มาทำความรู้จัก หอยเชอรี่..
LSVคลังสมองออนไลน์ "ปีที่14"
พฤศจิกายน 21, 2024, 11:39:10 pm *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
   หน้าแรก   ช่วยเหลือ เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก  
หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: มาทำความรู้จัก หอยเชอรี่..  (อ่าน 4002 ครั้ง)
nongtop
ผู้ช่วย Admin
member
*****

คะแนน682
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 1433


อีเมล์
« เมื่อ: มีนาคม 08, 2016, 03:12:32 pm »

หอยเชอรี่ หอยเศรษฐกิจตัวใหม่ ทำเงินแสนต่อเดือน

------------

หอยเชอรี่  มีถิ่นกำเนิดในทวีปอเมริกาใต้  เช่น  ประเทศชิลี  อาร์เจนตินา  สุรินัม  โบลิเวีย  บราซิล  ปารากวัย  อุรุกวัย  ในทวีปอเมริกาเหนือ  เช่น  มลรัฐฟลอริด้าและเทกซัสของสหรัฐอเมริกา ในแถบอเมริกากลาง  เช่น  จาไมก้า  คิวบา  ทรินิแดด  โดมินิกัน  เป็นต้น (มีผู้นำหอยเชอรี่จากประเทศญี่ปุ่นและฟิลิปปินส์มาสู่ประเทศไทยประมาณ พ.ศ. 2525-2526 เพื่อเลี้ยงเป็นการค้า  โดยเลี้ยงขายเป็นหอยสวยงามในตู้ปลา นอกจากนั้นยังมีการทำฟาร์มเลี้ยงเพื่อหวังส่งออกเป็นอาหาร  เมื่อหาตลาดไม่ได้  ประกอบกับหอยเจริญเติบโตและสืบพันธุ์ได้รวดเร็ว  จึงเพิ่มปริมาณมากและแพร่กระจายไปสู่แหล่งน้ำ  ลำคลองและแม่น้ำ  ในที่สุดได้แพร่ไปสู่นาข้าวในท้องที่รอบๆ กรุงเทพมหานคร  และต่อไปสู่ที่ราบภาคกลางอันเป็นอู่ข้าวอู่น้ำของประเทศ  .. ปัจจุบันพบหอยเชอรี่ระบาดไปทั่วประเทศ  ทำความเสียหายแก่ต้นข้าวและพืชน้ำต่างๆ  ในท้องที่เกือบทุกจังหวัด  หอยเชอรี่ทำลายพืชเศรษฐกิจต่างๆ ของประเทศเป็นมูลค่ามหาศาลเช่นเดียวกันกับที่ประเทศญี่ปุ่นและฟิลิปปินส์ประสบมาแล้วเมื่อ พ.ศ.2526 และ พ.ศ.2528 ในปัจจุบันหอยเชอรี่นับว่าเป็นปัญหาระดับโลก  เนื่องจากสาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนามได้ร้องขอความช่วยเหลือเป็นทางการจากองค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติ ตั้งแต่ พ.