ฝึกสมองด้วย หมากรุกสากล
มกราคม 07, 2025, 07:06:28 pm *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
   หน้าแรก   ช่วยเหลือ เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก  
หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: ฝึกสมองด้วย หมากรุกสากล  (อ่าน 4008 ครั้ง)
nongtop
ผู้ช่วย Admin
member
*****

คะแนน682
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 1433


อีเมล์
« เมื่อ: มีนาคม 28, 2016, 02:31:04 pm »

พอดีว่าช่วงนี้ผมกำลังฝึกเล่นหมากรุกสากลอยู่ครับ ซึ่งเป็นการลับสมองได้ดีมากเลยครับ 


บันทึกการเข้า

..กำลังหาเพื่อนร่วมเรียน+ปรึกษา..pre degreeนิติศาสตร์รามปี2ครับ


หาเงินหลักหมื่น/เดือนได้ไม่ยาก หากท่านชอบถ่ายภาพ..สนใจสมัครที่ shutterstockได้เลย..คลิ๊ก!!ครับ. Huh?
 

nongtop
ผู้ช่วย Admin
member
*****

คะแนน682
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 1433


อีเมล์
« ตอบ #1 เมื่อ: มีนาคม 28, 2016, 02:51:00 pm »

กฏกติกาหมากรุกสากล 

        หมากรุกสากลเป็นเกมส์ที่ได้รับความนิยมไปทั่วโลกเป็นเล่นกันระหว่างผู้แข่งขันสองฝ่ายซึ่งผลัดกันเดินตัวหมากของฝ่ายตนเองบนกระดานสี่เหลี่ยมจัตุรัส ซึ่งเรียกว่า 'กระดานหมากรุกสากล' ซึ่งมีลักษณะคล้ายกับกระดานหมากฮอส คือเป็นกระดานขนาด 8x8 ช่อง ที่มีการทำเครื่องหมายช่องเว้นช่องสลับกัน ในแนวนอนมีอักษร A-H กำกับอยู่แต่ละช่อง และมีเลข 1-8 กำกับแต่ละช่องในแนวตั้ง ตัวหมากแบ่งออกเป็นหมากสีขาวและหมากสีดำ โดยฝ่ายที่เล่นหมากสีขาวจะได้เริ่มเล่นก่อนเสมอ

การจัดหมาก

       ตัวหมากของแต่ละฝ่ายจะจัดเป็น 2 แถว โดยแถวแรกมีการจัดเรียงดังนี้ Rook, Knight, Bishop, King/Queen, King/Queen, Bishop, Knight, Rook และวาง Pawn ไว้แถวที่สอง โดยหมากสีขาวจะต้องอยู่แถวล่างของกระดาน(ด้านที่มี A-B) เสมอ

       ในการวางตัว King และ Queen นั้น จะต้องให้ Queen ของแต่ละฝ่ายอยู่ในช่องที่ตรงกับสีของตัวเองเสมอ นั่นคือ Queen สีขาวอยู่ช่องสีขาว Queen สีดำอยู่ช่องสีดำ ดังนั้น King กับQueen ของแต่ละฝ่ายจะต้องวางตรงกันกับฝ่ายตรงกันข้าม


รูปที่ 1 การจัดหมาก

ตัวหมากรุกประกอบด้วย
1. คิง(King)
        - การเดิน เดินได้ 8 ช่องรอบตัว
        - เดินได้ครั้งละ 1 ช่อง


รูปที่ 2 การเดินของ King

2. ควีน(Queen)
         - การเดิน เดินได้ 8 ทิศทางรอบตัว
         - สามารถเดินได้ไกลสุดกระดาน จะวางที่ช่องใดก็ได้ จนกว่าจะมีตัวหมากอื่นมาขวาง


รูปที่ 3 การเดินของ Queen

3. เรือ/ปราสาท (Rook)

         - การเดิน เดินได้ 4 ทิศรอบตัว
         - สามารถเดินได้ไกลเท่าไหร่ก้อได้ จนกว่าจะมีตัวหมากอื่นมาขวาง


รูปที่ 4 การเดินของ Rook

4. บิชอบ(Bishop)

         - การเดิน เดินในแนวเฉียง 4 ทิศ
         - สามารถเดินได้ไกลเท่าไหร่ก้อได้ จนกว่าจะมีตัวหมากอื่นมาขวาง


รูปที่ 5 การเดินของ Bishop

5. ม้า / อัศวิน (Knight)

         - การเดิน เดินทแยงไขว้แบบ 2x3 ได้ 8 ทาง หรือเดินเป็นรูปตัว L โดยสามารถเดินข้ามตัวหมากของฝ่ายตรงข้ามหรือฝ่ายตัวผู้เล่น


รูปที่ 6 การเดินของ Knight

6. เบี้ย (Pawn)

        - การเดิน เดินตรงไปข้างหน้าทีละ 1 ช่อง ยกเว้นการเดินครั้งแรกของเบี้ยแต่ละตัวสามารถเลือกเดิน 1 หรือ 2 ช่องก็ได้
        - การกิน กินเฉียง
        - เมื่อเดินไปสุดปลายกระดานสามารถเลือกเปลี่ยน Pawn เป็น Rook , Queen , Knight หรือ Bishop ตัวใดตัวหนึ่งได้  และจะต้องเป็นตัวนั้น ตลอดจนกว่าเกมจะจบ หรือถูกกิน


