย์นำหรือสั่งเข้าฯ (ยาผสม) 2D ขึ้นทะเบียนยาเป็นยาแผนปัจจุบันสำหรับสัตว์ผลิตในประเทศ (ยาผสม) 2E ขึ้นทะเบียนยาเป็นยาแผนปัจจุบันสำหรับสัตว์แบ่งบรรจุ (ยาผสม) 2F ขึ้นทะเบียนยาเป็นยาแผนปัจจุบันสำหรับสัตว์นำเข้าฯ (ยาผสม) G ขึ้นทะเบียนยาเป็นยาแผนโบราณสำหรับมนุษย์ผลิตในประเทศ H ขึ้นทะเบียนยาเป็นยาแผนโบราณสำหรับมนุษย์แบ่งบรรจุ K ขึ้นทะเบียนยาเป็นยาแผนโบราณสำหรับมนุษย์นำหรือสั่งเข้าฯ L ขึ้นทะเบียนยาเป็นยาแผนโบราณสำหรับสัตว์ผลิตในประเทศ M ขึ้นทะเบียนยาเป็นยาแผนโบราณสำหรับสัตว์แบ่งบรรจุ N ขึ้นทะเบียนยาเป็นยาแผนโบราณสำหรับสัตว์นำหรือสั่งเข้าฯ   ขอบคุณ https://en.wikipedia.org/wiki/Ivermectin https://www.google.co.th/search?newwindow=1&safe=active&client=firefox-b&dcr=0&biw=1138&bih=562&tbm=isch&sa=1&ei=ZH4XWt7BEsfpvATmnoiIAw&btnG=%E0%B8%84%E0%B9%89%E0%B8%99%E0%B8%AB%E0%B8%B2&q=ivermectin+ เฟซบุ๊ค เลี้ยงแพะยั่งยืน   ซื้อ-ขายแพะ https://www.tabletwise.com/medicine-th/ivermectin  
  • Ever Miss a Dose of Your Medicine?
  • Cancer.Net (2014). The Importance of Taking Your Medication Correctly
  • Schachter, S.C., Shafer, P. O. &; Sirven, J.I. (2013). Missed Medicines. Epilepsy Foundation
  • National Institute of Drug Abuse (2010). Prescription Drugs: Abuse and Addiction. Report Research Series
  • eMedicinehealth (2016). Drug Overdose Overview
  • Centers for Disease Control and Prevention (2010). Unintentional drug poisoning in the United States
  • Centers for Disease Control and Prevention. December 12, 2011. Put your medicines up and away and out of sight
 


บันทึกการเข้า

หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by MySQL Powered by PHP Powered by SMF 1.1 RC2 | SMF © 2001-2006, Lewis Media

lsv2555Please follow the new website at https://www.pohchae.com

Valid CSS!