ศ.2538 เป็นต้นมา  ปัญหาหอยเชอรี่ระบาดในประเทศแถบเอเชีย  ซึ่งเป็นแหล่งปลูกข้าวและส่งออกข้าวรายใหญ่ของโลกนับเป็นเรื่องที่องค์การนานาชาติหลายแห่งให้ความสนใจอย่างยิ่ง  นอกจากประเทศไทย  ญี่ปุ่น  ฟิลิปปินส์  และเวียดนามแล้ว  ประเทศที่มีปัญหาเช่นเดียวกันนี้อีก ได้แก่ ลาว  กัมพูชา  มาเลเซีย  อินโดนีเซีย ไต้หวัน  จีน  ซาบาร์  ปาปัวนิวกินี  มลรัฐฮาวายของสหรัฐอเมริกา  ฮ่องกง  ออสเตรเลีย  เป็นต้น.. ชีววิทยาทั่วไป 1.รูปร่างลักษณะ หอยเชอรี่ (Pomacea canaliculata Lamarck) เป็นหอยฝาเดียว รูปร่างค่อนข้างใหญ่ เปลือก (shell) เรียบ มีฝาปิด (operculum) เป็นแผ่นแข็งสีน้ำตาลเข้มและใส ซึ่งตัวหอยสามารถหลบเข้าอยู่ในเปลือกแล้วปิดฝาเพื่อป้องกันอันตราย หอยเชอรี่มีรูปร่างและขนาดคล้ายกับหอยโข่ง (apple snail, Pila spp.) ซึ่งเป็นหอยประจำถิ่นของประเทศไทยนั่นเอง  แต่เปลือกบางกว่า และมีร่อง (suture) ลึกกว่า ส่งให้ส่วนยอดของเปลือกหอยนูนสูงขึ้น  ฝาปิดของหอยโข่งจะหนาแข็งมากและมีมุกเคลือบเห็นเป็นสีขาว  เมื่อหงายขึ้นส่วนวงปาก (mouth) ในหอยเชอรี่จะกลมกว้างกว่า.. [embed]https://www.youtube.com/watch?v=j6CiAt0tHB0[/embed] ระยะแรกที่เริ่มระบาดในประเทศไทยพบหอยเชอรี่เป็นสองกลุ่มคือ  กลุ่มเปลือกสีเหลืองปนน้ำตาล  เนื้อและหนวดสีเหลือง  กับเปลือกสีเขียวเข้มปนดำและมีแถบสีดำจางๆ  พาดตามความยาว  เนื้อและหนวดมีสีน้ำตาลอ่อน  แต่ในปัจจุบัน  สีของเปลือกและเนื้อมีการแปรเปลี่ยนและผสมผสานกันมากกว่าเดิม  เช่น  พบหอยเปลือกเขียวเข้มเกือบดำมีเนื้อสีดำ  และเปลือกดำมีเนื้อสีเหลืองมีปริมาณมากกว่าชนิดที่มีเปลือกสีเหลืองน้ำตาลทองและเนื้อสีเหลืองสวยงาม  ซึ่งกลายเป็นกลุ่มที่หาได้ยาก.. หอยเชอรี่มีเปลือกหมุนเป็นเกลียววนขวา (dextral) เมื่อโตเต็มที่มีขนาดความสูงเฉลี่ย 80 มิลลิเมตร  หนัก 112 กรัม  หอยเชอรี่ขนาดใหญ่สุดที่เคยพบสูง 94.5 มิลลิเมตร  หนัก 170 กรัม เป็นหอยเคลื่อนที่โดยใช้ foot ซึ่งมีลักษณะเป็นกล้ามเนื้อหนา  อาจยืดยาวหรือกว้างแบนใช้คืบคลาน  สามารถคลานไปตามพื้นดินใต้น้ำ  หรือปล่อยตัวลอยไปตามกระแสน้ำ  หรือขึ้นสู่ผิวน้ำได้  เมื่อถูกรบกวนจะหดลำตัวพร้อมทั้ง foot  เข้าไปในเปลือก ส่วนหัวประกอบด้วยตาเล็กๆ  ตั้งอยู่บนก้านสั้นๆ  1 คู่  และมีหนวดติดอยู่ด้านข้างก้านตาด้านละ  1 เส้น  ส่วนปากมีแผ่นริมฝีปากแผ่กว้างออกรอบปาก  และมีหนวดอีกด้านละ  1  เส้นไว้เขี่ยอาหารเข้าปาก   2.