รูปที่ 7 การเดินของเบี้ย

การเข้าป้อม
        - เป็นการเดินของ King และ Rook ที่อยู่ในแถวเดียวกัน โดยถือเป็นการเดินครั้งเดียวของ King
        - การเข้าป้อมจะทำไม่ได้หาก King หรือ Rook ตัวนั้นเคยเดินไปแล้ว
        - ไม่สามารถทำการเข้าป้อมได้ หาก King กำลังถูกรุก , มีตัวหมากขวางระหว่าง King และ Rook หรือ King เดินผ่านช่อง ที่ฝ่ายตรงข้ามคุม

การเข้าป้อมทำได้ดังนี้
        - King เคลื่อนไปจากช่องเดิมสองช่องในทิศทางที่ Rook อยู่ จากนั้น Rook ตัวนั้นเคลื่อนมายังช่องถัดจาก King ตามรูป


รูปการเข้าด้าน King


รูปการเข้าป้อมด้าน Queen

การกินผ่าน

การกินผ่านเกิดขึ้นเมื่อ ฝ่ายหนึ่งเดิน Pawn ครั้งแรก 2 ช่อง ไปอยู่ติดกับ Pawn ของอีกฝ่ายหนึ่งในแถวเดียวกัน อีกฝ่ายหนึ่งสามารถเลือกที่จะใช้ Pawn กิน Pawn ตัวนี้หรือไม่ก็ได้ โดยถ้าจะกินต้องทำการกินในทันที มิฉะนั้น จะไม่มีสิทธิ์กินอีกในตาถัดไป


รูปการกินผ่าน เมื่อฝ่ายขาวเดิน Pawn ไป 2 ช่อง ฝ่ายดำสามารถเลือกที่จะกิน Pawn สีขาวหรือไม่ก็ได้
หากเลือกที่จะไม่กิน จะสามารถกินได้อีกเมือถึงตาของฝ่ายดำอีกครั้ง


การสิ้นสุดเกมส์
1. King ของฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งถูกรุกจน นั่นคือ ถูกโจมตีและไม่สามารถเดินหลีกเลี่ยงการถูกจับกินได้ ฝ่ายที่ King ถูกรุกจน จะเป็นฝ่ายแพ้(Checkmate)
2. เกมส์จะเสมอกันเมื่อผู้เล่นฝ่ายที่เดินไม่สามารถเดินโดยถูกกติกาได้อีก และ King ของฝ่ายนั้นก็ไม่ได้ถูกรุก(อับ - Stalemate)
3. เกมส์จะเสมอกัน เมื่อผู้เล่นทั้งสองฝ่ายเห็นพ้องต้องกันว่าเสมอในระหว่างเล่นอยู่ ถือว่าเกมส์ได้จบลงในทันที
4. เกมส์จะเสมอกัน ถ้ารูปของตัวหมากบนกระดาน มีตำแหน่งซ้ำกันถึง 3 ครั้ง โดยไม่จำเป็นที่จะต้องเป็นตาเดินติดต่อกัน
5.เกมส์จะเสมอกัน เมื่อไม่มีการกินกัน หรือ เดินเบี้ย ฝ่ายละ  50 ตาติดต่อกัน
6.เมื่อผู้เล่นฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง ตัดสินใจขอยอมแพ้ระหว่างเกมการแข่งขัน

ขอขอบคุณที่มาจาก sites.google.com
บันทึกการเข้า

..กำลังหาเพื่อนร่วมเรียน+ปรึกษา..pre degreeนิติศาสตร์รามปี2ครับ


หาเงินหลักหมื่น/เดือนได้ไม่ยาก หากท่านชอบถ่ายภาพ..สนใจสมัครที่ shutterstockได้เลย..คลิ๊ก!!ครับ. Huh?
 
nongtop
ผู้ช่วย Admin
member
*****

คะแนน682
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 1433


อีเมล์
« ตอบ #2 เมื่อ: มีนาคม 28, 2016, 02:57:56 pm »

สำหรับผมนะครับ การฝึกเล่นหมากรุกสากลนั้น เราควรเริ่มเล่นตั้งแต่ระดับง่ายๆ แล้วค่อยๆไต่ระดับไปในระดับที่ยากขึ้น เป็นวิธีที่ดีที่สุดครับผม (เพราะจากที่ผมค้นหาในเว็บไซต์มาก็มีประมาณนี้ครับ)  หากใครไม่มีหมากรุกจริงๆ ก็สามารถเล่นในคอมฯ ก็ได้ครับ
รับรองได้เลยว่าเป็นการฝึกสมองได้ดีจริงๆครับ  ping!
บันทึกการเข้า

..กำลังหาเพื่อนร่วมเรียน+ปรึกษา..pre degreeนิติศาสตร์รามปี2ครับ


หาเงินหลักหมื่น/เดือนได้ไม่ยาก หากท่านชอบถ่ายภาพ..สนใจสมัครที่ shutterstockได้เลย..คลิ๊ก!!ครับ. Huh?
 
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by MySQL Powered by PHP Powered by SMF 1.1 RC2 | SMF © 2001-2006, Lewis Media

lsv2555Please follow the new website at https://www.pohchae.com

Valid CSS!