ระบบหายใจ ภายในช่องลำตัวเป็นโพรงแมนเทิล  ซึ่งเป็นโพรงขนาดใหญ่อยู่ระหว่างเยื่อแมนเทิล (mantle) กับก้อนอวัยวะภายใน  มีหน้าที่สำคัญในการหมุนเวียนน้ำที่เข้ามาในตัวเพื่อการแลกเปลี่ยนก๊าซ โพรงแมนเทิลนี้แบ่งเป็น 2 ส่วน  ช่องทางด้านขวามีแมนเทิลซึ่งดัดแปลงไปเป็นเหงือก (gill)  ใช้ในการหายใจเมื่อหอยอยู่ในน้ำ  โดยการแลกเปลี่ยนออกซิเจนจากน้ำ  ทางด้านซ้ายมีอวัยวะคล้ายปอดทำหน้าที่ช่วยหายใจโดยใช้อากาศ  ทำให้สามารถอยู่บนบกได้บางเวลา  เช่น  ขณะออกไข่  นอกจากนี้ยังมีเนื้อเยื่อส่วนที่สามารถโต้งพับเป็นหลอดยาว คล้ายหลอดดูดและยืดหดได้  เป็นท่อหายใจ  (respiratory siphon)  มีขนาดยืดยาวได้ถึง  6-7  เซนติเมตร  อยู่ทางด้านซ้ายของตัวหอย   ใช้ในการหายใจเอาออกซิเจนจากอากาศ  ทำให้สามารถอาศัยอยู่ได้ในน้ำที่แม้จะไม่มีออกซิเจนละลายอยู่เลย 3.การเจริญเติบโต  ลูกหอยที่ฟักออกมาจากไข่มีรูปร่างเหมือนกับตัวแม่แต่มีขนาดเล็กกว่าหอยเจริญเติบโตโดยมีการสร้างเปลือกต่อจากเดิมทางด้านขอบปาก  ซึ่งอยู่ด้านล่างตรงข้ามกับยอดแหลม (spire) ทำให้ขนาดของเปลือกเพิ่มขึ้นโดยรูปร่างไม่มีการเปลี่ยนแปลง.. เปลือกมี 3 ชั้น  ชั้นนอกสุดคือชั้นเพอริโอสทราคัม (periostracum)  ประกอบด้วยสารโปรตีนที่แข็งแรงเหมือนโปรตีนของเขาสัตว์ มีชื่อว่า คอนคิโอลิน (conchiolin) ประกอบด้วยเม็ดสีซึ่งทำให้เปลือกหอยมีสีต่างๆ  ชั้นนี้ทำหน้าที่ป้องกันกรดในน้ำ  ชั้นกลางเป็นชั้นที่แข็งแรงเพราะประกอบด้วยแคลเซียม  โดยปกติไม่มีเม็ดสีจึงมีสีขาว.. แต่เปลือกที่มีอายุมาก  เม็ดสีจากชั้นนอกจะเคลื่อนย้ายมาที่ชั้นกลางอย่างช้าๆ  และชั้นในสุดเป็นผลึกของแคลเซียมคาร์บอเนตที่เป็นแผ่นแบนบางมีความมันวาวเรียงซ้อนอยู่คือชั้นมุก การสร้างเปลือก  เกิดจากการทำงานของเนื้อเยื่อแมนเทิล  ซึ่งอยู่ติดกับเปลือกรอบช่องลำตัวหรือโพรงแมนเทิล  เกิดมีการจัดเรียงตัวกันของชั้นผลึกและการทับถมของผลึก  มีสารอินทรีย์ถูกสกัดออกมาก่อนการทับถมของเปลือกด้านใน  แล้วจึงมีการเติมแคลเซียมคาร์บอเนตลงไปสลับกับสารอินทรีย์  ระยะแรกๆ  มีลักษณะเป็นผลึกเล็กๆ  จนในที่สุดเกิดเป็นชั้นของผลึกชั้นกลางขึ้นมาจากนั้นขอบด้านริมของเยื่อแมนเทิล  ซึ่งสกัดทั้งสารอินทรีย์และสารอนินทรีย์  ทำให้ขอบของเปลือกเจริญและเปลือกจะหนาขึ้น  โดยเซลล์ชั้นผิวของแมนเทิลที่มีแคลเซียมคาร์บอเนตเรียงตัวกัน  เป็นชั้นที่หักเหได้คล้ายปริซึม  จึงทำให้มีความมันวาว 4.การกินอาหาร หอยเชอรี่เป็นสัตว์ที่กินทั้งพืชและสัตว์ (omnivores) สามารถกินพืชน้ำได้เกือบทุกชนิดที่มีลักษณะใบอ่อนนิ่ม เช่น แหน แหนแดง จอก จอกหูหนู ไข่น้ำ ผักบุ้ง ผักกะเฉด ต้นแห้ว กระจับ ใบบัว สาหร่ายต่างๆ  ยอดอ่อนผักตบชวา ต้นข้าวกล้า ต้นหญ้าที่อยู่ริมน้ำ รวมถึงซากพืชซากสัตว์ที่เน่าเปื่อยในน้ำที่อยู่ใกล้ๆ ตัว. สามารถกินได้รวดเร็ว เฉลี่ยวันละ 50 เปอร์เซ็นต์ของน้ำหนักตัว และกินได้ตลอด 24 ชั่วโมง ในเวลากลางวันที่มีแดดจัดจะหลบอยู่ใต้ร่มเงาของพืชน้ำต่างๆ หรืออาศัยอยู่ใต้ร่มเงาของต้นไม้ใหญ่ริมแหล่งน้ำหรือนาข้าวนั้นๆ แล้วกินอาหารตลอดเวลา การกินอาหารต้องอยู่ในน้ำ  กล่าวคือ มีน้ำช่วยพยุงให้ตัวลอยขึ้นแล้วใช้ส่วนขากรรไกร (jaw) กัดชิ้นส่วนของพืชให้ขาดจากกันแล้วส่งเข้าในช่องปาก ซึ่งอยู่ระหว่างรยางค์ที่แผ่ออกเป็นแผ่นกล้ามเนื้อทางด้านส่วนหัว.. ภายในปากมีกรามขนาดใหญ่ 1 คู่ใช้กัดกินอาหาร ถัดจากกรามเข้าไปภายในเป็นแรดูลา ซึ่งแข็งแรงเป็นเส้นบางคล้ายโซ่เต็มไปด้วยฟันแหลม มีลักษณะเป็นฟันซี่เล็กๆ สีแดงเรียงซ้อนกันอยู่ 5 แถว มีจำนวนหลายร้อยซี่เรียงเป็นแถวขวาง มีรูปร่างและขนาดแตกต่างกันระหว่างซี่ตรงกลางและริม ทำหน้าที่บดอาหารโดยกล้ามเนื้อรอบๆ จะทำงานให้ส่วนแรดูลาขยับไปมา ขูดไปบนอาหาร ต่อมาจะถูกส่งผ่านไปถึงหลอดอาหาร (esophagus) และไปสู่กระเพาะซึ่งจะเริ่มมีการย่อยอาหารที่นั่น ส่วนที่ไม่ย่อยจะผ่านออกไปทางทวารหนัก ซึ่งอยู่ใกล้ส่วนหัว 5.การสืบพันธุ์ หอยเชอรี่มีเพศแยก เพศผู้และเพศเมีย ภายนอกสังเกตได้จากความนูนมากน้อยของแผ่น operculum ถ้าหากนูนมากเป็นหอยเพศผู้ มีอวัยวะสืบพันธุ์ (gonad) เป็นก้อนเดี่ยว อัณฑะมีลักษณะเป็นท่อที่ยืดออกได้เพื่อสอดส่งสเปิร์ม (sperm) เข้าไปผสมกับไข่ก่อนที่ไข่จะมีการสร้างเปลือก หอยโตเต็มวัยพร้อมจะขยายพันธุ์มีอายุประมาณ 3 เดือน น้ำหนัก 5 กรัม มีขนาดเปลือกสูงประมาณ 25 มิลลิเมตร หอยจะจับคู่เพื่อถ่ายสเปิร์มได้ตลอดเวลา หลังจากนั้น 1-2 วัน ตัวเมียจะวางไข่ ส่วนมากเป็นเวลากลางคืน ตั้งแต่ดวงอาทิตย์ตกเป็นต้นไป จนถึงประมาณ 7.00 น. ..โดยคลานขึ้นไปวางไข่ตามที่แห้งเหนือน้ำ เช่น ตามกิ่งไม้ที่ปักในบ่อ ต้นหญ้าริมน้ำ โคนไม้ริมน้ำ ข้างๆ คันนา และตามต้นข้าวในนา ใช้เวลาในการออกไข่ตั้งแต่ 1-6 ชั่วโมงแล้วแต่ขนาดของกลุ่มไข่..   ไข่จะเคลื่อนออกมาทีละฟองบนกล้ามเนื้อ foot ซึ่งขยับเป็นระลอก ดันส่งไข่ให้ขึ้นไปซ้อนเข้าใต้ฟองที่ออกมาก่อนเป็นชั้นๆ ไข่ที่ออกมาใหม่ๆ จะอ่อนนิ่มและมีเมือกติด หลังจากนั้นจึงเริ่มแห้งและแข็งขึ้น ไข่มีสีชมพูสดดูสวยงามเกาะติดกันเป็นกลุ่มยาว 5-8 เซนติเมตร แต่ละกลุ่มประกอบด้วยไข่ 388-3,000 ฟอง ขึ้นกับขนาดของแม่หอย ไข่แต่ละฟองมีเส้นผ่านศูนย์กลาง 2.0-2.5 มิลลิเมตร ไข่ที่มีสีชมพูสดจะซีดจางลงจนเกือบเป็นสีขาวภายใน 7-12 วัน แล้วแตกออก ลูกหอยภายในซึ่งมีขนาดเท่าหัวเข็มหมุดเล็กๆ หนักประมาณ 1.7 มิลลิกรัม และมีลักษณะเหมือนตัวแม่ทุกอย่าง แต่เปลือกนิ่ม จะร่วงลงน้ำเริ่มกินพืชพวกสาหร่ายต่างๆ แล้วเจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว   โดยเปลือกจะแข็งหลังหล่นลงน้ำ 2 วัน และเริ่มคืบคลานได้เมื่อมีขนาด 2-5 มิลลิเมตร อัตราการฟักของไข่สูงมากคือ 77-91 เปอร์เซ็นที่อุณหภูมิประมาณ 34 องศาเซลเซียส หลังจากวางไข่ 4-10 วัน ตัวเมียจะวางไข่ได้อีก และสามารถวางไข่ได้ตลอดทั้งปี ตลอดอายุขัย 2-3 ปี 6.ที่อยู่อาศัย หอยเชอรี่อยู่ทั่วไปได้ตามแหล่งน้ำทุกประเภท ได้แก่ บึง สระ หนอง คลอง แม่น้ำ ลำธาร กล่าวคือ อยู่ได้ทั้งในที่น้ำไหลและใสสะอาด มีออกซิเจนสูงพอๆ กับในน้ำนิ่งและน้ำตื้นเพียงไม่กี่เซนติเมตร เต็มไปด้วยเศษพืช หรือเกือบไม่มีออกซิเจนอยู่เลยก็ยังเจริญเติบโตได้ดี  ขอเพียงแต่มีอาหารบ้างและสภาพน้ำไม่เป็นกรดมากนัก อุณหภูมิที่พอเหมาะประมาณ 18-30 องศาเซลเซียส ในอุณหภูมิต่ำหอยจะมีอายุขัยนานประมาณ 3 ปี หากอยู่ในที่อุณหภูมิสูง เช่น ในนาข้าวจะมีอายุประมาณ 12-16 เดือน สังเกตพบว่าในคูที่แม้น้ำจะเน่าจนสีเกือบดำ หอยก็ยังมีชีวิตอยู่ได้เพียงแต่อาจเจริญเติบโตไม่ดีและออกไข่น้อยครั้งกว่าปกติ 7.การจำศีล โดยทั่วไปหอยเชอรี่ไม่จำเป็นต้องจำศีล (aestivation) หากมีน้ำและอาหารอุดมสมบูรณ์ การจำศีล คือ การที่หอยลดกระบวนการสร้างและกระบวนการทำลายภายในร่างกายลงเพื่อความอยู่รอดทั้งนี้โดยมีความแห้งแล้งเป็นสาเหตุ ดังนั้น หอยเชอรี่ที่อาศัยในข้าว เมื่อน้ำแห้งก็จะปิดฝาแล้วหมกตัวอยู่ในโคลน เป็นการทำตัวให้รอดจากความแห้งแล้ง ในประเทศญี่ปุ่นแม้น้ำจะแห้งจนดินแตกระแหงเป็นเวลานาน 3-4 เดือน หอยก็ยังรอดตายอยู่ได้มากกว่า 80 เปอร์เซ็นต์ แต่ถ้าอยู่ตามพงหญ้าก็จะรอดตายเพียงประมาณ 40 เปอร์เซ็นต์ และหอยเชอรี่สามารถมีชีวิตอยู่รอดผ่านฤดูหนาวที่มีหิมะปกคลุมได้ จากการทดสอบโดยนำหอยใส่ตู้อบที่ตั้งอุณหภูมิ 0-3 องศาเซลเซียส และ -6 องศาเซลเซียสพบว่าหอยจะตายภายใน 25 วัน  3 วัน และ 1 วัน ตามลำดับ แสดงว่าในเขตอบอุ่น หอยจะทนอยู่ในฤดูหนาวได้หรือไม่ขึ้นอยู่กับอุณหภูมิว่าต่ำกว่า 0 องศาเซลเซียส เพียงใด หอยขนาด 20-30 มิลลิเมตร จะมีความทนทานต่ออุณหภูมิต่ำมากกว่าหอยขนาดใหญ่ [embed]https://www.youtube.com/watch?v=j7Z5oh5bF8c[/embed] ในประเทศญี่ปุ่นประชากรหอยจะเพิ่มขึ้น 3-9 เท่าต่อปี แม้ว่าจะผ่านฤดูหนาว สำหรับประเทศไทยไม่มีฤดูหนาว ดังนั้น ในท้องที่ที่มีน้ำตลอดปีหอยจึงไม่มีการจำศีล คาดว่าประชากรของหอยน่าจะเพิ่มขึ้นมากกว่า 9-10 เท่าต่อปี   นอกจากนี้ความแข็งของดิน  น้ำแห้งเร็วหรือช้า  ล้วนเป็นปัจจัยสำคัญต่อการจำศีลด้วย ในประเทศไทยเคยพบหอยขนาดใหญ่  59.2 คูณ 63.4  มิลลิเมตร  สามารถจำศีลอยู่ในดินแห้งนานถึง 7 เดือน  โดยปิดฝาเมื่อน้ำเริ่มแห้งและคว่ำอยู่ในดินเพียงครึ่งตัว  จากการทดลองในห้องปฏิบัติการเมื่อปล่อยให้หอยจำศีลโดยฝังตัวในดินแห้ง  พบว่าฝังลึกไม่เกิน 4 เซนติเมตร  แม้ว่าเวลาจะผ่านไปนานถึง 16 เดือน หอยเชอรี่ก็ยังมีชีวิตรอดอยู่ได้ เฉลี่ย 7.87 เปอร์เซ็นต์  และน้ำหนักเนื้อหอยลดลง 84.31 เปอร์เซ็นต์แต่ความชื้นในดินและความชื้นสัมพัทธ์ของอากาศไม่มีอิทธิพลต่อการรอดชีวิต เฉพาะช่วงเวลาการจำศีลเท่านั้นที่มีความสัมพันธ์กับการรอดชีวิต  กล่าวคือยิ่งจำศีลนานเปอร์เซ็นต์การตายก็จะยิ่งเพิ่มขึ้น 8. การเป็นพาหะนำโรค  เนื่องจากหอยเชอรี่อยู่ในวงศ์เดียวกับหอยโข่ง (Pila sp.) จึงอาจเป็นเจ้าบ้านตัวกลาง  (intermediate host) ของหนอนพยาธิตัวกลม (nematode) เช่นเดียวกับหอยโข่ง นั่นคือพยาธิ Angiostrongylus  cantonensis  Chen ซึ่งผ่านเข้าสู่คนโดยการกินเนื้อหอยดิบๆ  เช่น พล่า หรือยำหอย ถ้าหอยมีพยาธิอยู่  ตัวอ่อนระยะที่ 1 ของพยาธิก็เข้าสู่คน  ถ้าหากไปอยู่ที่สมองจะมีอาการเยื่อหุ้มสมองบวมอักเสบ (Eosinophilic meningo-encephalitis) คือ ปวดศีรษะ ปวดท้อง คลื่นไส้ อาเจียน คอแข็ง มีอัมพาตของส่วนใดส่วนหนึ่ง  ถ้าพยาธิไชเข้าสู่ดวงตาก็ทำให้ตาบอด นอกจากนี้ยังอาจเป็นตัวนำเจ้าบ้านตัวกลางของหนอนพยาธิ Echinostoma  ilocanum Gerrison) ซึ่งเป็นพยาธิใบไม้ในลำไส้ เมื่อคนกินหอยที่มีตัวอ่อนพยาธิเข้าไปจะเกิดอาการของกระเพาะอาหารและลำไส้  เช่น  ปวดท้อง ท้องเดิน เป็นต้น เช่นเดียวกับกรบริโภคหอยโข่ง 9. ศัตรูธรรมชาติ โดยทั่วไปศัตรูของหอยเชอรี่ในประเทศไทยมีหลายชนิด เช่น นกกะปูดใหญ่ (Greater Coucal, Centropus sinensis) นกกะปูดเล็ก (Lesser Coucal, Centropus bengalensis)  ซึ่งพบทั่วทุกภาค  หากินตามชายทุ่งและสวน  ทำรังตามพุ่มไม้เตี้ยๆ  มักอยู่ตามพื้นดินและกินสัตว์เล็กๆ เป็นอาหาร รวมทั้งกินหอยโข่งและหอยเชอรี่ แต่เป็นนกที่หากินเดี่ยว อาจพบเป็นฝูงเล็กไม่เกิน 4-5 ตัว จึงไม่มีผลในการกำจัดหอยเชอรี่มากนัก.. อีกชนิดคือนกปากห่าง (Asian openbill, Anastomus osciltans) มีขนาดใหญ่ ปากใหญ่ยาวและแข็งแรง ส่วนที่ค่อนมาทางปลายจะมีช่องว่างระหว่างปากบนและล่างเพื่อใช้ประโยชน์ในการคาบหอย หากินตามทุ่งนาและแหล่งน้ำต่างๆ  เป็นนกที่อพยพเข้ามาประมาณ 6 หมื่น ถึง 8 หมื่นตัวต่อปี กินหอยเชอรี่เป็นอาหารหลักเกือบ 100 เปอร์เซ็นต์ ในการใช้ปากจิกหอยทางด้านฝาปิดจนเปิดออก  แล้วกินเฉพาะส่วนเท้าหอยได้ทุกขนาดที่ใหญ่กว่า 10 มิลลิเมตรขึ้นไป ออกหากินทั้งวันเป็นฝูงใหญ่หลายร้อยตัว กินหอยเชอรี่ได้ 70-120 ตัวต่อวัน ในช่วงที่เลี้ยงลูกอ่อนจะกินหอยมากขึ้นเพื่อนำมาสำรอกป้อนลูกนก นับเป็นศัตรูหอยเชอรี่ที่สำคัญช่วยกำจัดหอยได้มาก ปลาบางชนิดกินหอยเชอรี่  เช่น  ปลาหมอไทย (common climbing perch, Anabas testudineus) ปลาหมอช้างเหยียบ (striped tiger nandid, Pristolerpis fasciatus) ซึ่งพบอาศัยตามแม่น้ำ ลำคลองทั่วทุกภาค กินไข่ปลาทุกชนิด ลูกกุ้ง ลูกปลา และแมลงน้ำ รวมทั้งซากพืชและสัตว์เป็นอาหาร ปลาทั้ง 2 ชนิดที่มีขนาดยาว 11 เซนติเมตร สามารถกินหอยเชอรี่ขนาด 6-13 มิลลิเมตร ได้ 20 ตัวต่อวัน นอกจากนี้ยังมีปลาไน (common carp, Cyprinus carpio) ซึ่งเป็นปลาน้ำจืดวงศ์เดียวกับปลาตะเพียน มีถิ่นกำเนิดในจีน กินพืชและแมลงเป็นอาหาร อาศัยตามแม่น้ำ  หนอง บึง หรือแหล่งน้ำขนาดใหญ่ และปลานิล (Nile Tilapia, Oreochromis niloticus) ซึ่งเข้าสู่ประเทศไทยครั้งแรก เมื่อ พ.ศ.2508 โดยเจ้าชายอากิฮิโต มกุฎราชกุมารแห่งประเทศญี่ปุ่นในขณะนั้น จัดส่งเข้ามาทูลเกล้าฯ ถวายพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ต่อมาพระราชทานชื่อว่า ปลานิล กรมประมงได้เลี้ยงขยายพันธุ์และแจกจ่ายไป รวมทั้งปล่อยลงแหล่งน้ำต่างๆ ที่เห็นว่าเหมาะสม ปลานิลกินอาหารได้ทุกชนิด เช่น ไรน้ำ ตะไคร่น้ำ ตัวอ่อนของแมลงและสัตว์น้ำเล็กๆ  ปลาทั้ง 2 ชนิดนี้มีผู้ทดสอบแล้วว่าสามารถกินลูกหอยเชอรี่เป็นอาหาร  แต่ปลาไนกินได้ดีกว่าและเร็วกว่า ลูกปลาไนที่มีน้ำหนัก 5 กรัม จะกินลูกหอย 338 ตัว ใน 24 ชั่วโมง ชนิดของหอยเชอรี่  หอยเชอรี่เป็นหอยทากน้ำ (freshwater snail) ชื่อวิทยาศาสตร์ Pomacea canaliculata (Lamarck) บางครั้งเรียกว่าหอยโข่งอเมริกาใต้ หรือเป๋าฮื้อน้ำจืด ชื่อสามัญคือ golden apple snail อยู่ในไฟลัม มอลลัสคา (Mollusca) คลาส แกสโทรโพดา (Gastropoda) อันดับ มีโซกาสโตรโปดา (Mesogastropoda) วงศ์ แอมพูลลาริอิดี้ (Ampullariidae)  ทั่วโลกมีหอยเชอรี่ประมาณ 150 ชนิด มีผู้ศึกษาและรายงานว่า ในประเทศไทยพบหอยเชอรี่ 3 ชนิด คือ Pomacea canaliculata  (Lamarck), P. insularus (Orbigny) และ Pomacea sp. แต่ต่อมาใน พ.ศ. 2547-2548 มีรายงานว่ามีเพียงชนิดเดียวเท่านั้นแม้ว่าจะมีเปลือกหลายสีก็ตาม


บันทึกการเข้า

..กำลังหาเพื่อนร่วมเรียน+ปรึกษา..pre degreeนิติศาสตร์รามปี2ครับ


หาเงินหลักหมื่น/เดือนได้ไม่ยาก หากท่านชอบถ่ายภาพ..สนใจสมัครที่ shutterstockได้เลย..คลิ๊ก!!ครับ. Huh?
 

ช่างเล็ก(LSV)
Administrator
member
*

คะแนน1346
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 18843


คิดดี ทำดี ชีวิตมีแต่สุข


อีเมล์
« ตอบ #1 เมื่อ: กุมภาพันธ์ 28, 2023, 12:14:28 pm »

https://www.pohchae.com/2023/02/28/golden-apple-snail-cherry-clams
มารู้จักกับ “หอยเชอรี่ ” หอยทำเงินแสนต่อเดือน
#หอยเชอรี่  #หอยทำเงินแสน  #อาชีพ
------------
บันทึกการเข้า
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by MySQL Powered by PHP Powered by SMF 1.1 RC2 | SMF © 2001-2006, Lewis Media

lsv2555Please follow the new website at https://www.pohchae.com

Valid CSS!